ݺߣ

ݺߣShare a Scribd company logo
กฎหมายมรดกกฎหมายมรดก
กานต์สินี ทิพย์
มณเทียร
อาจารย์ผู้สอน
ครั้งที่ ๑
การตกทอด
แห่งมรดกเหตุที่ทำาให้มรดกตกทอด
ป.พ.พ. “มาตรา ๑๕๙๙ วรรคแรก เมื่อ
บุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่
” “ทายาท และมาตรา ๑๖๐๒ วรรคแรก เมื่อ
บุคคลใดต้องถึงแก่ความตายตามความใน
มาตรา ๖๒ แห่งประมวลกฎหมายนี้ มรดกของ
”บุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
a. เมื่อบุคคลใดตาย
b. มรดกตกทอดแก่ทายาท
คำาว่า ตกทอด ตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๐๓ มีสอง
ฝ่าย คือ ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย
“ ”เรียกว่า ทายาทโดยธรรม และทายาท
“ที่มีสิทธิตามพินัยกรรมเรียกว่า ผู้รับ
”พินัยกรรม
-
ตัวอย่าง คำาพิพากษาฎีกา
ฎ ๒๙๘/๒๕๐๕ ที่ดินรายพิพาทเป็นของสามีโจทก์
เมื่อสามีโจทก์ถึงแก่กรรม โจทก์ได้ครอบครองมาฝ่าย
เดียวแต่มิได้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกนั้น โจทก์มีอำานาจ
ฟ้องจำาเลยได้เพราะเมื่อสามีโจทก์ตาย ที่พิพาทย่อมเป็น
มรดกตกทอดมาเป็นของโจทก์ตามกฎหมาย การที่
โจทก์ครอบครองมา ๘ ปี และไม่ได้ขอเป็นผู้จัดการ
มรดกไม่เป็นเหตุตัดอำานาจฟ้อง กรณี เช่นนี้ไม่จำาเป็น
ต้องครอบครองถึง ๑๐ ปี เพราะเป็นเรื่องครอบครอง
”ปรปักษ์ส่วนหนึ่งต่างหาก
ฎ.๑๘๒๔/๒๕๔๓ แม้มรดกจะมีผู้จัดการมรดกอยู่
แล้ว ทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้องร้องให้บุคคลภายนอกชำาระ
หนี้สินของกองมรดกได้
 ๓.ทายาทอาจเสียสิทธิ
 การเสียสิทธิในมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ ได้แก่ ถูกกำาจัดมิให้รับมรดกตามมาตรา
๑๖๐๕ ,๑๖๐๖ หรือถูกตัดมิให้รับมรดกตามมาตรา
๑๖๐๘ หรือทายาทสละมรดกตามมาตรา ๑๖๑๒
หรือเพราะสิทธิฟ้องคดีมรดกขาดอายุความตาม
มาตรา ๑๗๕๔
 การเสียสิทธิในมรดกตามกฎหมายอื่น เช่น การเข้า
มาเป็นคู่ความแทนผู้มรณะตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๔๒
กำาหนดให้ทายาทร้องขอรับมรดกความภายใน ๑ ปี
 “มาตรา ๑๖๐๐ ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวล
กฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตาย ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิด
ของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่
ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้
”ตายโดยแท้
 กองมรดกของผู้ตายได้แก่
 ๑.ทรัพย์สิน (ม.๑๓๗,๑๓๘)
 ปัญหาว่า ศพเป็นทรัพย์สินหรือไม่
 การทำาพินัยกรรมอุทิศศพของเจ้ามรดกให้แก่โรงพยาบาล
นั้นถือว่าเป็นการกำาหนดเผื่อตายในการต่างๆ ตามมาตรา
๑๖๔๖ ซึ่งแม้ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินก็ใช้บังคับได้
 ต้องเป็นทรัพย์สินของผู้ตายในระหว่างมีชีวิต
 ถ้าทรัพย์สินนั้นไม่เป็นของผู้ตายแล้วก่อน
ตายย่อมไม่เป็นมรดกและไม่ตกทอดแก่
