พียงก้อนึϸน
- 2. บทนำความสำคัญและความเป็นมา ดินเป็นส่วนประกอบของโลกใบนี้ที่เราอาศัยอยู่ และเป็นสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งที่อยู่รอบตัวเรา เชื่อว่ามนุษย์เรา 99.999 % ได้สัมผัส ได้เห็น ได้คุ้นเคยกับดิน และได้ใช้ประโยชน์จากดินกันอย่างมากมาย ในวันหนึ่งๆ เราได้รับประโยชน์จากดินทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างมากมาย มนุษย์ได้ให้ความสำคัญกับดินโดยเชื่อว่า พื้นดินมีเทพีที่คอยปกป้องอยู่ คือ พระแม่ธรณี ซึ่งปรากฏในตำนานทั้งศาสนาพราหมณ์, ฮินดู และพุทธศาสนาและจะทำการบูชาด้วย ข้าว ผลไม้ และนมด้วยการวางไว้บนก้อนหิน หรือประพรมลงบนพื้นดิน หลายคนมีความเคยชินกับดินจนถึงขั้นที่มองข้ามความสำคัญของดินไป และเปรียบเทียบดินเป็นสิ่งที่ไร้ค่าไม่มีความหมาย ดินถูกนำมาเปรียบเทียบกับคนที่ต่ำศักดิ์ คนที่ยากจน คนชนชั้นต่ำ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การเปรียบเทียบเช่นนั้นถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะดินเป็นสิ่งที่มีค่าและมีความสำคัญมาก หากใครถูกเปรียบเทียบว่าตนเป็นดินแล้วละก็ ขอให้ท่านจงภูมิใจไว้เถิด ว่าท่านมีค่าและมีความสำคัญต่อผู้คนทั้งโลกเพราะท่านคือสิ่งที่ค้ำจุนสรรพสิ่งทั้งปวงในโลกให้ยังคงมีอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้
- 5. ความสำคัญของดินต่อมนุษย์ดินกำเนิดดินพืชบกรุ่นแรกสุดเกิดขึ้นมาบนโลก เมื่อประมาณ 590 ล้านปีมาแล้ว พืชบกรุ่นแรกนี้มีแต่ลำต้น ไม่มีใบ ไม่มีราก อาศัยเกิดและเกาะติดอยู่บนสาหร่ายทะเลที่ถูกคลื่นซัดขึ้นมาค้างอยู่บนหินและเติบโตอยู่บนนั้น เชื่อกันว่าวิวัฒนาการของพืชบกรุ่นแรกนี้เองที่เป็นสาเหตุทำให้ก้อนหินเกิดการผุพัง แตกแยกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และเกิดพัฒนาการต่อจนกลายเป็นดินในที่สุด ทั้งนี้เพราะการที่พืชมีวิวัฒนาการมากขึ้นจนมีส่วนประกอบของราก ลำต้น ใบ กิจกรรมของรากของพืชที่ชอนไชไปตามร่องรอยแตกของหินและชั้นของหินผุเพื่อหาอาหารไปเลี้ยงลำต้นและใบ รวมทั้งเกาะยึดกับสิ่งต่างๆ เพื่อค้ำจุนลำต้นนั้น ก็จะช่วยเร่งให้หิน แร่ เกิดการสลายตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกเหนือไปจากการผุกร่อนตามธรรมชาติ ที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั้งอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน น้ำค้าง หรือหิมะ ในช่วงเวลาต่างๆ ดินส่วนประกอบของดิน
- 6. ดินดิน ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ1. อนินทรีย์วัตถุหรือ แร่ธาตุ เป็นส่วนประกอบที่มีปริมาณมากที่สุดในดินทั่วไป ได้มาจากการผุพังสลายตัวของหินและแร่ อนินทรียวัตถุอยู่ในดินในลักษณะของชิ้นส่วนที่เรียกว่า อนุภาคดิน ซึ่งมีหลายรูปทรงและมีขนาดแตกต่างกันไป แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มอนุภาคขนาดทราย (เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.00-0.05 ม.ม.) 2) กลุ่มอนุภาคขนาดทรายแป้ง (เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.05-0.002 ม.ม.) 3) กลุ่มอนุภาคขนาดดินเหนียว (เส้นผ่าศูนย์กลาง < 0.002 ม.ม) อนินทรียวัตถุ หรือ แร่ธาตุในดินนี้ เป็นส่วนที่สำคัญในการควบคุมลักษณะของเนื้อดิน เป็นแหล่งกำเนิดของธาตุอาหารพืช และเป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ดิน นอกจากนี้อนุภาคที่อยู่ในกลุ่มขนาดดินเหนียวยังเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการเกิดกระบวนการทางเคมีต่างๆ ในดินด้วย
- 7. ดิน2. อินทรียวัตถุ ในที่นี้มีความหมายครอบคลุมตั้งแต่ส่วนของซากพืชซากสัตว์ที่กำลังสลายตัว เซลล์จุลินทรีย์ ทั้งที่มีชีวิตอยู่และในส่วนที่ตายแล้ว ตลอดจนสารอินทรีย์ที่ได้จากการย่อยสลาย หรือส่วนที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ แต่ไม่รวมถึงรากพืช หรือเศษซากพืช หรือสัตว์ที่ยังไม่มีการย่อยสลาย อินทรียวัตถุในดินนี้ เป็นแหล่งสำคัญของธาตุอาหารพืช และเป็นแหล่งอาหารและพลังงานของจุลินทรีย์ดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน อีกทั้งยังเป็นส่วนที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อสมบัติต่างๆ ของดินทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ เช่น โครงสร้างดิน ความร่วนซุย การระบายน้ำ การถ่ายเทอากาศ การดูดซับน้ำและธาตุอาหารของดิน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และความสามารถในการให้ผลผลิตของดินอีกด้วย
- 8. ดิน3. น้ำในดิน หมายถึง ส่วนของน้ำที่พบอยู่ในช่องว่างระหว่างอนุภาคดินหรือเม็ดดิน มีความสำคัญมากต่อการปลูก และการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากเป็นตัวช่วยในการละลายธาตุอาหารต่างๆ ในดิน และเป็นส่วนสำคัญในการเคลื่อนย้ายอาหารพืชจากรากไปสู่ส่วนต่างๆของพืช 4. อากาศในดิน หมายถึง ส่วนของก๊าซต่างๆ ที่แทรกอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดินในส่วนที่ไม่มีน้ำอยู่ ก๊าซที่พบโดยทั่วไปในดิน คือ ก๊าซไนโตรเจน (N2) ออกซิเจน (O2) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งรากพืชและจุลินทรีย์ดินใช้ในการหายใจ และสร้างพลังงานในการดำรงชีวิต
