การวัดผลและประมิȨลการรียนรู้1
- 3. จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา 1. วัดผลเพื่อพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อดูว่า การประเมินผล หมายถึง การตัดสิน หรือวินิจฉัยสิ่งต่างๆที่ได้จากการวัดผลเช่นผลจากการวัดส่วนสูงของนายแดง 180 ซม . ก็อาจประมานว่าเป็นคนที่สูงกว่ามาก วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับ ความรู้ ความคิด ( วัดด้านสมอง ) วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับ ความรู้สึกนึกคิด ( วัดด้านจิตใจ ) วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อ และประสาทสัมผัสส่วนต่างๆของร่างกาย ( วัดด้านการปฏิบัติ )
- 4. บลูม (Bloom) และคณะได้แบ่งพฤติกรรมที่จะวัดออกเป็น 3 ลักษณะ นักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใดอย่างไร แล้วครูพยายามอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของนักเรียน 1. วัดผลเพื่อและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใดอย่างไร แล้วครูพยายามอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของนักเรียน 2. วัดผลเพื่อวินิจฉัย หมายถึง การวัดผลเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่า ยัง ไม่เกิดการเรียนรู้ตรงจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือ
- 5. 3. วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง หมายถึง การวัดผลเพื่อจัดอันดับความสามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งกว่าใครเก่งกว่า ใครควรได้อันดับ 1 2 3 4. วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนเอง เช่น การทดสอบก่อนสอบ และหลังเรียนแล้วนำผลมาเปรียบเทียบกัน 5. วัดผลเพื่อพยากรณ์ หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคต 6. วัดผลเพื่อประเมินผล หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้มาตัดสิน หรือสรุปคุณภาพของการจัดการศึกษาว่ามีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
- 6. หลักการวัดผลการศึกษา 1. ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน คือ การวัดผลจะเป็นสิ่งตรวจสอบผลจากการสอนของครูว่า นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการสอนมากน้อยเพียงใด 2. เลือกใช้เครื่องมือวัดที่ดีและเหมาะสม การวัดผลครูต้องพยายามเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ ใช้เครื่องมือวัดหลายๆอย่าง เพื่อช่วยให้การวัดถูกต้องสมบูรณ์ 3. ระวังความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของการวัด เมื่อใช้เครื่องมือชนิดใด ต้องระวังความพกพร่องของเครื่องมือหรือวิธีการวัดของครู
- 7. 4. ประเมินผลการวัดให้ถูกต้อง เช่น คะแนนที่เกิดจากการสอนครูต้องแปลผลให้ถูกต้องสมเหตุสมผลและมีความยุติธรรม 5. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า จุดประสงค์สำคัญของการวัดก็คือ เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน ต้องพยายามค้นหาผู้เรียนแต่ละคนว่า เด่น - ด้อย ในเรื่องใด และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขแต่ละคนให้ดีขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล 1. การสังเกต การสังเกต คือการพิจารณาปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อค้นหาความจริงบางประการโดยอาศัยประสาท สัมผัสของผู้สังเกตโดยตรง
- 8. รูปแบบของการสังเกต 1. การสังเกตโดยผู้สังเกตเข้าไปร่วมในเหตุการณ์หรือกิจกรรม หมายถึง การสังเกตที่ผู้สังเกตเข้าไปมีส่วนร่วม หรือคลุกคลีในหมู่ผู้ถูกสังเกต และอาจร่วมทำกิจกรรมด้วยกัน 2. การสังเกตโดยผู้สังเกตไม่ได้เข้าร่วมในเหตุการณ์ หมายถึง การังเกตที่ผู้ถูกสังเกตอยู่ภายนอกวงของผู้ถูกสังเกต คือสังเกตในฐานะเป็นบุคคลภายนอก การสังเกตแบบนี้ แบ่งได้ 2 ชนิด 2.1 การสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง หมายถึง การสังเกตที่ผู้สังเกตไม่ได้กำหนดหัวเรื่องเฉพาะเอาไว้ 2.2 การสังเกตแบบมีโครงสร้าง หมายถึง การสังเกต ที่ผู้สังเกตกำหนดเรื่องเฉพาะเอาไว้
