ݺߣ

ݺߣShare a Scribd company logo
Chapter 9 การเลือกใช้สื่อและวิธีการจัดการเรียนรู้
ครูพลกิต เป็นครูที่พึ่งมาบรรจุใหม่หลังจากที่รายการตัวต่อสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจาจังหวัดที่สังกัดแล้วก็ไปรายงานตัวต่อโรงเรียนซึ่งเป็นโรงเรียนประจาจังหวัด ผู้อานวยการ โรงเรียนมอบหมายให้ครูพลกิตสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และเป็นห้องเด็กเก่งด้วย ยิ่งทาให้ ครูพลกิตรู้สึกไม่มั่นใจในการสอนว่าตนเองจะสามารถทาได้ดีหรือไม่และนักเรียนจะสนุกหรือสนใจ ในวิธีการสอนของตนเองหรือไม่ ที่สาคัญคือนักเรียนห้องนี้มีลักษณะที่ชอบค้นคว้า หาความรู้ กิจกรรมที่เน้นให้ปฏิบัติได้ลงมือกระทา ฝึกคิดหรือที่ท้ายทายการทางานนักเรียนจะชอบมาก อีกทั้ง ยังเรียนพิเศษแบบเข้มข้นเนื้อหาในหนังสือเรียนส่วนใหญ่นักเรียนจะรู้และทาความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง มาก่อนแล้ว แต่ที่สังเกตได้ชัดคือนักเรียนจะแข่งกันเรียน ทางานกลุ่มไม่ค่อยประสบความสาเร็จ เท่าที่ควร ซึ่งผู้อานวยการโรงเรียนฝากความหวังไว้ที่ครูพลกิตเพื่อช่วยพัฒนาและแก้ปัญหาการเรียนรู้ ของนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้องนี้ให้ได้
ครูพลกิตจะมีหลักในการเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถจัดการ เรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร
เป็นการเตรียมตัวในการศึกษาเนื้อหาที่อยู่ในสื่อที่จะใช้ว่ามี เนื้อหาถูกต้อง ครบถ้วน และตรงกับที่ต้องการหรือไม่ ถ้าสื่อนั้นมี เนื้อหาไม่เหมาะสม ผู้สอนจะเพิ่มโดยวิธีใดในจุดไหนบ้าง จะมีวิธีใช้ สื่ออย่างไร เช่น ใช้ภาพนิ่งเพื่อเป็นการนาบทเรียนที่จะสอน แล้ว อธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับบทเรียนนั้น ต่อจากนั้นเป็นการให้ชมวีดิทัศน์เพื่อ เสริมความรู้ และจบลงโดยการสรุปด้วยแผ่นโปร่งใสหรือสไลด์ใน โปรแกรม PowerPoint อีกครั้งหนึ่งดังนี้ เป็นต้น ขั้นตอนเหล่านี้ ผู้สอนต้องเตรียมตัวโดยเขียนลงในแผนการสอนเพื่อการใช้สื่อได้ ถูกต้อง
ในการจัดการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนจะต้องพยายาม แทรกคาพูดตลกๆ เป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดความเครียด จนเกินไป อาจพานักเรียนไปศึกษานอกห้องเรียน เช่น พาไปเที่ยว สวนสัตว์ แล้วให้นักเรียนอธิบายโครงสร้างของกรงสัตว์ แต่งเพลงที่ เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ มาให้นักเรียนได้ร้องทั้งชั้นเรียน จะช่วยให้ จาได้ดียิ่งขึ้นและเป็นการได้ผ่อนคลาย และอาจให้นักเรียนเล่นเกมส์ ที่สอดแทรกความรู้
ก่อนเริ่มการสอนผู้สอนจะต้องจัดเตรียมวัสดุ เครื่องมือ และ อุปกรณ์ที่จาเป็นต้องใช้ให้พร้อม ตลอดจนต้องเตรียมสถานที่หรือ ห้องเรียนให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมด้วย เช่น มีปากกาเขียนแผ่น โปร่งใสพร้อมแผ่นโปร่งใส แถบวีดิทัศน์ที่นามาฉายมีการกรอกกลับ ตั้งแต่ต้นเรื่อง โทรทัศน์ต่อเข้ากับเครื่องเล่นวีดิทัศน์เรียบร้อย ที่นั่งของ ผู้เรียนอยู่ในระยะที่เหมาะสม ฯลฯ สภาพแวดล้อมและความพร้อม ต่างๆเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยในการเรียนการสอนเป็นไปด้วยความ สะดวกราบรื่นไม่เสียเวลา