- 16. ประโยชȨของดินประโยชน์ต่อการสร้างบ้าน ที่อยู่อาศัยมนุษย์ในสมัยก่อนอาศัยอยู่ตามถ้ำต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยตามธรรมชาติ และเมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการเพาะปลูก จึงได้เริ่มมารวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มและเปลี่ยนที่ตั้งถิ่นฐานมาอยู่ตามลุ่มแม่น้ำต่างๆ และมีการสร้างที่อยู่อาศัยขึ้น การสร้างที่อยู่อาศัยนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และชุมชนต่างๆ มีการใช้ไม้ ดิน หิน ปูนต่างๆ มาสร้างเป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งแตกต่างกันไปตามชุมชน ยุคสมัย และเทคโนโลยี ในประเทศไทยได้มีการนำดินมาใช้สร้างบ้านเช่นกัน และในปัจจุบัน บ้านดินก็ได้รับความนิยมอยู่ในระดับหนึ่งบ้านดิน คือบ้านธรรมชาติ บ้านที่สามารถหาวัสดุจากรอบข้างนำมาสร้างเป็นบ้าน บ้านหนึ่งหลังอาจใช้ดินที่อยู่ข้างบ้านกับกับแรงกาย ค่อย ๆ ลงแรงสร้างจนกลายเป็นบ้านคุณภาพ โดยใช้ทุนเพียงเล็กน้อย
- 17. ประโยชȨของดินบ้านดินที่พบเห็นมีวิธีการสร้างหลายเทคนิค ได้แก่แบบปั้น (Cob) เป็นเทคนิคปั้นบ้านขึ้นเป็นหลังโดยใช้ดินเหนียวผสมกับฟางข้าว ปั้นขึ้นเรื่อย ๆ บ้านที่สร้างด้วยเทคนิคนี้สามารถก่อฝาผนังได้สูงประมาณครั้งละ 1 ฟุต ต้องรอให้ดินแห้งสนิท ถึงจะปั้นก่อชั้นต่อไปได้ บ้านดินที่สร้างด้วยเทคนิคนี้จะมีความแข็งแรงมาก กว่าเทคนิคอื่น ๆแบบอิฐดิบ (Adobe Brick) เทคนิคนี้ จะใช้วิธีนำดินมาผสมกับเส้นใย เช่น แกลบ เศษหญ้า หรืออาจจะใช้ฟางข้าว นำมาผสมกับโคลน และปั้นเป็นอิฐดิน และนำมาก่อเป็นฝาผนังบ้าน โดยใช้โคลนเป็นตัวประสาน วิธีการสร้างบ้านด้วยเทคนิคนี้ง่าย สามารถก่อสร้างได้รวดเร็ว มีความแข็งแรง เทคนิคนี้เป็นที่นิยมในเมืองไทย แต่อาจต้องใช้แรงงานมาก
- 18. ประโยชȨของดินแบบโครงไม้(wattle&daub) เริ่มต้นทำโครงสร้างเป็นไม้สานกันเป็นตาราง และนำฟางชุบด้วยโคลนโป๊ะเป็นฝาผนัง การสร้างบ้านด้วยเทคนิคนี้ สามารถสร้าฟงได้ง่าย ใช้แรงน้อย ถ้าทำฝาผนังให้หนา มีความแข็งแรง ไม่แพ้การก่อด้วยอิฐดิบ ข้อจำกัดในเรื่องของการฉาบ อาจจะต้องฉาบหลายครั้ง ถ้าต้องการให้ฝาผนังเรียบ แห้งช้าหากอยู่ในร่มแบบใช้ดินอัด (Rammed earth) เป็นการก่อสร้างฝาผนังโดยทำแบบพิมพ์ แล้วนำดินเหนียวอัด เป็นฝาผนัง เทคนิคนี้ ไม่ค่อยพบในเมืองไทยแบบใช้ท่อนไม้หรือหิน (Cord wood or stones) เป็นการก่อสร้างฝาผนัง โดยการนำเศษไม้หรือหิน มาก่อเป็นฝาผนังบ้าน โดยใช้ดินเป็นตัวประสาน และทำการฉาบด้วยดินอีกชั้นหนึ่งแบบกระสอบทราย (sand bag) เป็นการก่อสร้างบ้านโดยใช้กระสอบใส่ทรายให้เต็มและนำมาวางเรียง อาจจะใช้ลวดหนาม เป็นตัวช่วยยึดให้กระสอบไม่เลือนไหล และฉาบด้วยดินอีกครั้ง เทคนิคนี้ มีการใช้มากในพื้นที่ ที่เกิดสงครามหรือมีการอพยพ พื้นที่ไม่สามารถเข้าไปถึงได้โดยง่าย
