ݺߣ

ݺߣShare a Scribd company logo
บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ สื่อ การเรียนรู้ หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการ ซึ่งอาจจำแนกเป็น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบุคคล สื่อวัสดุ สื่ออุปกรณ์ เป็นต้น  แหล่งการเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร และสารสนเทศและประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียนใฝ่รู้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ สื่อ และแหล่งการเรียนรู้ คือ สิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอด ความรู้ เจตคติและทักษะไปยังผู้เรียน สามารถมองเห็นเป็นรูปธรรมได้ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพหรือทำให้บทเรียนง่ายขึ้น และในการจัดทำสื่อขึ้นใช้ต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของสื่อที่ดี คือ น่าสนใจ ประหยัดช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วและถูกต้อง
สื่อการสอน สื่อ การสอน หมายถึง  ตัวกลางที่ถ่ายทอดสารสนเทศไปสู่ผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นวัสดุเครื่องมือและเทคนิควิธีการที่ผู้สอนนำมาประกอบการเรียนการสอน เพื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวตัวผู้เรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการค้นคว้าหรือการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
๑ . สื่อการสอน นักวิชาการ และนักเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศและต่างประเทศได้ให้ความหมายของ สื่อการสอน ไว้หลายท่าน พอสรุปได้ ดังนี้ เชอร์  กล่าวว่า สื่อการสอนเป็นเครื่องมือช่วยสื่อความหมายใดๆก็ตามที่จัดโดยครูและนักเรียน ฮาสและแพคเกอร์  กล่าวว่า สื่อการสอน คือ เครื่องมือที่ช่วยในการถ่ายทอดสิ่งต่างๆที่เป็นจริงได้แก่ ทักษะ ทัศนะคติ ความรู้ ความเข้าใจ และความซาบซึ้งไปยังผู้เรียน บราวน์และคนอื่นๆ  กล่าวว่า สื่อการสอนหมายถึง จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียน จนเกิดผลการเรียนที่ดี
เกอร์ลัช และอีลี  ได้ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน คือบุคคล วัสดุหรือเหตุการณ์ต่างๆซึ่งทำให้นักเรียนได้รับ ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ครู หนังสือ และสิ่งแวดล้อมจัดเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น ไฮ นิคส์ โมเลนดาและรัสเซล  ให้ทัศนะเกี่ยวกับสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นสไลด์โทรทัศน์วิทยุเทปบันทึกเสียงภาพถ่ายวัสดุ ฉายและวัสดุสิ่งตีพิมพ์ซึ่งเป็นพาหนะในการข้อมูลจากแหล่งข้อมูลไปยังผู้รับ ไชยยศ เรืองสุวรรณ  กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้ ซึ่งเป็นครูและนักเรียนเป็นผู้ใช้เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สรุป  ได้ว่า สื่อการสอน หมายถึงวัสดุ เครื่องมือและเทคนิควิธีการที่ผู้สอนนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนเพื่อให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒ . ประเภทของสื่อการสอน สื่อการสอนนั้นมีมากมายและได้พัฒนาให้เกิดขึ้นใหม่อยู่เสมอตามความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักเทคโนโลยีการศึกษา ได้กำหนดและแบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้ หลายท่านดังนี้ Dale   ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น  11  ปะเภท โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอน ดังนี้
ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย  ประสบการณ์ขั้นนี้ เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาทั้งปวง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้เห็น ได้จับ ได้ทำ ได้รู้สึก และได้ดมกลิ่นจากของจริง ดังนั้นสื่อการสอนที่ไห้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้นนี้ก็คือของจริงหรือความเป็นจริงในชีวิตของคนเรานั่นเอง ประสบการณ์จำลอง  เป็นที่ยอมรับกันว่าศาสตร์ต่างๆ ในโลก มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมดสิ้นจากประสบการณ์ตรงในชีวิต บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับหรือเป็นอันตรายไม่สะดวกต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้มีการจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา ของจำลองบางอย่างอาจจะเรียนได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า การสาธิต  คือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด หรือกระบวนการต่าง ๆให้ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู ก็เป็นการสาธิต การสาธิตก็เหมือนกับนาฏการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้อาจรวมเอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคำพูดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดยตลอด
การศึกษานอกสถานที่  การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้เรียนจากของจริง นิทรรศการ  นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง โทรทัศน์การศึกษา  โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย นอกจากนั้นโทรทัศน์ยังมีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งโรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโทรทัศน์วงจรปิด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง
ภาพยนตร์  เป็นสื่อที่จำลองเหตุการณ์มาให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ดูและได้ฟังอย่างใกล้เคียงกับความจริง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ยังนับว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทมากในการเรียนการสอน เช่นเดียวกันกับโทรทัศน์ ภาพนิ่ง  การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาดซึ่งมีทั้งภาพทึบแสงและโปร่งแสง ภาพทึบแสงคือรูปถ่าย ภาพวาด หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนภาพนิ่งโปร่งใสหมายถึงสไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายวัสดุโปร่งใส เป็นต้น ภาพนิ่งสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราศึกษาบนจอได้ การบันทึกเสียง ได้แก่ แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปและเครื่องบันทึกเสียง และเครื่องขยายเสียงตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียงซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้อย่างอิสระในการเรียนการสอนด้วยแล้ว ยังใช้กับรายการวิทยุและกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนวิทยุนั้น ปัจจุบันที่ยอมรับกันแล้วว่า ช่วยการศึกษาและการเรียนการสอนได้มาก ซึ่งไม่จำกัดอยู่แต่เพียงวิทยุโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวิทยุทั่วไปอีกด้วย
ทัศนสัญลักษณ์  สื่อการสอนประเภททัศนสัญญลักษณ์นี้ มีมากมายหลายชนิด เช่น แผนภูมิแผนภาพ แผนที่ แผนผัง ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น วจนสัญลักษณ์  สื่อขั้นนี้เป็นสื่อที่จัดว่า เป็นขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ตัวหนังสือหรืออักษร สัญลักษณ์ทางคำพูดที่เป็นเสียงพูด ความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย อย่างไรก็ดี ถึงแม้สื่อประเภทนี้จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดก็ตามเราก็ใช้ประโยชน์จากสื่อประเภทนี้มาก เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลา
เปรื่อง กุมุท   ได้กล่าวว่า สื่อการสอนมีขอบเขตครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้ บุคคล  นอกจากครูบรรณารักษ์และคนอื่นๆ ที่โรงเรียนมีอยู่แล้วยังหมายถึงใครก็ได้ที่ไม่ได้ผลิตมาสำหรับโรงเรียน บุคคลเหล่านี้สามารถนำมาใช้เพื่อการเรียนรู้ได้เช่น วิทยากร เป็นต้น วัสดุ  หมายถึง อุปกรณ์ การสอนที่โรงเรียนมีอยู่ เช่น ของจริง รูปภาพ เป็นต้น อุปกรณ์และเครื่องมือ  ได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องเสียงต่างๆ รวมทั้งห้องปฏิบัติการ กิจกรรม  หมายถึง กิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้นในโรงเรียน เช่น การสาธิต ทดลอง นาฏการการแสดงนิทรรศการ การศึกษานอกสถานที่ เป็นต้น
หลักการใช้สื่อการสอน การ ใช้สื่อการสอนนับว่ามีความสำคัญต่อการเรียนการสอนอย่างยิ่งทั้งนี้เพราะถ้าใช้สื่อการสอนไม่ถูกต้องย่อมจะได้ผลน้อยหรือมีค่าเท่ากับไม่ได้ใช้เลยหาก เป็นดังนี้ย่อมไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ฉะนั้นการใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งจึงควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน และวางแผนการใช้อย่างรอบครอบการใช้สื่อการสอนในห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ นั้น ควรปฏิบัติตามหลักการดังนี้
