ݺߣ
Submit Search
เปรียบเทียบการศึกษาไทย ญี่ปุ่น
•
12 likes
•
35,293 views
Kingkarn Saowalak
Follow
Thailand Janpan
Read less
Read more
1 of 4
Download now
More Related Content
เปรียบเทียบการศึกษาไทย ญี่ปุ่น
1.
ประเทศญี่ปุ่น ข้อมูลพื้นฐาน ประเทศญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลี และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทาง ทิศเหนือ ติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอคอตสค์ เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่น แปลว่าถิ่นกาเนิดของดวงอาทิตย์ จึงทาให้บางครั้งถูกเรียกว่าดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย ญี่ปุ่นมีเนื้อที่กว่า 377,930 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 61 ของโลกหมู่เกาะญี่ปุ่น ประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่กว่า 3,000 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดก็คือเกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และ ชิโกกุ ตามลาดับ เกาะของญี่ปุ่นส่วนมากจะเป็นหมู่เกาะภูเขา ซึ่งในนั้นมีจานวนหนึ่งเป็นภูเขาไฟ เช่นภูเขาไฟฟูจิ ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศ เป็นต้น ประชากรของญี่ปุ่นนั้นมีมากเป็นอันดับที่ 10 ของ โลก คือประมาณ 128 ล้านคนเมืองหลวงของญี่ปุ่นคือกรุงโตเกียว ซึ่งถ้ารวมบริเวณปริมณฑลเข้าไป ด้วยแล้วจะกลายเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีประชากรอยู่อาศัยมากกว่า 30 ล้านคน ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้นาทางเศรษฐกิจ โดยมีจีดีพีสูงเป็นอันดับสามของโลกในปี พ.ศ. 2553 ญี่ปุ่นเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ จี 8 โออีซีดี และเอเปค และมีความตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมในการ แก้ไขปัญหาของต่างประเทศ ญี่ปุ่นมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี และยังเป็นผู้นาทางเทคโนโลยี เครื่องจักร และหุ่นยนต์ ประเทศญี่ปุ่นปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จ พระจักรพรรดิทรงเป็นประมุข แต่พระจักรพรรดิไม่มีพระราชอานาจในการบริหารประเทศ โดยมี บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งรัฐและความสามัคคีของชนในรัฐอานาจ การปกครองส่วนใหญ่ตกอยู่กับนายกรัฐมนตรีและสมาชิกอื่น ๆ ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ส่วน อานาจอธิปไตยนั้นเป็นของชาวญี่ปุ่นพระจักรพรรดิทรงทาหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐในพิธีการ ทางการทูต พระองค์ปัจจุบันคือจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ส่วนรัชทายาทคือมกุฎราชกุมารนะรุฮิโตะ
2.
ปรัชญาการศึกษา ประเทศญี่ปุ่น
เราจะสร้างความมั่งคั่งและพัฒนาระบบการศึกษา เพื่อปลูกฝังเยาวชนให้มีความรับผิดชอบ ในอนาคตของประเทศ เราจะเน้นคุณค่าของการระลึกถึงเพื่อนมนุษย์และการมีส่วนร่วมอย่าง เข้มแข็งในสังคมนานาชาติ นโยบายการศึกษา ประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่นมีนโยบายด้านการศึกษาดังนี้ 1. จะสอนศีลธรรมให้แก่เยาวชนญี่ปุ่น โดยให้ความเคารพในวัฒนธรรมประเพณี มุ่งที่จะสอนศีลธรรมให้แก่เยาวชนญี่ปุ่น เพื่อให้มีความระลึกถึงคุณภาพของการศึกษาและเพิ่มพูน ชีวิตครอบครัวของประชาชนทุกคน 2. ก่อตั้งสังคมที่มุ่งสู่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการสนับสนุนงานวิจัย วิทยาศาสตร์เบื้องต้นและขั้นสูง และการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า มุ่งที่จะทาให้ญี่ปุ่น เป็นผู้นาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและศูนย์ข่าวสารข้อมูลทาวิทยาศาสตร์ ที่จะเปิดกว้าง สาหรับทุก ๆ ชาติ ระบบการบริหารการศึกษา ประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่นมีการกระจายอานาจจากส่วนกลางไปยังท้องถิ่น ซึ่งได้แก่เทศบาลและจังหวัด หน่วยงานของท้องถิ่นมีอานาจและหน้าที่ในการให้บริการต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง รวมถึงการจัดการ โรงเรียนประถมและมัธยมด้วย ระบบการจัดการศึกษาของประเทศญี่ปุ่นจัดได้ว่าเป็นระบบ การศึกษาแบบรวมศูนย์ ซึ่งมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน จุดแข็ง ได้แก่ การช่วยทาให้มาตรฐานการศึกษา แม้ว่าจะพื้นที่ชนบทก็จะได้โอกาสและมาตรฐานใกล้เคียงกัน ส่วนจุดอ่อน คือระบบการบริหารที่ เป็นระบบสั่งการจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง - ในเขตจังหวัดและเทศบาลมีคณะกรรมการหลากหลาย - คณะกรรมการการศึกษามีอานาจในการจัดตั้งและจัดการบริหารโรงเรียน - รัฐบาลท้องถิ่นมีหน้าที่ตั้งแต่จัดให้มีโรงเรียนอนุบาล ประถมและมัธยม ในขณะที่ รัฐบาลกลางเป็นผู้ตัดสินนโยบายหลักทางการศึกษาและดาเนินการด้านมาตรฐานต่าง ๆ การศึกษาระบบโรงเรียนสมัยใหม่ในประเทศญี่ปุ่นถูกจัดขึ้นด้วยระบบ 6-3-3-4 โดย มุ่งเน้นที่จะจัดการศึกษาในลักษณะสร้างความเสมอภาคของโอกาสทางการศึกษา สังคมญี่ปุ่นให้ความสาคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก เด็ก ๆ จะได้รับการศึกษาใน 3 ทาง ได้แก่ 1) โรงเรียนรัฐบาลสาหรับการศึกษาภาคบังคับ 2) โรงเรียนเอกชนสาหรับการศึกษาภาคบังคับ
3.