- 19. ประโยชȨของดินข้อดีของบ้านดินบ้านหนึ่งหลัง ต้องตัดต้นไม้ที่มีอายุครึ่งค่อนชีวิตของคน หรือระเบิดภูเขาหิน เพื่อนำมาสร้าง ป่าไม้หรือภูเขาหินเหล่านี้ คงไม่มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นแบบเดิมได้อีกต่อไป หนึ่งหลังที่ทำ สิบหลัง ร้อยหลัง ที่สร้างขึ้น ทำให้ป่าเขาและธรรมชาติที่มีอยู่น้อยแล้ว จะต้องหมดไป ลูกหลานของเราคงจะไม่มีโอกาส ได้เห็น ได้สัมผัสกับต้นไม้ใหญ่ ภูเขาหิน สิ่งเหล่านี้จะเป็นเพียงภาพหรือสิ่งที่จำลอง เอาไว้ให้พวกเขาเหล่านั้นได้ดูเท่านั้น บ้านปกติหนึ่งหลัง มีอายุประมาณ 50 ปี ปูนจะเริ่มร่อน ตามกฎหมายต้องรื้อทิ้ง แต่บ้านดินที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นห้องแถว 2 ชั้น ที่ชาวจีนล่องตามน้ำโขง มาค้าขายและได้สร้างขึ้น ปัจจุบันมีอายุเกือบ 100 ปีแล้ว ถึงแม้ไม้ที่เป็นองค์ประกอบบางส่วนจะผุกร่อนไป แต่ในส่วนของดินก็ยังคงอยู่ ไม่เสื่อมสลาย บ้านดินจึงเป็นบ้านที่มีความคงทนแข็งแรง คุณภาพ เทียบเท่า หรือดีกว่าบ้านปกติ
- 20. ประโยชȨของดินบ้านดินถูกสร้างขึ้นมาโดยการเปลี่ยนรูปจากดินให้เป็นบ้านเท่านั้น เมื่อเราสร้างขึ้นแล้วไม่พอใจเราสามารถรื้อและสร้างใหม่ได้ทันทันที บ้านดินจะเปลี่ยนบ้านกลับเป็นดินดังสะภาพเดิม มีคนเคยกล่าวไว้ว่า "เมื่อรื้อลงบ้านดินสามารถปลูกผักได้ทันที" ซึ่งตรงกันข้ามกับบ้านปูน ที่ต้องเสียเวลาในการจัดการขยะปูนกองโต บ้านดินจึงเป็นบ้านที่เป็นมิตรกับธรรมชาติอย่างแท้จริงบ้านดิน มีอุณหภูมิภายใน 24 - 26 องศาเซลเซียส ตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ มนุษย์สามารถอยู่ได้อย่างสบาย ไม่ต้องติดเครื่องปรับอากาศ อีกทั้งฝาผนังบ้านดินยังสามารถดูดซึมความชื้นได้ดี ดังนั้นบ้านดิน จึงช่วยปรับความชื้นภายในได้เป็นอย่างดี ดังที่มีผู้กล่าวว่า "บ้านดินสามารถหายใจได้ บ้านดินคือบ้านที่มีชีวิต“ในประเทศเกาหลี เชื่อว่าธาตุที่อยู่ในตัวเราประกอบไปด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ สมัยนี้คนเราแทบจะไม่ได้สัมผัสกับดิน จึงทำให้ขาดสมดุลภายในร่างกาย การได้สัมผัสกับดิน จะทำให้เกิดความสมดุลขึ้น คนเกาหลียังเชื่อว่า ถ้าคนเราอยู่ในบ้านที่สร้างด้วยดินธาตุในดินจะระเหยแทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย ทำสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งอาจจะจริงตามที่ได้พบเห็น เดียวนี้คนเราป่วยเข้าโรงพยาบาลกันเป็นจำนวนมาก เพราะไม่ได้สัมผัสกับดิน บางคนยังกล่าวว่า บ้านปูนดูดพลังจากเราไปส่วนดินนั้นให้พลังกับเรา