ทายาท
 ฎ.เงินบำานาญตกทอด กฎหมายบัญญัติให้สิทธิแก่
บุคคลที่กฎหมายระบุไว้โดยตรง ไม่เป็นมรดกของผู้
ตาย
 ฎ.๔/๒๕๐๕ บำานาญตกทอดเป็นการให้สิทธิที่จะได้
เงินช่วยเหลือแก่ทายาทหรือผู้อยู่ในอุปการะ
โดยตรงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะที่ตายจึง
ไม่เป็นมรดก
 ฎ.๑๓๒/๒๕๐๗ โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นมารดานายสิงห์ดำา
นายสิงห์ดำาเป็นสมาชิกสงเคราะห์ครอบครัวข้าราชการครู
(ชพค ลำาพูน) เมื่อนายสิงห์ดำาตาย โจทก์มีสิทธิได้รับเงินทุน
สงเคราะห์ช่วยงานศพ และอุปการะบุตรและนายสิงห์ดำาได้
ทำาพินัยกรรมยกเงินส่วนนี้ให้โจทก์ จำาเลยเป็นศึกษาธิการมี
อำานาจหน้าที่จ่ายเงินนี้ แต่กลับไม่จ่ายและเอาไปแบ่งให้บุตร
ผู้ตายโจทก์จึงฟ้องคดีนี้
 ศาลฎีกา องค์การ ช.พ.ค. นี้ตั้งขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วย
การฌาปนกิจเพื่อนครูและสงเคราะห์ครอบครัว โดย
เฉพาะบุตรผู้ตาย เงินสงเคราะห์นี้เป็นเงินที่สมาชิกอื่น
ช่วยกันบริจาคเมื่อสมาชิกคนหนึ่งตาย เพื่อนอนุเคราะห์
ช่วยเหลืองานศพและครอบครัวผู้ตาย ผู้ตายเองหามีสิทธิ
แต่อย่างใดไม่ เงินนั้นจึงมิใช่กองมรดกของผู้ตาย
 ที่กล่าวมาแล้วเป็นเรื่องทรัพย์สินซึ่งตกได้ภายหลังๆ
ก่อนตายยังไม่มีสิทธิได้รับจึงไม่เป็นมรดก หากเป็น
ทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้ตาย หรือผู้ซึ่งตายมีสิทธิได้รับอยู่
แล้วก่อนตาย ย่อมถือว่าเป็นมรดก
 ฎ.๑๙๕๓/๒๕๑๕ เงินสะสมซึ่งทางราชการหักเก็บไว้
จากเงินเดือนของข้าราชการทุกเดือนนั้น หาก
ราชการผู้นั้นถึงแก่ความตาย เงินสะสมย่อมเป็น
มรดกของผู้ตาย และอยู่ในความรับผิดแห่งการ
บังคับคดีด้วย
 ๒.สิทธิ ตามมาตรา ๑๖๐๐ หมายความถึง บุคคล
ฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกร้องให้บุคคลอีก ฝ่ายหนึ่งปฏิบัติ
ตามสัญญาหรือตามที่กฎหมายให้อำานาจ
 ทายาทผู้รับมรดกย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์
มรดกนั้นได้ไม่ต้องร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเสีย
ก่อน (ฎ.๘๘๕/๒๔๙๘)
 โจทก์และสามีจำาเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกันและ
ได้ตกลงแบ่งแยกที่ดินกันเป็นส่วนสัด เจ้าพนักงาน
ได้บันทึกข้อตกลงไว้ แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนแบ่ง
แยก สามีจำาเลยได้ตายลงข้อตกลงของโจทก์และ
 สิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการ
ปลงศพเป็นสิทธิของทายาทที่จะเรียกร้องเองแก่ผู้
กระทำาละเมิดทำาให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ส่วน
สิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแก่
ทรัพย์สินของเจ้ามรดก เนื่องจากการกระทำาละเมิดก็
เป็นสิทธิของเจ้ามรดกที่จะตกทอดแก่ทายาทเช่นกัน
ฉะนั้นเมื่อ ส.ได้รับรองโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ว่าเป็น
