ݺߣ

ݺߣShare a Scribd company logo
หน้า ๑
เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มกราคม ๒๕๕๖
กฎกระทรวง
ว่าด้วยการแบ่งระดับและการเทียบระดับการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๖
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และมาตรา ๑๖ วรรคสี่
แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการ
เกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๒ แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งระดับและ
การเทียบระดับการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๔๖
“สําหรับผู้เรียนซึ่งมีอายุไม่ต่ํากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ มีประสบการณ์ประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่ง
ไม่น้อยกว่าสามปี และมีพื้นความรู้ไม่ต่ํากว่าการศึกษาระดับประถมศึกษา อาจนําผลการเรียน ความรู้
และประสบการณ์มาประเมินเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามข้อ ๑ (๑) (ค)
ประเภทสามัญศึกษาได้ ทั้งนี้ ในการประเมินเทียบระดับการศึกษาดังกล่าว ให้สํานักงาน กศน. และ
หน่วยงานกลางทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทํามาตรฐานการเรียนรู้ ระดับการศึกษา และเครื่องมือ
วัดผลและประเมินผล ที่ไม่ต่ํากว่ามาตรฐานการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเสนอแนะต่อรัฐมนตรี
ในการดําเนินการตามข้อ ๓”
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
หน้า ๒
เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มกราคม ๒๕๕๖
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่นโยบายด้านการจัดการศึกษาของรัฐบาล
ปัจจุบันได้มุ่งเน้นให้มีการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชนทุกกลุ่ม เพื่อให้เป็นไปตามหลักการ
จัดการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ผู้เรียนอาจนําผลการเรียน ความรู้ และประสบการณ์มาเทียบ
ระดับการศึกษานอกระบบให้สามารถเทียบได้ในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทสามัญศึกษา โดยคํานึงถึง
ความสําคัญของทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ของประชาชนเป็นสําคัญ สมควรแก้ไขให้สอดคล้องกับ
นโยบายและหลักการดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

More Related Content

กฎกระทรวง กศน.

  • 1. หน้า ๑ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มกราคม ๒๕๕๖ กฎกระทรวง ว่าด้วยการแบ่งระดับและการเทียบระดับการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และมาตรา ๑๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการ เกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๒ แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งระดับและ การเทียบระดับการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๔๖ “สําหรับผู้เรียนซึ่งมีอายุไม่ต่ํากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ มีประสบการณ์ประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่ง ไม่น้อยกว่าสามปี และมีพื้นความรู้ไม่ต่ํากว่าการศึกษาระดับประถมศึกษา อาจนําผลการเรียน ความรู้ และประสบการณ์มาประเมินเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามข้อ ๑ (๑) (ค) ประเภทสามัญศึกษาได้ ทั้งนี้ ในการประเมินเทียบระดับการศึกษาดังกล่าว ให้สํานักงาน กศน. และ หน่วยงานกลางทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทํามาตรฐานการเรียนรู้ ระดับการศึกษา และเครื่องมือ วัดผลและประเมินผล ที่ไม่ต่ํากว่ามาตรฐานการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเสนอแนะต่อรัฐมนตรี ในการดําเนินการตามข้อ ๓” ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ พงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • 2. หน้า ๒ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ มกราคม ๒๕๕๖ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่นโยบายด้านการจัดการศึกษาของรัฐบาล ปัจจุบันได้มุ่งเน้นให้มีการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชนทุกกลุ่ม เพื่อให้เป็นไปตามหลักการ จัดการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ผู้เรียนอาจนําผลการเรียน ความรู้ และประสบการณ์มาเทียบ ระดับการศึกษานอกระบบให้สามารถเทียบได้ในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทสามัญศึกษา โดยคํานึงถึง ความสําคัญของทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ของประชาชนเป็นสําคัญ สมควรแก้ไขให้สอดคล้องกับ นโยบายและหลักการดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้