ݺߣ
Submit Search
ตลาดข้าวโลกและการส่งออกྺ้าวྺองไทย
•
0 likes
•
704 views
Somporn Isvilanonda
Follow
1 of 3
Download now
Download to read offline
More Related Content
ตลาดข้าวโลกและการส่งออกྺ้าวྺองไทย
1.
1 ตลาดข้าวโลกและข้าวส่งออกของไทย สมพร อิศวิลานนท์1 ถึงแม้ว่าประเทศต่างๆจะก้าวไปสู่การเปิดเสรีทางการค้าก็ตาม แต่ในเอเชียแล้วประเด็นเรื่องความมั่นคงทาง อาหารโดยเฉพาะสินค้าข้าวซึ่งเป็นอาหารจานหลักของคนในเอเชียจานวนมาก
ทาให้นโยบายข้าวของแต่ละประเทศ ต่างให้การสนับสนุนในประเด็นของการพึ่งพาตนเอง (self sufficiency) ก่อนที่จะจัดหาจากตลาดเพื่อเพิ่มเติมให้กับ อุปทานภายในประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มของประเทศผู้ผลิตข้าวไม่เพียงพอกับการบริโภคภายในประเทศและต้อง นาเข้าข้าวจากต่างประเทศ เป็นที่ทราบกันดีว่าภูมิภาคเอเชียเป็นแหล่งที่สาคัญของโลกในการผลิตและการบริโภคข้าว ประมาณว่ากว่าสี่ ในห้าส่วนของผลผลิตข้าวโลกจานวน 470 ล้านตันข้าวสาร มีแหล่งผลิตและบริโภคในเอเชียเป็นส่วนใหญ่ แม้แต่ ประเทศที่มีประชากรจานวนมากอย่างเช่น จีน และอินเดีย ซึ่งผลิตข้าวได้เป็นอันดับหนึ่งและอันดับสองของโลก ตามลาดับก็ตาม แต่ประเทศเหล่านี้ต่างก็ใช้ผลผลิตส่วนใหญ่ของประเทศไปกับการบริโภคในประเทศเป็นสาคัญยกเว้น อินเดียที่มีผลผลิตเหลือจากการบริโภคในประเทศและเป็นผู้ส่งออกข้าวที่สาคัญในตลาดการค้าข้าวโลก ผลผลิตข้าวที่มีการซื้อขายกันในตลาดการค้าข้าวโลกมีประมาณ 38 ล้านตันข้าวสารหรือร้อยละ 8 เมื่อเทียบ กับปริมาณผลผลิตและปริมาณการบริโภค ทาให้ตลาดข้าวโลกจึงเป็นตลาดที่บาง ในสถานการปัจจุบันที่อุปสงค์รวมมี การปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆตามการเพิ่มขึ้นของประชากร ส่วนในด้านอุปทานผลผลิตข้าวกลับมีการขยายตัวที่รวดเร็ว กว่าอุปสงค์ เพราะมีผู้ผลิตข้าวส่วนเกินเพิ่มมากขึ้นในตลาด โดยเฉพาะพม่าและกัมพูชา เป็นต้น อีกทั้งการที่ประเทศผู้ นาเข้าจานวนมากได้ใช้นโยบายของการพึ่งพาตนเอง ทาให้เกิดการชะลอตัวในด้านความต้องการนาเข้าและใน ขณะเดียวกันมีการแข่งขันในประเทศผู้ส่งออกมากขึ้น ปัจจัยดังกล่าวเป็นแรงกดดันให้แนวโน้มราคาข้าวในตลาดการค้า ข้าวโลกยังมีการแกว่งตัวไปในทิศทางขาลงต่อไปอีก นอกจากนี้ ปริมาณสต็อกข้าวของโลกที่มีมากในปัจจุบันหรือประมาณ 104 ล้านตันข้าวสาร เมื่อนาไปบวก เพิ่มเข้ากับผลผลิตในแต่ละปีก็จะทาให้เกิดแรงกดดันทางด้านอุปทานข้าวโลกต่อแนวโน้มด้านราคาในทิศทางขาลงด้วย เช่นกัน โดยเฉพาะการสะสมสต็อกจานวนมากของไทยและอินเดีย ที่สังคมโลกตระหนักดีว่าประเทศทั้งสองจะต้อง จัดการกับอุปทานข้าวในสต็อกจานวนมากนี้โดยการเร่งระบายออกสู่ตลาดและจะมีผลกดดันต่อระดับราคาข้าวในตลาด ส่งออกตามมา หากมองในภูมิภาคอาเซียนซึ่งประกอบด้วย