บุตรแล้วและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ม. ๑๖๒๗ ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน มิสิทธิรับมรดก
ของ ส.โจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่า
ปลงศพ ส.และค่าที่รถจักรยานยนต์ของ ส.เสียหาย
 เมื่อ พ.ถึงแก่ความตายสิทธิหน้าที่และความรับผิด
อันเป็นทรัพย์สินที่ พ.มีอยู่ในกิจการ ห.จ.ก. ล
บริษัท ท. และกิจการของบริษัท ด. อันได้แก่เงินลง
หุ้น ค่าหุ้น ผลกำาไร และเงินปันผล เป็นต้น ย่อมเป็น
มรดก (ฎ.๖๒๒/๒๕๔๓)
 เช็คพิพาทในคดีนี้ทั้งสองฉบับถึงกำาหนด ภายหลัง
จากที่ ป. ถึงแก่ความตาย สิทธิตามเช็คจึงเป็นมรดก
ตกได้แก่ โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทผู้ตายทันทีตาม
ป.พ.พ.มาตรา ๑๕๙๙ โจทก์ทั้งสาม จึงเป็นผู้ทรง
เช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อธนาคารตาม
เช็คปฎิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทย่อมถือได้ว่า
น
 โจทก์เป็นบุตรของ ศ. จึงเป็นทายาทของผู้มี
สิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาท ส่วนของ ศ. เมื่อ
โจทก์ไปขอให้จำาเลยดำาเนินการแบ่งแยก
ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ แต่จำาเลยเพิกเฉย ถือว่า
จำาเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมี
อำานาจฟ้อง
 โจทก์ ศ
 จำาเลย (แบ่งแยก)
 จำาเลยเพิกเฉยถือว่าจำาเลยโต้แย้งสิทธิแล้ว
หน้าที่และความรับผิด ตาม
มาตรา ๑๖๐๐
 หมายถึง ภาระและความผูกพันที่บุคคลฝ่าย
หนึ่งจะต้องกระทำาให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง
 เช่น บิดาทำาละเมิดขับรถยนต์ชนคนอื่นได้รับ
บาดเจ็บ ซึ่งบิดาจะต้องรับผิดชดใช้ค่า
สินไหมทดแทนแก่ผู้ถูกทำาละเมิด แต่ยังไม่ได้
มีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนบิดา ได้ถึงแก่
ความตายเช่นนี้ ความรับผิดดังกล่าวย่อมเป็น
มรดกตกแก่ทายาทที่จะต้องรับผิดต่อผู้ถูกทำา
ละเมิด
 ฎ.๔๕๕/๒๕๑๒ (ป) หน้าที่โอนขายที่ดินตามสัญญา
ประนีประนอมยอมความและคำาพิพากษาตามยอม
นั้น ตามกฎหมายและโดยสภาพไม่ใช่เป็นการ
เฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จึงเป็นมรดกของผู้ตาย
ผู้ซื้อในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกย่อมมีสิทธิขอให้
บังคับคดีเอาที่ดินของผู้ตายโอนชำาระหนี้ให้แก่ตน
ได้ตามคำาพิพากษา
 ฎ.๑๔๑๖/๒๕๒๒ การสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้านั้น
หมายความเพียงว่าผู้ทรงมีสิทธิเรียกเงินตามเช็ค
จากธนาคารได้ต่อเมื่อถึงวันที่กำาหนดในเช็คเท่านั้น
แม้ผู้สั่งจ่ายจะถึงแก่กรรมไปก่อนวันเช็คถึงกำาหนด
ก็หาทำาให้ผู้สั่งจ่ายที่ได้ลงลายมือชื่อในเช็คนั้นหลุด
 ฎ.๓๒๔๐/๒๕๓๗ มารดาจำาเลยปักเสาไฟฟ้าและเดิน
สายไฟฟ้าผ่านที่ดินของโจทก์โดยโจทก์ไม่ยินยอม
