ݺߣ
Submit Search
5.อุปกรณ์และวิธีการ
•
0 likes
•
2,909 views
P
PinNii Natthaya
.อุปกรณ์และวิธีการ
Read less
Read more
1 of 10
Download now
Downloaded 19 times
More Related Content
5.อุปกรณ์และวิธีการ
1.
อุปกรณ์และวิธีการ อุปกรณ์ 1. อุปกรณ์ดําน้ําลึก (SCUBA
diving) 2. เส้นเทปวัดความยาว 30 50 หรือ 100 เมตร 3. กล้องถ่ายภาพใต้น้ํา 4. ตาราง Quadrat วิธีการ 1. พื้นที่ศึกษา แบ่งพื้นที่สํารวจปะการังออกเป็นแนวสํารวจบริเวณที่ตื้นหรือพื้นราบของแนวปะการัง (reef flat) ที่ และแนวสํารวจบริเวณที่ลึกหรือบริเวณไหล่แนวปะการัง (reef edge) ต่อเนื่องลงไปถึงส่วน ลาดชันแนวปะการัง (reef slope) โดยสถานีศึกษามีดังนี้ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ สํารวจแนวปะการังบริเวณที่ตื้นและบริเวณที่ลึก จํานวน 10 สถานี ประกอบด้วยแนวปะการังบริเวณเกาะสตอร์ค อ่าวจาก อ่าวแม่ยาย อ่าวเต่า อ่าวผักกาด เกาะ ตอรินลา อ่าวสุเทพ เกาะปาชุมบา เกาะตอรินลา และอ่าวไม้งาม (ภาพที่ 6) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน สํารวจแนวปะการังบริเวณที่ตื้น จํานวน 7 สถานี ประกอบด้วยแนวปะการังบริเวณหินม้วนเดียว (เกาะห้า) อีสออฟอีเดน (เกาะเจ็ด) เวสออฟอีเดน (เกาะเจ็ด) อ่าวด้านเหนือ (เกาะเจ็ด) และอ่าวไฟแวบ (เกาะแปด) หาดเล็ก (เกาะสี่) และอ่าวนําชัย (เกาะเก้า) (ภาพที่ 7)
2.
18 ภาพที่ 6 สถานีสํารวจปะการัง
จํานวน 10 สถานี ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ภาพที่ 7 สถานีสํารวจปะการัง จํานวน 7 สถานี ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
3.
19 2. การประเมินสถานภาพแนวปะการังโดยวิธี Photo
Belt Transect เป็นวิธีการประเมินสถานภาพแนวปะการังที่ได้รับการพัฒนาโดยหน่วยวิจัยปะการังและสัตว์ พื้นทะเล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อทดแทนการสํารวจด้วยวิธี Video Belt Transect ซึ่ง วิธีการสํารวจแบบนี้มีข้อดี คือ ไม่จําเป็นต้องใช้กล้องถ่ายวิดีโอที่มีราคาแพง ในขณะที่กล้องถ่าย ภาพนิ่งมีราคาที่ไม่แพงมาก สามารถหาซื้อได้ง่าย นอกจากนี้ภาพถ่ายคุณภาพสูงที่ได้จะมีความคมชัด กว่าการบันทึกภาพด้วยกล้องวิดีโอ สามารถให้รายละเอียดข้อมูลสัดส่วนการปกคลุมพื้นที่ ตลอดจน สภาพของแนวปะการังได้ดี ดังนั้นโดยภาพรวมวิธีการนี้จะมีข้อดีเหมือนกับการสํารวจโดยวิธี Video Belt Transect แต่ใช้เวลาทํางานใต้น้ําน้อยกว่า สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลย้อนหลังได้ และสามารถใช้สําหรับการติดตามการเปลี่ยนแปลง (monitoring) ได้โดยไม่จําเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ สําหรับการบันทึกข้อมูลใต้น้ํา 1. การเก็บข้อมูลวิธี Photo Belt Transect การบันทึกข้อมูลโดยวิธี Photo Belt Transect