ݺߣ

ݺߣShare a Scribd company logo
1
ไทยจะทวงแชมป์ ส่งออกข้าวกลับคืนได้ไหมในปี 2557
สมพร อิศวิลานนท์0
1
ความจําเป็นอย่างเร่งด่วนในการที่จะหาเงินจํานวนไม่น้อยกว่า 1.2 แสนล้านบาทมาจ่ายเป็นค่าข้าวให้กับ
ชาวนา ตามที่ได้ออกใบประทวนให้ไว้ภายใต้โครงการรับจํานําข้าวทุกเมล็ดในระดับราคาสูงนั้น ทําให้รัฐบาลรักษาการ
ในขณะนี้ต้องเร่งระบายข้าวสารในสต็อกที่มีอยู่ไม่น้อยกว่า 17-18 ล้านต้นออกสู่ตลาด ทั้งจะโดยการเปิดประมูลข้าว
ทั่วไปและการเปิดประมูลผ่านตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า(AFET) และคงจะต้องหาทางระบายข้าวออกไม่น้อยกว่า 10
ล้านตัน กว่าจะได้เงินจํานวนเงินที่เพียงพอที่จะมาจ่ายเป็นค่าข้าวให้กับชาวนา อย่างไรก็ตามเป็นที่คาดเดาได้ว่าในฤดู
นาปรังปี 2557 นี้ โครงการรับจํานําข้าวในระดับราคาสูงของรัฐคงไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้อีก
การหยุดและไม่ดําเนินการโครงการรับจํานําข้าวนาในฤดูปรังปี 2557 ของภาครัฐต่อไปอีก จะส่งผลดีต่อตลาด
ข้าวเปลือกเอกชน ทําให้ตลาดข้าวเปลือกเอกชนสามารถพลิกฟื้นได้ในระดับหนึ่ง หลังจากที่รัฐเป็นผู้สร้างอํานาจ
ผูกขาดในตลาดข้าวเปลือก โดยดึงอุปทานข้าวเข้ามาควบคุมภายใต้โครงการรับจํานําข้าวทุกเมล็ดในระดับราคาสูง
ในช่วงกว่าสองปีที่ผ่านมา อีกทั้งการที่ภาครัฐโดยกระทรวงพาณิชย์ได้เร่งระบายข้าวจากสต็อกให้กับตลาดเอกชน จึง
คาดเดาได้ว่าตลาดข้าวสารในประเทศของไทยและตลาดส่งออกข้าวไทยจะกลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง
หากย้อนกลับไปดูสถานการณ์ตลาดข้าวสารส่งออกของไทยในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา พบว่าการดึงอุปทานข้าว
เข้ามาควบคุมเพื่อยกระดับราคาข้าวไทยในตลาดต่างประเทศให้สูงขึ้นนั้น ได้สร้างผลกระทบต่อการส่งออกข้าวของ
ไทยและไม่สามารถยกระดับราคาข้าวไทยให้อยู่ในระดับสูงได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเกิดเป็นต้นทุนที่สังคมไทยต้องจ่าย
อย่างมหาศาลในขณะที่เกิดประโยชน์กับชาวนาเพียงบางกลุ่มและได้รับผลประโยชน์ไปไม่มากนักเมื่อเทียบกับต้นทุน
ของโครงการที่ต้องใช้จ่ายออกไป
อย่างไรก็ตามการที่ราคาข้าวสารส่งออกของไทยอยู่ในระดับสูงกว่าคู่แข่งอย่างเช่น อินเดียและเวียดนาม อย่าง
มาก ทําให้โอกาสในการระบายข้าวในสต็อกของรัฐทําได้จํากัด โดยจะเห็นว่าหากเทียบข้าวสารเจ้า 5% ของไทยและ
เวียดนามนั้น มีความต่างระหว่างข้าวสารเจ้า 5% ของไทยและเวียดนามอยู่เพียง 11 เหรียญสหรัฐต่อตันในช่วง 6 เดือน
หลังของปี 2554 นับจากปี 2555 เป็นต้นมา ระดับราคาข้าวสารเจ้า 5% เฉลี่ย 6 เดือนของไทยแตกต่างจากราคา
ข้าวสารเจ้าชนิดเดียวกันของเวียดนามถึง 134 เหรียญสหรัฐต่อตัน และมีส่วนต่างสูงขึ้นเป็น 147 และ 184 เหรียญ
