ݺߣ

ݺߣShare a Scribd company logo
จัดทําโดย
นายสิทธิพร ปัญญาพรวิทยา
นาวสาวดาวนภา บุญพารอด
เสนอ
รศ.ดร.วิรัช วรรณรัตน์
รศ.ดร. โกสุม สายใจ
คุณธรรม หมายถึง
คุณงามความดีที่ควรปฎิบัติ กล่าวคือ
คุณค่าอันดีงามที่อยู่ภายในจิตใจส่งผล
ให้แสดงออกมาทางการกระทําที่ดีงาม
จริยธรรม หมายถึง
ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฎิบัติ กล่าวคือ
กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความ
จริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ
คุณธรรมจริยธรรมในการบริหาร
คือ การบริหารด้วยคุณงามความดีจากพฤติกรรม
และวิธีการปกครองการบริหาร องค์กรให้สําเร็จ
ด้วยดี เป็นเหมือนเสาต้นใหญ่ที่แข็งแรงคอยคํ้าจุน
องค์กร
ประเด็น คือ การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในการบริหารสถานศึกษา
การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในการบริหารสถานศึกษา คือ สร้างโดยการปลูกฝัง
จิตสํานึกให้บุคคล มีคุณธรรมจริยธรรมในการดําเนินชีวิตประจําวันจึงเปรียบเสมือนการ
พัฒนาคุณภาพจิตใจ ที่มีอิทธิพลต่อความประพฤติของคน ซึ่งแสดงออกทั้ง ทาง
กาย ทางวาจา ทางใจ ให้เป็นวัฒนธรรมทางจิตใจ และสภาพจิตใจดีงาม เพราะจิตใจ
เป็นผู้สร้างความคิด แล้วแสดงออกเป็นคําพูดและการกระทําอันนําผลกลับมาสู่ผู้คิดและ
ผู้กระทําตลอดเวลาการฝึกจิตใจก็คือการได้มาซึ่งประสบการณ์ของความสงบสุขจาก
ภายใน จากความพยายามในการสร้างควบคุมและรักษาความคิดที่ดีไว้ จนกระทั่ง
สามารถขจัดความคิดที่ไม่บริสุทธิ์ออกไป อันมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและ
นิสัย ฉะนั้นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมจะส่งผลให้บุคคลากรในองค์การนั้นๆ แสดง
ถึงคุณธรรมจริยธรรมภายจิตใจออกมาต่อสังคม นําไปสู่การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมใน
การบริหารสถานศึกษา
ฟาฏินา วงศ์เลขา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (10 มิ.ย. 52) กล่าว
ไว้ว่า การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมจะต้องเริ่มต้นที่ครอบครัว
ก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานที่มั่นคง จากนั้นสถานศึกษาทุกระดับต้อง
มีความเข้มแข็งในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ควบคู่ไปกับ
คุณธรรมจริยธรรม รู้เท่าทันกับความซับซ้อนของสังคม รู้จัก
เลือกรับแต่สิ่งดี ๆ ไม่ใช่รับทุกอย่างโดยไม่คํานึงถึงผลกระทบที่
จะตามมา และที่สําคัญต้องเข้าใจบริบทและข้อจํากัดของตนเอง
โดยมีผู้ใหญ่จากทุกภาคส่วนในสังคมเป็นแบบอย่างที่ดี
พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในการบริหาร
สามารถกระทําได้ โดยการสอดแทรก
ในกระบวนการบริหารงาน
ทั้งงานส่วนบุคคล และการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ดังนั้น
ผู้บริหารมิใช่มีหน้าที่ ให้คําปรึกษา แนะแนว บังคับใช้ แต่ยังต้อง
คํานึงถึงการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้เหมาะสม
กับ สถานการณ์ หรือเหตุการณ์ด้วย เช่น มีผู้ใต้บังคับบัญชามา
ขอคําปรึกษาก็ควรสอดแทรกหรือปฎิบัติตามหลักกัลยาณมิตร คือ
ผู้มีคุณธรรมของมิตรที่ดี ๗ ประการ คือ
๑) เป็นผู้น่ารัก (ปิโย) คือ เป็นผู้มีจิตใจกอปรด้วยเมตตากรุณาพรหมวิหาร
๒) เป็นผู้น่าเคารพบูชา (ครุ) คือ เป็นผู้ที่สามารถเอาเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นที่พึ่งทางใจ
๓) เป็นผู้น่านับถือ น่าเจริญใจ (ภาวนีโย) ด้วยว่า เป็นผู้ได้ฝึกฝนอบรมตนมาดีแล้ว
