ระบบครือข่ายคอมพิวตอร์4. ระบบครือข่ายคอมพิวตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลในด้านต่างๆ และมีการให้บริการในหลายรูปแบบ เช่น ไปรษณีย์อิเล็คโทรนิค ( E-mail), การสนทนาทางเครือข่าย ( MSN, ICQ), เว็บ , การโอนถ่ายแฟ้มข้อมูล ( FTP ) , การเล่นเกมส์ออนไลน์ ( Ragnarok ) , การเข้าชมเว็บไซต์ ( Web ) 9. ระบบครือข่ายคอมพิวตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความแตกต่างระหว่าง Hub และ Switch Hub จะส่งข้อมูลที่เข้ามาไปยังทุกๆ พอร์ตของ Hub ยกเว้นพอร์ตที่ข้อมูลดังกล่าวเข้ามายัง Hub ในขณะที่ Switch จะทำการเรียนรู้อุปกรณ์ที่ต่อกับพอร์ตต่างๆ ทำให้ Switch ส่งข้อมูลไปยังพอร์ตที่มีเครื่องปลายทางอยู่เท่านั้น ไม่ส่งไปทุกๆ พอร์ตเหมือนกับ Hub ซึ่งส่งผลให้ปริมาณข้อมูลภายในระบบเครือข่ายไม่มากเกินความจำเป็น Hub เป็นเพียงตัวขยายสัญญาณข้อมูล ( Repeater) เท่านั้น ในขณะที่ Switch จะมีการทำงานที่ซับซ้อนกว่า , มีการเรียนรู้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ , การตัดสินใจส่งข้อมูลออกไปพอร์ตใด 12. ระบบครือข่ายคอมพิวตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไฟสถานะของ Ethernet Card LINK ถ้าสว่างแสดงว่า มีการเสียบสายแลนเข้ากับการ์ด และสามารถใช้งานได้ 10 ถ้าสว่างแสดงว่า อุปกรณ์นี้เชื่อมต่อด้วยความเร็ว 10 MB/s เช่นเดียวกับไฟ 100 ถ้าสว่างแสดงว่าเชื่อมด้วยความเร็ว 100 MB/s ACT (Activity) ถ้ากระพริบแสดงว่ามีการส่งข้อมูลเข้า - ออกการ์ด ( เนื่องมาจากกิจกรรมการใช้เครือข่ายต่างๆ เช่น การใช้อินเตอร์เน็ต , การแชร์ไฟล์ ฯลฯ ถ้ามีการส่งข้อมูลจำนวนมากจะเปลี่ยนจากกระพริบมาเป็นสว่างค้างตลอดเวลา 16. ระบบครือข่ายคอมพิวตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) ใช้ในการเชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และ Ethernet Switch หรือ Hub Bandwidth 10/100/1000 Mbps ความเร็วในการเชื่อมต่อขึ้นอยู่กับการเข้าหัวสาย และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ ระยะทางในการเชื่อมต่อ < 100m 20. ระบบครือข่ายคอมพิวตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ สาย UTP มี 2 แบบ ตามการเข้าหัว RJ-45 ดังนี้ สายตรง ( UTP Straight Cable) เป็นสายที่ใช้ทั่วไป และพบมาก โดยใช้ในการเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับอุปกรณ์เครือข่ายจำพวก Hub และ Switch โดยการเข้าหัวทั้ง 2 ปลายจะเป็นแบบเดียวกัน ( A หรือ B ก็ได้ ) สายครอส (UTP Cross-over Cable) ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องโดยตรง ไม่ผ่านอุปกรณ์ประเภท Hub และ Switch นอกจากนี้ยังใช้เชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และ Router ( ซึ่งถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์อีกรูปแบบหนึ่ง ) โดยการเข้าหัวที่ปลายทั้ง 2 จะไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ปลายข้างหนึ่งเข้าหัวแบบ A อีกปลายจะเข้าหัวแบบ B 30. ระบบครือข่ายคอมพิวตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ รูปแบบการส่งข้อมูลภายในเครือข่าย Duplex หมายความถึง ความสามารถรับและส่งข้อมูลด้วยอุปกรณ์ชิ้นเดียวกัน ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท คือ Half Duplex จะรับและส่งข้อมูลได้ แต่ไม่สามารถทำพร้อมกันได้ กล่าวคือ ถ้าฝ่ายหนึ่งส่งข้อมูล อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นฝ่ายรับ ไม่สามารถส่งได้จนกว่าอีกฝ่ายจะเลิกส่งข้อมูล และเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายรับ เหมือนการใช้วิทยุสื่อสาร ได้แก่ Ethernet ประเภท 10 BaseT (10 Mbps) เป็นต้น Full Duplex สามารถรับและส่งข้อมูลไปพร้อมๆ กันได้ เหมือนกันการพูดคุยผ่านโทรศัพท์ ได้แก่ Fast Ethernet (100 Mbps) หรือ Gigabit Ethernet (1000Mbps) เป็นต้น 33. ประเภทของระบบเครือข่าย LAN (Local Area Network) การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในพื้นที่ใกล้กัน เช่น การเชื่อมต่อในตึกเดียวกัน การเชื่อมต่อในมหาวิทยาลัย การเชื่อมต่อในหน่วยงานต่างๆ โดยการเชื่อมต่อสามารถผ่านระบบ Ethernet, Fast Ethernet, FDDI, Token Ring 34. ประเภทของระบบเครือข่าย WAN (Wide Area Network) การเชื่อมต่อ Lan เข้าด้วยกันในกรณีที่ระยะทางในการเชื่อมต่อระหว่างวง Lan ทั้งสองห่างกันมาก โดยการเชื่อมต่อสามารถทำได้โดยการใช้ ATM, DSL, ISDN อื่นๆ แต่การเชื่อมต่อจะมีความเร็วในการเชื่อมต่อต่ำกว่าการเชื่อมต่อแบบ Lan 35. ประเภทของระบบเครือข่าย Man (Metropolitan Area Network) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์บนพื้นที่ขนาดใหญ่เช่นเดียวกับ Wan แต่การเชื่อมต่อนั้น จะเป็นการเชื่อมต่อด้วยความเร็วสูง เช่นเดียวกับการเชื่อมต่อแบบ Lan 38. เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่าย รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Ethernet 1000 Mbps Fiber Optic (SMF) 3-10 Km 1000BaseLX 1000 Mbps Fiber Optic (MMF) 220 m 1000BaseSX 100 Mbps Fiber Optic 400 m (half duplex) 2000 m (full duplex) 100BaseFX 100 Mbps UTP 100 m 100BaseTX 10 Mbps UTP 100 m 10BaseT ความเร็ว ชนิดของสาย ระยะทางสูงสุด ชนิด 47. ระบบครือข่ายรูปแบบ Mesh ข้อดี ในกรณีสายเคเบิ้ลบางสายชำรุด เครือข่ายทั้งหมดยังสามารถใช้ได้ ทำให้ระบบมีเสถียรภาพสูง นิยมใช้กับเครือข่ายที่ต้องการเสถียรภาพสูง และเครือข่ายที่มีความสำคัญ ข้อเสีย สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบอื่นๆ ยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยน และบำรุงรักษาระบบเครือข่าย 49. ระบบครือข่ายรูปแบบ Bus ข้อดี ง่ายต่อการนำอุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย ใช้สายเคเบิลน้อยกว่าการต่อแบบ Star ข้อเสีย ระบบเครือข่ายทั้งหมดจะไม่สามารถใช้การได้ ถ้าสายหลักชำรุด จำเป็นต้องมี Terminator ที่ปลายทั้ง 