สหรัฐต่อตันใน 6 เดือนหลังของปี 2555 และ 6 เดือนแรกของปี 2556 ตามลําดับ (ตารางที่ 1) ในขณะที่ตลาดการค้า
ข้าวโลกอยู่ในช่วงขาลง ทั้งนี้เพราะอินเดียเป็นผู้ระบายข้าวจากสต็อกและขายในราคาถูกเนื่องจากมีข้าวอยู่ในสต็อก
จํานวนมากและมีผลทําให้เวียดนามปรับราคาลดลงตามอินเดีย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการสะสมข้าวในสต็อกจํานวนมาก
ของเวียดนาม
11
นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติและผู้ประสานงานชุดโครงการ ”งานวิจัยเชิงนโยบายเกษตรและเสริมสร้างเครือข่ายงานวิจัย
เชิงนโยบาย”สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) เอกสารนี้ลงพิมพ์ในนิตยสารข้าวไทย ฉบับที่ 41(มีนาคม-เมษายน 2557)
2
ตารางที่ 1 ราคาข้าว(FOB)ส่งออกของไทย เวียดนามและอินเดีย ราย 6 เดือนช่วงปี 2554-2556
ข้าว 5%(เหรียญสหรัฐต่อตัน) ข้าว 25%(เหรียญสหรัฐต่อตัน)
เดือน/ปี ไทย เวียดนาม ความต่าง อินเดีย ไทย เวียดนาม
ม.ค. - มิ.ย. 54 512 470 +42 472 432
ก.ค.-ธ.ค. 54 554 543 +11 409 550 519
ม.ค. - มิ.ย. 55 565 431 +134 385 556 389
ก.ค.-ธ.ค. 55 581 434 +147 398 564 405
ม.ค. - มิ.ย. 56 572 388 +184 414 563 361
ก.ค.-ธ.ค. 56 464 393 +71 390 444 365
การที่ราคาข้าวเปลือกและราคาข้าวสารส่งออกของไทยถูกยกระดับราคาให้สูงขึ้น ได้สร้างผลกระทบอย่าง
สําคัญต่อการส่งออกของข้าวไทยไปในตลาดต่างประเทศ โดยจะเห็นได้ว่าปริมาณการส่งออกข้าวของไทยในปี 2554
ซึ่งมีจํานวนอยู่ถึง 10.67 ล้านตันนั้นได้ลดตํ่าลงเหลือ 6.95 ล้านตันในปี 2555 และ 6.61 ล้านตันในปี 2556
อีกทั้งยังทําให้ไทยต้องสูญเสียตลาดส่งออกข้าวในส่วนต่างๆของโลก ทั้งนี้พบว่า การส่งออกไปในตลาดเอเชีย
ของข้าวไทยได้ลดลงอย่างมากในช่วงปี 2555 เมื่อเทียบกับปี 2554 โดยมีปริมาณการส่งออกลดลงถึงร้อยละ 65.41 อีก
ทั้งการส่งออกข้าวของไทยไปยังแต่ละอนุภูมิภาคของเอเชียได้แก่เอเชียตะวันออก อาเซียน และเอเชียใต้ ก็ได้หดตัวลง
อย่างมากด้วยเช่นกัน (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 การส่งออกข้าวของไทยในภูมิภาคต่างๆของโลก ระหว่างปี 2554 และปี 2555
ปี 2554 ปี 2555 %เปลี่ยนแปลง ปี 2556 %เปลี่ยนแปลง
เอเชีย 3,407,551 1,191,474 -65.41 1,244,935 +5.63
เอเชียตะวันออก 717,591 382,548 -46.69 813,111 +12.91
อาเซียน 1,723,162 621,548 -63.94 429,952 -30.80
เอชียใต้ 738,459 1,544 -99.79 1,872 +21.24
แอฟริกา 4,687,982 3,600,471 -23.20 3,333,085 -4.73
ตะวันออกกลาง 1,374,965 1,300,160 -5.44 1,139,418 -12.36
อเมริกา 518,315 457,052 -11.20 472,317 +3.33
ยุโรป 488,650 283,691 -41.94 17,832 -93.71
