ݺߣ
Submit Search
1.บทคัึϸ่อ
•
0 likes
•
406 views
P
PinNii Natthaya
บทคัึϸ่อ
Read less
Read more
1 of 1
Download now
Download to read offline
More Related Content
1.บทคัึϸ่อ
1.
บทคัึϸ่อ ศึกษาสถานภาพของแนวปะการังภายหลังปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวและศักยภาพในการ ฟื้นตัวของแนวปะการังในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ผล การศึกษาพบว่า สถานภาพปะการังในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
บริเวณที่ตื้นมีความเสื่อมโทรม อ่าวสุเทพ มีปะการังมีชีวิตครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดเท่ากับ 23.81 เปอร์เซ็นต์ ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus) และปะการังสีน้ําเงิน (Heliopora coerulea) แนวปะการังบริเวณที่ลึกมีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่าง อ่าวเต่า มีปะการังมีชีวิตครอบคลุม พื้นที่มากที่สุดเท่ากับ 25.93 เปอร์เซ็นต์ ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังผิวยู่ยี่ (Porites rus) และปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ย เปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตหลังปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว พบมีการ เปลี่ยนแปลงของเปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตค่อนข้างมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานภาพปะการังในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน แนวปะการังบริเวณที่ตื้นมีสถานภาพปานกลาง มีโคโลนีปะการังที่รอดจากการฟอกขาวอยู่ค่อนข้างมาก อ่าวด้านเหนือของเกาะปายู มีปะการังมีชีวิต ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดเท่ากับ 29.14 เปอร์เซ็นต์ ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus) ปะการังสีน้ําเงิน (Heliopora coerulea) แนวปะการัง บริเวณที่ลึกสภาพมีความเสื่อมโทรม แต่ก็มีแนวโน้มในการฟื้นตัวของปะการังมีชีวิตดีขึ้น สถานีอีส ออฟอีเดน (East of Eden) มีปะการังมีชีวิตครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดเท่ากับ 34.47 เปอร์เซ็นต์ ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังแผ่นเคลือบ (Porites monticulosa) และปะการังผิวเกล็ดน้ําแข็ง (Montipora aequituberculata) ภายหลังปรากฏการณ์ปะการังฟอก ขาว พบการปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย การสํารวจปลาในแนว ปะการังพบปลาทั้งหมด 238 ชนิด จาก 104 สกุล 38 วงศ์ ปลากลุ่มเด่น ได้แก่ ปลานกขุนทอง ใน วงศ์ Labridae (43 ชนิด 22 สกุล) กลุ่มรองลงมาได้แก่ ปลาสลิดหิน ในวงศ์ Pomacentridae (29 ชนิด 10 สกุล) ปลาผีเสื้อในวงศ์ Chaetodontidae (20 ชนิด 4 สกุล) และปลานกแก้ววงศ์ Scaridae (17 ชนิด 4 สกุล) สถานีอ่าวผักกาด มีความชุกชุมของปลามากที่สุดเฉลี่ยเท่ากับ 4,329 ตัวต่อพื้นที่ 300 ตารางเมตร สถานีเกาะสต๊อค มีค่าดัชนีความหลากชนิดของปลาและดัชนีความสม่ําเสมอการ กระจายจํานวนสูงที่สุดคือ 3.423 และ 0.635 สถานภาพปะการังอ่อน พบปะการังอ่อนทั้งหมด 10 สกุล และพบว่าหมู่เกาะสิมิลันมีความชุกชุมและความหลากหลายของปะการังอ่อนมากกว่าบริเวณหมู่ เกาะสุรินทร์ สภาพปะการังอ่อนบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันมีแนวโน้มลดลงในบางบริเวณ ได้แก่ เกาะห้า (หินม้วนเดียว) พบปะการังอ่อนหายากสกุล Nidalia sp. อยู่ในพื้นที่ สภาพปะการัง อ่อนบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ พบปะการังอ่อนจํานวนน้อย กลุ่มสกุลที่พบโดยส่วนใหญ่ เป็นสกุล Nephthea Sarcophyton และ Scleronephthya การสังเกตโรคปะการังที่ปรากฏใน ปะการังแข็งตามแนวสํารวจพบน้อยมาก โดยพบเพียงลักษณะโรคที่เป็น Tumor ที่เกิดขึ้นกับปะการัง ชนิด Porites lutea คําสําคัญ: ปะการัง สถานภาพ ปะการังอ่อน ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว อุทยานแห่งชาติ
Download