มาเลเชีย สิงคโปร์ อินโดนิเชีย ฟิลิปปินส์ ไทย บรูไน เวียดนาม พม่า เขมร และลาว ประเทศในกลุ่มอาเซียนดังกล่าวนี้มีผลผลิตข้าวรวมกันประมาณ 115 ล้านตันข้าวสารในขณะที่มี การบริโภคภายในอาเซียนเพียง 100 ล้านตันข้าวสาร ส่วนการค้าข้าวในอาเซียนมีประมาณ 3 ล้านตันข้าวสารในปีที่ ผ่านมา โดยมีประเทศผู้นาเข้าได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนิเชีย มาเลเชีย สิงคโปร์ และบรูไน ส่วนประเทศอาเซียนที่เป็นผู้ ส่งออกได้แก่ เวียดนาม ไทย เขมร ลาวและพม่า ซึ่งรวมแล้วมีอุปทานข้าวส่งออกถึง 15 ล้านตันข้าวสาร ทาให้อาเซียน ต้องเป็นผู้ส่งออกสุทธิประมาณ 12 ล้านตันไปสู่ตลาดนอกอาเซียน 11 นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติและผู้ประสานงานชุดโครงการ ”งานวิจัยเชิงนโยบายเกษตรและเสริมสร้างเครือข่ายงานวิจัย เชิงนโยบาย”สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) บทความนี้ลงพิมพ์ในนิตยสารข้าวไทย ฉบับที่ 42 พฤษภาคม-มิถุนายน 2557
2.
2 หากจะรวมตลาดข้าวของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีเข้ามาด้วยรวมเป็นกลุ่มอาเซียนบวกสาม
จะทาให้ปริมาณ ผลผลิตข้าวในกลุ่มของอาเซียนบวกสามเพิ่มขึ้นมาเป็น 270 ล้านตันข้าวสาร และมีการบริโภค 257 ล้านข้าวสาร และ แม้ว่าการรวมกันเป็นอาเซียนบวกสามจะทาให้มีขนาดของประชากรเพิ่มขึ้นจาก 600 ล้านคนมาเป็น 2,200 ล้านคน แต่ กลับพบว่าตลาดการค้าข้าวในอาเซียนบวกสามไม่ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากตามการเพิ่มขนาดของประชากร โดยมี ปริมาณการค้าข้าวเพิ่มขึ้นจาก 3 ล้านตันข้าวสาร ขึ้นเป็น 7 ล้านตันข้าวสารเท่านั้น ทั้งนี้เพราะทั้งจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ต่างก็ใช้นโยบายการผลิตเพื่อพึ่งพาตนเองและรวมถึงการให้ความสาคัญกับความมั่นคงทางอาหารหลักของประชากรใน ประเทศ ในกลุ่มของเอเชียใต้ซึ่งประกอบด้วย อินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา เป็นต้น ประเทศในกลุ่มเอเชียใต้ มีปริมาณผลผลิต โดยรวมประมาณ 150 ล้านตันข้าวสาร แต่มีการบริโภคภายในภูมิภาคดังกล่าวจานวน 137 ล้านตัน ข้าวสาร ดังนั้นปริมาณผลผลิตข้าวในเอเชียใต้จึงมีส่วนเกินจากการใช้บริโภคประมาณ 13 ล้านตันข้าวสารซึ่งจะต้อง ส่งออกไปยังภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งในภูมิภาคนี้มีอินเดียและปากีสถานเป็นผู้ส่งออกที่สาคัญของภูมิภาค ภูมิภาคที่มีการผลิตข้าวได้น้อยแต่มีการบริโภคมาก ได้แก่ภูมิภาคตะวันออกกลาง และแอฟริกา ทั้งนี้ใน ภูมิภาคตะวันออกกลางมีการผลิตข้าวประมาณ 2 ล้านตันข้าวสาร โดยมีอียิปต์ เป็นแหล่งผลิตที่สาคัญของภูมิภาค แต่มี การบริโภคเกือบ 9 ล้านตันข้าวสาร ภูมิภาคตะวันออกกลางจึงมีการนาเข้าสูงประมาณ 