- 9. 2. การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์ คือ การสนทนาหรือพูดคุยโต้ตอบกันอย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อค้นหาความรู้ ความจริง ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้า รูปแบบของการสัมภาษณ์ 1. การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง หมายถึง การสัมภาษณ์ที่ไม่ใช้แบบสัมภาษณ์ คือ ไม่จำเป็นต้องใช้ คำถามที่เหมือนกันหมดกับผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ทุกคน 2. การสัมภาษณ์แบบโครงสร้าง หมายถึงการสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์จะใช้แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นไว้แล้ว
- 10. 3. แบบสอบถาม แบบสอบถามเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลทางสังคมศาสตร์ ทั้งนี้เพราะเป็นวิธีการที่สะดวก และสามารถใช้วัดได้อย่างกว้างขวาง รูปแบบของการสอบถาม 1. สอบถามแบบชนิดปลายเปิด แบบสอบถามชนิดนี้ไม่ได้กำหนดคำตอบไว้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ตอบเขียนคำตอบอย่างอิสระด้วยความคิดของตัวเอง แบบสอบถามชนิดนี้ตอบยากและเสียเวลาในการตอบมากเพราะผู้ตอบจะต้องคิดวิเคราะห์อย่างกว้างขวาง
- 11. 2. สอบถามแบบชนิดปลายปิด แบบสอบถามชนิดนี้ประกอบด้วย ข้อคำถามและตัวเลือก ( คำตอบ ) ซึ่งตัวเลือกนี้สร้างขึ้นโดยคาดว่าผู้ตอบ สามารถเลือกตอบ ได้ตามความต้องการ แบบสอบถามชนิดปลายทางปิด แบ่งเป็น 4 แบบ 2.1 แบบสอบถามรายการ เป็นการสร้างรายการของข้อคำถามที่เกี่ยวหรือสัมพันธ์กับคุณลักษณะของพฤติกรรม แต่ละรายการจะถูกประเมิน หรือชี้คำตอบในแง่ใดแง่หนึ่ง เช่น มี - ไม่มี จริง - ไม่จริง 2.2 มาตราส่วนประมาณค่า เป็นเครื่องมือที่ใช้ในประเมินการปฎิบัติกิจกรรม ทักษะต่างๆ มีระดับความเข้มให้พิจารณาตั้งแต่ 3 ระดับขึ้นไป เช่น เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นใจ ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
- 13. 5. การประเมินผลจากสภาพจริง หมายถึง กระบวนการสังเกต การบันทึก และรวบรวมข้อมูลจากงานและวิธีการที่นักเรียนทำการประเมินผลจากสภาพจริงจะเน้นให้นักเรียนแก้ปัญหา เป็นผู้ค้นพบและผู้ผลิตความรู้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง รวมทั้งเน้นพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ความสำคัญของการประเมินผลจากสภาพจริง 1. การเรียนการสอนและการวัดประเมินผลจากสภาพจริง จะเอื้อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างศักยภาพของแต่ละบุคคล 2. เป็นการเอื้อต่อการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
- 14. 3. เป็นการเน้นให้นักเรียนได้สร้างงาน 4. เป็นการผสมผสานให้กิจกรรมการเรียนรู้และประเมินผล 5. เป็นการลดภาระงานซ่อมเสริมของครู 6. การวัดผลภาคปฎิบัติ การวัดผลภาคปฏิบัติ เป็นการวัดผลงานที่ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ ซึ่งสามารถวัดได้ทั้งกระบวนการและผลงาน ในสถานการณ์จริง หรือในสถานการณ์จำลอง สิ่งที่ควรคำนึงในการสอบวัดภาคปฎิบัติคือ 1. ขั้นเตรียมงาน 2. ขั้นปฏิบัติงาน 3. เวลาที่ใช้ในการทำงาน 4. ผลงาน
- 16. 8.1 แบ่งตามพฤติกรรมหรือสมรรถภาพที่วัดได้ แบ่งเป็น 3 ประเภท 1. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ หมายถึง แบบทดสอบที่วัดสมรรถภาพสมองด้านต่างๆที่นักเรียนได้รับการเรียนรู้ผ่านมาแล้วว่ามีอยู่เท่าใด แบบทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ชนิด 1.1) แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเฉพาะกลุ่มที่ครูสอน แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นมีหลายแบบ ที่นิยมใช้คือ 1) แบบทดสอบแบบอัตนัยหรือแบบความเรียง 2) แบบทดสอบแบบถูกผิด