ควร แก่การยอมรับและยกย่องนับถือ เอาเป็นเยี่ยงอย่างได้
๔) เป็นผู้รู้จักพูดจาโดยมีเหตุผลและหลักการ (วัตตา) รู้จักชี้แจง แนะนํา ให้ผู้อื่น
เข้าใจดี แจ่มแจ้ง เป็นที่ปรึกษาที่ดี
๕) เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคําที่ล่วงเกิน วิพากษ์ วิจารณ์ ซักถาม หรือขอปรึกษาหารือ
ขอ ให้คําแนะนําต่างๆ ได้ (วจนักขโม)
๖) สามารถแถลงชี้แจงเรื่องที่ลึกซึ้ง หรือเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจอย่าง
ถูกต้อง และ ตรงประเด็นได้ (คัมภีรัญ จะ กะถัง กัตตา)
๗) ไม่ชักนําในอฐานะ (โน จัฏฐาเน นิโยชะเย) คือไม่ชักจูงไปในทางเสื่อม
(อบายมุข) หรือ ไปในทางที่เหลวไหลไร้สาระ หรือที่เป็นโทษ เป็นความทุกข์
เดือดร้อน
กัลยาณมิตรนิเทศสําหรับผู้บริหาร
กลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้เข้มแข็ง
ภารกิจของผู้บริหารสถานศึกษายุคปฏิรูป
ภารกิจที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรดําเนินการ
อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทาง
การศึกษามีอยู่ 4 ประการ ดังนี้
ประการที่ 1 สํารวจ รวบรวม และจัดทําข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ในชุมชนท้องถิ่น
ประการที่ 2 บริหารจัดการให้โรงเรียนเป็นแหล่งรวมภูมิปัญญาทุกสาขาเพื่อให้โรงเรียน
เป็นโรงรู้ และโรงรื่นเริงของชุมชน
ประการที่ 3 ส่งเสริมการใช้สื่อสิ่งพิมพ์สื่ออิเล็กทรอนิกส์สื่อโสตทัศน์ และสื่อธรรมชาติ
เพื่อการเรียนรู้
ประการที่ 4 เอาใจใส่ส่งเสริมนักเรียนตามความถนัดและความสามารถ รวมทั้งการดูแล
เฝ้าระวังนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
กัลยาณมิตรนิเทศ สําหรับผู้บริหารสถานศึกษา
1) การพัฒนา information คือพัฒนาความรู้ข่าวสารข้อมูลต่างๆ ให้แก่ครูของเรา
2) การสร้าง nodeคือจุดที่จะกระจายความรู้ความสามารถต่อจากเรา ในโรงเรียนของ
ท่านเองต้องมี node ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของท่าน เช่น กลุ่มครูที่ชํานาญในเรื่องต่าง
ๆ พร้อมที่จะกระจายการปฏิรูปการเรียนรู้ภายในโรงเรียนต่อไป
3) การสร้าง network คือการขยายเครือข่ายของเราออกไปให้มากถ้าเราใช้สูตร
INN ของคุณหมอประเวศ ก็จะทําให้ผู้บริหารสถานศึกษาไม่รวมศูนย์อยู่ที่ตัวท่านแต่
กระจายลักษณะการนิเทศออกไปสู่กลุ่มต่างๆในโรงเรียนและครอบคลุมครูทั้งโรงเรียน
กระบวนการกัลยาณมิตรนิเทศ
กัลยาณมิตรนิเทศสําหรับผู้บริหาร เน้น
5 กระบวนการสําคัญดังนี้
1. กัลยาณมิตรนิเทศเน้นการนิเทศคน ไม่ใช่นิเทศกระดาษ
2. กัลยาณมิตรนิเทศ เป็นกระบวนการ "ให้ใจ" และร่วมใจ"
3. กัลยาณมิตรเริ่มต้นที่ "ศรัทธา"
4. กระบวนการกัลยาณมิตรนิเทศเน้นการสร้างสังคมการเรียนรู้
5. กระบวนการกัลยาณมิตรนิเทศมาจากฐานปัญญาธรรม ฐานเมตตา
ธรรม และฐานความเป็นจริงในชีวิต
ถ้าฐานใดฐานหนึ่งขาดไป กัลยาณมิตรไม่เกิด
ฐานที่ 2 เมตตาธรรม
ฐานที่ 1 คือ ปัญญาธรรม
ฐานที่ 3 คือ ฐานความเป็นจริงในชีวิต
รูปแบบกัลยาณมิตร :
ให้ใจ ร่วมใจ ตั้งใจ เปิ ดใจ
1. โรงเรียนที่เข้มแข็งจะพัฒนาคนไปสู่งาน
มิใช่การรับงานมาสั่งคน
2.โรงเรียนที่เข้มแข็งจะไม่มีใครถูกทอดทิ้ง
อยู่อย่างโดดเดี่ยว
ลักษณะของโรงเรียนที่เข้มแข็ง คือ
สรุปประเด็น คือ การปลูกฝังคุณธรรม
จริยธรรมเพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนการ
บริหารให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการ
เรียนรู้ที่ยึดหลักคุณธรรมนําชีวิตไปสู่
ความสุข และที่สําคัญต้องเป็นความสุขแบบ
เรียบง่ายและยั่งยืน
คุณธรรมและจริยธรรม

More Related Content

คุณธรรมและจริยธรรม