โอเชียเนีย 188,678 134,548 -28.69 127,023 -5.59
การส่งออกรวม 10,666,120 6,954,311 -34.80 6,612,620 -4.92
ที่มา: คํานวณจากฐานข้อมูลสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร ด้วยความร่วมมือของกรมศุลกากร
การส่งออกข้าวของไทยไปยังภูมิภาคแอฟริกาและตะวันออกกลางซึ่งเป็นกลุ่มของผู้บริโภคข้าวนึ่ง พบว่าได้
ลดลงร้อยละ 23.20 และ ร้อยละ 5.44 ตามลําดับ ส่วนในภูมิภาคอเมริกาและยุโรป ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคข้าวไทย
ที่มา : คํานวณเฉลี่ยจากข้อมูล FAO Rice price report
3
คุณภาพพิเศษ พบว่าได้มีการนําเข้าข้าวจากไทยลดลงร้อยละ 11.20 และ ร้อยละ 41.94 ตามลําดับ สําหรับกลุ่ม
ประเทศในโอเชียเนียซึ่งรวมถึงออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และหมู่เกาะต่างๆก็มีปริมาณส่งออกลดลงด้วยเช่นกัน ใน
ภาพรวมแล้วการส่งออกของไทยไปยังประเทศต่างๆทั่วโลกมีจํานวนลดลงถึงร้อยละ 34.8
สําหรับการส่งออกข้าวไทยในปี 2556 เมื่อเทียบกับปี 2555 พบว่าการส่งออกข้าวของไทยไปยังตลาดเอเชีย
ได้ฟื้นตัวเพียงเล็กน้อย แต่หากซอยย่อยไปในอนุภาคอาเซียนการส่งออกของไทยยังกลับลดตํ่าลงไปอีก ส่วนการ
ส่งออกไปในตลาดเอเชียตะวันออกได้ดีขึ้นบ้าง ส่วนการส่งออกไปยังตลาดแอฟริกา ตะวันออกกลาง ยุโรป และโอ
เชียเนียพบว่ายังลดลงต่อเนื่องจากการส่งออกในปี 2555 อีกทั้ง การส่งออกไปยังตลาดอเมริกาสถานการยังค่อนข้างจะ
ทรงตัว
การเร่งระบายข้าวในสต็อกของรัฐภายใต้สถานการณ์ที่รัฐบาลขาดแคลนเงินที่จะจ่ายเป็นค่ารับจํานําข้าวให้กับ
ชาวนา กอรปกับการไม่มีโครงการรับจํานําในฤดูนาปรัง 2557 รองรับ ข้าวที่ชาวนาผลิตได้จะไหลออกสู่ตลาดข้าว
เอกชนมีเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งในการระบายข้าวออกจากสต็อกของรัฐเป็นการระบายข้าวสารออกสู่ตลาดในระดับราคาที่
ตํ่า กล่าวคือสําหรับราคาข้าวสารเจ้า 5% ทั่วไปจะอยู่ในช่วงราคาประมาณ 11,000-12,000 บาทต่อตัน(ต้นทุนข้าวสาร
ของรัฐอยู่ที่ 24,000 บาทต่อตัน) ระดับราคาข้าวสารดังกล่าวได้กดดันให้ระดับราคาข้าวเปลือกในระดับไร่นาต้องพลอย
ลดตํ่าลงตามไปด้วย
ระดับราคาข้าวเปลือกในระดับไร่นาในขณะนี้ได้ปรับตัวลดตํ่ามาอยู่ในช่วงประมาณตันละ 7,000-7,500 บาท ที่
ระดับความชื้น 15% และหากความชื้นสูงมากขึ้นระดับราคาที่เกษตรกรขายได้ก็จะตํ่าลงกว่านี้อีก ระดับราคาข้าวเปลือก
ที่ลดตํ่าลงประมาณเกือบเท่าตัว จะทําให้ระดับราคาข้าวสารเจ้า 5% ส่งออกของไทยในตลาดเอกชนลดตํ่าลงด้วย และ
จะทําให้ข้าวไทยกลับมาแข่งขันได้ในตลาดส่งออกอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้คาดว่า ระดับราคาข้าวสาร 5% ส่งออกของไทยจะ
ปรับตัวลดลงจากช่วงราคาประมาณ 440-450เหรียญสหรัฐต่อตันในช่วงปลายปี 2556 มาอยู่ในช่วงระหว่าง 400-420