7 ล้านตันข้าวสาร ส่วนใน ภูมิภาคแอฟริกานั้นมีปริมาณการผลิตเพียง 17 ล้านตันข้าวสารแต่มีปริมาณการบริโภคมากประมาณ 29 ล้านตัน ข้าวสาร ในภูมิภาคนี้จึงเป็นภูมิภาคที่มีการนาเข้าข้าวสูงถึงประมาณ 12 ล้านตันข้าวสาร ส่วนในภูมิภาคอเมริกาซึ่ง รวมทั้งอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ มีการผลิตมากกว่าการบริโภคเล็กน้อย และเป็นภูมิภาคที่มีการส่งออกข้าวมากกว่า การนาเข้าข้าวอยู่ประมาณ 1-2 ล้านตันข้าวสาร ในส่วนของยุโรปแม้จะมีการปลูกข้าวอยู่บ้างทางตอนใต้ได้แก่ประเทศเสปน อิตาลี ฝรั่งเศส และกรีซ แต่ ปริมาณผลผลิตโดยรวมของกลุ่มสภาพยุโรปมีประมาณ 2 ล้านตันข้าวสาร และมีการบริโภคประมาณ 3 ล้านตัน ข้าวสาร ดังนั้น ในกลุ่มของสหภาพยุโรปจึงมีการนาเข้าสุทธิประมาณ 1 ล้านตันข้าวสาร ส่วนกลุ่มประเทศที่เป็นสหภาพ รัสเซียเดิมมีการผลิตและการบริโภคใกล้เคียงกันประมาณ 1-1.5 ล้านตันข้าวสาร และแม้จะมีการนาเข้าข้าวอยู่บ้างแต่มี จานวนรวมไม่ถึงห้าแสนตัน ด้านความต้องการข้าวเพื่อการบริโภคในแต่ละภูมิภาคของโลกมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม และรสนิยมเป็นสาคัญ ในกลุ่มของประเทศแอฟริกาและตะวันออกกลางประชากรส่วนมากในภูมิภาคดังกล่าวจะนิยม บริโภคข้าวนึ่ง(par boiled rice) 2 ประชากรในส่วนของเอเชียตะวันออกส่วนมากนิยมข้าวเจ้าเมล็ดสั้นหรือที่เรียกว่าข้าว ญี่ปุ่น(japonica rice) ส่วนข้าวเจ้าเมล็ดยาว(indica rice) กลุ่มประชากรที่บริโภคข้าวชนิดนี้จะกระจายตัวอยู่ทั่วไปทั้งใน เอเชีย และอเมริกา ข้าวในกลุ่มของข้าวเจ้าเมล็ดยาวนี้ประกอบด้วยกลุ่มข้าวที่มีความหอม (aromatic rice) และจัดเป็น ข้าวพรีเมียม เช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวบาสมาติ เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคจะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้สูงและให้ราคาข้าวในกลุ่ม ดังกล่าวสูงกว่าราคาข้าวสารเจ้าเมล็ดยาวทั่วไปกว่าเท่าตัว ส่วนข้าวเหนียวประเทศผู้นาเข้ามักนาเข้าข้าวเหนียวไปใช้ ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและแอลกอฮอล์เป็นสาคัญ ข้าวส่งออกของไทยนั้นประกอบด้วยกลุ่มข้าวหอม ได้แก่ข้าวหอมมะลิและข้าวหอมปทุม แต่การส่งออกข้าว หอมมะลิจะมีมากกว่าข้าวหอมประทุมถึงกว่าร้อยละ 95 ทั้งนี้เพราะคุณภาพของข้าวหอมปทุมยังเป็นรองข้าวหอมมะลิ อยู่มาก กลุ่มข้าวสารเจ้า ได้แก่ ข้าวสารเจ้า 10% และ 5% ข้าวสารเจ้าอื่นๆ กลุ่มข้าวเหนียว และกลุ่มข้าวนึ่ง กลุ่มข้าว ส่งออกของไทยดังกล่าวมีการกระจายตัวไปในตลาดการค้าข้าวในภูมิภาคต่างๆของโลก 2 ข้าวนึ่ง ได้แก่ ข้าวที่ได้จากการสีข้าวเปลือกในกลุ่มของข้าวเมล็ดยาว (indica rice) ที่ผ่านการแช่น้า และอบด้วยความร้อนแล้วทาให้แห้งก่อน ทาการสี
3.