เป็นละเมิด เมื่อมารดาจำาเลยตายจำาเลยเป็นทายาท
ต้องรับผิดรื้อถอนเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้าและทำาให้
ที่ดินเป็นสภาพดังเดิม
 ทรัพย์สิน หรือสิทธิ หน้าที่และความรับผิด ซึ่งจะ
เป็นมรดกนั้นจะต้องไม่มีการจำาหน่ายจ่ายโอน หรือ
ระงับไปแล้วก่อนตาย
 หากได้มีการจำาหน่ายจ่ายโอนไปแล้วย่อมไม่เป็น
มรดกอีกเช่นกัน เพราะมิใช่เป็นของเจ้ามรดกใน
 ฎ ๔๓๒๑/๔๐ ก่อนตายผู้ตายยกที่ดิน สค.๑ ให้แก่
บุตรโดยสละการครอบครองที่ดิน ที่ดินนั้นมิใช่
ทรัพย์สินของผู้ตาย โจทก์ไม่มีอำานาจฟ้องให้ศาล
พิพากษาว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกและให้จดทะเบียน
โอนให้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดก
 สิทธิ หน้าที่และความรับผิด ซึ่งตามกฎหมาย
ก็ถือว่าเป็นการเฉพาะตัวผู้ตายโดยแท้
 สิทธิเรียกค่าทดแทนเกี่ยวกับการหมั้น
(ม.๑๔๔๗)
 สิทธิอาศัย
 สิทธิเก็บกิน
 สิทธิเหนือพื้นดิน
 สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
 ตัวอย่าง นายหนึ่งให้สิทธิอาศัยแก่นายสองเพื่อ
อาศัยในโรงเรือนของตนมีกำาหนดระยะเวลา ๑๐ ปี
โดยทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้า
หน้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งกรณีเช่นนี้ นางสาม
และนายสี่ ซึ่งเป็นภริยาและบุตรของนายสองย่อม
อาศัยอยู่ในโรงเรือนได้เพียง ๒ ปี นายสองถึงแก่
ความตาย ดังนี้ ย่อมถือว่าสิทธิอาศัยระงับลง นาง
สามและนายสี่จะต้องออกจากโรงเรือนทันทีจะอ้าง
ว่าตนรับมรดกในสิทธิที่จะอยู่ในโรงเรือนต่อจาก
นายสองอีก ๘ ปีที่เหลือไม่ได้
สิทธิเก็บกิน
 สิทธิเก็บกินเป็นเรื่องเฉพาะตัวผู้ทรงสิทธิ ผู้ทรงสิทธิจะโอน
สิทธิเก็บกินไปให้บุคคลอื่นไม่ได้ไม่ว่าทางใดและหากผู้ทรง
สิทธิเก็บกินถึงแก่ความตาย สิทธินั้นก็เป็นอันระงับไปตามที่
ป.พ.พ. ม. ๑๔๑๘ วรรคสอง บัญญัติว่า
 “ผู้ทรงสิทธิเก็บกินถึงแก่ความตาย ท่านว่าสิทธิย่อมสิ้นไป
เสมอ
 ตัวอย่าง นายเดือนจดทะเบียนสิทธิเก็บกินในที่ดินให้แก่นาย
ดาวมีกำาหนด ๑๐ ปี หลังจากนั้น ๓ ปี นายดาวถึงแก่ความ
ตายเช่นนี้ ย่อมทำาให้สิทธิเก็บกินในที่ดินดังกล่าวระงับสิ้นไป
นายฟ้าทายาทของนายดาวต้องส่งที่ดินคืนให้แก่นายเดือน
จะอ้างใช้สิทธิต่อไปตามระยะเวลาที่เหลืออีก ๗ ปีไม่ได้
สิทธิเก็บกิน
 หากข้อเท็จจริงปรากฏว่านายเดือนถึงแก่ความตาย
เช่นนี้สิทธิเก็บกินไม่ระงับเพราะไม่มีกฎหมาย
กำาหนดให้เป็นเรื่องเฉพาะตัวของนายเดือนผู้ให้สิทธิ
แต่อย่างใด ทายาทของนายเดือนต้องยอมให้นาย
ดาวมิสิทธิเก็บกินในที่ดินต่อไปจนกว่าจะครบ ๑๐ ปี
 อย่างไรก็ตาม กรณีผู้ทรงสิทธิเก็บกินถึงแก่ความ
ตาย ทำาให้สิทธิเก็บกินต้องระงับ ตามมาตรา ๑๔๑๘
วรรคท้าย แต่การที่สิทธิเก็บกินระงับนี้ไม่มีผลไปถึง
สิทธิบุคคลภายนอกแต่อย่างใด โดยหากบุคคล
ภายนอกได้รับสิทธิในทรัพย์สินจากผู้ทรงสิทธิโดย
ชอบบุคคลภายนอกนั้นยังคงมีสิทธิในทรัพย์สินนั้น