เหรียญสหรัฐต่อตันในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้านี้
หากมองจากสถานการณ์ของระดับราคาข้าวไทยในตลาดโลกที่มีช่วงส่วนต่างของราคาเมื่อเทียบกับคู่แข่งขันที่
แคบลงด้วยแล้ว คาดว่าหากราคาข้าว 5% และ 25% ส่งออกข้าวไทยลดตํ่าลงมาสู่ระดับราคาที่ใกล้เคียงกับคู่แข่งแล้ว
ปริมาณการส่งออกของไทยอย่างน้อยก็จะปรับตัวสูงกว่าระดับการส่งออกของเวียดนาม ทําให้การทวงแชมป์ส่งออกข้าว
ของไทยคืนจากเวียดนามน่าจะเป็นจริงได้อย่างแน่นอน แต่การที่จะทวงแช้มป์การเป็นผู้ส่งออกข้าวในลําดับที่หนึ่งคืน
จากอินเดียจะเป็นจริงได้หรือไม่จะขึ้นอยู่กับระดับราคาข้าวส่งออกของไทยจะลดลงตํ่าหรือเทียบเท่ากับอินเดียหรือไม่
อาจจะเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะทวงแชมป์การส่งออกคืนจากอินเดียหากรัฐจะไม่เข้าไปแทรกแซงกลไกตลาด
อย่างเช่นในอดีต แต่กลับมาใช้นโยบายพัฒนาและส่งเสริมกลไกตลาดข้าวให้มีประสทธิภาพ จัดทํานโยบายช่วยเหลือ
เกษตรกรในมิติของการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มความสามารถในการจัดการไร่น่า และการหาทางให้ชาวนาที่มี
ความสามารถปรับเปลี่ยนการผลิตข้าวไปสุ่ตลาดข้าวคุณภาพเพื่อรองรับกับตลาดจําเพาะหรือ niche market ที่กําลัง
ขยายตัว

More Related Content

ไทยจะทวงแช้มป์ส่งออกข้าวคืนได้ไหมในปี 2557

  • 1. 1 ไทยจะทวงแชมป์ ส่งออกข้าวกลับคืนได้ไหมในปี 2557 สมพร อิศวิลานนท์0 1 ความจําเป็นอย่างเร่งด่วนในการที่จะหาเงินจํานวนไม่น้อยกว่า 1.2 แสนล้านบาทมาจ่ายเป็นค่าข้าวให้กับ ชาวนา ตามที่ได้ออกใบประทวนให้ไว้ภายใต้โครงการรับจํานําข้าวทุกเมล็ดในระดับราคาสูงนั้น ทําให้รัฐบาลรักษาการ ในขณะนี้ต้องเร่งระบายข้าวสารในสต็อกที่มีอยู่ไม่น้อยกว่า 17-18 ล้านต้นออกสู่ตลาด ทั้งจะโดยการเปิดประมูลข้าว ทั่วไปและการเปิดประมูลผ่านตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า(AFET) และคงจะต้องหาทางระบายข้าวออกไม่น้อยกว่า 10 ล้านตัน กว่าจะได้เงินจํานวนเงินที่เพียงพอที่จะมาจ่ายเป็นค่าข้าวให้กับชาวนา อย่างไรก็ตามเป็นที่คาดเดาได้ว่าในฤดู นาปรังปี 2557 นี้ โครงการรับจํานําข้าวในระดับราคาสูงของรัฐคงไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้อีก การหยุดและไม่ดําเนินการโครงการรับจํานําข้าวนาในฤดูปรังปี 2557 ของภาครัฐต่อไปอีก จะส่งผลดีต่อตลาด ข้าวเปลือกเอกชน ทําให้ตลาดข้าวเปลือกเอกชนสามารถพลิกฟื้นได้ในระดับหนึ่ง หลังจากที่รัฐเป็นผู้สร้างอํานาจ ผูกขาดในตลาดข้าวเปลือก โดยดึงอุปทานข้าวเข้ามาควบคุมภายใต้โครงการรับจํานําข้าวทุกเมล็ดในระดับราคาสูง ในช่วงกว่าสองปีที่ผ่านมา