ݺߣ

ݺߣShare a Scribd company logo
วิธีสอȨึϸการใช้มิติสัมพันธ์
ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Ability)
หมายถึง ความสามารถในการรับรู้ตาแหน่งของสิ่งต่างๆเมื่อ
เทียบกับตาแหน่งหรือจุดอ้างอิงจุดใดจุดหนึ่ง เช่น หากใช้ตัวเด็กเป็นหลัก
สิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กก็จะมีตาแหน่ง หน้า หลัง บน ล่าง ซ้าย ขวา คนที่มี
ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์จะมีความสามารถในการมองเห็น
ความสัมพันธ์ของมิติต่างๆรวมทั้งถ่ายทอดออกมาให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจ
ได้
ครูจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กมีความสามารถด้านมิติ
สัมพันธ์อย่างไร?
การจัดประสบการณ์หรือกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติ
สัมพันธ์ให้กับเด็กปฐมวัย เป็นกิจกรรมที่เด็กได้ปฏิบัติและกระทาด้วยตัวเอง
ผ่านการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัว
ตามตารางกิจกรรมประจาวันสาหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
ครูใช้เพลงบรรเลงให้เคลื่อนไหวพื้นฐานตามจังหวะเพื่อให้เด็กเรียนรู้
ทิศทางการเคลื่อนไหว เช่น การเคลื่อนไหวไปกับลูกบอล ริบบิ้นผ้า ลูกโป่ง
กระดาษหนังสือพิมพ์เป็นต้น นอกจากนี้อาจให้เด็กเคลื่อนร่างกายโดยใช้ท่าทาง
โยคะที่เหมาะสมกับเด็ก เช่น ท่าภูเขา ท่าต้นไม้ท่าตั๊กแตน ท่างู เป็นต้น การ
เคลื่อนไหวจะทาให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดตัวเองกับพื้นที่ทั้งในแนวระนาบ
และแนวดิ่ง การรักษาระยะห่างระหว่างตัวเองกับผู้อื่นขณะเคลื่อนไหว
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
กิจกรรมที่เน้นให้เด็กเรียนรู้ความคิดรวบยอดจากหัวเรื่องหรือหน่วยการเรียนรู้ใน
แต่ละสัปดาห์ ทั้งนี้ครูจะเป็นผู้ใช้คาถามให้เด็กได้พัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์จาก
การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในแต่ละวันการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารก็เป็นอีก
หนึ่งกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กมีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ได้เช่นเดียวกัน การเรียนรู้
เกี่ยวกับ ตาแหน่ง ทิศทางและระยะจะเกิดขึ้นจากการให้เด็กบอกว่ากล้วยน้าว้าอยู่ในตาแหน่ง
ใดเมื่อเทียบกับจาน การให้เด็กหั่นกล้วยออกเป็นท่อนและลองให้นามารวมกันใหม่จะเป็น
การเรียนรู้มิติสัมพันธ์ด้านการแยกออกจากกันและการรวมเข้าด้วยกัน เป็นต้น
กิจกรรมสร้างสรรค์
เป็นกิจกรรมที่ให้โอกาสเด็กในการถ่ายทอดความคิดและจินตนาการผ่าน
ผลงานศิลปะต่างๆ ซึ่งสามารถพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ให้กับเด็กได้ เช่น
การวาดภาพระบายสี ให้เด็กได้ลองวาดภาพจากมุมมองที่ต่างกัน เด็กจะได้มี
ประสบการณ์การมองในทิศทางต่างๆ เช่น มองจากด้านบนลงมา มองจากด้านล่างย้อน
ขึ้นไป มองจากด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง
งานปั้นงานประดิษฐ์ การให้เด็กทางานปั้น เช่น ปั้นแป้งโด ปั้นดินเหนียว ปั้น
ดินนามัน ก็จะทาให้เด็กเรียนรู้ที่จะสร้างสรรค์งานที่มีลักษณะเป็นสามมิติจากความคิด
กิจกรรมเสรี
เป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ให้กับ
เด็ก เช่น การเล่นบล็อก ตัวต่อและภาพตัดต่อ การเล่นบล็อก ตัวต่อต่างๆจะ
ช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับการเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นที่ การจัดวาง การกะระยะ สร้าง
สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากความคิด เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรง ความ
พอเหมาะพอดีที่จะจัดวางบล็อกแต่ละชิ้นเพื่อมาประกอบกันให้เป็นไปตาม
ต้องการ
กิจกรรมกลางแจ้ง
เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับตาแหน่งนอก ในจากการเล่นเกมเสือกินวัว
เกมกระรอกเข้าโพรง เกมกาฟักไข่ เด็กจะได้เรียนรู้ตาแหน่งบน ล่างจาก
การเล่นเกมขี่ม้าส่งเมือง เรียนรู้ระยะใกล้ไกลจากเกมการโยนลูกบอลลง
ตะกร้า เกมการวิ่งเก็บของใส่ลงในตะกร้า เด็กได้เรียนรู้ตาแหน่งซ้าย ขวา
จากการยืนเข้าแถวเตรียมเล่นเกม เรียนรู้ข้างใน ข้างนอกจากการเล่นลอด
ปล่องหรือเครื่องเล่นสนาม
เกมการศึกษา
การใช้เหตุผลที่เกี่ยวเนื่องกับการหาความสัมพันธ์ของพื้นที่ การ
หาความสัมพันธ์ของสี รูปทรง สิ่งของกับทิศทางต่างๆ เช่น เกมหา
ความสัมพันธ์ของภาพที่สัมพันธ์กับภาพแรก เกมจับคู่ต่างๆ เช่น จับคู่
ภาพกับเงา จับคู่ภาพกับโครงร่าง จับคู่ภาพสัตว์กับอวัยวะที่หายไป จับคู่
ภาพที่มีทิศทางเดียวกับภาพแรก เกมภาพตัดต่อต่างๆตามหน่วย
ประสบการณ์ เกมพื้นฐานการบวก เกมโดมิโน เกมลอดโต ฯลฯ
โม๶ึϸการศึกษา
แหล่งอ้างอิง
http://taamkru.com/th/%E0%B8%84%E0%B8%A7
%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B
8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%94%E
0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B
4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B
8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E
0%B9%8C/

More Related Content

วิธีสอȨึϸการใช้มิติสัมพันธ์