ݺߣ
Submit Search
วิชา กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 5
•
Download as PPTX, PDF
•
0 likes
•
639 views
AJ Por
Follow
การบรรยายคร้งที่ ๕
Read less
Read more
1 of 16
Download now
Downloaded 15 times
More Related Content
วิชา กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 5
1.
วิชา กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจาวัน การบรรยายครั้งที่ 5
2.
สอบย่อย ครั้งที่ 1 กฎหมายมีกี่ระบบ
จงอธิบาย และปัจจุบันประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายใด
3.
•สิทธิ •เสรีภาพ •หน้าที่
4.
สิทธิ หมายถึง ความชอบธรรมที่บุคคลสามารถใช้ยันกับบุคคลอื่น
เพื่อคุ้มครองหรือ รักษาประโยชน์อันเป็นส่วนที่พึงมีพึงได้ของบุคคลนั้น ฏี.124/2487 “พูดถึงสิทธิ หากจะกล่าวโดยย่อและรวบรัดแล้วก็ได้แก่ประโยชน์อันบุคคลมีอยู่ แต่ ประโยชน์อันบุคคลมีอยู่ แต่ประโยชน์จะเป็นสิทธิหรือไม่ก็แล้วแต่ว่าบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้อง เคารพหรือไม่ ถ้าบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้องเคารพ ประโยชน์นั้นก็เป็นสิทธิ กล่าวคือได้รับความ คุ้มครองตามกฎหมาย”
5.
- สิทธิต้องเป็นความชอบธรรม ----
คือ เป็นเรืองของความถูกต้องในการรักษาผลประโยชน์ของตน เช่น เรามีสิทธิ ใช้รถ ก็หมายความว่า เรามีความชอบธรรมที่จะขับรถหรือใช้รถนั้น คนอื่นมาใช้โดยไม่ได้ขออนุญาต ถือว่าไม่มี ความชอบธรรม เว้นแต่ในบางบางกรณีสิทธิอาจไม่ใช่ความชอบธรรมแต่กฎหมายยอมรับ เช่น การครอบครอง ปรปักษ์ สิทธิเรียกร้องอายุความ - สิทธิต้องมีบุคคลเป็นผู้ถือสิทธิ ---- ผู้ทรงสิทธิ อาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ สัตว์หรือสิ่งของไม่อาจ ถือสิทธิหรือใช้สิทธิได้ สิทธิย่อมสงวนไว้สาหรับบุคคลเท่านั้น เช่น สิทธิของเจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ลุกนี้ชาระ หนี้กรณีนี้เจ้าหนี้คือผู้ทรงสิทธิ - บุคคลผู้มีหน้าที่ต้องเคารพสิทธิ สิทธินั้นต้องเป็นสิ่งที่ยันกับคนอื่นได้ คือบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งตรงข้ามกับผู้ถือ สิทธิ เรียกว่า ผู้มีหน้าที่ อาจเป็นหน้าที่โดยเฉพาะ หรือหน้าที่โดยทั่วไปก็ได้ ตามสัญญาซื้อขายผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ขายส่งมอบทรัพย์ ในขณะเดียวกันผู้ซื้อก็มีหน้าที่จาต้องรับมอบทรัพย์สินที่ ตนซื้อไว้ และใช้ราคาตามสัญญา หน้าที่โดยทั่วไป ก มีกรรมสิทธิ์เหนือบ้านของตน ทุกคนต้องเคารพสิทธิ์ของ ก ห้ามเข้าบ้าน ก จนกว่าได้รับอนุญาต สิทธิและหน้าที่เป็นของคู่กัน เป็นหลักที่ไม่มีข้อยกเว้น - สิทธิต้องมีเนื้อหา ---- หมายถึงข้อความที่เป็นประโยชน์ที่จะยืนยันคุ้มครองรักษาประโยชน์ โดยอาจกาหนดให้ กระทาการอย่างหนึ่งอย่างใด งดเว้นกระทาการ ส่งมอบทรัพย์ เช่น เนื้อหาสิทธิของเจ้าหนี้คือ เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะ เรียกร้องให้ลูกหนี้ชาระหนี้ถ้าเป็นหนี้เงินต้องชาระด้วยต้นเงินและดอกเบี้ย
6.