- 17. 3) แบบทดสอบแบบเติมคำ 4) แบบทดสอบแบบจับคู่ 5) แบบทดสอบแบบเลือกตอบ 1.2) แบบทดสอบมาตรฐานหมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดผลสัมฤทธิ์มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพต่างๆของนักเรียนที่ต่างกลุ่มกัน เช่น แบบทกสอบมาตรฐานระดับชาติ 2. แบบทดสอบวัดความถนัด หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดสมรรถภาพสมองของผู้เรียนแบ่งเป็น 2 แบบคือ 1) แบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดความถนัดทางด้านวิชาการต่างๆ เช่นด้านภาษา
- 18. 2) แบบทดสอบวัดความถนัดด้านเฉพาะ หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดความถนัดด้านเฉพาะที่เกี่ยวกับงานอาชีพต่างๆหรือความสามารถพิเศษ เช่น ความสามารถด้านดนตรี 3. แบบทดสอบวัดบุคลิกภาพทางสังคม หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้วัดบุคลิกภาพและปรับตัวให้เข้ากับ สังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่วัด ได้ยาก ผลที่ได้ไม่คงที่แน่นอน ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดเจตคติที่มีต่อบุคลิก สิ่งของ เรื่องราว 2) แบบทดสอบวัดความสนใจที่มีต่ออาชีพ การศึกษา 3) แบบทดสอบวัดความปรับตัว เช่น การปรับตัวเข้ากับเพื่อนๆ
- 19. 8.2 แบ่งตามลักษณะตอบ 1) แบบทดสอบภาคปฏิบัติ หมายถึง แบบทดสอบที่ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง 2) แบบทดสอบข้อเขียน หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้การเขียนคำตอบ 3) แบบทดสอบปากเปล่า หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้การพูดโต้ตอบแทนการเขียน 8.3 แบ่งตามเวลาที่กำหนดให้ตอบ 1) แบบทดสอบที่จำกัดเวลาในการตอบ หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้เวลาน้อย 2) แบบทดสอบที่ไม่จำกัดเวลาในการตอบ หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้เวลาตอบ
- 20. 8.4 แบ่งตามจำนวนผู้เข้าสอบ 1) แบบทดสอบเป็นรายบุคคล หมายถึง การสอบทีละคนมักเป็นการสอบภาคปฎิบัติ 2) แบบทดสอบเป็นชั้นหรือหมู่ หมายถึง การสอบทีละหายๆคน 8.5 แบ่งตาม สิ่งเร้าของการถาม 1) แบบทดสอบทางภาษา หมายถึง แบบทดสอบที่ต้องอาศัยภาษาสังคมนั้นๆเป็นหลัก ใช้กับผู้ที่อ่านออกเขียนได้ 2) แบบทดสอบที่ไม่ใช้ภาษา หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้รูปภาพใช้ สัญลักษณ์หรือเลข
- 21. 8.6 แบ่งตามลักษณะของการใช้ประโยชน์ 1) แบบทดสอบย่อย หมายถึง แบบทดสอบประจำบท หรือหน่วยการเรียน 2) แบบทดสอบปรนัย หมายถึง แบบทดสอบสรุปรวมเนื้อหาที่เรียนผ่านมาตลอดภาคเรียน 8.7 แบ่งตามเนื้อหาของข้อสอบในฉบับ 1) แบบทดสอบอัตนัย หมายถึง แบบทดสอบที่มีเฉพาะคำถามนักเรียนต้องคิดหาคำตอบเอง 2) แบบทดสอบปรนัย หมายถึง แบบทดสอบที่มีทั้ง คำถามและคำตอบเฉพาะคงที่แน่นอน
- 22. 9. การสังเกต การสังเกตเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้ประสาทสัมผัสต่างๆของผู้สังเกตเป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตา ( เพื่อดู ) และหู ( เพื่อฟัง ) เก็บข้อมูลตามที่ปรากฏโดยไม่แปลความหมายของข้อมูลนั้นตามความคิดของผู้เกตของการสังเกต ชนิดของการสังเกต การสังเกตแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม เป็นวิธีการสังเกตที่ผู้สังเกตเข้าไปร่วมอยู่ในหมู่หรือกลุ่มบุคคลที่จะสังเกต เป็นสมาชิกคนหนึ่งของหมู่และทำกิจกรรมรวมกัน
- 23. 2. การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เป็นวิธีการสังเกตที่ผู้สังเกตอยู่นอกกลุ่มผู้ถูกสังเกต กระทำตนเป็นบุคคลภายนอก โดยไม่เข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มที่กำลังทำอยู่ ลักษณะของการสังเกตที่ดี การสังเกตที่ดี ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. กำหนดจุดมุ่งหมายของการสังเกตให้แน่นอนว่า จะสังเกตอะไร สังเกตใคร ที่ไหน เวลาใด เพื่ออะไร 2. วางแผนการสังเกต ไว้ล่วงหน้า และวิเคราะห์สิ่งที่จะสังเกตออกมาเป็นพฤติกรรมหรือองค์ประกอบย่อยๆที่สามารถสังเกตได้ง่าย
