ݺߣ
Submit Search
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เมืองระยอง
•
Download as DOCX, PDF
•
0 likes
•
1,683 views
J
Jariya Bankhuntod
Follow
1 of 5
Download now
Download to read offline
More Related Content
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เมืองระยอง
1.
นางสาวสุพัตรากาวิจันทร์ สาขาการสอนสังคม55040131 ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การตั้งถิ่นฐานและการเติบโตของชุมชน “เมืองระยอง” การตั้งถิ่นฐาน ชนเผ่าชอง เป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิมเผ่าหนึ่งซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถวอาณาบริเวณชายทะเลภาคตะวันออกเฉียงใต้ ของประเทศไทยในท้องถิ่นของจังหวัดจันทบุรี และระยอง
ในปัจจุบันนี้ ชนเผ่านี้ชอบอยู่และมีความชานาญในป่าเขาลาเนาไพรมีภาษาพูดของตนเองเป็นชนพื้นเมืองที่นิยมใช้ลูกปัดสีต่าง ๆ และทองเหลืองเป็นเครื่องประดับ ชาวชองมีถิ่นฐานดั้งเดิมอาศัยอยู่ตามป่าเขาและที่ราบที่เป็นป่า ระหว่างหุบเขาในภาคตะวันออกของประเทศ คือ ในท้องถิ่นจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี และเลยเข้าไปในประเทศกัมพูชา สาหรับชาวชองที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ปัจจุบันนี้ ตามกฎหมายยอมรับว่าเป็นคนไทย เชื้อชาติไทย และสัญชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ แต่ขณะเดียวกันชาวชองก็มีวัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณีบางอย่างที่เป็นชองอยู่ ปัจจุบันแทบไม่มีชนเผ่าชองเหลืออยู่ในท้องที่จังหวัดระยองแล้ว ไปมีหลงเหลืออยู่ตามแถมป่าเขาในเขตจังหวัดจันทบุรี เพราะชนเผ่านี้ไม่ชอบอยู่ย่านชุมชนที่มีผู้คนอยู่กันพลุกพล่าน เมื่อบ้านเมืองเจริญพัฒนาเข้าสู่สมัยใหม่ พวกเขาก็ไม่อาจทนอยู่อีกต่อไปได้ ต้องอพยพถอยร่นบ่ายหน้าหันเข้าป่าอยู่เรื่อยไป จนแทบหมดสิ้นเผ่าที่เคยอาศัยอยู่ในถิ่นนี้มาก่อนเก่า ที่มาของคาว่าระยอง คาว่า “ ระยอง ”ไม่มีปรากฏคาอธิบายอยู่ในพจนานุกรม เช่นเดียวกันกับชื่อบ้านนามเมืองในท้องที่ต่าง ๆ ในแถบนี้ อันได้แก่คาว่า แกลง ชะเมาเพเลฯลฯ ล้วนไม่มีคาแปลอยู่ในภาษาไทย สันนิษฐานกันว่าน่าจะเป็นภาษาของชอง ผู้ยึดครองพื้นที่นี้มาแต่ดั้งเดิมและมีภาษาพูดเป็นของตนเองโดยเฉพาะ คาว่า “ ระยอง ”นี้ที่ถูกออกเสียงว่า “ราย็อง ”หรือออกเสียง รา ให้ยาวหน่อยส่วน ย็อง นั้นออกเสียงให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทาได้“ราย็อง ”ภาษาชองแปลว่า “ เขตแดน” หมายถึง เขตแดนหรือดินแดนที่พวกชองได้ตั้งรกรากอยู่แต่ภาษาพูดดังกล่าว เมื่อกาลเวลาผ่านไปก็ได้เพี้ยนกลายมาเป็น“ระยอง ” ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทานองเดียวกันกับชื่อบ้านนามเมืองตามท้องที่ต่างๆ ของเราแต่ก่อน ซึ่งบัดนี้ได้เพี้ยนแปรเปลี่ยนไปจากเดิมปรากฏหลักฐานให้เล่าขานสืบกันมาจนทุกวันนี้ ก็มีมาก เช่น“ แร่นอง ” กลายเป็น“ ระนอง ” “สามแสน ” กลายเป็ น “สามเสน ”“ สามร้อยรอด ”ก็กลายเป็น “ สามร้อยยอด ”เป็นต้น
2.