ก่อนที่จะเริ่มทําการสํารวจ มีการบันทึก ข้อมูลสภาพแวดล้อมของพื้นที่สํารวจ ได้แก่ ชื่อสถานีหรือสถานที่ที่ทําการสํารวจ ข้อมูลพิกัดทาง ภูมิศาสตร์ วัน เดือน ปี เวลาที่เริ่มทําการบันทึกข้อมูล และสภาพแวดล้อมทางกายภาพเชิงพื้นที่ ได้แก่ ระดับความลึกของแนวปะการัง (depth) ระยะการมองเห็นใต้น้ํา (visibility) ปริมาณตะกอนหรือสาร แขวนลอยที่ผสมอยู่ในมวลน้ําทะเล (sediment) ลักษณะโครงสร้างของแนวปะการัง เช่น ปะการัง แนวราบ (reef flat) ปะการังแนวสัน (reef edge) ปะการังแนวลาดชัน (reef slope) กองหินใต้น้ํา (rock reef) หรือกลุ่มของปะการังที่เจริญอยู่บนพื้นทราย (patch reef) เป็นต้น รวมถึงข้อมูลทาง ชีวภาพอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในขณะเก็บข้อมูล เช่น การระบาดของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ทั้งดาวมงกุฎหนาม (Acanthaster planci) หอยฝาเดียว (Drupella sp.) ดอกไม้ทะเล (sea anemone) พรมทะเล (zoanthid) หรือสาหร่ายบางชนิด เช่น สาหร่ายเห็ดหูหนู (Padina sp.) สาหร่ายใบมะกรูด (Halimeda sp.) ตลอดจนการเป็นโรคของปะการัง เช่น โรคแถบดํา (black band disease) โรค แถบขาว (white band disease) ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ล้วนมีผลต่อโอกาสในการทดแทนของกลุ่ม ประชากร การเจริญเติบโตของปะการัง ศักยภาพในการแก่งแย่งพื้นที่ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ที่จะ ส่งผลต่อสัดส่วนเปอร์เซ็นต์การปกคลุมพื้นที่ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ในแนวปะการัง การบันทึกข้อมูลองค์ประกอบชนิดปะการัง ทําการบันทึกภาพโดยการใช้เลนส์มุมกว้าง (wide-angle lens) สูงสุดของกล้องสําหรับบันทึกภาพ โดยมีระยะห่างจากพื้นผิวประมาณ 50 เซนติเมตร บันทึกภาพต้องรักษาระยะทางระหว่างหน้ากล้องและพื้นผิว โดยระนาบของหน้ากล้อง จะต้องอยู่ในแนวตั้งฉากกับพื้นผิว เพื่อป้องกันการเกิดมุมบิดของภาพ (Torsion) ขณะทําการบันทึก เพราะจะส่งผลกระทบถึงการวิเคราะห์ข้อมูล และการบันทึกภาพจะถ่ายภาพบริเวณด้านข้างของสาย วัดตลอดแนวเส้นเทปโดยให้แต่ละภาพมีความเหลื่อมกับภาพเดิมเล็กน้อย (ภาพที่ 8)
4.
20 วิธีการเก็บข้อมูลภาคสนาม 1. วางเส้นเทป ความยาว
30 เมตร ความลึกละ 3 เส้น ขนานกับชายฝั่ง ใน 2 ระดับ ความลึก คือ ตัวแทนของสังคมปะการังแบบตื้น (5-6 เมตร) และตัวแทนของสังคมปะการังแบบลึก (8-10 เมตร) 2. วาง quadrate ขนาด 2x2 เมตร (4 ตารางเมตร) บริเวณจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของ เส้นเทป 3. บันทึกภาพด้านขวาของเส้นเทป โดยตั้งกล้องในแนวระนาบที่ความสูงจากแนว ปะการัง 50-75 เซนติเมตร และถ่ายภาพต่อเนื่องกัน จํานวน 60 ภาพต่อ 1 เส้นเทป 4. บันทึกภาพใน quadrat ที่วางบริเวณจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดของเส้นเทปไว้ เพื่อเก็บ เป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ ภาพที่ 8 ประเมินสถานภาพปะการังด้วยวิธี Photo Belt Transect 2. