ݺߣ

ݺߣShare a Scribd company logo
รอมฎอน...เดือนแห่งสุขภาพ
ทพ.ธีระชัย อนุวงศ์เจริญ
ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
โดยความกรุณาจาก ผศ.แวอาซีซะห์ ดาหะยี ม.ราชภัฏ ยะลา
รอมฎอน ‫كريم‬ ‫رمضان‬
รอมฎอน : เป็นชื่อเดือนที่ 9 ในภาษาอาหรับตามปฏิทินทาง
จันทรคติดั้งเดิม (ไม่มีการชดเชย) หนึ่งเดือนมีจานวน 29 – 30 วัน
แต่ละรอบปีก็จะนับถอยร้นขึ้นประมาณ 10 – 11 วันจากเดือนทาง
สุริยคติ ตามหลักการของศาสนาอิสลามแล้วเดือนรอมฎอนเป็น
เดือนที่มีความสาคัญมาก มุสลิมทุกคนต่างรอคอยการมาเยือนของ
เดือนนี้เพื่อปฏิบัติศาสนกิจที่ดีงามตามคาสั่งใช้ของพระผู้เป็นเจ้า
“อัลลอฮฺซุบฮานาฮูวาตะอาลา” ศาสนกิจหนึ่งที่มุสลิมปฏิบัติใน
เดือนนี้ คือ การถือศีล-อด
การถือศีล-อด ‫الصيام‬
การถือศีล-อด : ในศาสนาอิสลามถูกบัญญัติเป็น
หลักปฏิบัติสาหรับมุสลิมทุกคนที่มีความสามารถ
ยกเว้นเด็ก คนป่วย หญิงมีครรภ์ / ให้นมบุตร
ผู้สูงอายุหรือคนชรา คนเดินทาง เป็นต้น
ระยะเวลาของการถือศีล-อดจะเริ่มตั้งแต่ดวง
อาทิตย์ขึ้นจนถึงตะวันลับขอบฟ้ าของทุกวันจน
ครบ 1 เดือน
การถือศีล-อด ‫الصيام‬
การถือศีล-อด : นอกจากจะต้องอดอาหาร/น้าแล้ว
ยังต้องงดการมีเพศสัมพันธ์ การพูดจาไร้สาระ การ
แสดงออกทางอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม หรืออาจจะกล่าว
ได้ว่า รอมฎอนเดือนของการทาความดีควบคู่กับการ
ทดสอบความอดทน เป้ าหมายสูงสุดของการถือศีล-
อด คือ การยาเกรงต่อเอกองค์อัลลอฮฺ พระองค์จะช่วย
ปกป้ องจิตใจมิให้กระทาในสิ่งเลวร้ายและขัดต่อ
ศีลธรรมหากเราตั้งเจตนา (เนียต) เพื่อพระองค์เท่านั้น
ข้อแนะนาสาหรับการถือศีล-อดที่ถูกต้องและควรปฏิบัติ
1. ผู้ที่อยู่ในข่ายของการยกเว้นด้วยภาวะความ
เจ็บป่ วย ไม่สบาย ตั้งครรภ์ /ให้นมบุตร หรืออยู่ในวัย
ชรา ควรต้องปรึกษาแพทย์ที่ดูแลรักษาโรคประจาตัว
เพื่อเตรียมความพร้อมล่วงหน้าทั้งด้านการให้ยา ด้าน
อาหารโภชนาการ การออกกาลังกาย ฯลฯ ภายใต้
คาแนะนาและการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ ไม่ควร
ฝืนปฏิบัติ
ข้อแนะนาสาหรับการถือศีล-อดที่ถูกต้องและควรปฏิบัติ
2. การละศีล-อดในแต่ละวันควรทาตามแบบอย่างจริย
วัตร(ซุนนะฮฺ) ท่านศาสดานบีมุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) คือ
ท่านจะไม่รับประทานอาหารหนักในทันทีเมื่อได้เวลา
ละศีล-อด ซึ่งท่านจะทานผลอินทผลัม 1 – 3 เม็ดหรือ
ผลไม้อื่นๆ ดื่มน้าหรือนม 1 แก้ว แล้วไปละหมาด
มัฆริบ(ละหมาดเวลาค่า) เสร็จจากละหมาดท่านจึงจะ
รับประทานอาหาร
ข้อแนะนาสาหรับการถือศีล-อดที่ถูกต้องและควรปฏิบัติ
3. ซุนนะฮฺหรือแบบอย่างประการหนึ่งที่ถูกละเลยคือ
ท่านนบีมุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) จะแปรงฟันโดยใช้ไม้
“ซิวาก”ทุกครั้งหลังจากทานอาหารและเมื่ออาบน้า