๑ . หลักการเลือก โนเอล และอีโอนาร์ด ให้หลักการเลือกสื่อการสอนไว้ ดังนี้ มีความเหมาะสมกับระดับสติปัญญาของผู้เรียน เหมาะสมกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน เหมาะสมกับเรื่องที่สอน มีลักษณะที่น่าสนใจ ตรงกับจุดประสงค์ในการสอน ไม่เสียเวลาในการใช้มากเกินไป เป็นแบบง่ายๆและไม่ซับซ้อนจนเกินไป ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น ช่วยให้เสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่ผู้เรียน ช่วยเพิ่มทักษะให้แก่ผู้เรียน ราคาไม่แพงจนเกินไป
เดล ได้ให้ข้อเสนอแนะในการเลือกสื่อการสอน ไว้ดังนี้ สื่อการสอนนั้นจะสามารถให้แนวคิดที่ถูกต้องได้เพียงใด สื่อการสอนนั้นจะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่เรียนได้ดี เพียงใด สื่อการสอนนั้นๆเหมาะสมกับวัย และประสบการณ์ต่างๆของผู้เรียนเพียงใด สภาพแวดล้อมเหมาะสมเหมาะที่จะใช้สื่อการสอนนั้นๆหรือไม่ มีข้อเสนอแนะสั้นๆในการใช้สื่อการสอนสำหรับครูหรือไม่ สื่อการสอนนั้นสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาทางด้านความคิดได้หรือไม่ คุ้มค่ากับเวลาการลงทุนหรือไม่
อีริคสัน และเคิร์ล ได้กล่าวถึงการเตรียมก่อนการใช้สื่อการสอนเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน ดังนี้ พัฒนาการสร้างความพร้อมเฉพาะอย่าง เช่น จะให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน ตอนไหน อย่างไร แนะนำผู้เรียนเพื่อเป็นการเร้าให้เกิดการเรียนรู้จากสื่อที่ครูเลือกมา สร้างกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสื่อการสอน เลือกวิธีที่เหมาะสม ที่จะนำไปสู่การใช้สื่อการสอนนั้นๆ ใช้แหล่งการเรียนอื่นๆเพื่อสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน
อีริคสัน และเคริ์ล ได้ กล่าวว่าเพื่อให้การนำเสนอได้ผลครูควรมีความรู้ความสามารถและทักษะพื้นฐาน ดังนี้ เลือกกิจกรรมการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน อยากรู้ตามจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน ใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นและชี้แนะ ใช้การอภิปรายเพื่อนำไปสู่เนื้อหาและการสร้างมโนมติ จัดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสมและสร้างกิจกรรมท้าทายในการแก้ปํญหา ใช้สื่ออย่างมีลำดับ จัดดำเนินการด้านการจัดสภาพการณ์ต่างๆ ในการใช้สื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้ สามารถจัดกลุ่มกิจกรรมให้ผู้เรียนหาความรู้จากสื่อต่างๆ
อีริคสัน และเคิร์ล  ครูควรประเมินผลทั้งจากตัวสื่อและจากการใช้สื่อการสอนของครูเองทำให้ทราบว่า สื่อนั้นมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใดและครูเองมีเทคนิคในการใช้ สื่อการสอนนั้นดีพอหรือไม่สื่อการสอนสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายการสอนหรือไม่ เพียงใดเพื่อนำไปปรับปรุงใช้ให้เหมาะสมในโอกาสต่อไป  ไฮนิกส์ .  โมเลนดา . และรัสเซล  กล่าวว่า การประเมินผลควรกระทำใน ๓ ลักษณะดังต่อไปนี้ การประเมินผลกระบวนการสอน เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ว่ามีเกณฑ์เท่าใด การประเมินผลสามารถกระทำได้ เช่น วัตถุประสงค์ที่เป็นเชิงทักษะพิสัยอาจจะต้องเป็นการวัดกระบวนการของพฤติกรรม การประเมินผลสื่อและวิธีใช้สื่อหรือวิธีการสอน เป็นการประเมินผลเพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มประโยชน์ของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
องค์ ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น มากกว่าที่ครูจะสอนโดยการบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย สื่อการสอนคือ  การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของ สื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้ ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่ ความถูกต้องสื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่ ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักเรียน ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