More Related Content

มรดก 1

  • 2. การตกทอด แห่งมรดกเหตุที่ทำาให้มรดกตกทอด ป.พ.พ. “มาตรา ๑๕๙๙ วรรคแรก เมื่อ บุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ ” “ทายาท และมาตรา ๑๖๐๒ วรรคแรก เมื่อ บุคคลใดต้องถึงแก่ความตายตามความใน มาตรา ๖๒ แห่งประมวลกฎหมายนี้ มรดกของ ”บุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
  • 3. a. เมื่อบุคคลใดตาย b. มรดกตกทอดแก่ทายาท คำาว่า ตกทอด ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๐๓ มีสอง ฝ่าย คือ ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย “ ”เรียกว่า ทายาทโดยธรรม และทายาท “ที่มีสิทธิตามพินัยกรรมเรียกว่า ผู้รับ ”พินัยกรรม
  • 4. - ตัวอย่าง คำาพิพากษาฎีกา ฎ ๒๙๘/๒๕๐๕ ที่ดินรายพิพาทเป็นของสามีโจทก์ เมื่อสามีโจทก์ถึงแก่กรรม โจทก์ได้ครอบครองมาฝ่าย เดียวแต่มิได้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกนั้น โจทก์มีอำานาจ ฟ้องจำาเลยได้เพราะเมื่อสามีโจทก์ตาย ที่พิพาทย่อมเป็น มรดกตกทอดมาเป็นของโจทก์ตามกฎหมาย การที่ โจทก์ครอบครองมา ๘ ปี และไม่ได้ขอเป็นผู้จัดการ มรดกไม่เป็นเหตุตัดอำานาจฟ้อง กรณี เช่นนี้ไม่จำาเป็น ต้องครอบครองถึง ๑๐ ปี เพราะเป็นเรื่องครอบครอง ”ปรปักษ์ส่วนหนึ่งต่างหาก ฎ.๑๘๒๔/๒๕๔๓ แม้มรดกจะมีผู้จัดการมรดกอยู่ แล้ว ทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้องร้องให้บุคคลภายนอกชำาระ หนี้สินของกองมรดกได้
  • 5.  ๓.ทายาทอาจเสียสิทธิ  การเสียสิทธิในมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ ได้แก่ ถูกกำาจัดมิให้รับมรดกตามมาตรา ๑๖๐๕ ,๑๖๐๖ หรือถูกตัดมิให้รับมรดกตามมาตรา ๑๖๐๘ หรือทายาทสละมรดกตามมาตรา ๑๖๑๒ หรือเพราะสิทธิฟ้องคดีมรดกขาดอายุความตาม มาตรา ๑๗๕๔  การเสียสิทธิในมรดกตามกฎหมายอื่น เช่น การเข้า มาเป็นคู่ความแทนผู้มรณะตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๔๒ กำาหนดให้ทายาทร้องขอรับมรดกความภายใน ๑ ปี
  • 6.  “มาตรา ๑๖๐๐ ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตาย ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิด ของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ ”ตายโดยแท้  กองมรดกของผู้ตายได้แก่  ๑.ทรัพย์สิน (ม.๑๓๗,๑๓๘)  ปัญหาว่า ศพเป็นทรัพย์สินหรือไม่  การทำาพินัยกรรมอุทิศศพของเจ้ามรดกให้แก่โรงพยาบาล นั้นถือว่าเป็นการกำาหนดเผื่อตายในการต่างๆ ตามมาตรา ๑๖๔๖ ซึ่งแม้ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินก็ใช้บังคับได้  ต้องเป็นทรัพย์สินของผู้ตายในระหว่างมีชีวิต
  • 7.  ถ้าทรัพย์สินนั้นไม่เป็นของผู้ตายแล้วก่อน ตายย่อมไม่เป็นมรดกและไม่ตกทอดแก่ ทายาท  ฎ.เงินบำานาญตกทอด กฎหมายบัญญัติให้สิทธิแก่ บุคคลที่กฎหมายระบุไว้โดยตรง ไม่เป็นมรดกของผู้ ตาย  ฎ.๔/๒๕๐๕ บำานาญตกทอดเป็นการให้สิทธิที่จะได้ เงินช่วยเหลือแก่ทายาทหรือผู้อยู่ในอุปการะ โดยตรงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะที่ตายจึง ไม่เป็นมรดก
