ݺߣ
Submit Search
ข้าวหอมมะลิไทยกับความจำเพาะที่กำลังจะจางหายไป
•
0 likes
•
336 views
Somporn Isvilanonda
Follow
1 of 3
Download now
Download to read offline
More Related Content
ข้าวหอมมะลิไทยกับความจำเพาะที่กำลังจะจางหายไป
1.
1 ข้าวหอมมะลิไทยกับความจำเพาะที่กำลังจะจางหายไป สมพร
อิศวิลานนท์01 ข้าวเป็นพืชอาหารจานหลักของประชากรในเอเชีย ทำให้เอเชียเป็นแหล่งผลิตและบริโภคข้าวที่สำคัญของโลก ข้าวที่เพาะปลูกในภูมิภาคนี้มีความหลากหลายในพันธุกรรมทั้งในด้านองค์ประกอบทางกายภาพ เคมี ธาตุอาหารและ สีสันของเมล็ดข้าวรวมถึงคุณสมบัติของความหอม ความนุ่มอร่อยเมื่อหุงสุก เป็นต้น ทำให้เกิดเป็นลักษณะของ คุณสมบัติและคุณภาพนำไปสู่คุณค่าและความจำเพาะของข้าวที่เพาะปลูกได้ ข้าวหอมมะลิหรือข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของไทยก็เป็นหนึ่งในข้าวที่มีคุณค่าและลักษณะจำเพาะในตัวของสินค้า โดยเฉพาะในเรื่องของความหอมและความนุ่ม เดิมทีข้าวที่เพาะปลูกในภูมิภาคเอเชียเป็นข้าวพันธุ์ไวแสงหรือที่เรียกกันว่าพันธุ์พื้นเมืองซึ่งมีความ หลากหลายของสายพันธุ์จำนวนมาก แต่หลังจากได้มีการค้นพบข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงโดยสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติที่ ตั้งอยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์ในช่วงปลายทศวรรษ 1950 ที่เรียกกันในยุคนั้นว่าข้าวพันธุ์มหัศจรรย์(miracle rice) หรือข้าว พันธุ์ IR8 ซึ่งเป็นข้าวที่ให้ผลผลิตสูง ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีได้ดีเมื่อปลูกในพื้นที่ชลประทาน ได้นำไปสู่ยุคของการปฏิวัติ เขียวและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพันธุ์ข้าวในระดับไร่นาและระบบการผลิตโดยเฉพาะการทำนาแบบเข้มข้น มากกว่า 1 ครั้งในรอบปี มีการแพร่กระจายของข้าวพันธุ์ใหม่ไปในวงกว้างแต่ข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงที่เพาะปลูกกันใน ขณะนั้นเป็นพันธุ์ข้าวที่ให้นํ้าหนักกับการเพิ่มผลผลิตและปริมาณอุปทานผลผลิตเป็นสำคัญ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ อุปทานข้าวโลกขาดแคลน และไม่ได้ให้ความสำคัญกับมิติในเชิงของรสชาติและคุณภาพเพราะข้าวพันธุ์ใหม่จะมีความ แข็งกระด้างเมื่อหุงสุกไม่นุ่มนวลเหมือนข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่นิยมปลูกกันอยู่ดั้งดิมตลาดข้าวในขณะนั้นจึงได้แยกข้าวที่มี มิติด้านคุณภาพโดยเฉพาะคุณสมบัติของความหอมและความนุ่มออกจากตลาดข้าวสารเจ้าพันธุ์ไม่ไวแสงเกิดเป็นตลาด ข้าวหอมที่ให้ความสำคัญกับลักษณะจำเพาะ พร้อมๆกับการให้ค่าพรีเมี่ยมในตัวของสินค้าดังเช่น ข้าวหอมมะลิและข้าว บาสมาติ ข้าวหอมมะลิไทยกับข้าวบาสมาติอินเดียหากเทียบกันแล้ว ข้าวทั้งสองชนิดนี้แม้จะอยู่ในกลุ่มของสินค้าข้าว หอม แต่จัดได้ว่าไม่ได้เป็นสินค้าทดแทนกัน และมีความต่างกัน