เปิดโอกาสให้นักเรียนรู้จากวัตถุที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้างแนวความคิดด้วยตนเอง กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียนมากขึ้น ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและสามารถจดจำได้นาน ให้ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง นำประสบการณ์นอกห้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษาในห้องเรียนได้
จุด (Dots) เส้น (Line) รูปร่าง   รูปทรง (Shape - Form) ปริมาตร (Volume) ลักษณะพื้นผิว (Texture) บริเวณว่าง (Space) สี (Color) น้ำหนักสื่อ (Value)
การเลือกสื่อที่เหมาะสมนั้นต้องพิจารณาตามหลัก ๓ ประการ ดังนี้ การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษามักจะมีทรัพยากรที่สามารถใช้เป็นสื่อได้อยู่แล้ว ดังนั้นสิ่งที่ผู้สอนต้องกระทำก็คือ ตรวจสอบดูว่าสิ่งใดที่จะเป็นสื่อได้บ้างโดยเลือกให้ตรงกับลักษณะผู้เรียนและวัตถุประสงค์ การดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว ให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากขึ้น ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อด้วย การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ถ้าสื่อนั้นมีอยู่แล้วและตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน เราก็สามารถใช้ได้เลยแต่ถ้ามีอยู่โดยไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายเราก็ใช้วิธี ดัดแปลงได้ แต่ถ้าไม่มีสื่อตามที่ต้องการก็ต้องผลิตสื่อใหม่
จุดมุ่งหมาย ต้องพิจารณาว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนอะไร ผู้เรียน ควรได้พิจารณาผู้เรียนทั้งโดยรวมว่าเป็นใครรวมว่าเป็นใคร มีความรู้พื้นฐานและทักษะอะไรมาก่อน ค่าใช้จ่าย มีงบประมาณเพียงพอหรือไม่ ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค เครื่องมืออุปกรณ์ มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นพอเพียงต่อการผลิตหรือไม่ สิ่งอำนวยความสะดวก มีอยู่หรือสามารถจะจัดหาอย่างไร เวลา มีเวลาพอสำหรับการออกแบบหรือไม่

More Related Content

บทที่ ๗ (1)

  • 1. บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ สื่อ การเรียนรู้ หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการ ซึ่งอาจจำแนกเป็น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบุคคล สื่อวัสดุ สื่ออุปกรณ์ เป็นต้น แหล่งการเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร และสารสนเทศและประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียนใฝ่รู้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
  • 2. สื่อและแหล่งการเรียนรู้ สื่อ และแหล่งการเรียนรู้ คือ สิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอด ความรู้ เจตคติและทักษะไปยังผู้เรียน สามารถมองเห็นเป็นรูปธรรมได้ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพหรือทำให้บทเรียนง่ายขึ้น และในการจัดทำสื่อขึ้นใช้ต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของสื่อที่ดี คือ น่าสนใจ ประหยัดช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วและถูกต้อง
  • 3. สื่อการสอน สื่อ การสอน หมายถึง ตัวกลางที่ถ่ายทอดสารสนเทศไปสู่ผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นวัสดุเครื่องมือและเทคนิควิธีการที่ผู้สอนนำมาประกอบการเรียนการสอน เพื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวตัวผู้เรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการค้นคว้าหรือการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
  • 4. ๑ . สื่อการสอน นักวิชาการ และนักเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศและต่างประเทศได้ให้ความหมายของ สื่อการสอน ไว้หลายท่าน พอสรุปได้ ดังนี้ เชอร์ กล่าวว่า สื่อการสอนเป็นเครื่องมือช่วยสื่อความหมายใดๆก็ตามที่จัดโดยครูและนักเรียน ฮาสและแพคเกอร์ กล่าวว่า สื่อการสอน คือ เครื่องมือที่ช่วยในการถ่ายทอดสิ่งต่างๆที่เป็นจริงได้แก่ ทักษะ ทัศนะคติ ความรู้ ความเข้าใจ และความซาบซึ้งไปยังผู้เรียน บราวน์และคนอื่นๆ กล่าวว่า สื่อการสอนหมายถึง จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียน จนเกิดผลการเรียนที่ดี