อีกทั้งการที่ภาครัฐโดยกระทรวงพาณิชย์ได้เร่งระบายข้าวจากสต็อกให้กับตลาดเอกชน จึง คาดเดาได้ว่าตลาดข้าวสารในประเทศของไทยและตลาดส่งออกข้าวไทยจะกลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง หากย้อนกลับไปดูสถานการณ์ตลาดข้าวสารส่งออกของไทยในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา พบว่าการดึงอุปทานข้าว เข้ามาควบคุมเพื่อยกระดับราคาข้าวไทยในตลาดต่างประเทศให้สูงขึ้นนั้น ได้สร้างผลกระทบต่อการส่งออกข้าวของ ไทยและไม่สามารถยกระดับราคาข้าวไทยให้อยู่ในระดับสูงได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเกิดเป็นต้นทุนที่สังคมไทยต้องจ่าย อย่างมหาศาลในขณะที่เกิดประโยชน์กับชาวนาเพียงบางกลุ่มและได้รับผลประโยชน์ไปไม่มากนักเมื่อเทียบกับต้นทุน ของโครงการที่ต้องใช้จ่ายออกไป อย่างไรก็ตามการที่ราคาข้าวสารส่งออกของไทยอยู่ในระดับสูงกว่าคู่แข่งอย่างเช่น อินเดียและเวียดนาม อย่าง มาก ทําให้โอกาสในการระบายข้าวในสต็อกของรัฐทําได้จํากัด โดยจะเห็นว่าหากเทียบข้าวสารเจ้า 5% ของไทยและ เวียดนามนั้น มีความต่างระหว่างข้าวสารเจ้า 5% ของไทยและเวียดนามอยู่เพียง 11 เหรียญสหรัฐต่อตันในช่วง 6 เดือน หลังของปี 2554 นับจากปี 2555 เป็นต้นมา ระดับราคาข้าวสารเจ้า 5% เฉลี่ย 6 เดือนของไทยแตกต่างจากราคา ข้าวสารเจ้าชนิดเดียวกันของเวียดนามถึง 134 เหรียญสหรัฐต่อตัน และมีส่วนต่างสูงขึ้นเป็น 147 และ 184 เหรียญ สหรัฐต่อตันใน 6 เดือนหลังของปี 2555 และ 6 เดือนแรกของปี 2556 ตามลําดับ (ตารางที่ 1) ในขณะที่ตลาดการค้า ข้าวโลกอยู่ในช่วงขาลง ทั้งนี้เพราะอินเดียเป็นผู้ระบายข้าวจากสต็อกและขายในราคาถูกเนื่องจากมีข้าวอยู่ในสต็อก จํานวนมากและมีผลทําให้เวียดนามปรับราคาลดลงตามอินเดีย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการสะสมข้าวในสต็อกจํานวนมาก ของเวียดนาม 11 นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติและผู้ประสานงานชุดโครงการ ”งานวิจัยเชิงนโยบายเกษตรและเสริมสร้างเครือข่ายงานวิจัย เชิงนโยบาย”สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) เอกสารนี้ลงพิมพ์ในนิตยสารข้าวไทย ฉบับที่ 41(มีนาคม-เมษายน 2557)
  • 2. 2 ตารางที่ 1 ราคาข้าว(FOB)ส่งออกของไทย เวียดนามและอินเดีย ราย 6 เดือนช่วงปี 2554-2556 ข้าว 5%(เหรียญสหรัฐต่อตัน) ข้าว 25%(เหรียญสหรัฐต่อตัน) เดือน/ปี ไทย เวียดนาม ความต่าง อินเดีย ไทย เวียดนาม ม.ค. - มิ.ย. 54 512 470 +42 472 432 ก.ค.-ธ.ค. 54 554 543 +11 409 550 519 ม.ค. - มิ.ย. 55 565 431 +134 385 556 389 ก.ค.-ธ.ค. 55 581 434 +147 398 564 405 ม.ค. - มิ.ย. 56 572 388 +184 414 563 361 ก.ค.-ธ.