  • 8.  ฎ.๑๓๒/๒๕๐๗ โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นมารดานายสิงห์ดำา นายสิงห์ดำาเป็นสมาชิกสงเคราะห์ครอบครัวข้าราชการครู (ชพค ลำาพูน) เมื่อนายสิงห์ดำาตาย โจทก์มีสิทธิได้รับเงินทุน สงเคราะห์ช่วยงานศพ และอุปการะบุตรและนายสิงห์ดำาได้ ทำาพินัยกรรมยกเงินส่วนนี้ให้โจทก์ จำาเลยเป็นศึกษาธิการมี อำานาจหน้าที่จ่ายเงินนี้ แต่กลับไม่จ่ายและเอาไปแบ่งให้บุตร ผู้ตายโจทก์จึงฟ้องคดีนี้  ศาลฎีกา องค์การ ช.พ.ค. นี้ตั้งขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วย การฌาปนกิจเพื่อนครูและสงเคราะห์ครอบครัว โดย เฉพาะบุตรผู้ตาย เงินสงเคราะห์นี้เป็นเงินที่สมาชิกอื่น ช่วยกันบริจาคเมื่อสมาชิกคนหนึ่งตาย เพื่อนอนุเคราะห์ ช่วยเหลืองานศพและครอบครัวผู้ตาย ผู้ตายเองหามีสิทธิ แต่อย่างใดไม่ เงินนั้นจึงมิใช่กองมรดกของผู้ตาย
  • 9.  ที่กล่าวมาแล้วเป็นเรื่องทรัพย์สินซึ่งตกได้ภายหลังๆ ก่อนตายยังไม่มีสิทธิได้รับจึงไม่เป็นมรดก หากเป็น ทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้ตาย หรือผู้ซึ่งตายมีสิทธิได้รับอยู่ แล้วก่อนตาย ย่อมถือว่าเป็นมรดก  ฎ.๑๙๕๓/๒๕๑๕ เงินสะสมซึ่งทางราชการหักเก็บไว้ จากเงินเดือนของข้าราชการทุกเดือนนั้น หาก ราชการผู้นั้นถึงแก่ความตาย เงินสะสมย่อมเป็น มรดกของผู้ตาย และอยู่ในความรับผิดแห่งการ บังคับคดีด้วย
  • 10.  ๒.สิทธิ ตามมาตรา ๑๖๐๐ หมายความถึง บุคคล ฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกร้องให้บุคคลอีก ฝ่ายหนึ่งปฏิบัติ ตามสัญญาหรือตามที่กฎหมายให้อำานาจ  ทายาทผู้รับมรดกย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์ มรดกนั้นได้ไม่ต้องร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเสีย ก่อน (ฎ.๘๘๕/๒๔๙๘)  โจทก์และสามีจำาเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกันและ ได้ตกลงแบ่งแยกที่ดินกันเป็นส่วนสัด เจ้าพนักงาน ได้บันทึกข้อตกลงไว้ แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนแบ่ง แยก สามีจำาเลยได้ตายลงข้อตกลงของโจทก์และ
  • 11.  สิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการ ปลงศพเป็นสิทธิของทายาทที่จะเรียกร้องเองแก่ผู้ กระทำาละเมิดทำาให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ส่วน สิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแก่ ทรัพย์สินของเจ้ามรดก เนื่องจากการกระทำาละเมิดก็ เป็นสิทธิของเจ้ามรดกที่จะตกทอดแก่ทายาทเช่นกัน ฉะนั้นเมื่อ ส.ได้รับรองโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ว่าเป็น บุตรแล้วและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. ๑๖๒๗ ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน มิสิทธิรับมรดก ของ ส.โจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่า ปลงศพ ส.และค่าที่รถจักรยานยนต์ของ ส.เสียหาย
