ݺߣ

ݺߣShare a Scribd company logo
นางสาวพิชญา รอดกระจับ ม.5/3 เลขที่ 25
แพทยศาสตร์
แพทยศาสตร์ (อังกฤษ: Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและ
เยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง
แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสาคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือ
ในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่นกุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์
, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์
, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์
ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตาม
อวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น
การเรียนการสอนทางแพทยศาสตร์นั้น เกิดขึ้นครั้งแรกที่โรงเรียนแพทยากรซึ่งพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้น ณโรงศิริราชพยาบาลซึ่งก็คือคณะ
แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน ต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งที่2 ขึ้น เพื่อผลิตแพทย์ให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือ
ประชาชน นั่นคือคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและได้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นในส่วน
ภูมิภาคของประเทศคณะแรก ได้แก่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่
3 จากนั้น ได้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งเป็นคณะแพทยศาสตร์
แห่งที่ 4 ของประเทศ และเป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของมหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้น ได้จัดตั้งคณะ
แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่5 และคณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่6 ของประเทศ และมีคณะแพทยศาสตร์ อื่นๆอีก
รวม 20 แห่ง ทั่วประเทศ เช่น คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครคณะ
แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ฯลฯ

More Related Content

แพทยศาสตร์

  • 1. นางสาวพิชญา รอดกระจับ ม.5/3 เลขที่ 25 แพทยศาสตร์ แพทยศาสตร์ (อังกฤษ: Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและ เยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสาคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือ ในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่นกุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์ , ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์ , จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตาม อวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น การเรียนการสอนทางแพทยศาสตร์นั้น เกิดขึ้นครั้งแรกที่โรงเรียนแพทยากรซึ่งพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้น ณโรงศิริราชพยาบาลซึ่งก็คือคณะ แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน ต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งที่2 ขึ้น เพื่อผลิตแพทย์ให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือ ประชาชน นั่นคือคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและได้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นในส่วน ภูมิภาคของประเทศคณะแรก ได้แก่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 3 จากนั้น ได้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งเป็นคณะแพทยศาสตร์ แห่งที่ 4 ของประเทศ และเป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของมหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้น ได้จัดตั้งคณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่5 และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่6 ของประเทศ และมีคณะแพทยศาสตร์ อื่นๆอีก รวม 20 แห่ง ทั่วประเทศ เช่น คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครคณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ฯลฯ