- 24. 3. ควรสังเกตโดยทั่วไปที่ผู้ถูกสังเกตไม่รู้ตัว ทั้งนี้ เพราะถ้าผู้ถูกสังเกตรู้ตัวล่วงหน้าว่าจะถูกสังเกตในเรื่องใด ก็จะระมัดระวังตัว 4. ควรระวังอย่าให้เกิดการลำเอียงในขณะที่สังเกต เช่นความประทับใจต่อบุคคลที่สังเกต 5. ควรสังเกตซ้ำหลายๆครั้ง เพื่อเป็นการตรวจสอบความแน่ใจ 6. ควรมีการบันทึกการสังเกตทุกครั้ง เพื่อป้องกันการลืม 10. การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เป็นการสนทนาอย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อต้องการผลอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นกระบวนการสื่อสารระหว่างบุคคลสองคน หรือระหว่างบุคคลกับกลุ่มคนจำนวนจำกัด โดยมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน
- 25. แน่นอน การสัมภาษณ์จะช่วยให้ทราบช่วยให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูก สัมภาษณ์ ในด้านบุคลิกภาพท่วงทาวาจา ปฏิภาณ ไหวพริบ หรือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ประเภทของการสัมภาษณ์ 1) การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างแน่นอนเป็นการสัมภาษณ์ที่มีผู้สัมภาษณ์ต้องเตรียมคำถาม หรือแบบสัมภาษณ์ล่วงหน้า ให้ครอบคลุมเนื้อหาหรือเรื่องราวที่ต้องการทราบจากผู้ถูกสัมภาษณ์ ดังนั้น ฟอร์มแบบสัมภาษณ์ต้องสะดวกต่อการกาเครื่องหมายหรือกรอกข้อมูล
- 26. 2) การสัมภาษณ์แบบไม่มีมีโครงสร้างแน่นอน เป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์เตรียมจุดมุ่งหมายไว้แล้ว ใช้วิธีการสนทนาซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยผู้สัมภาษณ์ต้องพยายามให้ผู้ถูกสัมภาษณ์แสดงความรู้สึกนึกคิดของตนเองออกมา 11. แบบทดสอบถามและแบบตรวจสอบ แบบสอบถามเป็นชุดของคำถามที่สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคลในด้านต่างๆ เช่น ความคิดเห็น ความรู้สึก ท่าทีฯ แบบทดสอบเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคลอย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ได้ข้อมูลในเวลารวดเร็ว และยังสามารถส่งแบบสอบถามไปให้บุคคลที่ต้องการข้อมูลจากเขาได้
- 27. ประเภทของแบบสอบถาม แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1. แบบสอบถามปลายเปิด เป็นแบบสอบถามที่ไม่กำหนดคำตอบตายตัว เปิดโอกาสให้ผู้ตอบได้แสดงความคิดเห็นและใช้คำพูดของตนเอง ลักษณะของคำถามมักจะตั้งไว้กว้างๆ เช่น - ทำไมท่านจึงต้องการเป็นครู 2. แบบสอบถามแบบปลายปิด เป็นแบบสอบถามที่ประกอบด้วยข้อความหรือคำถามที่กำหนดตัวเลือกหรือคำตอบที่คาดว่าเป็นไปได้ไว้เพื่อให้ผู้ตอบเลือกข้อที่ตรงกับข้อเท็จจริง
- 28. มีรูปแบบของคำถามอยู่ 2 ประเภทใหญ่คือ 2.1 แบบให้เลือกตอบคำถามเดียว เช่น - ท่านมีหนี้สิ้นหรือไม่ ( ) มี ( ) ไม่มี 2.2 แบบให้เลือกตอบหลายคำตอบ - ท่านชอบอ่านหนังสือพิมพ์รายวันฉบับใดมากที่สุด ( ) ไทยรัฐ ( ) เดลินิวส์ ( ) สยามรัฐ ( ) บ้านเมือง ( ) มติชน ( ) พิมพ์ไทย
- 29. 12. แบบสำรวจ แบบสำรวจหรือแบบตรวจสอบรายการ เป็นเครื่องมือที่ใช้กันมากอีกชนิดหนึ่ง โดยปกติจะประกอบด้วยบัญชีรายการสิ่งของหรือเรื่องราวต่างๆ ที่จะให้คำตอบ ตอบในลักษณะให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างที่กำหนดให้ เช่น มี - ไม่มี ชอบ - ไม่ชอบ การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นกระบวนการนำข้อมูลซึ่งเก็บรวบรวมได้ มาจัดกระทำโดยมีการจัดระเบียบแยกประเภท หรือใช้วิธีการทางสถิติ เพื่อตอบคำถามตามจุดมุ่งหมายของการประเมิน