  • 12.  เมื่อ พ.ถึงแก่ความตายสิทธิหน้าที่และความรับผิด อันเป็นทรัพย์สินที่ พ.มีอยู่ในกิจการ ห.จ.ก. ล บริษัท ท. และกิจการของบริษัท ด. อันได้แก่เงินลง หุ้น ค่าหุ้น ผลกำาไร และเงินปันผล เป็นต้น ย่อมเป็น มรดก (ฎ.๖๒๒/๒๕๔๓)  เช็คพิพาทในคดีนี้ทั้งสองฉบับถึงกำาหนด ภายหลัง จากที่ ป. ถึงแก่ความตาย สิทธิตามเช็คจึงเป็นมรดก ตกได้แก่ โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทผู้ตายทันทีตาม ป.พ.พ.มาตรา ๑๕๙๙ โจทก์ทั้งสาม จึงเป็นผู้ทรง เช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อธนาคารตาม เช็คปฎิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทย่อมถือได้ว่า
  • 13. น  โจทก์เป็นบุตรของ ศ. จึงเป็นทายาทของผู้มี สิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาท ส่วนของ ศ. เมื่อ โจทก์ไปขอให้จำาเลยดำาเนินการแบ่งแยก ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ แต่จำาเลยเพิกเฉย ถือว่า จำาเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมี อำานาจฟ้อง  โจทก์ ศ  จำาเลย (แบ่งแยก)  จำาเลยเพิกเฉยถือว่าจำาเลยโต้แย้งสิทธิแล้ว
  • 14. หน้าที่และความรับผิด ตาม มาตรา ๑๖๐๐  หมายถึง ภาระและความผูกพันที่บุคคลฝ่าย หนึ่งจะต้องกระทำาให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง  เช่น บิดาทำาละเมิดขับรถยนต์ชนคนอื่นได้รับ บาดเจ็บ ซึ่งบิดาจะต้องรับผิดชดใช้ค่า สินไหมทดแทนแก่ผู้ถูกทำาละเมิด แต่ยังไม่ได้ มีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนบิดา ได้ถึงแก่ ความตายเช่นนี้ ความรับผิดดังกล่าวย่อมเป็น มรดกตกแก่ทายาทที่จะต้องรับผิดต่อผู้ถูกทำา ละเมิด
  • 15.  ฎ.๔๕๕/๒๕๑๒ (ป) หน้าที่โอนขายที่ดินตามสัญญา ประนีประนอมยอมความและคำาพิพากษาตามยอม นั้น ตามกฎหมายและโดยสภาพไม่ใช่เป็นการ เฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จึงเป็นมรดกของผู้ตาย ผู้ซื้อในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกย่อมมีสิทธิขอให้ บังคับคดีเอาที่ดินของผู้ตายโอนชำาระหนี้ให้แก่ตน ได้ตามคำาพิพากษา  ฎ.๑๔๑๖/๒๕๒๒ การสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้านั้น หมายความเพียงว่าผู้ทรงมีสิทธิเรียกเงินตามเช็ค จากธนาคารได้ต่อเมื่อถึงวันที่กำาหนดในเช็คเท่านั้น แม้ผู้สั่งจ่ายจะถึงแก่กรรมไปก่อนวันเช็คถึงกำาหนด ก็หาทำาให้ผู้สั่งจ่ายที่ได้ลงลายมือชื่อในเช็คนั้นหลุด
