การเผยแพร่ศาสนา
- 3. เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ เซอร์เอ็ด
วิน อาร์โนลด์ ได้เขียนหนังสือชื่อ
ประทีปแห่งเอเซีย (Light of Asia) ได้
รับการจัดพิมพ์อย่างแพร่หลาย หนังสือ
เล่มนี้ได้มีบทบาทสำาคัญในการเผยแผ่
พุทธศาสนาในตะวันตก ชาว
ตะวันตกได้รู้จักพุทธศาสนาจากหนังสือ
เล่มนี้ ปัจจุบันนี้หนังสือประทีปแห่ง
เอเชีย เคยตีพิมพ์ในประเทศอังกฤษ
กว่า ๖๐ ครั้ง และในสหรัฐอเมริกาไม่
ตำ่ากว่า ๘๐ ครั้ง
- 4. ใน ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้มีชาวอังกฤษผู้
หนึ่งที่เลื่อมใสพุทธศาสนา ชื่อ ชาร์ลส์ เฮ
นรี่ อัลเลน เบอร์เนตต์ (Charles Henry
Allen Bernett) ได้อุปสมบทเป็นพระ
ภิกษุรูปแรกของอังกฤษและเป็นพระภิกษุ
ชาวตะวันตกรูปแรก มีฉายาว่า อานันทะ
เมตเตยยะ
ท่านเมตเตยยะสนใจพุทธศาสนา เมื่อ
อายุ๑๘ ปี ได้
เดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา มี
ความ ปรารถนาจะนำา
พุทธศาสนาไปเผยแผ่ที่อังกฤษจึง
บวชเป็นพระภิกษุเพื่อเป็น
ประโยชน์ต่อการเผยแผ่
- 7. พระพุทธศาสนา เริ่มเผยแผ่เข้าสู่
สหรัฐอเมริกา ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๒๔ โดย
พันเอก เอช. เอส.ออลคอตต์ ได้แต่ง
หนังสือชื่อ ปุจฉาวิสัชชนาทางพระพุทธศาสนา
(Buddhist Catechism ) ขึ้นเผยแผ่แต่คนยัง
ไม่ได้ให้ความสนใจเท่าใดนัก
จนกระทั่งใน พ.ศ. ๒๔๓๖
อนาคาริกะ ธัมมปาละ พุทธศาสนิก
ชาวลังกาได้เดินทาง
เข้าไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก
ในสหรัฐอเมริกา จึงเริ่มมี
ผู้นับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะ
- 8. ใน พ.ศ. ๒๔๕๗ ได้มีการจัดตั้ง
สมาคมพระพุทธศาสนาแห่ง
สหรัฐอเมริกาขึ้น ซึ่งสมาคมนี้ในปัจจุบัน
ก็ยังดำารงอยู่และขยายสาขาไปยังรัฐ
ต่างๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีสำานักงาน
ใหญ่อยู่ที่ เมืองซานฟราน-ซิสโก รัฐ
แคลิฟอร์เนีย
ใน พ.ศ. ๒๕๐๔
มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน
ได้เปิดการสอนหลักสูตร
พุทธศาสตร์ ขึ้นในระดับ
ปริญญาเอกและต่อมาในปี
พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงได้ตั้ง
มหาวิทยาลัยพุทธธรรม
- 15. ในปัจจุบันชาวญี่ปุ่นนับถือพระพุทธศาสนาควบคู่ไป
กับชินโต พระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็นหลายนิกาย นิกาย
ที่สำาคัญมี ๕ นิกาย ดังนี้
• นิกายเทนได (เทียนไท้)
– พระไซโจ (เด็งกะโยไดชิ) เป็นผู้ตั้ง มีหลักคำาสอนเป็น
หลักธรรมชั้นสูง ส่งเสริมให้บูชาพระพุทธเจ้าองค์
ปัจจุบันและพระโพธิสัตว์
• นิกายชินงอน
– พระกุไก หรือโกโบไดชิ เป็นผู้ตั้งในเวลาใกล้เคียงกับนิ