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล โปรแกรม Coral Point Count with Excel extensions (CPCe) (Kevin E. Kohler, Shaun M. Gill. 2006) เป็นโปรแกรมสําหรับการวิเคราะห์สัดส่วนเปอร์เซ็นต์การปกคลุมพื้นที่ของพืช การประมาณค่าประชากรสัตว์ หรือการคํานวณเปอร์เซ็นต์ปกคลุมของสิ่งมีชีวิตบนพื้นทะเล ปะการัง ซึ่งโปรแกรมสามารถที่จะทําการวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์ปกคลุมได้ทั้งในเชิงพื้นที่ (area) และการ วิเคราะห์เปอร์เซ็นต์ปกคลุมโดยวิธีการสุ่มจุด (point) ได้ทั้งการสุ่มแบบกําหนดจุดแน่นอน (fixed point) และการสุ่มจุดแบบสุ่ม (random point) (ภาพที่ 9) รวมถึงการเพิ่มหรือลดจํานวนจุดได้ หลากหลาย นอกจากนี้เมื่อทําการจําแนกชนิดเชิงพื้นที่ หรือการจําแนกชนิดโดยการสุ่มจุดเสร็จสิ้น แล้ว โปรแกรมสามารถที่จะคํานวณเปอร์เซ็นต์ปกคลุมของสิ่งมีชีวิตได้โดยอัตโนมัติ เป็นการอํานวย ความสะดวกในการทํางาน การใช้โปรแกรม CPCe ในการวิเคราะห์ภาพ จําเป็นที่จะต้องมีการจัดการข้อมูลที่จะนํามาวิเคราะห์ ใหม่ให้เป็นระบบ ซึ่งก็คือ การจัดเรียงลําดับของข้อมูล (รูปภาพหรือภาพถ่าย) ก่อนที่จะนําเข้ามา วิเคราะห์ เพื่อป้องกันความสับสนของลําดับภาพ โดยการตั้งชื่อภาพใหม่มีความจําเป็นที่จะต้องคงไว้
5.
21 ซึ่งชื่อภาพที่เป็นต้นฉบับเดิมไว้ เช่น ภาพถ่ายชื่อ
IMG_3522 เมื่อมีการตั้งชื่อเพื่อเรียงลําดับภาพใหม่ ก็ให้ตั้งเป็น 1-IMG_3522 หรือภาพชื่อ IMG_3523 เมื่อตั้งชื่อเพื่อเรียงลําดับภาพใหม่ ให้ตั้งเป็น 2- IMG_3523 เป็นต้น เพื่อประโยชน์ที่จะสามารถย้อนกลับไปดูภาพต้นฉบับเดิมได้ และการนํา ข้อมูลภาพมาวิเคระห์ ผู้เขียนขอแนะนําให้ผู้วิจัยควรทําการสําเนา (copy) ข้อมูลรูปภาพที่ต้องการ วิเคราะห์ใหม่ โดยไม่ใช้ภาพต้นฉบับในการนํามาวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์โดย photo belt transect ทําโดยการเปิดภาพที่บันทึกไว้ด้วยโปแกรมแสดงภาพ แล้วทําการกําหนดจุดแน่นอน (fix point) ลงไปบนภาพ จํานวน 16 จุด จากนั้นบันทึกข้อมูลของสิ่งมีชีวิตภายใต้จุดที่กําหนด นับจํานวน จุดทั้งหมดที่พบในภาพทุกแนวสํารวจ จากนั้นเทียบอัตราส่วนการพบปะการังและรูปทรงเป็นร้อยละ การปกคลุมพื้นที่ (ภาพที่ 10) ภาพที่ 9 รูปแบบการสุ่มจุด (point) การสุ่มแบบกําหนดจุดแน่นอน (fixed point) (ก) และการสุ่ม จุดแบบสุ่ม (random point) (ข) เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ภาพที่ 10 การวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายด้วยโปรแกรม Coral Point Count with Excel extensions (CPCe)
6.