  • 16.  ฎ.๓๒๔๐/๒๕๓๗ มารดาจำาเลยปักเสาไฟฟ้าและเดิน สายไฟฟ้าผ่านที่ดินของโจทก์โดยโจทก์ไม่ยินยอม เป็นละเมิด เมื่อมารดาจำาเลยตายจำาเลยเป็นทายาท ต้องรับผิดรื้อถอนเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้าและทำาให้ ที่ดินเป็นสภาพดังเดิม  ทรัพย์สิน หรือสิทธิ หน้าที่และความรับผิด ซึ่งจะ เป็นมรดกนั้นจะต้องไม่มีการจำาหน่ายจ่ายโอน หรือ ระงับไปแล้วก่อนตาย  หากได้มีการจำาหน่ายจ่ายโอนไปแล้วย่อมไม่เป็น มรดกอีกเช่นกัน เพราะมิใช่เป็นของเจ้ามรดกใน
  • 17.  ฎ ๔๓๒๑/๔๐ ก่อนตายผู้ตายยกที่ดิน สค.๑ ให้แก่ บุตรโดยสละการครอบครองที่ดิน ที่ดินนั้นมิใช่ ทรัพย์สินของผู้ตาย โจทก์ไม่มีอำานาจฟ้องให้ศาล พิพากษาว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกและให้จดทะเบียน โอนให้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดก
  • 18.  สิทธิ หน้าที่และความรับผิด ซึ่งตามกฎหมาย ก็ถือว่าเป็นการเฉพาะตัวผู้ตายโดยแท้  สิทธิเรียกค่าทดแทนเกี่ยวกับการหมั้น (ม.๑๔๔๗)  สิทธิอาศัย  สิทธิเก็บกิน  สิทธิเหนือพื้นดิน  สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
  • 19.  ตัวอย่าง นายหนึ่งให้สิทธิอาศัยแก่นายสองเพื่อ อาศัยในโรงเรือนของตนมีกำาหนดระยะเวลา ๑๐ ปี โดยทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้า หน้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งกรณีเช่นนี้ นางสาม และนายสี่ ซึ่งเป็นภริยาและบุตรของนายสองย่อม อาศัยอยู่ในโรงเรือนได้เพียง ๒ ปี นายสองถึงแก่ ความตาย ดังนี้ ย่อมถือว่าสิทธิอาศัยระงับลง นาง สามและนายสี่จะต้องออกจากโรงเรือนทันทีจะอ้าง ว่าตนรับมรดกในสิทธิที่จะอยู่ในโรงเรือนต่อจาก นายสองอีก ๘ ปีที่เหลือไม่ได้
  • 20. สิทธิเก็บกิน  สิทธิเก็บกินเป็นเรื่องเฉพาะตัวผู้ทรงสิทธิ ผู้ทรงสิทธิจะโอน สิทธิเก็บกินไปให้บุคคลอื่นไม่ได้ไม่ว่าทางใดและหากผู้ทรง สิทธิเก็บกินถึงแก่ความตาย สิทธินั้นก็เป็นอันระงับไปตามที่ ป.พ.พ. ม. ๑๔๑๘ วรรคสอง บัญญัติว่า  “ผู้ทรงสิทธิเก็บกินถึงแก่ความตาย ท่านว่าสิทธิย่อมสิ้นไป เสมอ  ตัวอย่าง นายเดือนจดทะเบียนสิทธิเก็บกินในที่ดินให้แก่นาย ดาวมีกำาหนด ๑๐ ปี หลังจากนั้น ๓ ปี นายดาวถึงแก่ความ ตายเช่นนี้ ย่อมทำาให้สิทธิเก็บกินในที่ดินดังกล่าวระงับสิ้นไป นายฟ้าทายาทของนายดาวต้องส่งที่ดินคืนให้แก่นายเดือน จะอ้างใช้สิทธิต่อไปตามระยะเวลาที่เหลืออีก ๗ ปีไม่ได้
  • 21. สิทธิเก็บกิน  หากข้อเท็จจริงปรากฏว่านายเดือนถึงแก่ความตาย เช่นนี้สิทธิเก็บกินไม่ระงับเพราะไม่มีกฎหมาย กำาหนดให้เป็นเรื่องเฉพาะตัวของนายเดือนผู้ให้สิทธิ แต่อย่างใด ทายาทของนายเดือนต้องยอมให้นาย ดาวมิสิทธิเก็บกินในที่ดินต่อไปจนกว่าจะครบ ๑๐ ปี  อย่างไรก็ตาม กรณีผู้ทรงสิทธิเก็บกินถึงแก่ความ ตาย ทำาให้สิทธิเก็บกินต้องระงับ ตามมาตรา ๑๔๑๘ วรรคท้าย แต่การที่สิทธิเก็บกินระงับนี้ไม่มีผลไปถึง สิทธิบุคคลภายนอกแต่อย่างใด โดยหากบุคคล ภายนอกได้รับสิทธิในทรัพย์สินจากผู้ทรงสิทธิโดย ชอบบุคคลภายนอกนั้นยังคงมีสิทธิในทรัพย์สินนั้น