ค. 56 464 393 +71 390 444 365 การที่ราคาข้าวเปลือกและราคาข้าวสารส่งออกของไทยถูกยกระดับราคาให้สูงขึ้น ได้สร้างผลกระทบอย่าง สําคัญต่อการส่งออกของข้าวไทยไปในตลาดต่างประเทศ โดยจะเห็นได้ว่าปริมาณการส่งออกข้าวของไทยในปี 2554 ซึ่งมีจํานวนอยู่ถึง 10.67 ล้านตันนั้นได้ลดตํ่าลงเหลือ 6.95 ล้านตันในปี 2555 และ 6.61 ล้านตันในปี 2556 อีกทั้งยังทําให้ไทยต้องสูญเสียตลาดส่งออกข้าวในส่วนต่างๆของโลก ทั้งนี้พบว่า การส่งออกไปในตลาดเอเชีย ของข้าวไทยได้ลดลงอย่างมากในช่วงปี 2555 เมื่อเทียบกับปี 2554 โดยมีปริมาณการส่งออกลดลงถึงร้อยละ 65.41 อีก ทั้งการส่งออกข้าวของไทยไปยังแต่ละอนุภูมิภาคของเอเชียได้แก่เอเชียตะวันออก อาเซียน และเอเชียใต้ ก็ได้หดตัวลง อย่างมากด้วยเช่นกัน (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 การส่งออกข้าวของไทยในภูมิภาคต่างๆของโลก ระหว่างปี 2554 และปี 2555 ปี 2554 ปี 2555 %เปลี่ยนแปลง ปี 2556 %เปลี่ยนแปลง เอเชีย 3,407,551 1,191,474 -65.41 1,244,935 +5.63 เอเชียตะวันออก 717,591 382,548 -46.69 813,111 +12.91 อาเซียน 1,723,162 621,548 -63.94 429,952 -30.80 เอชียใต้ 738,459 1,544 -99.79 1,872 +21.24 แอฟริกา 4,687,982 3,600,471 -23.20 3,333,085 -4.73 ตะวันออกกลาง 1,374,965 1,300,160 -5.44 1,139,418 -12.36 อเมริกา 518,315 457,052 -11.20 472,317 +3.33 ยุโรป 488,650 283,691 -41.94 17,832 -93.71 โอเชียเนีย 188,678 134,548 -28.69 127,023 -5.59 การส่งออกรวม 10,666,120 6,954,311 -34.80 6,612,620 -4.92 ที่มา: คํานวณจากฐานข้อมูลสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร ด้วยความร่วมมือของกรมศุลกากร การส่งออกข้าวของไทยไปยังภูมิภาคแอฟริกาและตะวันออกกลางซึ่งเป็นกลุ่มของผู้บริโภคข้าวนึ่ง พบว่าได้ ลดลงร้อยละ 23.20 และ ร้อยละ 5.44 ตามลําดับ ส่วนในภูมิภาคอเมริกาและยุโรป ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคข้าวไทย ที่มา : คํานวณเฉลี่ยจากข้อมูล FAO Rice price report
  • 3. 3 คุณภาพพิเศษ พบว่าได้มีการนําเข้าข้าวจากไทยลดลงร้อยละ 11.20 และ ร้อยละ 41.94 ตามลําดับ สําหรับกลุ่ม ประเทศในโอเชียเนียซึ่งรวมถึงออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และหมู่เกาะต่างๆก็มีปริมาณส่งออกลดลงด้วยเช่นกัน ใน ภาพรวมแล้วการส่งออกของไทยไปยังประเทศต่างๆทั่วโลกมีจํานวนลดลงถึงร้อยละ 34.8 สําหรับการส่งออกข้าวไทยในปี 2556 เมื่อเทียบกับปี 2555 พบว่าการส่งออกข้าวของไทยไปยังตลาดเอเชีย ได้ฟื้นตัวเพียงเล็กน้อย แต่หากซอยย่อยไปในอนุภาคอาเซียนการส่งออกของไทยยังกลับลดตํ่าลงไปอีก ส่วนการ ส่งออกไปในตลาดเอเชียตะวันออกได้ดีขึ้นบ้าง ส่วนการส่งออกไปยังตลาดแอฟริกา ตะวันออกกลาง ยุโรป และโอ เชียเนียพบว่ายังลดลงต่อเนื่องจากการส่งออกในปี 2555 อีกทั้ง การส่งออกไปยังตลาดอเมริกาสถานการยังค่อนข้างจะ ทรงตัว การเร่งระบายข้าวในสต็อกของรัฐภายใต้สถานการณ์ที่รัฐบาลขาดแคลนเงินที่จะจ่ายเป็นค่ารับจํานําข้าวให้กับ ชาวนา กอรปกับการไม่มีโครงการรับจํานําในฤดูนาปรัง 2557 รองรับ ข้าวที่ชาวนาผลิตได้จะไหลออกสู่ตลาดข้าว เอกชนมีเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งในการระบายข้าวออกจากสต็อกของรัฐเป็นการระบายข้าวสารออกสู่ตลาดในระดับราคาที่ ตํ่า กล่าวคือสําหรับราคาข้าวสารเจ้า 5% ทั่วไปจะอยู่ในช่วงราคาประมาณ 11,000-12,000 บาทต่อตัน(ต้นทุนข้าวสาร ของรัฐอยู่ที่ 24,000 บาทต่อตัน) ระดับราคาข้าวสารดังกล่าวได้กดดันให้ระดับราคาข้าวเปลือกในระดับไร่นาต้องพลอย ลดตํ่าลงตามไปด้วย ระดับราคาข้าวเปลือกในระดับไร่นาในขณะนี้ได้ปรับตัวลดตํ่ามาอยู่ในช่วงประมาณตันละ 7,000-7,500 บาท ที่ ระดับความชื้น 15% และหากความชื้นสูงมากขึ้นระดับราคาที่เกษตรกรขายได้ก็จะตํ่าลงกว่านี้อีก ระดับราคาข้าวเปลือก ที่ลดตํ่าลงประมาณเกือบเท่าตัว จะทําให้ระดับราคาข้าวสารเจ้า 5% ส่งออกของไทยในตลาดเอกชนลดตํ่าลงด้วย และ จะทําให้ข้าวไทยกลับมาแข่งขันได้ในตลาดส่งออกอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้คาดว่า ระดับราคาข้าวสาร 5% ส่งออกของไทยจะ ปรับตัวลดลงจากช่วงราคาประมาณ 440-450เหรียญสหรัฐต่อตันในช่วงปลายปี 2556 มาอยู่ในช่วงระหว่าง 400-420 เหรียญสหรัฐต่อตันในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้านี้ หากมองจากสถานการณ์ของระดับราคาข้าวไทยในตลาดโลกที่มีช่วงส่วนต่างของราคาเมื่อเทียบกับคู่แข่งขันที่ แคบลงด้วยแล้ว คาดว่าหากราคาข้าว 5% และ 25% ส่งออกข้าวไทยลดตํ่าลงมาสู่ระดับราคาที่ใกล้เคียงกับคู่แข่งแล้ว ปริมาณการส่งออกของไทยอย่างน้อยก็จะปรับตัวสูงกว่าระดับการส่งออกของเวียดนาม ทําให้การทวงแชมป์ส่งออกข้าว ของไทยคืนจากเวียดนามน่าจะเป็นจริงได้อย่างแน่นอน แต่การที่จะทวงแช้มป์การเป็นผู้ส่งออกข้าวในลําดับที่หนึ่งคืน จากอินเดียจะเป็นจริงได้หรือไม่จะขึ้นอยู่กับระดับราคาข้าวส่งออกของไทยจะลดลงตํ่าหรือเทียบเท่ากับอินเดียหรือไม่ อาจจะเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะทวงแชมป์การส่งออกคืนจากอินเดียหากรัฐจะไม่เข้าไปแทรกแซงกลไกตลาด อย่างเช่นในอดีต แต่กลับมาใช้นโยบายพัฒนาและส่งเสริมกลไกตลาดข้าวให้มีประสทธิภาพ จัดทํานโยบายช่วยเหลือ เกษตรกรในมิติของการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มความสามารถในการจัดการไร่น่า และการหาทางให้ชาวนาที่มี ความสามารถปรับเปลี่ยนการผลิตข้าวไปสุ่ตลาดข้าวคุณภาพเพื่อรองรับกับตลาดจําเพาะหรือ niche market ที่กําลัง ขยายตัว