- 30. ลักษณะของข้อมูล ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือข่าวสาร เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่สนใจจะศึกษา ข้อมูลอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ข้อมูลที่อยู่ในรูปของจำนวน ปริมาณ หรือตัวเลข 2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ข้อมูลที่ไม่อยู่ในรูปของจำนวนหรือเลข ประเภทของการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. การวิเคราะห์โดยไม่ใช้วิธีการทางสถิติ 2. การวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางสถิติ
- 31. การประเมินผลทางการศึกษา การประเมินผลทางการศึกษา หมายถึง กระบวนการในการตัดลักษณะหรือพฤติกรรมของนักเรียนว่ามี คุณภาพดีระดับใดโดยอาศัยเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งในการเปรียบเทียบ มีองค์ประกอบ 3 ประการคือ 1. ผลการวัด ทำให้ทราบสภาพความจริงของสิ่งที่จะประเมินว่ามีปริมาณเท่าไร มีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อนำข้อมูลไปพิจารณา 2. เกณฑ์การพิจารณา ในการที่ตัดสินใจหรือลงข้อสรุปสิ่งใดจะต้องมีมาตรฐานสำหรับสิ่งที่จะเปรียบเทียบกับสิ่งที่ได้จากการวัด 3. การตัดสินใจ เป็นการชี้ขาดหรือสรุปผลการเปรียบเทียบระหว่างผลการวัดกับเกณฑ์ที่กำหนดว่า สอดคล้องกันหรือไม่ การตัดสินใจที่ดีต้องอาศัยการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน กระทำ อย่างยุติธรรม
- 33. หลักการของการประเมินผลทางการศึกษา 1. กำหนดสิ่งที่ประเมินให้ชัดเจนและวัดได้ เป็นการกำหนดว่าจะตัดสินใจให้คุณค่าในเรื่องอะไร 2. วางแผนการประเมินให้รัดกุม ผู้ประเมินมีการวางแผนเก็บข้อมูล ที่เที่ยงตรงและเชื่อมั่นได้ 3. เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินต้องสัมพันธ์กับสิ่งที่ต้องการวัดและจุดมุ่งหมายของการประเมิน 4. เลือกใช้เครื่องมือในการประเมินที่มีคุณภาพให้เหมาะสมกับสิ่งที่จะประเมิน 5. ปราศจากความลำเอียง
- 34. การกำหนดสิ่งที่จะประเมินเกี่ยวกับการเรียนการสอน 1. การประเมินก่อนมีการเรียนการสอน การประเมินเพื่อตรวจสอบดูว่าองค์ประกอบก่อนที่จะจัดให้มีการเรียนการสอนทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ระดับสติปัญญา คามพร้อม ความสนใจ ค่านิยม เป็นต้น 2. การประเมินขณะทำการเรียนการสอน การประเมินระยะนี้เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่ พฤติกรรมด้านต่างๆของการเรียนการสอน ในแต่ละเนื้อหาย่อยๆอัตราการมาเรียน ความสนใจ ความตั้งใจ การร่วมกิจกรรม
- 36. 3) การนำไปใช้ หมายถึง ความสามารถในการที่นำความรู้ความสามารถที่ได้เรียนรู้มาประยุกต์ใช้ได้ 4) การวิเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการหาข้อเท็จจริง หาความสำคัญ และหลักการต่างๆของสิ่งนั้น 5) การสังเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการรวบรวมเข้ามารวมกัน หรือทำให้เกิด เรื่องใหม่ สิ่งใหม่ 6) การประเมินค่า หมายถึง ความสามารถในการตัดสินสิ่งต่างๆโดยมีเกณฑ์หรือมาตรฐานเป็นเครื่องตัดสินใจ
- 38. 1. การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ เป็นการวัดเพื่อต้องการทราบว่าบุคคลนั้นๆ มีความสามารถถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ หรือไม่ การประเมินผลต้องนำคะแนนที่ได้จาก ผลงานไปเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การวัดผลใช้ในการวัดสมรรถภาพเป็นราย บุคคล ถ้านักเรียนทำข้อสอบได้ถูกต้องถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ถือว่าได้เรียนรู้ ตามจุดประสงค์แล้ว 2. การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม เป็นการวัดเพื่อเปรียบเทียบคะแนนของบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่น คือ จำแนกคะแนนสูงสุดจนต่ำสุดแล้วจึงนำคะแนนเหล่านั้นมาเปรียบเทียบเพื่อ ประเมินต่อไป เช่น การสอบ คัดเลือกนักศึกษาสอบเข้ามหาลัย