บทที่ 5 หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน
- 1. บทที่ 5
หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน
สื่อการสอนมีอยู่หลากหลายรูปแบบหลากหลายประเภท การเลือกสื่อการสอนมี
ความสาคัญมากต่อกระบวนการเรียนการสอน อย่างไรก็ตามในการเลือกสื่อการสอนพึงระลึกไว้
เสมอว่า "ไม่มีสื่อการสอนอันใดที่ใช้ได้ดีที่สุดในทุกสถานการณ์" ในการตัดสินใจเลือกใช้สื่อการ
สอนต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมกัน ผู้ใช้สื่อไม่ควรยกเอาความสะดวก ความถนัด หรือ
ความพอใจส่วนตัวเป็นปัจจัยสาคัญในการเลือกสื่อการสอนเพราะอาจเกิดผลเสียต่อกระบวนการเรียน
การสอนได้
แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกสื่อการสอนก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีผู้ให้ความสนใจและให้
คาแนะนาไว้หลากหลายมุมมอง ในที่นี้จะนาเสนอเฉพาะแนวคิดของโรมิสซอว์สกี้ และแนวคิดของ
เคมพ์และสเมลไล ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. แนวคิดการเลือกสื่อการสอนของโรมิสซอว์สกี้
A. J. Romiszowski (1999) ได้เสนอแนวทางอย่างง่ายในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอน
ไว้ว่า ในการเลือกสื่อการสอนนั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อการเลือกสื่อที่จาเป็นต้องนามา
พิจารณา ปัจจัยเหล่านั้น ได้แก่
1. วิธีการสอน (Instructional Method) การเลือกวิธีการสอนเป็นปัจจัยแรกที่ควบคุมการ
เลือกสื่อ หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นสิ่งที่จากัดทางเลือกของการใช้สื่อการสอนในการนาเสนอ เช่น
ถ้าเลือกใช้วิธีการสอนแบบอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและ
กันระหว่างผู้เรียน ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดว่า การเลือกใช้เทปเสียง หรือ ใช้โทรทัศน์ย่อมไม่
- 2. เหมาะสม ทั้งนี้เนื่องจากสื่อดังกล่าวมีข้อจากัดในเรื่องของการให้ผลย้อนกลับ หรือการแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็น เป็นต้น
2. งานการเรียนรู้ (Learning Task) สิ่งที่มีอิทธิพลต่อทางเลือกในการเลือกสื่อการสอน
อีกประการหนึ่งคือ งานการเรียนรู้สาหรับผู้เรียน เพราะสิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่จากัดหรือควบคุมการ
เลือกวิธีการสอน ตัวอย่างเช่น การฝึกอบรมผู้ตรวจการ หรือทักษะการบริหารงาน ซึ่งมักจะนิยม
ใช้วิธีการสอนแบบการอภิปรายกลุ่ม เพื่อผู้ตรวจการแต่ละคนแบ่งปันประสบการณ์ของตนกับผู้เข้ารับ
การอบรมอื่นๆ การใช้กรณีศึกษาซึ่งนาเสนอด้วยภาพยนตร์ ก็เป็นตัวอย่างทางเลือกหนึ่งที่ถูก
กาหนดให้เลือกจากวิธีการสอน
3. ลักษณะของผู้เรียน (Learner Characteristics) ลักษณะพิเศษเฉพาะของผู้เรียนก็เป็น
ปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการเลือกสื่อการสอน ตัวอย่างเช่น การสอนผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้า
โดยการใช้หนังสือหรือเอกสารเป็นสื่อการสอน จะเป็นสิ่งที่ยิ่งทาให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาใน
กระบวนการเรียนการสอน ผู้เรียนกลุ่มนี้ควรเรียนรู้จากสื่ออื่นๆ ที่ทาการรับรู้และเรียนรู้ได้ง่ายกว่า
นั้น
4. ข้อจากัดในทางปฏิบัติ (Practical Constrain) ข้อจากัดในทางปฏิบัติในที่นี้หมายถึง
ข้อจากัดทั้งทางด้านการจัดการ และทางด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทางเลือกใน
การเลือกใช้วิธีการสอนและสื่อการสอน เช่น สถานที่ใช้สื่อการสอน สิ่งอานวยความสะดวก ขนาด
พื้นที่ งบประมาณ เป็นต้น
5. ผู้สอนหรือครู (Teacher) สื่อการสอนแต่ละชนิดไม่ว่าจะมีข้อดีอย่างไร แต่อาจไม่ถูก
นาไปใช้เพียงเพราะผู้สอนไม่มีทักษะในการใช้สื่อนั้นๆ นอกจากประเด็นในเรื่องทักษะของผู้สอนแล้ว