นางสาวสุพัตรากาวิจันทร์ สาขาการสอนสังคม55040131 อีกนัยหนึ่งกล่าวกันว่า “ ราย็อง
” ในภาษาชองนั้นแปลงว่า “เขตแดน” หรือ “ต้นประดู่ ” เนื่องจากอาณาบริเวณที่ตั้งของตัวเมืองระยองในปัจจุบันอันเป็นถิ่นฐานของพวกชองมาตั้งแต่ดั้งเดิมนั้น เต็มไปด้วยดงไม้ต้นประดู่ขึ้นเป็นป่าหนาแน่นปรากฏอยู่ทั่วไปจนเป็นลักษณะของท้องที่ ด้วยเหตุนี้ ท้องที่นี้จึงได้เรียกชื่อว่า “ ราย็อง ” ครั้นต่อมา เมื่อคนไทยได้เข้ายึดพื้นที่อาณาบริเวณเดียวกันก็ตั้งชื่อตาบลย่านนี้ว่า “ ท่าประดู่ ” ที่บ่งบอกถึงความเป็นดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้น ประดู่อย่างชัดแจ้ง รวมความว่าคาว่า “ ระยอง ”น่าจะมาจากภาษาชองที่แปลว่า ดินแดน หรือต้นประดู่ ป่าประดู่ อันเป็นไม้พื้นเมืองที่ทารายได้ให้แก่ชาวระยองและเมืองระยองเป็นอันมากในสมัยบรรพบุรุษของเรา นอกจากนี้ ยังมีคาบอกเล่าสืบต่อกันมา ทานองตานานของบ้านเมืองนี้ว่า ในสมัยโบราณนานมาแล้วนั้น ได้มี “ ยายยอง” มาตั้งหลักแหล่งทาไร่ ไถนาทามาหากินอยู่ในถิ่นแถบนี้มาก่อน จนชื่อเสียงลือกระฉ่อนเป็นที่รู้จักกันดีโดยทั่วไป จึงเรียกท้องที่บริเวณนี้กันว่า “ ไร่ยายยอง“หรือ“ นายายยอง”แล้วก็เพี้ยนกลายมาเป็น“ ระยอง ”ในที่สุด การสร้างเมือง จากสภาพแวดล้อมและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ทาให้เป็นที่เชื่อได้ว่าเมืองระยองนี้น่าจะได้ตั้งขึ้นแล้วในสมัยพุทธศตวรรษที่๑๖ คือ เมื่อประมาณ ๑,๐๐๐ปีมาแล้ว อันเป็นสมัยที่ขอมกาลังเรืองอานาจครอบครอง (ไทยเรียกกันหลายชื่อเช่นนครหลวง และยโสธร ดูรายละเอียดได้จาก นิราศนครวร พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระยาดารงราชานุภาพ เป็นราชธานีได้แผ่อานุภาพเข้ามาครอบครองถึงอาณาจักรทวาราวดี ( คือดินแดนส่วนใหญ่ที่เป็นภาคกลางของประเทศไทยในปัจจุบัน )แทนที่พวกมอญ โดยขอมได้ตั้งอุปราชเข้ามาปกครองดูแลดินแดนแถบนี้อยู่ที่เมืองลพบุรี ลพบุรีจึงเป็นเมืองสาคัญ เป็นศูนย์บัญชาการสาหรับควบคุมดูแลดินแดนส่วนนี้ในสมัยนั้นในส่วนดินแดนภาคอื่น ๆ ได้แก่ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเราในทุกวันนี้นั้น ขอมได้เข้ามาปกครองโดยตรง เช่น ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือขอมได้สร้างนครพนม เป็นเมืองหน้าด่านแรกมีเมืองพิมายเป็นเมืองอุปราช ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ขอมได้สร้างเมืองจันทบูร( จันทบุรี ) เป็นเมืองหน้าด่านเสมือนปราการด้านตะวันออกเฉียงใต้ของนครธม ด้วยเหตุนี้ จึงได้ปรากฏโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สร้างขึ้นในสมัยลพบุรี กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่บริเวณนี้กว่า ๑๐จังหวัด ที่เป็นอาณาจักรไทยในปัจจุบัน
3.
