การปฏิรูปการศึกษา 2561
- 1. ~ 1 ~
นโยบาย 4 ใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการ
โดย สํานักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561)
และหลักการร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ.2552
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2552 เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาใน
ทศวรรษที่สอง โดยสาระสําคัญของข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) มีดังนี้
วิสัยทัศน์
“คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ”
เป้าหมาย
ภายในปี 2561 มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยเน้นประเด็นหลัก3 ประการ คือ
1. คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคน
2. โอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา
โดยการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) รัฐบาลจะมุ่งเน้นให้คนไทยได้เรียนรู้
ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ
1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย
2. เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา
กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษามี 4 ประการ (นโยบาย 4 ใหม่) ประกอบด้วย
1. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ที่มีนิสัยใฝ่รู้ ตั้งแต่ปฐมวัย สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและ
แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดริเริ่ม
สร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย คํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวม สามารถทํางานเป็นกลุ่มได้อย่างเป็น
กัลยาณมิตร มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม มีจิตสํานึกและความภูมิใจในไทย ยึดมั่นการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รังเกียจการทุจริตและต่อต้านการซื้อสิทธิ์ ขายเสียง สามารถก้าว
ทันโรค มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่สมบูรณ์ แข็งแรง เป็นกําลังคนที่มีคุณภาพ มีทักษะความรู้พื้นฐานที่จําเป็น มี
สมรรถนะ ความรู้ ความสามารถ สามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีโอกาสเรียนรู้อย่างเท่าเทียม เสมอ
ภาค โดยมีแนวทางการปฏิรูป ดังนี้
1.1 พัฒนาคุณภาพการศึกษาและเรียนรู้ เพื่อให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและเรียนรู้ ใน
ทุกระดับ/ประเภทการศึกษา ที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์
- 2. ~ 2 ~
1.2 ผลิตและพัฒนากําลังคนที่มีคุณภาพ มีสมรรถนะ และความรู้ ความสามรถ
2. พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ ที่เป็นผู้เอื้ออํานวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า มี
ระบบ กระบวนการผลิต และพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐาน เหมาะสมกับ
การเป็นวิชาชีพชั้นสูง สามารถดึงดูดคนเก่ง คนดี มีใจรักในวิชาชีพครูมาเป็นครู คณาจารย์ มีปริมาณครู คณาจารย์
และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอตามเกณฑ์ และสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ มาตรฐาน
ขณะเดียวกันสามารถพัฒนาตนเองและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง มีสภาวิชาชีพที่เข้มแข็ง บริหารจัดการตามหลัก
ธรรมาภิบาล เพื่อพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงในอาชีพ มี
ขวัญกําลังใจ อยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีแนวทางการปฏิรูป ดังนี้
2.1 พัฒนาระบบผลิตครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
2.2 การพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
2.3 การใช้ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
3. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาทุกระดับ/
ประเภทให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และพัฒนาแหล่งเรียนรู้อื่นๆสําหรับการศึกษาและเรียนรู้ทั้งในระบบ
นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวน
พฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และศูนย์การกีฬาและนันทนาการ เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและมีคุณภาพ
4. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ ที่มุ่งเน้นการกระจายอํานาจสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่
การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชน และทุกภาคส่วน
มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล มีความโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ ตลอดจนมีการนําระบบและ
วิธีการบริหารจัดการแนวใหม่มาใช้ ควบคู่กับการสร้างผู้นําการเปลี่ยนแปลง มีการบริหารจัดการการเงินและ
งบประมาณที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ (demand side) โดยให้ผู้เรียนเลือกรับบริการ โดยมีแนวทางการปฏิรูป ดังนี้
4.1 กระจายอํานาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้กับสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา
4.2 พัฒนาระบบธรรมาภิบาลให้มีความโปร่งใส เป็นธรรม มีระบบการตรวจสอบที่มี
ประสิทธิภาพ
4.3 พัฒนาการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา
4.4 พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคเอกชน
และทุกภาคส่วน ในการจัดการศึกษาและสนับสนุนการศึกษาและเรียนรู้ให้มากขึ้น
4.5 พัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
- 3. ~ 3 ~
แนวทางการดําเนินการของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ภายใต้กรอบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ของสํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สกอ.
ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับนโยบายได้จัดทํากรอบยุทธศาสตร์การปฏิรูปอุดมศึกษารอบสองขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางใน
การขับเคลื่อนการปฏิรูปอุดมศึกษา โดยยึดหลักตามกรอบนโยบาย 4 ใหม่ (ประกอบด้วย การพัฒนาคุณภาพคน
ไทยยุคใหม่ การพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และการพัฒนา
คุณภาพการบริหารจัดการใหม่) ซึ่งยุทธศาสตร์การปฏิรูปอุดมศึกษารอบสอง ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. ปรับกระบวนการผลิตกําลังคนสายวิชาการ และสายวิชาชีพ ให้มีประสิทธิภาพ ตอบสนอง
การพัฒนาประเทศด้วยกระบวนการเรียนรู้ยุคใหม่
การผลิตบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาควรเน้นความรอบรู้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติใน
สาขาวิชาที่มีความจําเป็น มีความเป็นพลเมือง และสอดคล้องกับความจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อได้กําลังคน
ระดับสูงที่สามารถสร้างงานที่เหมาะสมในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งเป็นการเตรียมคนเพื่อรองรับการเป็นประชาคม
อาเซียนที่จะเป็นหนึ่งเดียวในปี 2558
2. ปรับกระบวนการผลิตครูทั้งระบบและการพัฒนาอาจารย์เพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษา
คุณภาพของการศึกษาคือ คุณภาพของครู และอาจารย์ และคุณภาพการสอนของครูจะมีได้
เมื่อครูมีค่านิยม ทักษะและความรู้ของความเป็นครูที่ถูกต้องเหมาะสม ดังนั้น การปฏิรูปอุดมศึกษาในครั้งนี้ จึงให้
ความสําคัญกับการพัฒนากระบวนการผลิตครูทั้งระบบ และการพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา
3. เพิ่มขีดความสามารถของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ
ประเทศในด้านการวิจัยและนวัตกรรม
มหาวิทยาลัยมีส่วนสําคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เนื่องจาก
มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีบทบาทในด้านการศึกษาระดับสูง การวิจัย การสร้างนวัตกรรม การพัฒนา
การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี และการผลิตบุคลากร นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังเป็นแห่งรวมที่สําคัญของ
โครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยจึงมีผลต่อความ
เข้มแข็งและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศใน
ระยะยาว
4. พัฒนาอุดมศึกษาให้เป็นส่วนสําคัญในการสร้างความเสมอภาคในสังคม
ปัจจุบันเกิดสภาวะวิกฤติในสังคมไทย อันเนื่องมาจากหลายปัจจัย อุดมศึกษาในฐานะที่เป็น
องค์กรที่เป็นมันสมองของชาติและผลิตคนออกมารับใช้สังคม ควรมีบทบาทในการสร้างความสมดุลให้สังคม รวมทั้ง
ช่วยแก้ปัญหาวิกฤติของประเทศ
5. ปรับระบบบริหารและการจัดการระบบอุดมศึกษา เพื่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปอุดมศึกษา
การปฏิรูประบบบริหารจัดการในระบบอุดมศึกษาที่ต้องดําเนินการในทุกระดับ เพื่อให้เกิดการ
บริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
- 4. ~ 4 ~
แผนภาพความเชื่อมโยงระหว่างกรอบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) และกรอบยุทศาสตร์การปฏิรูปอุดมศึกษารอบสอง
พัฒนาคุณภาพ
คนไทยยุคใหม่
(กระบวนการเรียนรู้ใหม่)
1)พัฒนาคุณภาพและ
มาตรฐานการศึกษา
และเรียนรู้
2) เพิ่มโอกาสทางการ
ศึกษาและเรียนรู้
3) ส่งเสริมการมีส่วน
ร่วมของทุกภาคส่วน
ของสังคมในการ
บริหารและจัด
การศึกษา
พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่
พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
และแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่
พัฒนาคุณภาพการ
บริหารจัดการใหม่
กรอบแนวทาง (นโยบาย 4 ใหม่)
เป้าหมาย
วิสัยทัศน์
1. ปรับกระบวนการผลิตกําลังคนสายวิชาการ และ
สายวิชาชีพ ให้มีประสิทธิภาพ ตอบสนองการพัฒนา
ประเทศด้วยกระบวนการเรียนรู้ยุคใหม่
3. เพิ่มขีดความสามารถของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อ
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศใน
ด้านการวิจัยและนวัตกรรม
4. พัฒนาอุดมศึกษาให้เป็นส่วนสําคัญในการสร้าง
ความเสมอภาคในสังคม
5. ปรับระบบบริหารและการจัดการระบบอุดมศึกษา
เพื่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปอุดมศึกษา
ยุทธศาสตร์การปฏิรูปอุดมศึกษา
2. ปรับกระบวนการผลิตครูทั้งระบบและการพัฒนา
อาจารย์เพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษา
-คนไทยและการศึกษา
ไทยมีคุณภาพและได้
มาตรฐานระดับสากล
- คนไทยใฝ่รู้
- คนไทยใฝ่ดี
- คนไทย
คิดเป็น
ทําเป็น แก้ปัญหา
ได้
คนไทยได้
เรียนรู้
ตลอดชีวิต
อย่างมี
คุณภาพ