ݺߣ

ݺߣShare a Scribd company logo
บทความรู้
เรื่อง บทบาทระหว่าง “ผู้ประเมิน” และ “ผู้รับการประเมิน”
ในการบริหารผลการทํางาน
ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน เป็นเครื่องมือที่มี
ประโยชน์ในหลายด้าน อาทิ การติดตามผลการทํางาน
ของบุคลากร การผลักดันให้บุคลากรทํางานอย่างมี
เป้าหมาย การพัฒนาบุคลากรบนพื้นฐานของผลงาน
รวมทั้งการให้คุณหรือให้โทษกับบุคลากรโดยยึดผลงาน
เป็นหลัก ซึ่งทั้งหมดนี้จะเกิดผลได้ก็ต่อเมื่อผู้ที่นําไปใช้ได้
ทําการศึกษาถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ของตัวระบบ
รวมทั้งวางตนเองให้อยู่ในบทบาทได้อย่างถูกต้องและ
เหมาะสม ดังนั้น นอกจากความรู้ ความเข้าใจในองค์ประกอบของตัวระบบการบริหารผลการ
ปฏิบัติงานแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ นั่นคือ บทบาทระหว่างผู้ประเมินและผู้รับการประเมิน ที่ทั้ง
สองฝ่ายจะต้องเรียนรู้และทําความเข้าใจ เพื่อให้ทราบถึงสิทธิที่พึงกระทําต่ออีกฝ่ายหนึ่ง และสิ่งที่
ไม่พึงกระทําระหว่างที่ใช้ระบบนี้
บทบาทของผู้ประเมินที่ดี คือ ต้องมีการศึกษารายละเอียดของตัวระบบฯ ขั้นตอน
ระยะเวลา และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งวิธีการการถ่ายทอดตัวชี้วัดที่ได้รับมาจาก
หน่วยงานที่อยู่เหนือขึ้นไป ซึ่งหลักการและแนวทางการถ่ายทอด หรือเรียกง่าย ๆ ว่า การกําหนด
ตัวชี้วัดให้กับบุคลากร มีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การถ่ายทอดตามกิจกรรมการทํางาน โดยใคร
รับผิดชอบขั้นตอนไหนในงานนั้นให้วัดเฉพาะ
กิจกรรมนั้น ๆ การถ่ายทอดเฉพาะเป้าหมายงาน
โดยใช้ตัวชี้วัดเดียวกันแต่กระจายเป้าหมายให้
บุคลากรตามที่ได้มอบหมายไป และควรพิจารณา
ตําแหน่ง ระดับ ความอาวุโส และความเชี่ยวชาญ
ในงาน เพื่อให้การกําหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
ให้เหมาะสมและเป็นธรรมกับตัวบุคลากรให้มาก
ที่สุด ทั้งนี้เมื่อได้มีการถ่ายทอดหรือกําหนดตัวชี้วัด
1
ให้กับบุคลากรเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะลืมไปไม่ได้นั่นก็คือ การตกลง หรือ การยืนยัน ระหว่างกันว่า
สิ่งนี้คือสิ่งที่จะเป็นตัวบ่งบอกว่าความสามารถของการทํางานว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด สร้าง
ปฏิทินการติดตามผลการทํางานตามตัวชี้วัดให้กับตนเองและบุคลากรเพื่อร่วมกันทบทวนและ
แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และเป็นที่ปรึกษาเมื่อตัวชี้วัดของบุคลากรเกิดปัญหาขึ้น คอย
ส่งเสริมและผลักดันให้บุคลากรเกิดความมุ่งมั่นและพยายามทําให้ตัวชี้วัดประสบผลสําเร็จ
อีกด้านหนึ่ง บทบาทของผู้รับการประเมินที่
ถูกต้อง นอกจากที่จะต้องทําความเข้าใจในวิธีการ
และขั้นตอนต่าง ๆ ของตัวระบบแล้ว ควรนํา
ตัวชี้วัดของผู้บังคับบัญชาและตัวชี้วัดของตนเอง
มาทําความเข้าใจด้วยว่ามีการส่งเสริมและผลักดัน
กันอย่างไร ถ้าตัวชี้วัดของเราไม่สําเร็จจะส่งผล
กระทบกับผู้อื่นอย่างไร พยายามมุ่งมั่นที่จะทํางาน
ให้ตัวชี้วัดที่ได้รับมานั้นประสบผลสําเร็จให้ดีที่สุด
กรณีเกิดปัญหาหรืออุปสรรคก็ควรที่จะ
ปรึกษาหารือกับผู้บังคับบัญชา ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข หรือวิธีการหลีกเลี่ยงเพื่อให้ตัวชี้วัดผ่านไป
ได้ด้วยดี เมื่อตัวชี้วัดที่ได้รับเป็นตัวชี้วัดในลักษณะของการกระจายเป้าหมายนั้นควรตกลงแบ่ง
เป้าหมายกันให้ชัดเจนทั้งระหว่างเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกันใน
การรับเป้าหมายการทํางาน
ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เรามักมองข้าม และละเลยจนทําให้เกิดปัญหาไม่ว่าจะเป็น การร้องเรียน
การกลั่นแกล้ง การเอารัดเอาเปรียบ ฯลฯ ดังนั้นถ้าผู้ประเมิน และผู้รับการประเมินทําความเข้าใจ
และวางบทบาทของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมก็จะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ที่
อาจเกิดขึ้นในหน่วยงานของท่านได้เป็นอย่างดี
----------------------------------------------------
เรียบเรียงโดย นายพีรพัฒน์ พจน์สมพงษ์
กลุ่มพัฒนาบุคคล กองการเจ้าหน้าที่
สิงหาคม 2555
2