2 ข้างของสายหลัก เพื่อป้องกันสัญญาณสะท้อนกลับไปมาภายในสาย ค้นหาจุดที่เกิดปัญหาได้ยาก ถ้าระบบเครือข่ายทั้งหมดไม่สามารถใช้การได้ 51. ระบบครือข่ายรูปแบบ Star ข้อดี ง่ายต่อการต่ออุปกรณ์และการเดินสาย สามารถเพิ่มเติมอุปกรณ์ หรือถอดอุปกรณ์ออกได้ง่าย และไม่รบกวนส่วนอื่น ง่ายต่อการตรวจสอบจุดที่เกิดปัญหา และการแยกอุปกรณ์บางส่วนออกจากระบบ ข้อเสีย เปลืองสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบ Bus ถ้า hub หรือ switch ที่เชื่อมอยู่ตรงกลางมีปัญหา จะทำให้ระบบเครือข่ายทั้งหมดมีปัญหาไปด้วย ค่าใช้จ่ายสูงกว่าการต่อแบบ Bus เนื่องจากจำเป็นต้องมี Hub หรือ Switch เชื่อมตรงกลาง 52. ระบบครือข่ายรูปแบบ Tree เป็นการผสมผสานกันระหว่างการต่อแบบ Bus และ Star หรือเป็นการต่อ Star ซ้อนกันหลายชั้น 53. ระบบครือข่ายรูปแบบ Tree ข้อดี ในแต่ละส่วนย่อยๆ จะต่อถึงกันแบบ Star ทำได้รับข้อดีของการต่อแบบ Star มาด้วย ข้อเสีย ระยะทางในแต่ละส่วนย่อยๆ จะถูกจำกัดโดยชนิดของสาย ถ้าสายหลักหรือ Hub ตัวกลางหลักเสีย ระบบเครือข่ายทั้งหมดจะไม่สามารถใช้การได้ ยากต่อการติดตั้งและเดินสาย 55. ระบบครือข่ายรูปแบบ Ring ข้อดีของระบบครือข่ายรูปแบบ Ring การเพิ่มเติมขนาดของระบบเครือข่าย ส่งผลต่อประสิทธิภาพไม่มาก ลดจำนวนตัวรับและส่งสัญญาณลงครึ่งนึง ( ในกรณี Ring ทางเดียว ) ทุกๆ อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อจะช่วยขยายสัญญาณ ทำให้สามารถต่อเป็นวงใหญ่ได้ ข้อเสียของระบบครือข่ายรูปแบบ Ring ประสิทธิภาพต่ำกว่าแบบอื่น เนื่องจากต้องผ่านอุปกรณ์หลายตัว ถ้าอุปกรณ์บางตัวหรือสายเคเบิ้ลชำรุด จะทำให้เครือข่ายทั้งหมดไม่สามารถใช้การได้ ( ในกรณี Ring ทางเดียว ) 73. การติดตั้ง Modem และการเชื่อมต่อ Internet Modem โมเด็มคือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายผ่านทางสายโทรศัพท์ โดยมีความเร็วสูงสุดในการใช้งาน 56 Kbps Internal Modem External Modem 74. การติดตั้ง Modem และการเชื่อมต่อ Internet การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายผ่าน Modem Start Menu -> Control Panel เลือก Network Connections เลือก Create a new Connection 76. การติดตั้ง Modem และการเชื่อมต่อ Internet เลือก Connect to Internet แล้วคลิก Next 77. การติดตั้ง Modem และการเชื่อมต่อ Internet เลือก Setup my connection manually แล้วคลิก Next 78. การติดตั้ง Modem และการเชื่อมต่อ Internet เลือก Connect using dial-up modem แล้วคลิก Next 80. การติดตั้ง Modem และการเชื่อมต่อ Internet ใส่หมายเลขโทรศัพท์แล้วคลิก Next ( ในกรณีที่ต้องมีการกดหมายเลขเพื่อตัดก่อน ให้ใส่หมายเลขแล้วตามด้วยเครื่องหมาย , ) 81. การติดตั้ง Modem และการเชื่อมต่อ Internet เลือก Add shortcut to this connection to my desktop แล้วคลิก Finish 82. การติดตั้ง Modem และการเชื่อมต่อ Internet ใส่ username กับ password แล้วคลิก Dial เพื่อเชื่อมต่อ Internet