22 3. ระดับการจําแนกชนิดของสิ่งมีชีวิต การวิเคราะห์ข้อมูลสัดส่วนการปกคลุมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดและสิ่งไม่มีชีวิตต่างๆ ในพื้นที่ แนวปะการัง
สามารถกําหนดระดับความละเอียดของการบันทึกข้อมูลตามความสามารถ และ ประสบการณ์ในการศึกษาระบบนิเวศแนวปะการังของผู้วิจัย โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ 1. การบันทึกข้อมูลปะการังมีชีวิตและปะการังตาย (Live & Dead corals) เป็นการบันทึก และวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสําหรับผู้ที่เริ่มต้นศึกษาแนวปะการัง โดยจะทําการบันทึกข้อมูล ปะการัง ที่มีชีวิต (live corals: LC) ปะการังตาย (Dead corals: DC) ทราย (sand: S) และหิน (Rock: R) แม้ว่าจะเป็นระดับการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่ละเอียดมากนัก แต่ก็สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ ปกคลุมของปะการังที่มีชีวิตได้ดี 2. การบันทึกรูปทรงของปะการังและกลุ่มสิ่งมีชีวิตอื่นๆ (Live form level) เป็นการ บันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลในระดับรูปทรงของปะการัง (Live form) และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ผู้สํารวจต้อง ทําความเข้าใจถึงลักษณะที่สําคัญที่ใช้ในการจําแนกรูปทรงรูปแบบต่างๆ ให้แม่นยํา ตลอดจนการ บันทึกสัญลักษณ์ย่อของปะการังแต่ละรูปทรงและสิ่งมีชีวิตแต่ละกลุ่มอย่างละเอียด 3. การบันทึกข้อมูลระดับสกุลหรือชนิด (Genus or species level) การบันทึกและ วิเคราะห์ข้อมูลในระดับสกุลหรือชนิด เหมาะสําหรับนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการความละเอียดของ ข้อมูลสูง เพราะข้อมูลความละเอียดในระดับนี้สามารถแสดงถึงโครงสร้างของแนวปะการังและความ หลากหลายของแนวปะการังได้ดี สามารถที่จะใช้ในการวางแผนการจัดการระบบนิเวศปะการังได้ใน ระดับสูง แต่การจําแนกระดับนี้จําเป็นที่จะต้องอาศัยผู้ที่มีความชํานาญในการจําแนกปะการังในระดับ สกุลหรือชนิดได้ 4. การสํารวจประชากรปลาในแนวปะการัง กําหนดพื้นที่เก็บข้อมูลประชากรปลา ในบริเวณแนวปะการังของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิ ลัน และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จํานวน 12 สถานี (ภาพที่ 6-7) รายละเอียดสถานีแสดงใน ตารางที่ 1 ศึกษาชนิดและความชุกชุมของปลาในแนวปะกาด้วยวิธี Fishes visual census โดยการทํา Belt transect ความยาวของแนวสํารวจ 30 เมตร โดยมีพื้นที่สํารวจข้างแนวสํารวจด้านซ้ายและขวา ด้านละ 5 เมตร จํานวน 3 แนว ทําการสํารวจโดยใช้นักดําน้ําแบบ SCUBA ที่มีความสามารถในการ จําแนกชนิดปลาใต้น้ํา จดบันทึกชนิดและความชุกชุมของปลาในบริเวณแนวปะการังในแต่ละสถานี ศึกษา และทําการสุ่มจุดสํารวจ (Spot check) เพื่อบันทึกรายชื่อปลาที่พบนอกแนวสํารวจ จดบันทึก ข้อมูลชนิด และจํานวนปลาที่พบในแนวสํารวจโดยบันทึกเป็นค่าประมาณความสมบูรณ์แบบ Log 4 Abundance scale (ตารางที่ 2) เพื่อนําข้อมูลไปวิเคราะห์รูปแบบความอุดมสมบูรณ์ของปลาในแนว ปะการังแต่ละพื้นที่ ตลอดจนนําไปคํานวณค่าดัชนีความหลากหลายของชนิดปลาในแนวปะการัง
7.
23 ตารางที่ 1 รายละเอียดพื้นที่ศึกษาประชากรปลา
บริเวณแนวปะการัง ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ สิมิลัน และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ สถานีสํารวจ ชื่อสถานีสํารวจ อุทยานแห่งชาติ SML.1 หาดเล็ก หมู่เกาะสิมิลัน SML.2 เกาะหก ฝั่งตะวันตก หมู่เกาะสิมิลัน SML.3 เกาะห้า หมู่เกาะสิมิลัน SML.4 เกาะหก ฝั่งตะวันออก หมู่เกาะสิมิลัน SML.5 อ่าวไฟแว๊บ เกาะแปด หมู่เกาะสิมิลัน SML.6 อ่าวนําชัย หมู่เกาะสิมิลัน SR. 1 อ่าวไม้งาม หมู่เกาะสุรินทร์ SR. 2 อ่าวแม่ยาย หมู่เกาะสุรินทร์ SR. 3 อ่าวจาก หมู่เกาะสุรินทร์ SR. 4 เกาะสต๊อค หมู่เกาะสุรินทร์ SR. 5 อ่าวผักกาด หมู่เกาะสุรินทร์ SR. 6 อ่าวสุเทพ หมู่เกาะสุรินทร์ SR.7 เกาะตอรินลา หมู่เกาะสุรินทร์ SR. 8 เกาะมังกร หมู่เกาะสุรินทร์ SR. 9 อ่าวเต่า หมู่เกาะสุรินทร์ SR.10 หินแพ หมู่เกาะสุรินทร์ ตารางที่ 2 ค่าลอการิทึมฐาน 4 ในระดับต่างๆ Log 4 Abundant Scale Mid point Range 1 1 1 2 3 2-4 3 10 5-16 4 40 17-64 5 160 65-256 6 640 257-1,024 7 1,025 1,025-4,096
8.
