ݺߣ

ݺߣShare a Scribd company logo
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจาวัน
ครั้งที่ 6
กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่บัญญัติว่าด้วยความผิดและกาหนด
โทษไว้
ความมุ่งหมายของกฎหมายอาญาก็เพื่อควบคุมความประพฤติ
ของบุคคลให้อยู่ในสังคมด้วยความเรียบร้อย เพื่อที่จะคุ้มครองความ
ปลอดภัยของสังคม กล่าวคือ กฎหมายอาญาทาหน้าที่รักษาโครงสร้าง
ของสังคมให้มั่นคง และรักษาความสงบสุขของสมาชิกของสังคมโดย
ส่วนรวม และในการที่จะบรรลุจุดมุ่งหมาย รัฐได้ใช้โทษทางอาญาเป็น
เครื่องมือจัดการกับผู้กระทาผิด
ลักษณะของกฎหมายอาญา
1. เป็นกฎหมายมหาชน
2. ว่าด้วยความผิดและโทษทางอาญา
3. ตามปกติบังคับเฉพาะการกระทาในราชอาณาจักร
4. การกระทานั้นต้องมีกฎหมายกาหนดไว้ชัดแจ้ง
5 โทษที่ลงต้องเป็นโทษที่กฎหมายกาหนดไว้
6. กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด
7. ไม่มีผลย้อนหลังในทางเป็นโทษ
ความผิดทางอาญา
1 ความผิดต่อแผ่นดิน คือ ความผิดที่มีผลกระทบต่อผู้ที่ถูกกระทา
แล้วยังมีผลกระทบต่อสังคม รัฐจึงต้องเข้าดาเนินการเอาตัวผู้กระทาผิดมา
ลงโทษให้ได้ แม้ผู้ที่ถูกกระทาจะไม่ติดใจเอาความกับผู้กระทาผิดต่อไปแล้วก็
ตาม เพื่อป้ องกันสังคม
2 ความผิดต่อส่วนตัว คือ ความผิดที่มีผลกระทบต่อผู้ที่ถูกกระทา
แต่ไม่มีผลกระทบต่อสังคมโดยตรง ดังนั้น เมื่อผู้ที่ถูกกระทาจะไม่ติดใจเอาความ
กับผู้กระทาผิดต่อไปแล้ว รัฐก็ไม่จาต้องเข้ไปดาเนินคดีกับผู้กระทาความผิดอีก
ต่อไป
การกระทาความผิดใดเป็นความผิดต่อแผ่นดินและความผิดต่อส่วนตัว
นั้นมีหลักอยู่ว่า ความผิดใดเป็นความผิดต่อส่วนตัวต้องมีกฎหมายกาหนดไว้
โดยชัดแจ้ง ความผิดนอกจากนั้นถือเป็นความผิดต่อแผ่นดิน
โทษอาญา
วัตถุประสงค์ของการลงโทษผู้กระทาผิดกฎหมายอาญา
1. เพื่อปราบปรามอาชญากรรม
2. เพื่อป้ องกันสังคม โดยตัดผู้กระทาผิดออกจากสังคม
3. เพื่อแก้ไขผู้กระทาผิด
4. เพื่อตอบแทนหรือชดใช้สิ่งที่กระทาผิด
โทษอาญาที่ใช้ลงแก่ผู้กระทาผิดมี ๕ ประการเท่านั้น คือ
- ประหารชีวิต
- จาคุก
- กักขัง
- ปรับ
- ริบทรัพย์
• บุคคลต้องรับโทษในทางอาญา
1 กระทาการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทาบัญญัติเป็นความผิด ตาม
หลัก “ไม่มีความผิดโดยปราศจากกฎหมาย”
2 กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทากาหนดโทษไว้ด้วย
บุคคลต้องรับผิดในทางอาญา และรับโทษในทางอาญาเมื่อใด
บุคคลต้องรับผิดในทางอาญา
1 ต้องมีการกระทา = การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สานึกในการที่กระทา
2 การกระทาต้องครบองค์ประกอบ
- การกระทาครบองค์ประกอบภายนอก = ผู้กระทา การกระทา วัตถุที่มุ่งหมายกระทา
ต่อ
- การกระทาครบองค์ประกอบภายใน
เป็นการกระทาโดยเจตนา = กระทาโดยรู้สานึกในการที่กระทาและใน
ขณะเดียวกันผู้กระทาประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทานั้น
หลักบุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาเมื่อได้กระทาโดยเจตนาเท่านั้น เว้นแต่มีกฎหมายไว้ว่า
แม้ไม่ได้กระทาโดยเจตนาก็เป็นความผิด
กระทาความผิดโดยประมาท กระทาความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทาโดย
ปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และ
ผู้กระทาอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาใช้ให้เพียงพอไม่
กระทาความผิดมิใช่โดยเจตนา ความผิดลหุโทษ
3 ไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด
• เหตุยกเว้นความผิด
- การป้ องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
- ผู้เสียหายยินยอมให้กระทา
- มีกฎหมายอื่นให้อานาจกระทาได้
• เหตุยกเว้นโทษ
- การกระทาความผิดด้วยความจาเป็น
- การกระทาความผิดเพราะความบกพร่องทางจิต
- การกระทาความผิดเพราะความมึนเมา
- การกระทาตามคาสั่งของเจ้าพนักงาน
- สามี ภริยา กระทาความผิดต่อกันในเรื่องทรัพย์
- เด็กอายุไม่เกิน 15 ปี กระทาความผิด
• เหตุลดหย่อนโทษ เป็นเหตุที่ศาลอาจลงโทษสถานเบาได้
• ศาลเชื่อว่าบุคคลนั้นไม่รู้กฎหมาย
• การกระทาโดยบันดาลโทสะ
• บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องที่การกระทาความผิดเกี่ยวกับ
ทรัพย์
• เด็กและเยาวชนที่กระทาความผิด
• เด็กและเยาวชนที่กระทาความผิดอาจกระทาไปเพราะขาดความสานึกเท่า
ผู้ใหญ่ โทษสาหรับเด็กจึงต้องแตกต่างกับผู้ใหญ่โดยแบ่งออก เป็น 4 ระดับ
คือ
• อายุ ไม่เกิน 10 ปี ไม่ต้องรับโทษ
• อายุกว่า 10 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี ไม่ต้องรับโทษ แต่ศาลอาจว่ากล่าว
ตักเตือนและวางข้อกาหนดให้บิดามารดาปฏิบัติหรือส่งเด็กไปให้หน่วยงาน
ของรัฐ (บ้านเมตตา)ดูแลอบรมสั่งสอนจนอายุครบ 18 ปี
• อายุกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี อาจใช้วิธีการดังกล่าวข้างต้นหรือลงโทษ
เช่นเดียวกับผู้ใหญ่แต่ลดมาตราส่วนโทษลงกึ่งหนึ่ง
• อายุกว่า 18 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ลงโทษเช่นเดียวกับผู้ใหญ่แต่ลดมาตรา
ส่วนโทษลง 1 ใน 3 หรือ กึ่งหนึ่ง

More Related Content

ครั้งที่ 6