ทั้งนี้เพราะข้าวหอมมะลิมีค่าอะไมโลสตํ่ากว่าข้าวหอม บาสมาติ ทำให้ข้าวหอมมะลิมีรสชาดนุ่มนวล จึงได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกและใน สหรัฐอเมริกา ส่วนข้าวบาสมาติเป็นข้าวที่มีค่าอะไมโลสระดับปานกลางและสูงกว่าค่าอไมโลสของข้าวหอมมะลิไทย ทำ ให้ข้าวบาสมาติเมื่อหุงแล้วร่วนไม่นุ่มเหมือนข้าวหอมมะลิ ได้รับความนิยมในเอเชียใต้และในตะวันออกกลางข้าวหอม ทั้งสองชนิดจึงต่างกันทั้งในลักษณะของตัวสินค้าข้าวและลักษณะของการนำไปปรุงเป็นอาหาร การขยายตัวของความต้องการของผู้บริโภคข้าวหอมมะลิทั้งในประเทศและต่างประเทศในช่วงกว่าสอง ทศวรรษที่ผ่านมา ได้เป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการขยายตัวของพื้นที่การเพาะปลูกข้าวหอมมะลิในไทย กล่าวคือพื้นที่ เพาะปลูกข้าวหอมมะลิและผลผลิตได้ขยายตัวของพื้นที่จากประมาณ 11ล้านไร่ผลผลิต 2.82 ล้านตัน(ประมาณ 1.41ล้านตันข้าวสาร)ในปี 2532 ขยับเพิ่มขึ้นเป็น 17 ล้านไร่ผลผลิต 5.5 ล้านตัน(ประมาณ 2.75 ล้านตันข้าวสาร) ในปี 2545 และได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 22 ล้านไร่ผลผลิต 9 ล้านตัน(ประมาณ 4.5 ล้านตันข้าวสาร) ในปี 2556 โดยมีพื้นที่ขยายตัว เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในสามทศวรรษที่ผ่านมา อีกทั้ง มีผลผลิตเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวซึ่งผลผลิตดังกล่าวส่วนหนึ่งได้ใช้ ในประเทศและอีกส่วนหนึ่งส่งเป็นสินค้าออก 11นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติและผู้ประสานงานชุดโครงการ ”งานวิจัยเชิงนโยบายเกษตรและเสริมสร้างเครือข่ายงานวิจัย เชิงนโยบาย”สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) บทความนี้ตีพิมพ์ในนิตยสารข้าวไทย ฉบับที่ 43 ประจำเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2557
2.
2 ตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิไทยเดิมทีจะอยู่ในสิงคโปรค์และฮ่องกงก่อนจะขยายตัวไปในตลาดสหรัฐอเมริกา ตะวันออกกลาง
และอาฟริกาใต้ ปริมาณการส่งออกได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วจในช่วงจากปี 2531 ถึงช่วงปี 2550 กล่าวคือมีประมาณข้าวหอมมะลิส่งออก0.15 ล้านตันข้าวสารในปี 2531 ปรับเพิ่มมาเป็น 1.1 ล้านตันในปี 2541 และใน อีก 10 ปีถัดมาได้ชขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2.9 ล้านตัน ในปี 2550 อย่างไรก็ตาม หลังจากปี 2550เป็นต้นมาการส่งออก ข้าวหอมมะลิของไทยได้เริ่มถดถอยลงเรื่อยมา จนเหลือเพียง 1.5 ล้านตันในปี 2556 ปัจ จัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกข้าวหอมมะลิไทยถดถอยลงนั้นด้านหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยด้านราคาเพราะ การเกิดวิกฤตข้าวแพงในปี 2551 ทำให้ราคาข้าวหอมมะลิไทยได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเกือบเท่าตัว (ตารางที่ 1) และ หลังจากนั้นราคาก็คงอยู่ในระดับสูงและเพิ่มขึ้นจากเดิม ราคาข้าวหอมมะลิที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้เป็นปัจ จัยสำคัญที่ กระตุ้นให้เกิดการขยายการผลิตข้าวหอมมะลิไปในประเทศคู่แข่งขันทางการค้าโดยเฉพาะเวียดนาม ตารางที่ 1 แสดงราคาส่งออกข้าวหอมมะลิไทยเฉลี่ยและการเปลี่ยนแปลงราคา ช่วงปี ราคาข้าวหอมมะลิไทย (ดอลล่าห์สหรัฐต่อตัน) เปลี่ยนแปลง(%) 2548-2550 492 - 2551-2553 971 +97.35 2554-2556 1108 +14.11 ที่มา: คำนวณจากข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO) เวียดนามนำพันธุ์ข้าวหอมมะลิไทยไปปลูกในหลายพื้นที่โดยใช้ชื่อ Thai Fragrant Rice เนื่องจากเวียดนาม สามารถทำการปลูกข้าวหอมได้ในระดับต้นทุนที่ตํ่ากว่าไทย ขณะเดียวกันแม้คุณภาพของข้าวหอมมะลิที่ปลูกใน เวียดนามจะมีคุณภาพและความหอมสู้ข้าวหอมมะลิจากไทยไม่ได้ทั้งหมด แต่ระดับราคาส่งออกที่ตํ่ากว่าไทยเกือบหนึ่ง เท่าตัว ได้ทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวหอมมะลิของเวียดนามได้ขยายตัวออกไป ดังจะเห็นได้ว่าในปี 2554 เวียดนาม ส่งออกข้าวหอมรวมทั้งหอมมะลิได้เพียง0.47 ล้านตัน และได้เพิ่มขึ้นเป็น 0.90 ล้านตันในปี 2556 ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่าตัวในช่วง 3 ปี ทั้งนี้เวียดนามสามารถส่งออกข้าวหอมมะลิได้ในราคาเพียงตันละ 671 ดอลล่าห์สหรัฐ12ในขณะที่ ราคาส่งออกข้าวหอมมะลิจากไทยในช่วงเดียวกันอยู่ที่ราคาตันละ 1,180 ดอลล่าห์สหรัฐ ข้าวหอมมะลิจากเวียดนามจึง เข้าไปแทนที่ตลาดข้าวหอมมะลิจากไทยในหลายตลาดการค้าและทำให้การส่งออกข้าวหอมมะลิจากไทยลดลง ขณะเดียวกัน กัมพูชาที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดมีพรหมแดนติดกับไทย มีพันธุ์ของข้าวหอมใกล้เคียงกับ พันธุ์ข้าวหอมมะลิของไทยอย่างมากเช่นพันธุ์ข้าวหอมผกามะลิ(PhakaMalis) พันธุ์ข้าวหอมผกาลำดวน (PhakaRomdul) เป็นต้น ข้าวหอมผกามะลิของกัมพูชาเพิ่งได้รับรางวัลที่หนึ่งในการประกวดข้าวโลกครั้งที่ 4 และครั้งที่ 5 ถึงสองปีซ้อนในการประกวดที่ประเทศะอินโดนีเชียและฮ่องกงในปี2555 และ ปี 2556 ตามลำดับ ทำให้ข้าวหอมมะลิ กัมพูชามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนานาชาติมากขึ้นอีกทั้ง การผลิตข้าวในกัมพูชาได้ขยายตัวของปริมาณการส่งออกอย่าง รวดเร็วจากที่มีปริมาณการส่งออกข้าวในปี 2554 เพียง 0.20 ล้านตัน ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 0.38 ล้านตันในปี 2556 การที่ประเทศกัมพูชาได้ให้ความสำคัญกับการผลิตข้าวหอมคุณภาพเพื่อการส่งออก ทำให้กัมพูชามีปริมาณการส่งออก ข้าวหอมถึงร้อยละ 41 ของปริมาณการส่งออกในปี 2556 อีกทั้งระดับราคาส่งออกของข้าวหอมมะลิกัมพูชาจะมีราคา ประมาณ 890 ดอลล่าห์สหรัฐต่อตัน ซึ่งก็ตํ่ากว่าระดับราคาของข้าวหอมมะลิไทยเช่นกัน 2ราคาในเดือนพฤษภาคม 2557 จาก www.Oryza.com
3.
