ݺߣ

ݺߣShare a Scribd company logo
ว่าที่ ร.ต. กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
การพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์นั้นควรได้รับการดูแล
ถ่ายทอดความคิด วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และ
ค่านิยมที่ดีงามจากผู้ที่ถือว่าเป็นผู้ที่มีความสาคัญและใกล้ชิด
กับเด็กมากที่สุด เพื่อให้การดารงชีวิตของมนุษย์สมบูรณ์แบบ
ควรเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิ อาจกล่าวได้ว่าบุคคลแรกที่สาคัญที่สุด
ในชีวิตของมนุษย์คือ พ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง
ความหมายของผู้ปกครอง
ผู้ปกครองเป็นบุคคลที่มีความสาคัญและใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด
ได้มีผู้ให้ความหมายของผู้ปกครองไว้ดังนี้
Summers Della,1998 กล่าวว่า ผู้ปกครอง หมายถึง พ่อหรือแม่ของ
บุคคล
Encyclopedia,2000 อธิบายไว้ว่า ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นพ่อ
หรือผู้ที่เป็นแม่ ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. ผู้ปกครองโดยสายเลือด
2. ผู้ปกครองโดยสังคม
ความหมายของผู้ปกครอง (ต่อ)
พรรณิดา สันติพงษ์ (2526) ได้อธิบายว่า ผู้ปกครอง หมายถึง
บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับเด็ก โดยอยู่ร่วมกันในครอบครัวเดียวกันและมี
ส่วนในการอบรมสั่งสอน และเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก
จินตนา ปัณฑวงศ์ (2531) ได้อธิบายว่า ผู้ปกครอง หมายถึง พ่อ
แม่ หรือบุคคลอื่น อาจจะเป็นญาติมิตรหรือผู้อื่น ซึ่งพ่อแม่ไว้วางใจให้ทา
หน้าที่อบรมเลี้ยงดูตลอดจนให้การศึกษาแก่เด็ก
สรุปได้ว่า ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นที่
ให้การอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในการดูแล ดังนั้นในการ
กล่าวถึงผู้ปกครองจึงมีความหมายรวมถึงบุคคลที่เป็นพ่อและแม่ด้วย
ความสาคัญของผู้ปกครอง
Lee Center and Marlene Center,1992 ได้กล่าวไว้ว่า ผู้ปกครองเป็นผู้ที่
มีความสาคัญที่สุดต่อชีวิตของเด็ก ความรักและความอบอุ่นจากผู้ปกครองเป็น
ความต้องการของเด็กทุกคน ผู้ปกครองจึงเป็นบุคคลสาคัญที่มีอิทธิพลต่อการ
เจริญเติบโตและการเรียนรู้ของเด็ก
Pestalozzi ได้กล่าวถึง ความสาคัญของพ่อแม่ ผู้ปกครองว่า ความรัก
ของพ่อแม่เป็นพลังสาคัญในการเจริญเติบโตของเด็ก ความรักที่ประกอบด้วย
เหตุผลและความมุ่งมั่นที่จะปลูกฝังสิ่งที่ดีงามให้แก่เด็กเป็นบรรยากาศที่
ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างแท้จริง ความรักที่บริสุทธิ์และความสัมพันธ์ที่อบอุ่น
กลมเกลียวกันในครอบครัว เป็นปัจจัยสาคัญสาหรับเด็กในการพัฒนาความคิด
ความรู้สึก และการกระทาที่สอดคล้องกัน ซึ่งเป็นรากฐานของชีวิตที่สมบูรณ์
มั่นคงต่อไป
ความสาคัญของผู้ปกครอง (ต่อ)
ฉันทนา ภาคบงกช (2531) กล่าวว่า ผู้ปกครองเป็นบุคคลที่สาคัญ
ในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเป็นผู้ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุดสามารถที่จะ
ตองสนองความต้องการพื้นฐานของเด็ก ได้แก่ ความต้องการในการ
ดารงชีวิต ความต้องการความรักความอบอุ่น นอกจากนี้เด็กยังได้อิทธิพล
จากสภาพแวดล้อมภายในครอบครัว เด็กจะมีพัฒนาการทางบุคลิกภาพ
อย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดูจากบ้านเป็นสาคัญ คุณภาพของ
เด็กมีผลมาจากการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองเป็นอย่างมาก
จากความสาคัญของผู้ปกครองดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ผู้ปกครองมี
ความสาคัญซึ่งมีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้ที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก
ทั้งการเจริญเติบโตทางร่างกายและจิตใจเป็นผู้ที่เด็กมอบความรักด้วย
ความบริสุทธิ์ใจ ผู้ปกครองจึงเป็นผู้นาที่จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มี
พัฒนาการที่เหมาะสม เพื่อการก้าวสู่โลกกว้างได้อย่างมั่นคงและมี
ความพร้อมในทุกด้าน จึงถือว่าผู้ปกครองเป็นผู้เสริมสร้างคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์ด้วยความรัก ความเข้าใจให้แก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัยเป็น
รากฐานอนาคตของสังคมให้มีความสมบูรณ์และแข็งแรง
บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครอง
พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่มีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็น
ผู้สนับสนุนและวางรากฐานอันสาคัญยิ่งต่อการเจริญเติบโตของชีวิตมนุษย์ทั้ง
ทางร่างกายและจิตใจ ภาวะแห่งความรับผิดชอบในการอบรมเลี้ยงดูและ
สายใยแห่งความผูกพันระหว่างพ่อแม่ ลูก เป็นพันธะที่จะต้องมีการดาเนิน
อย่างต่อเนื่อง เพื่อจุดมุ่งหมายที่สาคัญคือ การให้เด็กได้เจริญเติบโตสมบูรณ์
ทั้งทางร่างกายและจิตใจให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเอง สามารถปรับตัวอยู่
ในสังคมได้อย่าง มีความสุข
Christine Ward, 1998 ได้กล่าวถึง บทบาทและหน้าที่ของ
ผู้ปกครองว่า ผู้ปกครองเป็นผู้ที่ทาหน้าที่สาคัญในการส่งเสริมพัฒนาการ
และทักษะการเรียนรู้ให้แก่เด็กตั้งแต่แรกเกิด เมื่อเด็กไปโรงเรียน
ผู้ปกครองก็จะต้องเป็นผู้ที่ทาหน้าที่ในการดูแลเด็กร่วมกับโรงเรียนใน
ด้านการจัดการเรียนรู้ การปฏิบัติหน้าที่ดูแลเด็ก การจัดสิ่งแวดล้อมให้
เป็นไปในทิศทางเดียวกับโรงเรียน
อารี สันหฉวี (2536) ได้เสนอบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองใน
การฝึกเด็กให้ขยันฉลาด และเป็นคนดี
กุลยา ตันติผลาชีวะ (2542) กล่าวว่า บทบาทและหน้าที่ที่สาคัญ
ของผู้ปกครองคือ ต้องตระหนักถึงธรรมชาติของเด็กที่มีความเฉพาะที่
ต้องเข้าถึงเด็ก มีร่างกาย มีจิตใจ มีการพัฒนา มิใช้แต่ตัวเด็กเองแต่เป็นทั้ง
เพื่อครอบครัวและสังคม ดังนั้นหลักการเลี้ยงเด็กจึงมี 3 ประการ ดังนี้
1. หลักการทางจิตวิทยา
2. หลักการทางพัฒนาการ
3. หลักการทางวุฒิภาวะ
กรมวิชาการ (2545) ได้กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครอง
ไว้ดังนี้
1. เป็นแบบอย่างที่ดีของลูก
2. ให้ความรักและความเข้าใจ
3. เรียนรู้ร่วมกับเด็ก
4. ยอมรับอารมณ์และความรู้สึกของลูก
5. ไม่ปิดกั้นความรู้สึกของลูก
6. ฝึกให้ลูกรู้จักการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
7. ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
บทบาทและหน้าที่ด้านการอบรมเลี้ยงดู
ภารกิจของพ่อแม่ ผู้ปกครอง คือ การอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่
ครอบคลุมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและ
สติปัญญา บทบาทของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูเด็กมี 3 ประการ คือ
1. เป็นผู้ให้การเลี้ยงดูเพื่อสร้างเสริมสุขภาพกายและใจที่ดีให้กับเด็ก
2. เป็นผู้ให้การศึกษาเบื้องต้น
3. เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและ
สติปัญญา
บทบาทและหน้าที่ด้านการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
การศึกษา ทาความเข้าใจและแสวงหาประสบการณ์ว่าเด็กในแต่ละวัน
มีพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างไร พ่อแม่ ผู้ปกครอง สามารถส่งเสริม
พัฒนาการและการเรียนรู้ให้ลูกได้อย่างถูกวิธี ดังนี้
1. ช่วยจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับกิจกรรมที่โรงเรียน
2. ส่งเสริมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงให้มาก
3. สนทนาให้ความเป็นกันเองกับเด็ก ป้อนคาถามให้เด็กได้คิดหา
คาตอบ