3) โรงเรียนเอกชนที่ไม่ได้ยึดมาตรฐานของกระทรวงการศึกษา วัฒนธรรม
กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การปฏิรูปการศึกษา ประเทศญี่ปุ่น การศึกษาของญี่ปุ่นถือเป็นความรับผิดชอบระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับเมือง กระทรวงการศึกษาฯ (MEXT) จะมีคณะวิจัยกระบวนการศึกษาคอยให้คาแนะนาและให้แนวทางแก่ รัฐบาล ญี่ปุ่นปฏิรูปการศึกษาโดยมีเป้าหมายเพื่อเน้นในเรื่องความยืดหยุ่น ความคิดสร้างสรรค์ และ การเพิ่มโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกในสิ่งที่ตนเองชอบ แต่ไม่ค่อยประสบความสาเร็จเท่าที่ควร ต่อมา ในศตวรรษที่ 21 กระทรวงศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมได้จัดให้มีการปฏิรูป การศึกษาเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน การทางานของสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของทุกภาคทั้ง ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาชนโดยรวม ทั้งนี้หมายถึงครู ผู้ปกครอง นักเรียน และ ชุมชนในแต่ละภูมิภาคให้เข้ามามีบทบาทช่วยให้การปฏิรูปการศึกษาประสบผลสาเร็จ ยุทธศาสตร์ การปฏิรูปในศตวรรษที่ 21 นั้นมีอยู่ 7 ประการคือ 1. ปรับปรุงสมรรถนะการเรียนรู้ของผู้เรียน 2. กระตุ้นให้เยาวชนเข้ามามีส่วนในการช่วยเหลือและบริการชุมชน 3. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เอื้อแก่การเรียนรู้ให้ผู้เรียน 4. ดาเนินการให้โรงเรียนเป็นสถานที่ที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้ 5. มีการฝึกอบรมครูให้เป็น "ครูมืออาชีพ" 6. สนับสนุนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพมาตรฐานเท่าเทียมกับนานาชาติ 7. กาหนดปรัชญาการศึกษาให้เหมาะสมกับศตวรรษที่ 21 จากยุทธศาสตร์การศึกษาทั้ง 7 ข้อ มียุทธศาสตร์ข้อ 2 และข้อ 3 ซึ่งเน้นที่ตัวผู้เรียนและ สถานที่ ซึ่งประเทศญี่ปุ่นไม่ลืมวัฒนธรรม ประเพณีของตน ประเทศญี่ปุ่นมีศิลปวัฒนธรรมปรากฏ ชัดอยู่ตามที่ต่าง ๆ มากมาย ทั้งที่เป็นสถานที่และบุคคล ดังนั้นจึงมีการสนองตอบยุทธศาสตร์การ ปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้วยการจัดกิจกรรมให้เด็กญี่ปุ่นได้มีโอกาสศึกษาประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ศิลปะ ตามสถานที่ต่าง ๆ การประกันคุณภาพ ประเทศญี่ปุ่น ในส่วนนี้ประเทศญี่ปุ่นไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดในการประเมินผลการจัดการศึกษาหรือ การประกันคุณภาพมากนัก ข้อมูลที่ปรากฏส่วนใหญ่จะเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน หรือผลการสอบแข่งขันในระดับนานาชาติ
4.
แนวโน้มการพัฒนาการศึกษา ประเทศญี่ปุ่น
1. ระบบการผลิตและพัฒนาครู ครูเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีสถานะทางสังคมสูง เป็นผลมา จากการที่กฎหมายญี่ปุ่นและประชาชนคาดหวังในหน้าที่ของครู สังคมคาดหวังว่าครูจะช่วยปลูกฝัง ทัศนคติของสังคมลงในตัว 2. มุ่งเน้นการสอนศีลธรรม 3. ส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Download