1. 7
บทความวิจัย : ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ของโรควัณโรค
วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศปีที่ 5 ฉบับที่ 10 กรกฎาคม - ธันวาคม 2552
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ของโรควัณโรค
Geographic Information Systems for Tuberculosis (TB)
บทคัดย่อ
วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศของ
โรควัณโรคมาประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทางภูมิศาสตร์ เพื่อช่วยในการจัดการข้อมูลผู้ป่วยโรควัณโรค
ลดความซ้ำซ้อนในการรายงานของข้อมูลผู้ป่วยโรควัณโรค
รวมทั้งเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่และเป็นปัจจุบันเพื่อความ
รวดเร็วในการรายงานผลของข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ในรูปแบบ
สารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อแก้ปัญหาในการลดหรือ
หยุดยั้งการแพร่กระจายของโรควัณโรค ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงาน
ราชการ สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กลุ่ม
ตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 25 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศทางภูมิศาสตร์ของโรควัณโรค แบบทดสอบการ
ทำงานและแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานระบบ
เทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ของโรควัณโรค
ผลการวิจัยพบว่า ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทาง
ภูมิศาสตร์ของโรควัณโรค สามารถทำงานได้ถูกต้องตาม
ขอบเขตและความต้องการของผู้ใช้งาน โดยความพึงพอใจได้
รับค่าประเมินอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.65, S.D. = 0.54)
คำสำคัญ: ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
โรควัณโรค ระบบสารสนเทศ
Abstract
The objectives of this study are to develop and to combine
information technology system of Tuberculosis with Geographic
Information System (GIS). Advantages of the system
development are decreasing duplicate of reports, showing
real-time database, accessing to database via internet for
rapid and well reports. Public Health can use data to set up
รัตน์ระพี พลไพรสรรพ์* นิดาพรรณ สุรีรัตนันท์* และ อัครา ประโยชน์*
strategies to decrease Tuberculosis transmission, prevent and
control outbreak of Tuberculosis. Population sampling is
obtained by purposive sampling from Department of Disease
Control (25 health ofcers and employees were selected).
The research tools are Geographic Information System for
Tuberculosis and questionnaire on satisfaction level of users
toward the system. The study indicates that Geographic
Information Systems (GIS) for Tuberculosis has an effective
ability to response the users needs. The result shows that the
satisfaction toward Geographic Information Systems (GIS)
for Tuberculosis reaches at a level of very good ( = 4.65,
S.D. = 0.54)
Keyword: Geographic Information Systems, Tuberculosis
(TB), Information Systems
1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
กระทรวงสาธารณสุขได้จัดงบประมาณสำหรับสนับสนุน
การควบคุมโรควัณโรคในประเทศไทยมาโดยตลอด ซึ่งการ
ควบคุมโรควัณโรคด้วยกลวิธี Directly Observed Treatment,
Short course (DOTS) [1] และดำเนินการครอบคลุมหน่วย
บริการสาธารณสุขทุกแห่งที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ถึงแม้
การดำเนินกลวิธี DOTS ส่งผลให้สถานการณ์วัณโรคลด
ความรุนแรงลง แต่ผลการประเมินพบว่าประเทศไทยยังไม่
บรรลุเป้าหมายซึ่งกำหนดอัตราความสำเร็จของการรักษา
(Treatment success rate) ไว้ร้อยละ 85 ในผู้ป่วยวัณโรค
รายใหม่เสมหะบวกพบเชื้อและหนึ่งในอุปสรรคสำคัญหลาย
ประการที่ส่งผลให้ประเทศไทยไม่บรรลุเป้าหมาย คือ ผู้ป่วย
วัณโรคอยู่ในวัยแรงงาน (25-44 ปี) ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่
ย้ายถิ่นทั้งถาวรและชั่วคราว เพื่อประกอบอาชีพและมีอัตรา
ขาดการรักษาสูง นอกจากนั้นยังมีผู้ป่วยที่เป็นแรงงานข้ามชาติ
(Non Thai migrant) ทั้งแรงงานจดทะเบียนและไม่จดทะเบียน
* สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