More Related Content

บทความ1

  • 1. บทความรู้ เรื่อง บทบาทระหว่าง “ผู้ประเมิน” และ “ผู้รับการประเมิน” ในการบริหารผลการทํางาน ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน เป็นเครื่องมือที่มี ประโยชน์ในหลายด้าน อาทิ การติดตามผลการทํางาน ของบุคลากร การผลักดันให้บุคลากรทํางานอย่างมี เป้าหมาย การพัฒนาบุคลากรบนพื้นฐานของผลงาน รวมทั้งการให้คุณหรือให้โทษกับบุคลากรโดยยึดผลงาน เป็นหลัก ซึ่งทั้งหมดนี้จะเกิดผลได้ก็ต่อเมื่อผู้ที่นําไปใช้ได้ ทําการศึกษาถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ของตัวระบบ รวมทั้งวางตนเองให้อยู่ในบทบาทได้อย่างถูกต้องและ เหมาะสม ดังนั้น นอกจากความรู้ ความเข้าใจในองค์ประกอบของตัวระบบการบริหารผลการ ปฏิบัติงานแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ นั่นคือ บทบาทระหว่างผู้ประเมินและผู้รับการประเมิน ที่ทั้ง สองฝ่ายจะต้องเรียนรู้และทําความเข้าใจ เพื่อให้ทราบถึงสิทธิที่พึงกระทําต่ออีกฝ่ายหนึ่ง และสิ่งที่ ไม่พึงกระทําระหว่างที่ใช้ระบบนี้ บทบาทของผู้ประเมินที่ดี คือ ต้องมีการศึกษารายละเอียดของตัวระบบฯ ขั้นตอน ระยะเวลา และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งวิธีการการถ่ายทอดตัวชี้วัดที่ได้รับมาจาก หน่วยงานที่อยู่เหนือขึ้นไป ซึ่งหลักการและแนวทางการถ่ายทอด หรือเรียกง่าย ๆ ว่า การกําหนด ตัวชี้วัดให้กับบุคลากร มีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การถ่ายทอดตามกิจกรรมการทํางาน โดยใคร รับผิดชอบขั้นตอนไหนในงานนั้นให้วัดเฉพาะ กิจกรรมนั้น ๆ การถ่ายทอดเฉพาะเป้าหมายงาน โดยใช้ตัวชี้วัดเดียวกันแต่กระจายเป้าหมายให้ บุคลากรตามที่ได้มอบหมายไป และควรพิจารณา ตําแหน่ง ระดับ ความอาวุโส และความเชี่ยวชาญ ในงาน เพื่อให้การกําหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย ให้เหมาะสมและเป็นธรรมกับตัวบุคลากรให้มาก ที่สุด ทั้งนี้เมื่อได้มีการถ่ายทอดหรือกําหนดตัวชี้วัด 1
  • 2. ให้กับบุคลากรเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะลืมไปไม่ได้นั่นก็คือ การตกลง หรือ การยืนยัน ระหว่างกันว่า สิ่งนี้คือสิ่งที่จะเป็นตัวบ่งบอกว่าความสามารถของการทํางานว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด สร้าง ปฏิทินการติดตามผลการทํางานตามตัวชี้วัดให้กับตนเองและบุคลากรเพื่อร่วมกันทบทวนและ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และเป็นที่ปรึกษาเมื่อตัวชี้วัดของบุคลากรเกิดปัญหาขึ้น คอย ส่งเสริมและผลักดันให้บุคลากรเกิดความมุ่งมั่นและพยายามทําให้ตัวชี้วัดประสบผลสําเร็จ อีกด้านหนึ่ง บทบาทของผู้รับการประเมินที่ ถูกต้อง นอกจากที่จะต้องทําความเข้าใจในวิธีการ และขั้นตอนต่าง ๆ ของตัวระบบแล้ว ควรนํา ตัวชี้วัดของผู้บังคับบัญชาและตัวชี้วัดของตนเอง มาทําความเข้าใจด้วยว่ามีการส่งเสริมและผลักดัน กันอย่างไร ถ้าตัวชี้วัดของเราไม่สําเร็จจะส่งผล กระทบกับผู้อื่นอย่างไร พยายามมุ่งมั่นที่จะทํางาน ให้ตัวชี้วัดที่ได้รับมานั้นประสบผลสําเร็จให้ดีที่สุด กรณีเกิดปัญหาหรืออุปสรรคก็ควรที่จะ ปรึกษาหารือกับผู้บังคับบัญชา ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข หรือวิธีการหลีกเลี่ยงเพื่อให้ตัวชี้วัดผ่านไป ได้ด้วยดี เมื่อตัวชี้วัดที่ได้รับเป็นตัวชี้วัดในลักษณะของการกระจายเป้าหมายนั้นควรตกลงแบ่ง เป้าหมายกันให้ชัดเจนทั้งระหว่างเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกันใน การรับเป้าหมายการทํางาน ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เรามักมองข้าม และละเลยจนทําให้เกิดปัญหาไม่ว่าจะเป็น การร้องเรียน การกลั่นแกล้ง การเอารัดเอาเปรียบ ฯลฯ ดังนั้นถ้าผู้ประเมิน และผู้รับการประเมินทําความเข้าใจ และวางบทบาทของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมก็จะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ที่ อาจเกิดขึ้นในหน่วยงานของท่านได้เป็นอย่างดี ---------------------------------------------------- เรียบเรียงโดย นายพีรพัฒน์ พจน์สมพงษ์ กลุ่มพัฒนาบุคคล กองการเจ้าหน้าที่ สิงหาคม 2555 2