3 ชนิดของข้าวที่ไทยส่งออกมากได้แก่ข้าวสารเจ้า 100% และ
5% และข้าวหอมมะลิ ทั้งนี้จากปริมาณการ ส่งออกข้าวประมาณ 6.61 ล้านตัน ในปี 2556 นั้น เป็นการส่งออกข้าวสารเจ้า 100% และ 5% ร้อยละ 29.92 รองลงมา ได้แก่การส่งออกข้าวหอมมะลิมีสัดส่วนร้อยละ 28.96 และเป็นข้าวนึ่งร้อยละ 24.97 ส่วนข้าวเหนียวและข้าวอื่นๆมีการ ส่งออกร้อยละ 4.94 และร้อยละ 10.43 ตามลาดับ (ตารางที่ 1) ตารางที่ 1 การส่งออกข้าวของไทยตามชนิดของข้าวไปในภูมิภาคต่างๆของโลก ปี 2556 ข้าวหอม มะลิ ข้าวหอม ปทุม ข้าวสารเจ้า 100 และ 5% ข้าวสารเจ้า อื่นๆ1/ ข้าวเหนียว ข้าวนึ่ง รวม หน่วย: ตัน เอเชีย 423,255 20,473 471,860 70,708 257,777 811 1,244,893 เอเชียตะวันออก 289,999 9,635 304,429 49,190 157,878 390 811,521 อาเซียน 132,386 10,594 166,889 21,492 99,855 276 431,502 เอเชียใต้ 870 244 542 26 44 145 1,871 ตะวันออกกลาง 115,526 7,108 788,176 430 3,214 224,964 1,139,418 ยุโรป 179,566 17,469 20,116 2,658 17,833 58,201 295,842 แอฟริกา 685,828 3,582 671,821 581,906 26,638 1,363,309 3,333,085 อเมริกา 438,693 2,053 6,233 3,312 20,782 1,243 472,317 โอเชียเนีย 72,322 1,000 20,042 30,639 591 2,430 127,023 รวมส่งออก(ตัน) 1,915,190 51,684 1,978,248 689,663 326,835 1,650,958 6,612,578 ร้อยละของปริมาณ 28.96 0.78 29.92 10.43 4.94 24.97 100.00 มูลค่า(ล้านบาท) 59,480 1,495 29,221 10,529 6,700 26,425 133,852 ร้อยละของมูลค่า 44.43 1.12 21.83 7.87 5.01 19.74 100.00 มูลค่าต่อตัน(บาท) 31,057 28,926 14,771 15,267 20,500 16,005 20,242 หมายเหตุ: 1/ ประกอบด้วยข้าว 10% 15% 25% ปลายข้าว และอื่นๆ ที่มา: คานวณจากฐานข้อมูลสานักงานเศรษฐกิจการเกษตร ด้วยความร่วมมือของกรมศุลกากร ถึงแม้ว่าปริมาณการส่งออกข้าวหอมมะลิจะมีปริมาณน้อยกว่าการส่งออกข้าวสารเจ้า 100% และ 5% อยู่ เล็กน้อยก็ตามแต่หากพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกแล้ว ข้าวหอมมะลิมีมูลค่าการส่งออกถึงร้อยละ 44.43 ของมูลค่า การส่งออกข้าวรวม และมากกว่าการส่งออกข้าวสารเจ้า 100% และ 5% เกือบหนึ่งเท่าตัว ทั้งนี้เพราะการส่งออกข้าว หอมมะลิให้มูลค่าต่อหน่วยหรือต่อตันของผลผลิตสูงกว่ามูลค่าต่อหน่วยของผลผลิตข้าวสารเจ้า 100% และ 5% อย่าง มาก อีกทั้ง ข้าวหอมมะลิไทยมีการกระจายของตลาดที่ดีกว่าข้าวชนิดอื่นๆ ทั้งในอเมริกา แอฟริกา ยุโรป ตะวันออก กลาง เอเชียตะวันออก และอาเซียน ยกเว้นกลุ่มประเทศในเอเชียใต้เท่านั้น จากสถานการณ์ดังกล่าวเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าการค้าข้าวไทยในตลาดการค้าข้าวโลกกาลังปรับตัวไปสู่ ความสาคัญในมิติเชิงคุณภาพของข้าวเพิ่มมากขึ้นและตลาดพร้อมที่จะให้ราคาที่สูงขึ้นตามมา ดังนั้น จึงเป็นเรื่องท้า ทายนโยบายข้าวไทยอย่างมากในการที่จะดูแลและรักษาคุณภาพและคุณค่าของข้าวหอมมะลิอันเป็นเอกลักษณ์ที่มีค่านี้ ไว้ให้เป็นสมบัติอันล้าค่าของอุตสาหกรรมข้าวและชาวนาโดยเฉพาะชาวนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยให้ ยั่งยืนต่อไป
Download