24 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลปลาในแนวแนวปะการัง นําข้อมูลของปลาที่สํารวจได้มาจัดทําบัญชีรายชื่อและวิเคราะห์หาค่าความหลากหลาย และ คํานวณหาความชุกชุมของปลาในแนวแนวปะการังต่อพื้นที่ศึกษาโดยรายงานผลในหน่วยตัวต่อ 300 ตารางเมตร
และเปอร์เซ็นต์ความชุกชุมของปลากลุ่มต่างๆ โดยมีสูตรการคํานวณในสมการ 1 ความชุกชุมของชนิดปลา(ตัวต่อ 300 ตารางเมตร) = จํานวนตัวของปลาแต่ละวงศ์ที่สํารวจพบ ขนาดพื้นที่ที่ทําการสํารวจ 003ݔ วิธีเสนอผลการศึกษา 1. จัดกลุ่มปลาตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ได้แก่ 1.1 ปลาที่มีการใช้ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจการประมง (Target Species) 1.2 ปลาที่มีการใช้ประโยชน์เพื่อเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม (Ornamental Fishes) 1.3 ปลาที่ไม่มีการใช้ประโยชน์หรือยังไม่ทราบการใช้ประโยชน์ (Unknown Utilized Fishes) 2. จัดกลุ่มปลาตามประเภทอาหารที่ปลากิน ได้แก่ 2.1 ปลาที่กินแพลงตอนเป็นอาหาร (Planktivore) 2.2 ปลาที่กินพืชเป็นอาหาร (Herbivore) 2.3 ปลาที่กินสัตว์เป็นอาหาร (Carnivore) 2.4 ปลาที่กินปลาเป็นอาหาร (Piscivore) 3. จัดกลุ่มปลาตามประเภทที่อยู่อาศัย ได้แก่ 3.1 ปลาที่ว่ายอยู่กลางน้ํา (Pelagic Fishes) 3.2 ปลาที่ว่ายอยู่บนพื้นผิวโครงสร้างแนวปะการัง (Coral Reef Associate Fishes) 3.3 ปลาที่หลบซ่อนอยู่ในโครงสร้างแนวปะการัง (Cryptic Species) 3.4 ปลาที่อยู่บนพื้นทรายใกล้ๆ แนวปะการัง (Sandy Demersal Fishes) 4. คํานวนหาค่าดัชนีความหลากหลาย (Diversity Index) ตามสูตรในสมการ 2 เมื่อ H′ = ดัชนีความหลากหลาย Pi = สัดส่วนของชนิดที่ i / สัดส่วนของชนิดทั้งหมด s = จํานวนชนิดทั้งหมด s H′= -∑ Pi ln Pi i-l (1) (2)
9.