ประเด็นในเรื่องทัศนคติของผู้สอนก็เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อการสอนเช่นกัน
- 3. 2. แนวคิดการเลือกสื่อการสอนของเคมพ์และสเมลไล
Jerrold E. Kemp และ Don C. Smelle (1989) เสนอว่า นอกจากงานการเรียนรู้หรือ
สถานการณ์การเรียนรู้ซึ่งเป็นสิ่งสาคัญที่กาหนดถึงสื่อที่จะเลือกใช้แล้ว สิ่งสาคัญประการต่อมาใน
การพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนคือ คุณลักษณะของสื่อ ซึ่งผู้สอนควรศึกษาคุณลักษณะของสื่อแต่
ละชนิดประกอบในการเลือกสื่อการสอนด้วย
คุณลักษณะของสื่อ (Media Attributes) หมายถึง ศักยภาพของสื่อเสนอว่า นอกจากงาน
การเรียนรู้หรือสถานการณ์การเรียนรู้ซึ่งเป็นสิ่งสาคัญที่กาหนดถึงสื่อที่จะเลือกใช้แล้ว สิ่งสาคัญ
ประการต่อมาในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนคือ คุณลักษณะของสื่อ ซึ่งผู้สอนควรศึกษา
คุณลักษณะของสื่อแต่ละชนิดประกอบในการเลือกสื่อการสอนด้วย ในการแสดงออกซึ่งลักษณะ
ต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหว สี และเสียง เป็นต้น คาถามพื้นฐานในการเลือกสื่อคือ "คุณลักษณะ
ของสื่อแบบใดที่จาเป็นสาหรับสถานการณ์การเรียนรู้ในแบบที่กาหนดให้" คุณลักษณะของสื่อที่
สาคัญ ได้แก่
1. การแสดงแทนด้วยภาพ (เช่น ภาพถ่าย ภาพกราฟิก)
2. ปัจจัยทางด้านขนาด (เช่น การใช้/ไม่ใช้เครื่องฉายเพื่อขยายขนาด)
3. ปัจจัยทางด้านสี (เช่น สีสันต่างๆ ขาว-ดา)
4. ปัจจัยทางด้านการเคลื่อนไหว (เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว)
5. ปัจจัยทางด้านภาษา (เช่น ข้อความ/ตัวอักษร เสียงพูด)
6. ความสัมพันธ์ของภาพและเสียง (เช่น ภาพที่มี/ไม่มีเสียงประกอบ)
7. ปัจจัยทางด้านการจัดระเบียบข้อมูล (กาหนดให้ดูทีละภาพตามลาดับ หรือตามลาดับที่
ผู้ชมเลือก)
นอกจากนี้ Kemp และ Smellie ได้แนะนาอีกว่า ในการเลือกสื่อการสอน อาจเริ่มต้น
จากการตอบคาถาม 3 ข้อดังต่อไปนี้ (Kemp และ Smellie 1989)
1. วิธีการสอนแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุดกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้และลักษณะของผู้เรียน
เช่น ควรใช้การนาเสนอ การเรียนรู้ด้วยตนเองตามจังหวะการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน หรือการ
เรียนแบบกลุ่มย่อย เป็นต้น
2. ประสบการณ์การเรียนรู้แบบใดเหมาะสมที่สุดกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เช่น
ประสบการณ์ตรง ฟังคาบรรยาย อ่านเอกสาร/ตารา
3. ถ้ามีการเลือกให้ผู้เรียนมีประสบการณ์การเรียนรู้โดยผ่านการรับรู้หรือการรับสัมผัส
ต้องใช้สื่อที่มีคุณลักษณะอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับการรับรู้หรือการรับสัมผัสนั้นๆ มากที่สุด
- 5. สรุป หลักการในการเลือกสื่อการสอน
จากแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญต่างๆ
สามารถสรุปเป็นหลักการอย่างง่ายในการเลือก
สื่อการเรียนการสอนได้ดังนี้
1. เลือกสื่อการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
ผู้สอนควรศึกษาถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่หลักสูตรกาหนดไว้ วัตถุประสงค์ในที่นี้
หมายถึงวัตถุประสงค์เฉพาะในแต่ละส่วนของเนื้อหาย่อย ไม่ใช่วัตถุประสงค์ในภาพรวมของหลักสูตร
เช่น หลักสูตรกาหนดวัตถุประสงค์ไว้ว่า หลังการเรียนผู้เรียนควรจาแนกรสเปรี้ยวและรสหวานได้
ดังนั้นงานการเรียนรู้ควรเป็นประสบการณ์ตรง ผู้สอนควรพิจารณาว่าสื่อการสอนที่เหมาะสมจะใช้
กับการให้ประสบการณ์ตรงได้แก่อะไรบ้าง ซึ่งจากตัวอย่าง อาจเลือกใช้ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว กับขนม
หวานให้ผู้เรียนได้ชิมรสด้วยตนเอง เป็นต้น
2. เลือกสื่อการสอนที่ตรงกับลักษณะของเนื้อหาของบทเรียน
เนื้อหาของบทเรียนอาจมีลักษณะแตกต่างกันไป เช่น เป็นข้อความ เป็นแนวคิด เป็น
ภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว เป็นเสียง เป็นสี ซึ่งการเลือกสื่อการสอนควรเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะ
ของเนื้อหา ตัวอย่างเช่น การสอนเรื่องสีต่างๆ สื่อก็ควรจะเป็นสิ่งที่แสดงออกได้ถึงลักษณะของสี
ต่างๆ ตามที่สอน ดังนั้นควรเลือกสื่อการสอนที่ให้เนื้อหาสาระครอบคลุมตามเนื้อหาที่จะสอน มี
การให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง และมีรายละเอียดมากเพียงพอที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม
วัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้
3. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
ลักษณะเฉพาะตัวต่างๆ ของผู้เรียนเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้สื่อการสอน ในการเลือก
สื่อการสอนต้องพิจารณาลักษณะต่างๆ ของผู้เรียน เช่น อายุ เพศ ความถนัด ความสนใจ ระดับ
สติปัญญา วัฒนธรรม และประสบการณ์เดิม ตัวอย่างเช่น การสอนผู้เรียนที่เป็นนักเรียนระดับ
ประถมศึกษาควรใช้เป็นภาพการ์ตูนมีสีสันสดใส ในขณะที่การสอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาอาจใช้
- 6. เป็นภาพเหมือนจริงได้ ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกสื่อให้เหมาะสมกับลักษณะผู้เรียนนั้นควรศึกษาจาก
ผลงานวิจัย
4. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับจานวนของผู้เรียน และกิจกรรมการเรียนการสอน
ในการสอนแต่ละครั้งจานวนของผู้เรียนและกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนสอน ในห้องก็เป็นสิ่ง
สาคัญที่ต้องนามาพิจารณาควบคู่กันในการใช้สื่อการสอน เช่น การสอนผู้เรียนจานวนมาก
จาเป็นต้องใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย ซึ่งสื่อการสอนที่นามาใช้อาจเป็นเครื่องฉายต่าง ๆ และ
เครื่องเสียง เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นและได้ยินอย่างทั่วถึง ส่วนการสอนผู้เรียนเป็นรายบุคคล อาจ
เลือกใช้วิธีการสอนแบบค้นคว้า สื่อการสอนอาจเป็นหนังสือบทเรียนแบบโปรแกรม หรือบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น
5. เลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมในที่นี้อาจได้แก่ อาคาร สถานที่ ขนาดพื้นที่ แสง ไฟฟ้า เสียงรบกวน
อุปกรณ์อานวยความสะดวก หรือ บรรยากาศ สิ่งเหล่านี้ควรนามาประกอบการพิจารณาเลือกใช้สื่อ
การสอน ตัวอย่างเช่น การสอนผู้เรียนจานวนมากซึ่งควรจะใช้เครื่องฉายและเครื่องเสียง แต่
สถานที่สอนเป็นลานโล่งมีหลังคา ไม่มีผนังห้อง มีแสงสว่างจากภายนอกส่องเข้ามาถึง ดังนั้นการ
ใช้เครื่องฉายที่ต้องใช้ความมืดในการฉายก็ต้องหลีกเลี่ยง มาเป็นเครื่องฉายประเภทที่สามารถฉาย
โดยมีแสงสว่างได้ เป็นต้น
6. เลือกสื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความสนใจ
ควรเลือกใช้สื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความสนใจผู้เรียนได้ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องของ
เสียง สีสัน รูปทรง ขนาด ตลอดจนการออกแบบและการผลิตด้วยความประณีต สิ่งเหล่านี้จะ
ช่วยทาให้สื่อการสอนมีความน่าสนใจและดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้ อาจก่อให้เกิดบรรยากาศ
การเรียนรู้ที่สนุกสนาน น่าสนใจ หรือสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้เรียน
7. เลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งาน เก็บรักษา และบารุงรักษา ได้สะดวก
ในประเด็นสุดท้ายของการพิจารณา ควรเลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งานได้สะดวก ไม่
ยุ่งยาก และหลังใช้งานควรเก็บรักษาได้ง่ายๆ ตลอดจนไม่ต้องใช้วิธีการบารุงรักษาที่สลับซับซ้อน
หรือมีค่าใช้จ่ายในการบารุงรักษาสูง