ละหมาด ไม้“ซิวาก”มีลักษณะคล้ายไม้ข่อยของไทย
แต่ปัจจุบันนิยมใช้แปรงสีฟันโดยไม่ใส่ยาสีฟัน(ระหว่าง
ถือศีล-อด)ถ้าไม่มีไม้“ซิวาก” ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษา
สุขภาพช่องปาก ลดการเกิดโรคฟันผุ เหงือกอักเสบ
และกลิ่นปาก
ข้อแนะนาสาหรับการถือศีล-อดที่ถูกต้องและควรปฏิบัติ
4. อาหารละศีล-อดควรให้ครบ5หมู่ หลีกเลี่ยงอาหาร
หวานจัด เค็มจัด มันจัด หรือเผ็ดจัด ซึ่งเป็นอาหารที่ส่งผล
เสียอย่างมากต่อสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะผู้ป่วย
โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ กระเพาะหรือกรด
ไหลย้อน ควรงดการดื่มน้าเย็นจัด (น้าแข็ง) เพราะทาให้
เส้นเลือดในลาไส้หดตัวดูดซึมน้าและอาหารเข้าสู่กระแส
เลือดได้น้อยจะทาให้รู้สึกแน่นท้องแต่ไม่หายหิว ดังนั้น
แนะนาให้ดื่มน้าอุ่นหรือน้าธรรมดาแทนเพราะจะดีต่อ
สุขภาพ ไม่ควรดื่มน้าอัดลมทุกชนิด
ข้อแนะนาสาหรับการถือศีล-อดที่ถูกต้องและควรปฏิบัติ
5. สาหรับผู้ที่ติดบุหรี่นับเป็นโอกาสดีที่จะเลิกสูบ
บุหรี่หรือสิ่งเสพติดอื่นๆ ได้ง่ายและทันที นอกจากจะ
เป็นผลดีต่อสุขภาพของตนเอง ครอบครัวแล้วยังจะ
ได้รับผลบุญมากมายในเดือนรอมฎอนอันประเสริฐนี้
ข้อแนะนาสาหรับการถือศีล-อดที่ถูกต้องและควรปฏิบัติ
6. เมื่อเริ่มอดอาหาร ร่างกายจะหาพลังงาน
ทดแทนโดยการเข้าย่อยสลายไขมันที่สะสมไว้
ตามเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น บริเวณหน้าท้อง ใต้
ผิวหนัง ตับ ฯลฯ ทาให้เกิดอนุพันธ์คล้ายคีโตน
ซึ่งทาให้เกิดอาการมึนศีรษะ คลื่นไส้ งุนงง
หงุดหงิด อารมณ์รุนแรงฉุนเฉียวง่าย(โมโหหิว)
ข้อแนะนาสาหรับการถือศีล-อดที่ถูกต้องและควรปฏิบัติ
6. วิธีระงับอารมณ์ดังกล่าวคือ การอาบน้าละหมาด
ละหมาด และการหยุดพาพักในมัสยิด(อิอฺติกาฟ)
อ่านอัล-กุรอานรวมทั้งการกล่าวราลึกถึงอัลลอฮฺ(ซิกิรฺ)
ให้มากๆ หากมีใครมาชวนทะเลาะหรือยั่วโมโห ให้
บอกกับตนเองและผู้นั้น 3 ครั้งว่า“ฉันกาลังถือศีล-อด”
การระงับหรือควบคุมอารมณ์ ทาจิตใจให้สงบ ส่งผลดี
ต่อสุขภาพร่างกายของตนเองโดยรวมทั้งยังช่วยเพิ่ม
ภูมิต้านทานโรคและลดความดันโลหิตลงได้
ข้อแนะนาสาหรับการถือศีล-อดที่ถูกต้องและควรปฏิบัติ
7. ทัศนะทางการแพทย์สมัยใหม่ยอมรับว่า การถือศีล-อดเป็น
วิธีการรักษาโรคทางการแพทย์ทางเลือกวิธีหนึ่งที่ได้ผลอย่าง
มาก อาทิ โรคมะเร็ง เพราะเมื่อเซลล์มะเร็งขาดสารอาหารก็จะ
ฝ่ อตายไปเอง แม้กระทั่งการตรวจเลือดเพื่อหาพยาธิสภาพ
ต่างๆ ก็จาเป็นต้องงดน้างดอาหารอย่างน้อย 6 - 8 ชั่วโมงจึงจะ
ได้ผลถูกต้อง สาหรับผู้มีความจาเป็ นต้องทานยา ปัจจุบัน
เภสัชกรได้ผลิตยาที่ออกฤทธิ์นานขึ้น ทานเพียง 2 ครั้งต่อวัน
แต่ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลรักษาท่าน ไม่ควรเปลี่ยนยาหรือซื้อ
มาทานเองโดยเด็ดขาด