4. ชมเชยเมื่อเด็กทาความดี ทาได้ถูกต้อง ในขณะที่ทาผิดก็ต้องชี้แจงให้
เด็กเข้าใจให้ถูกต้องก่อนที่เด็กจะจาวิธีการผิดๆ ไปใช้
5. ให้เด็กมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ช่วยเหลืองานในบ้านที่เหมาะสม
กับวัย
6. ให้อิสระแก่เด็กบ้างในบางโอกาส
7. สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดปัญญา
8. คอยติดตามการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ของเด็ก โดยไม่เข้มงวด
กวดขันจนเกินไป
9. ติดต่อกับครูของเด็กเพื่อรับทราบปัญหาและให้ความร่วมมือใน
การแก้ไขปัญหาก่อนที่จะสายเกินแก้
บทบาทและหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษา
การศึกษาเป็นปัจจัยสาคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
มนุษย์กับการศึกษาเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันตลอดชีวิต พ่อแม่ ผู้ปกครองถือ
เป็นบุคคลแรกที่ทาหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพ
ให้แก่เด็กในแนวทางที่เหมาะสมและช่วยส่งเสริมการศึกษาให้แก่เด็ก
ดังนี้
1. ความอุทิศตน ในการมีเวลาให้กับลูกอย่างเต็มที่
2. มีจุดมุ่งหมายสูงส่งเพื่อลูก 3. ช่างสังเกตถี่ถ้วน
4. ใช้สามัญสานึกในการเลี้ยงลูก 5. ปลูกฝังวินัย ความเป็นไทย
สรุปบทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง 10 ประการ
1. ให้ความรักและสายสัมพันธ์ในครอบครัว
2. ให้ความเอาใจใส่และเอื้ออาทรต่อลูก
3. ทาตนให้เป็นแบบที่ดีแก่ลูก
4. ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ในสังคมเกี่ยวกับการปฏิบัติตน
5. ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัย
6. ให้หลักธรรมในการพัฒนาเด็กด้วยหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
7. ส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
8. ศึกษาการเจริญเติบโตของเด็ก
9. เอาใจใส่ดูแลสุขภาพ
10. สนับสนุนเตรียมความพร้อมก่อนสู่สังคม
บทสรุป
ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นซึ่งทา
หน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูเพื่อให้เด็กมีชีวิตที่สมบูรณ์ทั้งทางด้าน
ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา สามารถเรียนรู้และปรับตัว
เข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข บทบาทและหน้าที่ของผู้ที่เป็น
ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยถือเป็นผู้ที่มีความสาคัญยิ่งต่อการสร้างรากฐาน
ของชีวิตในอนาคตกับเด็ก ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องมีความรู้ ความ
เข้าใจ และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเด็กได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูการส่งเสริม
พัฒนาการและการเรียนรู้ และการส่งเสริมการศึกษา การที่ผู้ปกครอง
ตระหนักถึงความสาคัญของบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการพัฒนา
เด็ก ย่อมเป็นการทาให้ผู้ปกครองจาเป็นต้องแสวงหาองค์ความรู้ที่
จาเป็นเพื่อนามาปฏิบัติใช้ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กในด้านต่างๆ
คาถามท้ายบท
1. ในสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นักศึกษาคิดว่า
บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองที่มีต่อเด็กปฐมวัยมีอย่างไรบ้าง จง
อธิบาย
2. จงอธิบายวิธี แนวทางที่ผู้ปกครองสามารถใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการ
ทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญาให้แก่เด็กปฐมวัย
3. การฝึกให้เด็กเป็นคนดี คนขยันและฉลาด ผู้ปกครองควรปฏิบัติอย่างไร
4. ปัญหาที่เป็นอุปสรรค์ของผู้ปกครองที่มีผลกระทบต่อเด็กปฐมวัย คือ
ปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องใด จงอธิบาย

More Related Content

บทท 1 ความหมายของผ__ปกครอง