  • 5. เกอร์ลัช และอีลี ได้ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน คือบุคคล วัสดุหรือเหตุการณ์ต่างๆซึ่งทำให้นักเรียนได้รับ ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ครู หนังสือ และสิ่งแวดล้อมจัดเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น ไฮ นิคส์ โมเลนดาและรัสเซล ให้ทัศนะเกี่ยวกับสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นสไลด์โทรทัศน์วิทยุเทปบันทึกเสียงภาพถ่ายวัสดุ ฉายและวัสดุสิ่งตีพิมพ์ซึ่งเป็นพาหนะในการข้อมูลจากแหล่งข้อมูลไปยังผู้รับ ไชยยศ เรืองสุวรรณ กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้ ซึ่งเป็นครูและนักเรียนเป็นผู้ใช้เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สรุป ได้ว่า สื่อการสอน หมายถึงวัสดุ เครื่องมือและเทคนิควิธีการที่ผู้สอนนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนเพื่อให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 6. ๒ . ประเภทของสื่อการสอน สื่อการสอนนั้นมีมากมายและได้พัฒนาให้เกิดขึ้นใหม่อยู่เสมอตามความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักเทคโนโลยีการศึกษา ได้กำหนดและแบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้ หลายท่านดังนี้ Dale ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 11 ปะเภท โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอน ดังนี้
  • 7. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย ประสบการณ์ขั้นนี้ เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาทั้งปวง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้เห็น ได้จับ ได้ทำ ได้รู้สึก และได้ดมกลิ่นจากของจริง ดังนั้นสื่อการสอนที่ไห้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้นนี้ก็คือของจริงหรือความเป็นจริงในชีวิตของคนเรานั่นเอง ประสบการณ์จำลอง เป็นที่ยอมรับกันว่าศาสตร์ต่างๆ ในโลก มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมดสิ้นจากประสบการณ์ตรงในชีวิต บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับหรือเป็นอันตรายไม่สะดวกต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้มีการจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา ของจำลองบางอย่างอาจจะเรียนได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า การสาธิต คือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด หรือกระบวนการต่าง ๆให้ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู ก็เป็นการสาธิต การสาธิตก็เหมือนกับนาฏการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้อาจรวมเอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคำพูดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดยตลอด
  • 8. การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้เรียนจากของจริง นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง โทรทัศน์การศึกษา โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย นอกจากนั้นโทรทัศน์ยังมีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งโรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโทรทัศน์วงจรปิด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง
  • 9. ภาพยนตร์ เป็นสื่อที่จำลองเหตุการณ์มาให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ดูและได้ฟังอย่างใกล้เคียงกับความจริง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ยังนับว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทมากในการเรียนการสอน เช่นเดียวกันกับโทรทัศน์ ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาดซึ่งมีทั้งภาพทึบแสงและโปร่งแสง ภาพทึบแสงคือรูปถ่าย ภาพวาด หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนภาพนิ่งโปร่งใสหมายถึงสไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายวัสดุโปร่งใส เป็นต้น ภาพนิ่งสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราศึกษาบนจอได้ การบันทึกเสียง ได้แก่ แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปและเครื่องบันทึกเสียง และเครื่องขยายเสียงตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียงซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้อย่างอิสระในการเรียนการสอนด้วยแล้ว ยังใช้กับรายการวิทยุและกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนวิทยุนั้น ปัจจุบันที่ยอมรับกันแล้วว่า ช่วยการศึกษาและการเรียนการสอนได้มาก ซึ่งไม่จำกัดอยู่แต่เพียงวิทยุโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวิทยุทั่วไปอีกด้วย