3 ข้าวหอมที่ผลิตได้ทั้งจากเวียดนามและจากกัมพูชาจึงได้กลายเป็นสินค้าทดแทนข้าวหอมมะลิจากไทยใน ตลาดข้าวหอมส่งออกระหว่างประเทศ
โดยเฉพาะข้าวหอมจากเวียดนามได้ก้าวขึ้นเป็นสินค้าทดแทนข้าวหอมมะลิจาก ไทยในตลาดเอเชียตะวันออกและในตลาดสหรัฐอเมริกา ส่วนข้าวหอมมะลิจากกัมพูชาก็ได้เข้ามาเป็นสินค้าทดแทนข้าว หอมไทยในตลาดสหภาพยุโรป23และบางส่วนของเอเชียตะวันออก นอกจากข้าวหอมทั้งจากเวียดนามและจากกัมพูชาได้เข้ามาเป็นคู่แข่งขันแล้ว ข้าวหอมจากพม่าที่มีชื่อว่า Paw San ซึ่งได้รับรางวัลที่หนึ่งในการประกวดข้าวโลกครั้งที่ 3 ที่จัดขึ้นที่ประเทศเวียดนามในปี 2554 ก็นับได้ว่าเป็นข้าว หอมที่มีความหอมและความนุ่มไม่แพ้ข้าวหอมมะลิไทยและกำลังเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้น การผลิตข้าวของพม่าที่เพิ่ม มากขึ้นในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเพราะความขัดแย้งด้านการเมืองภายในประเทศของพม่าเองได้สงบลงได้ส่งผลให้ ปริมาณการส่งออกข้าวของพม่าได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยพม่าได้ส่งออกข้าวเพิ่มจาก0.37ล้านตัน ในปี 2552 เพิ่ม ขึ้นมาเป็น1.31 ล้านตันในปี 2555ในจำนวนนี้ข้าว Paw San น่าจะเป็นหนึ่งในข้าวหอมคุณภาพที่พม่าส่งออกเพิ่มขึ้น ตามมาด้วยเช่นกัน อีกทั้งประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมขึ้นหลายพันธุ์และได้เผยแพร่ให้มีการผลิตเป็นการค้า ในหลายพื้นที่ปลูกข้าวของสหรัฐอเมริกา เช่น ข้าวพันธุ์ Jassman, Calrose, Jasmin 85 เป็นต้น ข้าวหอมเหล่านี้เป็น ส่วนหนึ่งของข้าวหอมที่จะเข้ามาเป็นสินค้าทดแทนกับข้าวหอมมะลิไทยไม่มากก็น้อยในตลาดการค้าข้าวหอมใน ประเทศของสหรัฐอเมริกาที่เดิมมีการนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยก็กำลังมีสินค้าข้าวหอมมะลิทดแทนจากการผลิตข้าว หอมในสหรัฐอเมริกาเอง ส่วนปัจ จัยภายในประเทศของไทยเองที่เป็นแรงกดดันทำให้คุณภาพของข้าวหอมมะลิได้ถดถอยตํ่าลงนั้น คง จะหนีไม่พ้นระบบการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เป็นแหล่ง เพาะปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญของประเทศ การปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่ดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก จากที่เคยทำนาดำก็เปลี่ยนมาเป็นทำนาหว่านกันมากขึ้นเพราะหาแรงงานได้ยาก อีกทั้งมีความพยายามที่จะเพิ่ม ผลผลิตโดยใช้ปุ๋ยเคมีจากที่เคยใช้ปุ๋ยคอกและอาศัยธาตุอาหารที่มากับกระแสนํ้าในช่วงนํ้าหลาก รวมถึงการเก็บเกี่ยวที่ ใช้รถเก็บเกี่ยวแทนแรงงานคนเพราะค่าจ้างแรงงานแพง การใช้เครื่องอบลดความชื้นข้าวเนื่องจากเก็บเกี่ยวด้วยรถเก็บ เกี่ยวทำให้ข้าวมีความชื้นสูง ปัจจัยดังกล่าวได้มีผลต่อคุณภาพและการสูญเสียลักษณะความจำเพาะของข้าวหอมมะลิ ไทย โดยเฉพาะการลดลงของกลิ่นหอมที่นับวันจะเลือนหายไป อีกทั้งการใช้เทคโนโลยีในการปรับปรุงพันธุ์ทำให้เกิด ข้าวพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิ อย่างเช่น ข้าวปทุมธานี 1 ที่มีลักษณะของเมล็ดและค่าอไมโรส ใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิ ข้าวพันธุ์ดังกล่าวเป็นข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงที่สามารถปลูกได้ในพื้นที่ชลประทานและปลูกได้ มากกว่าหนึ่งครั้งในรอบปี ทำให้เกิดเป็นสินค้าทดแทนข้าวหอมมะลิได้ในบางตลาดการค้า เป็นต้น สถานภาพดังกล่าวกำลังเป็นปัจจัยเร่งที่รุมเร้าให้กับข้าวหอมมะลิไทยในตลาดการค้าข้าวโลกเพราะมีสินค้า ข้าวหอมทดแทนได้มากขึ้นตามมา ประเด็นข้อปัญหาดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายต่อผู้บริหารนโยบายข้าวไทยเป็น อย่างมากว่าจะมีมาตรการอย่างไรที่จะปกป้องและคุ้มครองคุณภาพและคุณค่าของข้าวหอมมะลิให้เป็นสมบัติอันลํ้าค่า ของข้าวไทยได้อย่างยั่งยืนตลอดไป 3กัมพูชาได้รับสิทธิพิเศษในการยกเว้นภาษีสินค้าข้าวที่ส่งเข้าไปจำหน่ายในสหภาพยุโรป เนื่องจากเป็นประเทศในกลุ่มพัฒนาน้อยที่สุด
Download