นางสาวสุพัตรากาวิจันทร์ สาขาการสอนสังคม55040131 เมื่อเมืองจันทบูรเป็นเมืองหน้าด่าน เป็นเมืองสาคัญที่ขอมใช้เป็นศูนย์บัญชาการควบคุมดูแลจากการที่ได้แผ่อานุภาพเข้ามาปกครองดินแดนภาคตะวันออกของป ระเทศไทยเมืองระยองซึ่งตั้งอยู่ใกล้ชิด มีอาณาเขตติดต่อกับจันทบูร อยู่ในเขตที่ขอมจะแผ่แสนยานุภาพ ทั้งทางปกครองและอารยธรรมที่จะนาเข้ามาสู่อาณาจักรทวาราวดีเดิม
จึงเชื่อได้ว่า ระยองจะต้องเป็นเมืองหนึ่งซึ่งขอมได้สร้างขึ้นแต่ครั้งนั้นคูเมืองแนวคันดินที่น่าเป็นเชิงเทินหรือกาแพงเมืองที่ปรากฏอยู่ ซากศิลาแลง ซากโบราณวัตถุเป็นหินสลักรูปต่างๆ ที่พบ ณบ้านดอน อาเภอเมืองระยองและที่บ้านคลองยายล้า ตาบลบ้านค่าย อาเภอบ้านค่าย ทุกวันนี้พอจะเป็นหลักฐานยืนยันถึงความเป็นเมืองเก่าแก่ถึงสมัยขอมลพบุรี มีอายุราวพันปีล่วงมาแล้วของเมืองระยองได้เป็นอย่างดี ระยองเริ่มมีชื่อปรากฏในอัยการตาแหน่งทหารหัวเมือง พ . ศ . ๑๙๙๘รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ระบุเมืองระยองเป็นหัวเมืองชั้นตรีมีเจ้าเมืองตาแหน่งออกพระราชภักดีสงคราม สาหรับการปรากฏชื่อระยองในพงศาวดารเริ่มในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา ( พงศาวดารฉบับ หลวงประเสริฐอักษรนิต์ ระบุ พ . ศ. ๒๑๑๓ฉบับพระราชหัตถเลขาของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ พ . ศ. ๒๑๐๐ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิต์ ช้ากว่า ๑๓ปี )โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ( ๒๔๙๕: ๔๘-๕๑) ทรงอธิบายว่า “ จุลศักราช ๙๑๙ปีมะเส็งนพศกเดือนยี่(พ . ศ . ๒๑๐๐)พระยาละแวกยกช้างมา รี้พลมาทางเมืองนครนายก และไพร่พลพระยาละแวกมาคราวนั้นประมาณ ๓ หมื่นคนกรมการเมืองนครนายกบอกข่าวราชการเข้ามา ณกรุงฯ มุขมนตรีจึงเอาหนังสือบอกขึ้นบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ครั้นตรัสทราบก็ให้ท้าวพระยาหัวเมืองมุขมนตรีทั้งหลายพิพากษาว่า เมื่อพระยาละแวกยกช้างมารี้พลดังนี้ ท้าวพระยาทั้งหลายจะคิดประการใด จึงพระยาเพทราชาผู้เป็นพระยาอินทรานครบาลทูล ว่า กรุงเทพมหานครไซร้ พึ่งเป็นอันตรายรี้พลบอบบางยังไม่ได้สมบูรณ์ และทหารซึ่งจะขั้นประจาหน้าที่รอบพระนครนั้นเห็นมิครบหน้าที่ อนึ่ง ปืนใหญ่น้อยสาหรับพระนครนั้นสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีก็ให้เอาไปเป็นอันมาก และปืนซึ่งตั้งซ่องทั้งปวงนั้นเป็นอันน้อยนักทั้งกระสุนดินประสิว ก็ยังมิได้ประมูลไว้สาหรับที่จะกันพระนคร และซึ่งจะตั้งพุ่งรบพุ่งป้องกันพระนครครั้งนี้เห็นเหลือกาลัง ขอเชิญเสด็จขึ้นไปยังเมืองพิษณุโลก ให้พ้นราชศัตรูก่อนท้าวประยาพระหัวเมืองมุขทั้งหลายก็ลงเป็นคาเดียวด้วย พระยาเพทราชา สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ตรัสบัญชาตามท้าวพระยาทั้งหลาย จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งแก่ขุนเทพอรชุน ให้แต่งเรือพระที่นั่งและเรือประเทียบทั้งปวงให้สรรพ ในขณะนั้นพระเพชรรัตน์เจ้าเมืองเพชรบูรณ์มีความผิด ( พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของปริติชชมิวเซียมว่า เจ้าเมืองเพชรบุรี)ทรงพระกรุณาให้ยกออกเสียจากที่ พระเพชรรัตน์ ก็คิดเป็นกบฏและซ่องสุมชาวนอกทั้งปวงได้มากแล้ว คิดจะปล้นทัพหลวง เมื่อจะเสด็จขึ้นไปนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสถามขุนเทพอรชุนด้วยเรือพระที่นั่งทั้งปวงแล้วตรัสถามว่า พระยาละแวกยกมาคราวนี้มิได้เป็นศึกใหญ่ ของทรงพระกรุณาเสด็จอยู่และให้รบพุ่งป้องกันพระนคร ให้รู้จักกาลังศึกก่อน ครั้นจะด่วนละพระนครเสียไซร้พระเจ้าหงสาวดีจะตรัสติเตียนได้ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสเห็นชอบด้วยก็มีพระราชโองการตรัสสั่งขุนเทพอรชุน ให้เตรียมเรือพระที่นั่งและตรวจจัดพลสาหรับเรือพระที่นั่งไว้ให้สรรพ
4.
นางสาวสุพัตรากาวิจันทร์ สาขาการสอนสังคม55040131 ฝ่ายพระยาละแวกก็ยกทัพมาถึงกรุงพระนครศรีอยุธยา และให้จัดตั้งทัพตาบลบ้านกระทุ่ม ขณะนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ตรัสให้เมืองนครพรหมและพลชาวหงสาวดีสามพันอยู่ประจาหน้าที่ในชื่อหน้า แล้วให้ท้าวพระยาพระหัวเมืองทั้งหลายตรวจจัดพลทหารขึ้นประจาหร้า ที่กาแพงและรายกันอยู่รอบ
ๆ พระนคร พระยาละแวกยกพลขึ้นมายืนช่างในวัดสามพิหารและพลข้าศึกรายกันมาถึงวัดโรงฆ้องและวัดกุฎีทอง แล้วเอาช้างยืนในวัดพระเมรุราชิการามประมาณสามสิบช้างพลประมาณสี่พัน พระยาละแวกให้พลทหารลงเรือห้าลาข้ามมาปล้นในมุมเจ้าสนุก สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จไปยืนพระราชยานและให้พลทหารขึ้นรบพุ่งข้าศึกก็พ่ายออกไป จึงตรัสให้ยิงปืนจ่ารงค์เอาช้างข้าศึก ซึ่งยืนอยู่ในวัดสามพิหารนั้นต้องพระจาปาธิราชซึ่งเป็นกองหน้าตายกับคอช้าง พระยาละแวกก็ล่าทัพกลับไป จึงกวาดเอาครัวตาบลบ้านนาและเมืองนครนายกไปเมืองละแวก จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์แสดงว่า ระยองเป็นเมืองหนึ่งที่ต้องถูกเขมรถือโอกาสเข้ามารุกรานย่ายีในครั้งนั้น หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ ๑ เพียงปีเดียว และชาวระยองได้สูญเสียผู้คนพลเมืองญาติพี่น้องต้องตกเป็นเชลยให้เขมรกวาดต้อนเอาไปเป็นจานวนมิใช่น้อย อ้างอิง http://www.m- culture.go.th/rayong/index.php/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%84 %E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89- 3/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2 %E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89- %E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94/it em/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B 2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-1- %E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%95% E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87- copy-4 http://maridaohugkem.blogspot.com/
5.
นางสาวสุพัตรากาวิจันทร์ สาขาการสอนสังคม55040131 http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0% B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8% AD%E0%B8%87
Download