- 21. ประโยชȨของดินบ้านดินเป็นบ้านที่ราคาถูก ถ้าคิดเป็นสัดส่วนของบ้านปกติ บ้านดินจะใช้ทุนเพียง 30% ของบ้านปกติ ถ้าเราสร้างบ้านปกติหลังละ 4 แสนบาท บ้านดินที่สมบูรณ์แบบ จะใช้ทุนเพียง 1 แสนเศษเท่านั้น และบ้านดินยังใช้เวลาในการก่อสร้าง ไม่ถึง 2 อาทิตย์ สามารถเข้าอยู่อาศัยได้ บ้านดินจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่อยากมีบ้าน บ้านปกติหนึ่งหลังอาจใช้เวลาในการสะสมทุนเพื่อก่อสร้าง 20 - 30 ปี หรือครึ่งหนึ่งของการมีชีวิต แต่บ้านดินหนึ่งหลังสามารถ สร้างได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ถ้าเราใช้เวลาว่างจากการทำงานเพียงแค่วันละ 2 - 3 ชั่วโมงในการสร้างบ้าน ในระยะเวลา 3 เดือน เราจะได้บ้านดินคุณภาพ ขนาด 2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ ได้โดยไม่ยาก
- 23. ประโยชȨของดินขั้นตอนที่ 1 การเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกบ้าน พื้นที่สำหรับทำบ้านดิน ควรเป็นพื้นที่ ที่น้ำท่วมไม่ถึง ไม่ใช่ทางน้ำไหลบ่า หากเป็นพื้นที่ถมดินใหม่ควรถมทิ้งไว้ประมาณ 1 ปี หรือผ่านช่วงฤดูฝนสัก 1 ครั้ง ขั้นตอนที่ 2 การทำอิฐดิน การทำอิฐดินสำหรับผู้ที่ออกแรงเป็นประจำจะทำอิฐดินได้วันละ 70 - 100 ก้อน การตากอิฐดินใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน เมื่อตากอิฐได้ประมาณ 2-3 วันให้พลิกอิฐขึ้นตั้งทางด้านแนวนอน และทำการแต่งก้อนอิฐในช่วงเวลานี้ จะมีฝุ่นกระจายออกมาน้อย เมื่ออิฐแห้งสนิทดีแล้วควรนำอิฐมากองรวมกันไว้กลางบ้าน เพื่อสะดวกและก่อกำแพงได้รวดเร็ว การขนย้ายควร ทำเพียงครั้งเดียว จากบริเวณตากอิฐมาที่กลางบ้าน ขั้นตอนที่ 3 การทำรากฐานบ้าน การทำรากฐานบ้านดิน ควรทำรากฐานให้เสร็จและถมดินให้เรียบร้อยก่อนขนย้ายอิฐดินขึ้นมากองไว้กลางบ้าน ขั้นตอนที่ 4 การก่อกำแพงบ้าน หลังจากที่นำอิฐดินมากองไว้กลางบ้านเรียบร้อยแล้ว ช่วงแรกของการก่อกำแพงบ้านจะเร็ว หากก่อขึ้นสูง การทำงานอาจจะช้าลงเพราะ ต้องส่งอิฐดินขึ้นสูง ช่วงนี้อาจติดตั้งวงกบประตูหน้าต่างได้ หรืออาจจะเว้นช่องเอาไว้ติดตั้งในช่วงฉาบ แรงงาน 3 คนสามารถก่ออิฐดินได้วันละ 300 - 500 ก้อน
- 24. ประโยชȨของดินขั้นตอนที่ 5 การขุดบ่อส้วม ในระหว่างที่ดำเนินการก่อกำแพงบ้าน หากช่วงเย็น วัสดุที่เตรียมไว้สำหรับก่อหมดอาจใช้ช่วงเวลานั้นขุดบ่อส้วมได้ หรืออาจจะขุดหลังจากที่ก่อกำแพงเสร็จขั้นตอนที่ 6 การเดินระบบไฟฟ้า ท่อน้ำดี ท่อน้ำเสีย ก่อนฉาบบ้าน ควรเดินท่อน้ำดี น้ำเสีย ท่อส้วมให้เรียบร้อยก่อน เพราะจะทำให้ไม่ต้องเสียเวลา เจาะกำแพงหลังจากที่ฉาบเสร็จ ขั้นตอนที่ 7 ฉาบกำแพงบ้าน การฉาบกำแพงบ้าน