25 ดัชนีความสม่ําเสมอการกระจายจํานวน (Evenness Index)
ตามสูตรในสมการ 3 เมื่อ H′ = ดัชนีความหลากหลาย H′ MAXIMUM = ค่าดัชนีความหลากชนิดที่มีค่าสูงสุดเมื่อทุกชนิดมี จํานวนเท่ากัน 5. การสํารวจปะการังอ่อน กําหนดพื้นที่ประเมินปะการังอ่อนในบริเวณแนวปะการังของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จํานวน 12 สถานี (ภาพที่ 6-7) รายละเอียดสถานีแสดงในตาราง ที่ 3 ตารางที่ 3 รายชื่อสถานีประเมินทรัพยากรปะการังอ่อน E ′ = H ′/ H ′MAXIMUM สถานีสํารวจ ชื่อสถานี อุทยานแห่งชาติ สถานีที่ 01 เกาะหก ฝั่งตะวันออก หมู่เกาะสิมิลัน สถานีที่ 02 เกาะห้า (หินม้วนเดียว) หมู่เกาะสิมิลัน สถานีที่ 03 อ่าวไฟแว๊บ เกาะแปด หมู่เกาะสิมิลัน สถานีที่ 04 เกาะหก ฝั่งตะวันตก หมู่เกาะสิมิลัน สถานีที่ 05 เกาะตอรินลา หมู่เกาะสุรินทร์ สถานีที่ 06 อ่าวผักกาด หมู่เกาะสุรินทร์ สถานีที่ 07 อ่าวแม่ยาย หมู่เกาะสุรินทร์ สถานีที่ 08 อ่าวเต่า หมู่เกาะสุรินทร์ สถานีที่ 09 อ่าวไม้งาม หมู่เกาะสุรินทร์ สถานีที่ 10 อ่าวจาก หมู่เกาะสุรินทร์ สถานีที่ 11 เกาะสต๊อค หมู่เกาะสุรินทร์ สถานีที่ 12 อ่าวสุเทพ หมู่เกาะสุรินทร์ (3)
10.
26 สํารวจและเก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ SCUBA ประเมินโดยใช้วิธีการสํารวจแบบกึ่งปริมาณ (semi-quantitative
method) ถึงแม้ว่าวิธีนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมใช้ในการสํารวจเหมือนกับวิธีสํารวจแบบเชิงปริมาณ (quantitative method; line transect, quadrat etc.) อย่างไรก็ตามวิธีการดังกล่าวได้เปรียบเมื่อ ต้องใช้สํารวจในเชิงพื้นที่ที่มีจํานวนมาก นอกจากนั้นเป็นการเพิ่มโอกาสในการเก็บข้อมูลของกลุ่ม สิ่งมีชีวิตที่หายากและกลุ่มที่มีการแพร่กระจายแบบไม่สม่ําเสมอ (rare and heterogeneously distributed taxa) (DeVantier et al, 1998; Fabricius and De’ath, 2001). การสํารวจแบบกึ่งปริมาณมีวิธีการดังนี้ ประเมินข้อมูลความชุกชุมและการแพร่กระจาย โดย ใช้การประเมินด้วยการดู (visual estimate) ใช้วิธีว่ายน้ําเป็นแนวเส้นตรงระยะทางประมาณ 40 นาที (เป็นระยะทางประมาณ 200 เมตร) บนพื้นที่ที่กําหนดเป็นแนวสํารวจ (พื้นราบแนวปะการังหรือ ตอนบนแนวปะการัง ลาดชันแนวปะการังหรือตอนล่างแนวปะการัง และพื้นทรายนอกแนวปะการัง) สําหรับพื้นที่เป็นกองหินว่ายวนรอบกองหิน โดยว่ายเป็นแนวที่ไม่ซ้ํากับเส้นทางเดิม (ตอนบน ตอนล่าง และพื้นทรายนอกแนวหิน) ในการศึกษาครั้งนี้จําแนกปะการังอ่อนในระดับสกุล และกําหนดระดับ ความชุกชุมของประชากรปะการังอ่อนในแต่ละสถานีที่สํารวจออกเป็น 5 ระดับ ซึ่งประยุกต์ใช้จาก Dinesen (1983) โดยใช้ log10 ดังนี้คือ ระดับ 0 หมายถึง ไม่มี (Absent) ระดับ 1 หมายถึง น้อย (Uncommon) ระดับ 2 หมายถึง ปานกลาง (Common) ระดับ 3 หมายถึง ชุกชุมสูง (Abundant) ระดับ 4 หมายถึง ชุกชุมสูงมาก (Dominant) โรคปะการัง ประเมินสภาพโรคปะการังที่ปรากฏตามแนวเส้นสํารวจ โดยจําแนกลักษณะของโรคที่เกิดขึ้น ซึ่งจําแนกจากลักษณะที่เห็นและการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประกอบ เช่น เนื้องอก มีการ เปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของเซลล์หรือลักษณะทางสันฐานวิทยา
Download