ݺߣ
Submit Search
โค้ชชี่ร้องไห้ ทำไงดี? โดย ศิริรัตน์ ศิริวรรณ
•
0 likes
•
379 views
Sirirat Siriwan
Follow
1 of 2
Download now
Download to read offline
More Related Content
โค้ชชี่ร้องไห้ ทำไงดี? โดย ศิริรัตน์ ศิริวรรณ
1.
1 โค้ชชี่ร้องไห้ ทาไงดี? โดย ศิริรัตน์
ศิริวรรณ วิทยากร และโค้ชที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์โค้ชนานาชาติ ในระหว่างการสนทนาการโค้ช เป็นไปได้ที่ผู้รับการโค้ช (โค้ชชี่) อาจมีอารมณ์รุนแรงเกี่ยวกับประเด็น ปัญหาและสถานการณ์ที่ตนกาลังเผชิญอยู่ โค้ชชี่อาจร้องไห้ออกมา โค้ชที่มีเจตนารมณ์ที่ดีและจิตใจ อ่อนไหว อาจมีอารมณ์ร่วม และรู้สึกเห็นอกเห็นใจโค้ชชี่ จึงช่วยปลอบประโลมโค้ชชี่ โดยหารู้ไม่ว่า การ ทาเช่นนั้น เป็นการกระตุ้นให้โค้ชชี่ยิ่งมีอารมณ์ในเรื่องนั้นๆมากขึ้น และจมลึกลงไปในเรื่องนั้น จนถอน ตัวออกมาได้ยาก โค้ชควรปฏิบัติตนอย่างไร เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ลักษณะนี้ ? มีสติ นิ่ง วางจิตเป็นกลาง ไม่ต้องมีอารมณ์ร่วม เพราะหากโค้ชมีอารมณ์ร่วม สติย่อมไม่สมบูรณ์ จะไม่สามารถให้ความช่วยเหลือ และเป็นกระจกใสที่สะท้อนภาพความจริงให้โค้ชชี่เห็นได้ แต่ กลับจะดึงโค้ชชี่ให้จมดิ่งลงไปในเรื่องราวนั้นยิ่งขึ้น บอกโค้ชชี่ว่า ไม่เป็นไร หากโค้ชชี่ร้องไห้ ให้โค้ชส่งกระดาษทิชชู่ให้ แต่ไม่ต้องปลอบ หรือแตะ ต้องตัวโค้ชชี่ ให้นิ่ง สงบ รับฟัง สักพัก โค้ชชี่จะค่อยๆควบคุมสติได้ เมื่อโค้ชชี่เริ่มตั้งสติได้ โค้ชสามารถชมและสะท้อนจุดแข็งของโค้ชชี่จากสิ่งที่โค้ชชี่พูดออกมา โดย กล่าวขออนุญาตแชร์สิ่งที่ตนเองสัมผัสรับรู้ได้เกี่ยวกับโค้ชชี่เช่น “ดิฉันสัมผัสได้ถึงความเป็นนักสู้ ในตัวคุณ” “องค์กรของคุณโชคดีที่ได้คุณมาทางานด้วย” “ดูเหมือน ท่ามกลางความท้าทาย คุณได้ชิมความสาเร็จระหว่างทางมาไม่น้อย” การชมและสะท้อนจุดแข็งในจังหวะนี้ จะช่วยให้ โค้ชชี่มองเห็นคุณค่าของตน เป็นการปลุกโค้ชชี่ให้ตื่น ช่วยให้เขามองสถานการณ์และตนเองใน อีกแง่มุมหนึ่ง และตระหนักว่าสถานการณ์อาจไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด โค้ชแสดงความเข้าอกเข้าใจ แต่ไม่จาเป็นต้องเห็นอกเห็นใจ โค้ชพึงสร้างความสัมพันธ์ที่ แข็งแกร่งในกระบวนการโค้ช แต่ต้องระมัดระวังที่จะไม่ให้จิตใจของตนขาดความเป็นกลาง มี อคติ เอนเอียงไปเข้าข้างโค้ชชี่ พึงทาตนเป็นกัลยาณมิตรที่ช่วยให้โค้ชชี่ตระหนักรู้ความจริงด้วย มุมมองที่ปราศจากอคติ แยกแยะข้อเท็จจริงออกจากความคิดเห็น อารมณ์ ความรู้สึกได้อย่าง ชัดเจน ตัวอย่างประโยคคาพูดเพื่อแสดงความเข้าอกเข้าใจ เช่น “ดิฉันพอจะมองออกว่าคุณ กาลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ท้าทายไม่น้อยเลย” “ดิฉันเข้าใจดีค่ะว่าทาไมคุณถึงรู้สึกกดดัน เมื่อ ต้องถูกจับตามองจากทุกฝ่าย” หลังจากโค้ชชี่เริ่มตั้งสติได้ และสงบลง ให้กล่าวสอบถามและขออนุญาตโค้ชชี่ว่า โค้ชชี่มีความ ประสงค์ที่จะรับการโค้ชต่อหรือไม่ หรืออยากพักก่อน หากโค้ชชี่ยินดีที่จะให้ดาเนินการโค้ชต่อ โค้ชควรสอบถามความรู้สึก และอารมณ์ ณ ปัจจุบันของโค้ชชี่ เช่น “ตอนนี้ รู้สึกอย่างไรบ้าง?” “ตอนนี้ มีอารมณ์อย่างไร ลองระบุเป็นคา เช่น กลัว โกรธ กังวล?” การระบุอารมณ์ออกมาเป็น
2.
2 คาๆจะช่วยให้โค้ชชี่ตกผลึกอารมณ์ ตระหนักรู้ในอารมณ์ ความรู้สึกที่แท้จริงที่วิ่งวนอยู่ภายใน ตน
เรียกว่าการ ‘ติดฉลากอารมณ์’ อารมณ์ที่ได้รับการติดฉลาก มักมีอิทธิพลลดลง สร้างการ ตระหนักรู้แก่โค้ชชี่ เมื่อโค้ชรับรู้อารมณ์ ณ ปัจจุบัน ย่อมสามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม ระหว่างการสนทนาการโค้ช หมั่นชม สะท้อนจุดแข็ง ศักยภาพเป็นระยะ เพื่อทาให้โค้ชชี่รู้สึก เคารพ และมั่นใจในตนเองเพิ่มขึ้น หวังว่าบทความนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อโค้ชทุกท่าน การให้ความช่วยเหลือผู้อื่นให้สามารถปลดล็อกตนเอง ออกจากปัญหาหรือสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ ผู้ให้ความช่วยเหลือต้องไม่ไปติดกับดักอารมณ์หรือดาดิ่งลง ไปในสถานการณ์ร่วมกันกับเขา เปรียบเสมือน นักเดินทางสองคน คนหนึ่งตกลงไปในบ่อโคลน อีกคน ต้องไม่ตกลงไปด้วย เพื่อหาทางช่วยอีกคนให้สามารถขึ้นมาจากบ่อโคลนนั้นได้
Download