ควรฉาบก่อนที่จะขึ้นโครงสร้างหลังคา เพราะหลังจากที่ฉาบเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะทำให้กำแพงบ้านมีความแข็งแรงมากขึ้น และยังช่วยให้แดดส่องกำแพงบ้านได้เต็มที่ ช่วยให้ดินที่ฉาบแห้งเร็ว ขั้นตอนที่ 8 ทำโครงสร้างหลังคา โครงสร้างหลังคา จะมีส่วนที่เชื่อมโยงกับกำแพงบ้าน อาจจะทำโครงสร้างหลังคาไปพร้อมกับงานฉาบได้ หลังจากที่วางอะเส ของโครงสร้างหลังคาเสร็จแล้ว อาจใช้ดินผสมฟางฉาบปิดอะเส เพื่อเพิ่มความแข็งแรง
- 25. ประโยชȨของดินขั้นตอนที่ 9 มุงหลังคา การมุงหลังคาบ้าน ควรมุงหลังจากกำแพงบ้านแห้งสนิทดีแล้ว จะช่วยให้การดำเนินการเร็วขึ้น ขั้นตอนที่ 10 ทำเพดานบ้าน หลังจากมุงหลังคาบ้านเสร็จสิ้น ดำเนินการทำโครงสร้างเพดานและติดตั้งเพดานให้เสร็จสิ้น รวมทั้งทาสีเรียบให้เรียบร้อย จะช่วยให้ไม่ต้องย้ายนั่งร้านหลายครั้งขั้นตอนที่ 11 ฉาบสี หลังจากทำเพดานบ้านเสร็จสิ้น เริ่มต้นทาสีกำแพงบ้าน ควรเริ่มด้านในบ้านก่อน เพราะภายในบ้าน จะได้รับแสงแดดน้อย และอากาศทายเทได้ไม่ดีเท่าบริเวณนอกบ้าน จะทำให้สีแห้งช้า เมื่อฉาบสีด้านในบ้านเสร็จเรียบร้อย อาจจะเก็บรายละเอียดบริเวณขอบประตูหน้าต่างอีกครั้งแล้วทำการฉาบสีพื้นบ้านหรือปูกระเบื้องหากต้องการ ขั้นตอนที่ 12 เทพื้น การเทพื้น หากเป็นพื้นดิน อาจจะเทพื้นทิ้งไว้หลังจากฉาบกำแพงบ้านเรียบร้อยแล้ว เพราะพื้นดินจะใช้เวลานานกว่าที่จะแห้งสนิท อาจใช้เวลาอย่างน้อย 1 อาทิตย์ หากยังไม่ได้มุงหลังคาจะช่วยให้พื้นแห้งไวขึ้น หากเป็นพื้นปูนสามารถเทหลังจากที่ทาสีบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะทำให้ไม่ต้องจัดการกับสีที่ฉาบและร่วงลงมามากนัก
- 26. ประโยชȨของดินขั้นตอนที่ 13 ติดตั้งบานประตู หน้าต่าง หลังจากฉาบสีและเทพื้น เสร็จสิ้นแล้ว ทำการติดประตูหน้าต่างและทาสี ควรหากระดาษหรือผ้ายางรองพื้นกันสีตกลงพื้น ขั้นตอนที่ 14 ติดตั้งหลอดไฟ ติดตั้งสุขภัณฑ์ ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการ ติดตั้งระบบไฟฟ้า ก๊อกน้ำ ชักโครก
- 27. ประโยชȨของดินประโยชน์ในการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆมนุษย์ได้มีการนำดินมาประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปั้นดินเผา อาวุธ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ มนุษย์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้กันมานานแล้ว นับว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้มนุษย์มีความสะดวกสบายมากขึ้น เครื่องปั้นดินเผา ภาชนะชุดแรกๆของมนุษย์นั้นคือการนำ ดิน มาขึ้นรูปเป็นภาชนะต่างๆแล้วนำไปตากแห้ง คุณสมบัติของดิน โดยเฉพาะดินเหนียวสามารถอุ้มน้ำได้ดี และเมื่อผสมเข้ากับน้ำแล้วจะทำให้ดินมีความเหนียวและสามารถที่จะปั้นหรือขึ้นรูปสามมิติ โดยไม่ต้องเพิ่มเติมวัสดุอื่นอีก คำว่า “เครื่องปั้นดินเผา” เป็นคำนามที่มีความหมายที่สื่อให้เข้าใจได้ในตัวเอง (เอาดินมาปั้นแล้วก็เผา)