กายเทนได มีหลักคำาสอนตามนิกายตันตระ สอนให้คน
บรรลุโพธิญาณด้วยการสวดมนต์อ้อนวอน ถือคัมภีร์
มหาไวโคจนสูตรเป็นสำาคัญ
• นิกายโจโด (สุขาวดี)
– โฮเนน เป็นผู้ตั้งเมื่อ พ.ศ. 1718 นิกายนี้สอนว่า สุขาวดี
เป็นแดนอมตสุขผู้จะไปถึงได้ด้วยออกพระนามพระอมิ
ตาภพุทธะ นิกายนี้มีนิกายย่อยอีกมาก เช่นโจโดชิน
- 16. .นิกายเซน(ธยาน หรือ ฌาน)
นิกายนี้ถือว่า ทุกคนมีธาตุพุทธะอยู่
ในตัว ทำาอย่างไรจึงจะให้ธาตุพุทธะนี้ปรากฏออก
มาได้ โดยความสามารถของตัวเอง สอนให้
ดำาเนินชีวิตอย่างง่าย ให้เข้าถึงโพธิญาณอย่างฉับ
พลัน นิกายนี้คนชั้นสูง และพวกนักรบนิยมมาก
เป็นต้นกำาเนิดของลัทธิบูชิโด นับถือพระโพธิธรรม
ผู้เผยแพร่ในประเทศจีน
.นิกายนิชิเรน
พระนิชิเรนไดโชนิน เป็นผู้ตั้ง นับถือสัทธรรม
- 17. พระพุทธศาสนาได้เข้ามาในประเทศจีนดังได้ปรากฎในหลักฐาน
เมื่อประมาณพุทธศักราช ๖๐๘ ในสมัยของพระจักรพรรดิเม่งเต้
แห่งราชวงค์ฮั่น พระได้จัดส่งคณะทูต ๑๘ คน ไปสืบ
พระพุทธศาสนาในอินเดีย คณะทูตชุดนี้ได้เดินทางกลับประเทศ
จีนพร้อมด้วยพระภิกษุ ๒ รูป คือ พระกาศยปมาตังคะ และพระ
ธรรมรักษ์รวมทั้งคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่งด้วย เมื่อ
พระเถระ ๒ รูป พร้อมด้วยคณะทูตมาถึงนครโลยาง พระเจ้าฮั่น
เม่งเต้ได้ทรงสั่งให้สร้างวัดเพื่อเป็นที่อยู่ของพระทั้ง ๒ รูป นั้นซึ่ง
มีชื่อว่า วัดแป๊ะเบ๊ยี่ แปลเป็นไทยว่า วัดม้าขาว เพื่อเป็นอนุสรณ์
แก่ม้าตัวที่บรรทุกพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนากับพระเถระทั้ง
สอง หลังจากนั้นพระปาศยมาตังตะ กับพระธรรมรักษ์ได้แปลคำา
ภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาจีนเล่นแรก
ในสมัยราชวงศ์ฮั่น แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเป็นที่เลื่อมใส
แต่ก็ยังจำากัดอยู่ในวงแคบคือ ในหมู่ข้าราชการและชนชั้นสูง
แห่งราชสำานักเป็นส่วนใหญ่
- 18. แต่ยังไม่แพร่หลายในหมู่ประชาชนชาวเมือง เพราะชาว
จีนส่วนใหญ่ยังคงนับถือลัทธิขงจื้อ
และลัทธิเต๋า จนกระทั่งโม่งจื๊อ นักปราชญ์ผู้มีความสามารถ
ยิ่งได้แสดงหลักธรรมของ
พระพุทธศาสนา ให้ชาวเมืองได้เห็นถึงความจริงแท้อันลึก
ซึ้งของพระพุทธศาสนาเหนือกว่า
ลัทธิเดิม กับอาศัยความประพฤติอันบริสุทธิ์ของพระสงฆ์
เป็นเครื่องจูงใจให้ชาวจีนเกิด
ศรัทธาเลื่อมใส จนทำาให้ชาวเมืองหันมานับถือพระพุทธ
ศาสนามากกว่าลัทธิศาสนาอื่นๆ
พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำาดับ จนกระทั่ง
ราชวงศ์ถัง (พ.ศ. ๑๑๖๑ - ๑๔๕๐)
พระพุทธศาสนาก็เจริญสูงสุดเพราะได้รับการสนับสนุนจาก
พระเจ้าจักรพรรดิตลอดจนนักปราชญ์ราชบัณฑิตต่างๆโดยมี