ประเภทของสิทธิ • สิทธิมหาชน ---
เป็นสิทธิซึ่งเกิดขึ้นจากกฎหมายมหาชน โดยทั่วไปเป็นสิทธิของ พลเมืองที่ดีต่อรัฐ เช่น สิทธิในการชุมนุม สิทธิในการแสดงความคิดเห็นของเอกชน การยอมรับสิทธิที่เกิดจากกฎหมาย ทาให้รัฐย่อมผูกพันตนเองเพื่อประโยชน์ของ เอกชน ดังนั้น สิทธิตามกฎหมายมหาชนเป็นสิทธิของราษฎรที่มีต่อรัฐและหน่วยงาน สามธารณะอื่นๆ ประเภทของสิทธิมหาชน - สิทธิปฏิเสธ เช่น สิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญประเภทเสรีภาพของพลเมือง - สิทธิกระทาการ เช่น สิทธิที่จะเข้ามามีส่วนช่วยในการปกครอง - สิทธิเรียกร้องให้รัฐดาเนินการ เช่น สิทธิเรียกร้องให้จ่ายเงินเดือน
7.
• สิทธิเอกชน ---
เป็นสิทธิระหว่างเอกชนกับเอกชนซึ่งเกิดจากกฎหมายเอกชน - สิทธิมิใช่ทางทรัพย์สิน หรือสิทธิทางบุคคล --- แบ่งเป็น 2 ประเภท (1) สิทธิบุคคลภาพ คือ สิทธิที่ติดตามมาตั้งแต่เกิด เช่น สิทธิในร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ชื่อเสียง (2) สิทธิสถานะ คือ สิทธิที่เกิดจากสถานะของบุคล แยกเป็นสิทธิสถานะในครอบครัว เช่น สิทธิของบิดา มารดา สิทธิการเป็นสามีภรรยา และสิทธิสถานะอื่นๆเช่น สถานะในการเป็นผู้จัดการมรดก ผู้อนุบาล เป็น ต้น - สิทธิทางทรัพย์สิน --- ได้แก่ (1) ทรัพยสิทธิ เป็นสิทธิที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์ ได้แก่ กรรมสิทธิ์ และทรัพยสิทธิเหนือทรัพย์ของบุคคลอื่น (2) สิทธิเสมือนทรัพยสิทธิ คือ สิทธิที่เกือบเหมือนทรัพยสิทธิ เช่น สิทธิในการทาเหมืองแร่ (3) สิทธิในสิ่งไม่มีรูปร่าง เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ทรัพย์สินทางปัญญา (4) สิทธิทางหนี้คือ สิทธิที่เกิดจากนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยหนี้
8.
ขอบเขตการใช้สิทธิ 1 การใช้สิทธิในทางที่ผิด เดิมเห็นว่าการกระทาที่ชอบด้วยกฎหมาย
ย่อมไม่เป็นการทาความเสียหายแก่ผู้อื่น ต่อมา เกิดความคิดใหม่ว่า การการใช้สิทธินั้นถ้าหากเป็นการใช้ไปในทางที่ก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นเป็นการกระทาที่ไม่ ชอบ • ปพพ. ม. 421 “การใช้สิทธิที่มีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย” 2 การใช้สิทธิโดยสุจริต • ปพพ. ม. 5 “ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชาระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทาโดยสุจริต”
9.
การคุ้มครองสิทธิ เป็นกรณีการทาความเสียหายให้เกิดแก่บุคคลอื่นโดยกฎหมายอนุญาต โดยเป็นการกระทา เพื่อป้ องกันสิทธิหรือประโยชน์ของตนโดยชอบด้วยกฎหมาย •
การกระทาเพื่อป้ องกัน --- ปพพ. ม.449 ลักษณะคล้ายการป้ องกันโดยชอบด้วยกฎหมายทางอาญา • การกระทาโดยความจาเป็น --- ปพพ. ม.450 • การใช้สิทธิช่วยเหลือตนเอง --- เจ้าของสิทธิย่อมสามารถใช้สิทธิได้โดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น ทั้งนี้หากเป็น สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายผู้มีสิทธิต้องขอศาลให้บังคับให้เป็นไปตามสิทธิจะใช้กาลังโดยพลการไม่ได้
10.