- 30. ประโยชȨของดินประโยชน์ในการสร้างจารึก การส่งต่อประวัติศาสตร์ในสมัยโบราณ มนุษย์ได้มีการบันทึกเรื่องราวต่างๆ ลงบนแผ่นจารึก โดยอาจะเป็นหิน ไม้ ผนังถ้ำ ต่างๆ และยังมีอีกสิ่งหนึ่งคือ การทำแผ่นจารึกด้วยดิน ตัวอย่างเช่น ชาวสุเมเรียนเริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งในบริเวณอ่าวเปอร์เซียเมื่อประมาณ 7-8 พันปีมาแล้ว คนรุ่นหลังทราบเรื่องราวของชนกลุ่มนี้จากจารึกดินเผาที่เรียกกันว่าคิวนิฟอร์ม ซึ่งบันทึกไว้บนแผ่นดินเหนียว เรื่องราวเหล่านี้กล่าวถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในดินแดนที่เราเรียกกัน ว่า ดินแดนของชาวซูเมอร์ ชาวสุเมเรียนเป็นกลุ่มชนหนึ่งที่สร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
- 38. สรุปผลการดำเนินงานสรุป: ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์อย่างมากมายมหาศาล ดินเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่ ช่วยค้ำจุนสรรพสิ่งต่างๆในโลกให้คงมีอยู่ได้ มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากดินในหลายๆ ด้านดังสรุปได้ ดังนี้ ๑. ประโยชน์ในด้านการเกษตรกรรม ๒. ประโยชน์ในการเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ ๓. ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์ ๔. ประโยชน์ด้านแหล่งที่อยู่อาศัย ๕. ประโยชน์ในการสร้างบ้าน ที่อยู่อาศัย ๖. ประโยชน์ในการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ๗. ประโยชน์ในการสร้างจารึก การส่งต่อประวัติศาสตร์ ๘. ประโยชน์ในการสร้างประติมากรรม ๙. ประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยว ๑๐. ประโยชน์ต่อธรรมชาติ
- 41. จัดทำโดยนักศึกษา รายวิชา 080101 มนุษย์กับการสร้างสรรค์ กลุ่มที่ 461. นางสาวสาวิตรี ทรัพย์ส่งแสง รหัสนักศึกษา 065003762. นางสาวกาญจนี คงสวัสดิ์ รหัสนักศึกษา 065102483. นายภาสกร เฟื้อแก้ว รหัสนักศึกษา 065102674. นางสาวมาริษา มีสันเทียะ รหัสนักศึกษา 065102705. นางสาววัชราภรณ์ ลิ้มเทียมรัตน์ รหัสนักศึกษา 065102766. นางสาวฐิติมา ฉิมกล่อม รหัสนักศึกษา 095109757. นายโรจนะ วณิชาชีวะ รหัสนักศึกษา 095110258. นางสาววริยา บัวแดงดี รหัสนักศึกษา 095110299. นางสาวอมรฉัตร ทองจำรัส รหัสนักศึกษา 0951106310. นายณัฐนันท์ นุชชา รหัสนักศึกษา 09521730