  • 10. ทัศนสัญลักษณ์ สื่อการสอนประเภททัศนสัญญลักษณ์นี้ มีมากมายหลายชนิด เช่น แผนภูมิแผนภาพ แผนที่ แผนผัง ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น วจนสัญลักษณ์ สื่อขั้นนี้เป็นสื่อที่จัดว่า เป็นขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ตัวหนังสือหรืออักษร สัญลักษณ์ทางคำพูดที่เป็นเสียงพูด ความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย อย่างไรก็ดี ถึงแม้สื่อประเภทนี้จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดก็ตามเราก็ใช้ประโยชน์จากสื่อประเภทนี้มาก เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลา
  • 11. เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวว่า สื่อการสอนมีขอบเขตครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้ บุคคล นอกจากครูบรรณารักษ์และคนอื่นๆ ที่โรงเรียนมีอยู่แล้วยังหมายถึงใครก็ได้ที่ไม่ได้ผลิตมาสำหรับโรงเรียน บุคคลเหล่านี้สามารถนำมาใช้เพื่อการเรียนรู้ได้เช่น วิทยากร เป็นต้น วัสดุ หมายถึง อุปกรณ์ การสอนที่โรงเรียนมีอยู่ เช่น ของจริง รูปภาพ เป็นต้น อุปกรณ์และเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องเสียงต่างๆ รวมทั้งห้องปฏิบัติการ กิจกรรม หมายถึง กิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้นในโรงเรียน เช่น การสาธิต ทดลอง นาฏการการแสดงนิทรรศการ การศึกษานอกสถานที่ เป็นต้น
  • 12. หลักการใช้สื่อการสอน การ ใช้สื่อการสอนนับว่ามีความสำคัญต่อการเรียนการสอนอย่างยิ่งทั้งนี้เพราะถ้าใช้สื่อการสอนไม่ถูกต้องย่อมจะได้ผลน้อยหรือมีค่าเท่ากับไม่ได้ใช้เลยหาก เป็นดังนี้ย่อมไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ฉะนั้นการใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งจึงควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน และวางแผนการใช้อย่างรอบครอบการใช้สื่อการสอนในห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ นั้น ควรปฏิบัติตามหลักการดังนี้
  • 13. ๑ . หลักการเลือก โนเอล และอีโอนาร์ด ให้หลักการเลือกสื่อการสอนไว้ ดังนี้ มีความเหมาะสมกับระดับสติปัญญาของผู้เรียน เหมาะสมกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน เหมาะสมกับเรื่องที่สอน มีลักษณะที่น่าสนใจ ตรงกับจุดประสงค์ในการสอน ไม่เสียเวลาในการใช้มากเกินไป เป็นแบบง่ายๆและไม่ซับซ้อนจนเกินไป ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น ช่วยให้เสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่ผู้เรียน ช่วยเพิ่มทักษะให้แก่ผู้เรียน ราคาไม่แพงจนเกินไป
  • 14. เดล ได้ให้ข้อเสนอแนะในการเลือกสื่อการสอน ไว้ดังนี้ สื่อการสอนนั้นจะสามารถให้แนวคิดที่ถูกต้องได้เพียงใด สื่อการสอนนั้นจะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่เรียนได้ดี เพียงใด สื่อการสอนนั้นๆเหมาะสมกับวัย และประสบการณ์ต่างๆของผู้เรียนเพียงใด สภาพแวดล้อมเหมาะสมเหมาะที่จะใช้สื่อการสอนนั้นๆหรือไม่ มีข้อเสนอแนะสั้นๆในการใช้สื่อการสอนสำหรับครูหรือไม่ สื่อการสอนนั้นสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาทางด้านความคิดได้หรือไม่ คุ้มค่ากับเวลาการลงทุนหรือไม่
  • 15. อีริคสัน และเคิร์ล ได้กล่าวถึงการเตรียมก่อนการใช้สื่อการสอนเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน ดังนี้ พัฒนาการสร้างความพร้อมเฉพาะอย่าง เช่น จะให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน ตอนไหน อย่างไร แนะนำผู้เรียนเพื่อเป็นการเร้าให้เกิดการเรียนรู้จากสื่อที่ครูเลือกมา สร้างกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสื่อการสอน เลือกวิธีที่เหมาะสม ที่จะนำไปสู่การใช้สื่อการสอนนั้นๆ ใช้แหล่งการเรียนอื่นๆเพื่อสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน
  • 16. อีริคสัน และเคริ์ล ได้ กล่าวว่าเพื่อให้การนำเสนอได้ผลครูควรมีความรู้ความสามารถและทักษะพื้นฐาน ดังนี้ เลือกกิจกรรมการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน อยากรู้ตามจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน ใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นและชี้แนะ ใช้การอภิปรายเพื่อนำไปสู่เนื้อหาและการสร้างมโนมติ จัดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสมและสร้างกิจกรรมท้าทายในการแก้ปํญหา ใช้สื่ออย่างมีลำดับ จัดดำเนินการด้านการจัดสภาพการณ์ต่างๆ ในการใช้สื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้ สามารถจัดกลุ่มกิจกรรมให้ผู้เรียนหาความรู้จากสื่อต่างๆ
  • 17. อีริคสัน และเคิร์ล ครูควรประเมินผลทั้งจากตัวสื่อและจากการใช้สื่อการสอนของครูเองทำให้ทราบว่า สื่อนั้นมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใดและครูเองมีเทคนิคในการใช้ สื่อการสอนนั้นดีพอหรือไม่สื่อการสอนสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายการสอนหรือไม่ เพียงใดเพื่อนำไปปรับปรุงใช้ให้เหมาะสมในโอกาสต่อไป ไฮนิกส์ . โมเลนดา . และรัสเซล กล่าวว่า การประเมินผลควรกระทำใน ๓ ลักษณะดังต่อไปนี้ การประเมินผลกระบวนการสอน เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ว่ามีเกณฑ์เท่าใด การประเมินผลสามารถกระทำได้ เช่น วัตถุประสงค์ที่เป็นเชิงทักษะพิสัยอาจจะต้องเป็นการวัดกระบวนการของพฤติกรรม การประเมินผลสื่อและวิธีใช้สื่อหรือวิธีการสอน เป็นการประเมินผลเพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มประโยชน์ของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
  • 18. องค์ ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น มากกว่าที่ครูจะสอนโดยการบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย สื่อการสอนคือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของ สื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้ ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่ ความถูกต้องสื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่ ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักเรียน ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
  • 19. เปิดโอกาสให้นักเรียนรู้จากวัตถุที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้างแนวความคิดด้วยตนเอง กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียนมากขึ้น ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและสามารถจดจำได้นาน ให้ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง นำประสบการณ์นอกห้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษาในห้องเรียนได้
  • 20. จุด (Dots) เส้น (Line) รูปร่าง รูปทรง (Shape - Form) ปริมาตร (Volume) ลักษณะพื้นผิว (Texture) บริเวณว่าง (Space) สี (Color) น้ำหนักสื่อ (Value)
  • 21. การเลือกสื่อที่เหมาะสมนั้นต้องพิจารณาตามหลัก ๓ ประการ ดังนี้ การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษามักจะมีทรัพยากรที่สามารถใช้เป็นสื่อได้อยู่แล้ว ดังนั้นสิ่งที่ผู้สอนต้องกระทำก็คือ ตรวจสอบดูว่าสิ่งใดที่จะเป็นสื่อได้บ้างโดยเลือกให้ตรงกับลักษณะผู้เรียนและวัตถุประสงค์ การดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว ให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากขึ้น ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อด้วย การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ถ้าสื่อนั้นมีอยู่แล้วและตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน เราก็สามารถใช้ได้เลยแต่ถ้ามีอยู่โดยไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายเราก็ใช้วิธี ดัดแปลงได้ แต่ถ้าไม่มีสื่อตามที่ต้องการก็ต้องผลิตสื่อใหม่
  • 22. จุดมุ่งหมาย ต้องพิจารณาว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนอะไร ผู้เรียน ควรได้พิจารณาผู้เรียนทั้งโดยรวมว่าเป็นใครรวมว่าเป็นใคร มีความรู้พื้นฐานและทักษะอะไรมาก่อน ค่าใช้จ่าย มีงบประมาณเพียงพอหรือไม่ ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค เครื่องมืออุปกรณ์ มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นพอเพียงต่อการผลิตหรือไม่ สิ่งอำนวยความสะดวก มีอยู่หรือสามารถจะจัดหาอย่างไร เวลา มีเวลาพอสำหรับการออกแบบหรือไม่