ข้อแนะนาสาหรับการถือศีล-อดที่ถูกต้องและควรปฏิบัติ
8. รอมฎอนไม่ใช่เดือนของการถ่ม-บ้วนน้าลาย หากแต่เราลืม
แปรงฟันหลังอาหารซะฮูรฺ(อาหารรุ่งเช้า) ทาให้น้าลายเรายัง
หวานอยู่จากเศษอาหารที่ตกค้างตามซอกฟัน ผู้ใหญ่มักบอกให้
เราบ้วนหรือถ่มน้าลายทิ้งบ่อยๆ เพราะรู้สึกกังวลกลัวว่ากาลัง
ทานอาหารและมีกลิ่นปากตลอดเวลา ดังนั้นจงอย่าลืมแปรงฟัน
หลังทานอาหารซะฮูรฺ และเวลาอาบน้าละหมาดโดยไม่ต้องใส่
ยาสีฟัน(ขณะถือศีล) ส่วนน้าลายในปากนั้นสามารถกลืนลงคอ
ได้ไม่เสียศีล-อด ที่สาคัญอีกประการหนึ่งคือ ก่อนเข้าเดือน
รอมฎอนควรไปพบทันตแพทย์ตรวจเช็คทาความสะอาดเหงือก
และฟัน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีฟันผุหรือเหงือกอักเสบ
ข้อแนะนาสาหรับการถือศีล-อดที่ถูกต้องและควรปฏิบัติ
9. การมีอาหารตกค้างในลาไส้ใหญ่ตลอดเวลาไม่เป็นผลดีต่อ
ร่างกาย เพราะเป็นสาเหตุหนึ่งของการเป็นโรคมะเร็งลาไส้ใหญ่
ที่พบกันมากในทุกวันนี้ การถือศีล-อดจึงเป็นโอกาสดีที่ทาให้
ลาไส้ใหญ่สะอาดขึ้น แต่ระบบขับถ่ายอาจจะแปรปรวนไปบ้าง
หากมีอาการท้องผูกควรทานผักผลไม้ให้มากๆ
เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร
และขับถ่ายง่ายขึ้น
ไม่ควรใช้ยาถ่ายหรือยาระบาย
โดยไม่จาเป็น
ข้อแนะนาสาหรับการถือศีล-อดที่ถูกต้องและควรปฏิบัติ
10. ควรส่งเสริมและกระตุ้นให้เด็กๆ ฝึกถือศีล-อดเมื่ออายุ
เริ่ม 6 - 7 ขวบโดยไม่ใช่การบังคับ ควรให้เด็กได้ซึมซับการ
ทานอาหารซะฮูรฺ การอดน้าอดอาหารกลางวัน การทาน
อาหารละศีล-อดพร้อมๆกันอย่างมีความสุข หากเด็ก
หลงลืมดื่มน้าหรือทานขนมก็ควรตักเตือนด้วยความรักไม่ดุ
ด่าหรือตาหนิอย่างรุนแรง สาหรับผู้สูงอายุการขาดน้าจะมี
ผลกระทบมากกว่าอาหาร ตามซุนนะฮฺท่านนบีฯ เคย
อนุญาตให้อมน้าในปาก (ไม่กลืนหรือดื่ม) เพื่อลดอาการ
กระหายน้า
ข้อแนะนาสาหรับการถือศีล-อดที่ถูกต้องและควรปฏิบัติ
11. สิ่งสาคัญของเดือนรอมฎอน คือการฝึกให้ทุกคน
ไม่ว่าอยู่ในฐานะใดจะได้รับรู้ถึงภาวะความหิวโหย การ
ขาดแคลนอาหารและน้าซึ่งเป็นปัจจัยจาเป็นสาหรับ
การดาเนินชีวิต ทาให้เกิดความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ
แบ่งปันแก่ผู้ขัดสนยากจน สังคมจึงเป็นสังคมที่น่าอยู่
เพราะมีความสมบูรณ์ทั้งสุขภาพร่างกาย จิตใจ และจิต
วิญญาณอย่างแท้จริง
ทุกคราที่รอมฎอนมาเยือนเสมือนร่างกายและจิตใจ
ได้รับการดูแล ซ่อมเสริมทั้งด้านสุขภาวะและ
คุณธรรมจริยธรรมให้แข็งแกร่งพร้อมที่จะดาเนินชีวิต
ต่อไปอย่างมีความสุข หากเราเชื่อมั่นและมอบหมาย
ต่อพระองค์”อัลลอฮฺซุบฮานาฮูวาตะอาลา”
รอมฎอนของท่านก็จะเป็น
รอมฎอน...เดือนแห่งสุขภาพ
ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
วัสลามุอะลัยกุมฯ
ขอได้รับความสุขสันติและความเมตตา
ทพ. ธีระชัย อนุวงศ์เจริญ

More Related Content

รอมฎอน เดือนแห่งสุขภาพ