เป็นการเตรียมผู้เรียนโดยมีการแนะนาหรือให้ความคิด รวบยอดว่าเนื้อหาในสื่อเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้เรียนเตรียมในการฟัง ดู หรืออ่านเนื้อหาจากสื่อนั้นให้เข้าใจได้ดีและสามารถจับประเด็น สาคัญของเนื้อหาได้ หรือหากผู้เรียนมีการใช้สื่อด้วยตนเองผู้สอน ต้องบอกวิธีการใช้ในกรณีที่เป็นอุปกรณ์ที่ผู้เรียนจะต้องมีกิจกรรม อะไรบ้าง เช่น มีการทดสอบ การอภิปราย การแสดง หรือการ ปฏิบัติ ฯลฯ เพื่อผู้เรียนจะเตรียมตัวได้ถูกต้อง
ผู้สอนต้องใช้สื่อให้มีความเหมาะสมกับขั้นตอนที่เตรียมไว้ แล้วเพื่อดาเนินการสอนได้อย่างราบรื่น และต้องควบคุมการเสนอสื่อ ให้ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น ในการฉายวีดิทัศน์ ผู้สอนต้องปรับภาพที่ออก ทางเครื่องรับโทรทัศน์ให้ชัดเจน ปรับเสียงอย่าให้ดังจนรบกวน ห้องเรียนอื่นหรือค่อยเกินไปจนผู้เรียนที่นั่งอยู่หลังห้องไม่ได้ยิน ดูว่ามี แสงตกลงบนพื้นจอหรือไม่ หากใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะต้องปรับ ระยะเครื่องฉายไม่ให้ภาพเบี้ยว (keystone effect) ดังนี้เป็น ต้น
เมื่อมีการนาเสนอสื่อแล้ว ควรมีการประเมินและ ติดตามผลโดยการให้ผู้เรียนตอบคาถาม อภิปราย หรือเขียน รายงาน เพื่อเป็นการทดสอบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจบทเรียน และเรียนรู้จากสื่อที่เสนอไปนั้นอย่างถูกต้องหรือไม่ เพื่อ ผู้สอนจะได้สามารถทราบจุดบกพร่องและแก้ไขปรับปรุงการ สอนของตนได้
ให้วิเคราะห์ว่าจะเลือกใช้สื่อหรือวิธีการจัดการเรียนรู้แบบใดจึงจะ สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนตามสถานการณ์ที่กาหนดให้
ในการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้งนั้น ผู้สอนจะต้องใช้สื่อประกอบเพื่อ ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจบทเรียน นาเสนอบทเรียน กระตุ้นความสนใจใน การเรียน และสามารถให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อเพื่อสร้างการเรียนรู้ด้วย ตนเอง เช่น การจัดกิจกรรมในชั้นเรียน โดยการเรียนแบบร่วมมือ เป็นกล ยุทธ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดให้นักเรียนเรียนด้วยกันเป็นกลุ่ม เล็กแบบคละความสามารถ ให้ทางานร่วมกัน ช่วยเหลือกันในการผสมผสาน ความรู้ที่มีอยู่เดิมกับความรู้ใหม่
และค้นพบความหมายของสิ่งที่ศึกษาด้วยกลุ่ม โดยทา กิจกรรมในการสืบค้น อภิปราย อธิบาย บรรยาย สอบสวน แนวความคิดและแก้ปัญหาร่วมกันในกลุ่ม เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมาย ร่วมกัน เป็นวิธีเรียนวิธีหนึ่งที่กาลังได้รับความสนใจและนาไป ประยุกต์ในการเรียนการสอนทุกวิชาและทุกระดับชั้น เหมาะ สาหรับนักเรียนห้องนี้ที่ชอบการค้นคว้า การลงมือทา ฝึกคิดและ ท้าทาย
Chapter 9 การเลือกใช้สื่อและวิธีการจัดการเรียนรู้

More Related Content

Chapter 9 การเลือกใช้สื่อและวิธีการจัดการเรียนรู้