หน้าที่ หมายถึง ความชอบธรรมในทางที่เป็นความผูกพันให้บุคคลตกอยู่ในสถานะจะต้อง
กระทา งดเว้นกระทา หรือยอมให้เขากระทา เพื่อให้เป็นไปตามผลประโยชน์อันชอบธรรมของบุคคลอื่น ความแตกต่างระหว่างหน้าที่ กับ สิทธิ • หน้าที่เป็นความชอบธรรมในด้านเสียประโยชน์ --- สิทธิเป็นความชอบธรรมในด้านได้ประโยชน์ • ผู้มีหน้าที่เลือกไม่ได้จะต้องปฏิบัติ --- ผู้มีสิทธิเลือกที่จะรับสิทธินั้นหรือไม่ก็ได้ • ถ้ามีหน้าที่เกิดขึ้น ไม่จาเป็นต้องมีสิทธิตาม --- ถ้ามีสิทธิแล้วต้องมีหน้าที่ตามมาเสมอ
11.
เสรีภาพ หมายถึง อานาจตัดสินใจด้วยตนเองของมนุษย์ที่จะเลือกดาเนินพฤติกรรม ของตนเอง
โดยไม่มีบุคคลอื่นใดอ้างหรือใช้อานาจแทรกแซงเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ นั้น ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย • ข้อแตกต่างระหว่าง “สิทธิ”และ “เสรีภาพ” • เสรีภาพ เป็นอานาจที่บุคคลมีอยู่เหนือตนเอง ไม่ก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลอื่นแต่อย่างใด ต่าง จากสิทธิที่ก่อให้เกิดหน้าที่แก่รัฐ • สิทธิ เป็นอานาจที่บุคคลมีเพื่อเรียกร้องให้ผู้อื่นกระทาการหรือละเว้นการกระทาการอย่างใดอย่าง หนึ่ง เพื่อประโยชน์ของตน
12.
สรุป ความเหมือนและแตกต่างระหว่าง สิทธิ
เสรีภาพ และหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ - สิทธิเป็นความชอบธรรมในด้านได้ ประโยชน์ - เป็นอานาจที่บุคคลมีอยู่เหนือตนเอง สื่อออกมาในรูปแบบของการ แสดงออก - หน้าที่เป็นความชอบธรรมในด้าน เสียประโยชน์ - ถ้ามีสิทธิแล้วต้องมีหน้าที่ตามมา เสมอ - ไม่ก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลอื่นแต่ อย่างใด - ถ้ามีหน้าที่เกิดขึ้น ไม่จาเป็นต้องมี สิทธิตามมา - ผู้มีสิทธิเลือกที่จะรับสิทธินั้นหรือไม่ ก็ได้ - ผู้มีหน้าที่เลือกไม่ได้จะต้องปฏิบัติ - อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย - อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย - อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย
13.
สิทธิและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ • สิทธิตามรัฐธรรมนูญ หมายถึง 1
สิทธิที่ถูกกาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ 2 เป็นสิทธิที่กฎหมายอื่นจะมาขัดหรือแย้งไม่ได้ 3 เป็นศูนย์รวมและหลักของกฎหมายอื่น 4 ถูกกาหนดไว้ในหมวด 3
14.
• บททั่วไป - การจากัดสิทธิและเสรีภาพจะกระทามิได้
เว้นแต้ โดยอาศัยอานาจตามบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งต้องไม่ กระทบกระเทือนต่อสิทธิและเสรีภาพนั้น • ความเสมอภาค - ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน - การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความต่างในเรื่อง ถิ่นกาเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ ฐานะทางเศรษฐกิจ ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความ คิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทามิได้ • สิทธิและเสรีภาพทั่วไป - บุคคลย่อมเสรีภาพในเคหะสถาน การเดินทาง การเลือกถิ่นที่อยู่ การเลือกศาสนา กรประกอบอาชีพ การ ชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ - การเนรเทศ หรือห้ามเข้ามาในประเทศ ซึ่งบุคคลผู้มีสัญชาติไทยจะกระทามิได้
15.
• สิทธิในทรัพย์สิน - สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง -
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทามิได้ เว้นแต่ โดยอาศัยอานาจตามบทบัญญัติของกฎหมาย • บุคคลย่อมมีสิทธิเสอมกันในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี • ผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย • บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ • บุคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ • บุคคลจะใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุขไม่ได้
16.
หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ • บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาซึ่งชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ • บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง • บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหาร เสียภาษีอากร
Download