ݺߣ

ݺߣShare a Scribd company logo
๑
มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ โดย ศ. นพ. ประเวศ วะสี
มศว.- นครนายกโมเดล
ตามแนวทาง ๑ มหาวิทยาลัย / ๑ จังหวัด
(๗ ธันวาคม ๒๕๖๗)
ประเวศ วะสี
ผู้ยกร่าง
๒
๑.
Think Globally, Act Locally
สังคมสมัยใหม่เป็นสังคมที่เชื่อมโยงกันหมดทั้งโลก เป็นระบบซับซ้อน (Complexity system)
มีผลถึงกันหมด ฉะนั้น แม้เราจะทำการพัฒนาที่ประเทศไทยควรต้องรู้เห็นโลกตามความเป็นจริงแบบที่
เรียกกันว่า “Think globally, Act locally” หรือ “ตาดูดาว เท้าติดดิน”
ฉะนั้น มศว. ควรมี Global Leadership Forum โดยจัดประชุมเรื่องนี้เป็นประจำโดยนายก
สภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีเข้าร่วมด้วยทุกครั้ง นายกสภามหาวิทยาลัย (ดร.ชุมพล พรประภา) ได้
กล่าวว่าจะบริจาคเงินเพื่อการนี้ ๒ ล้านบาท
ควรเริ่มต้นโดยอ่านหนังสือ ๔ เล่ม คือ
๑) The Consciousness Revolution ว่าด้วยวิกฤตอารยธรรมตะวันตก โดย Ervin Laszlo
๒) The Spirit Level โดยนักระบาดวิทยาชาวอังกฤษ ๒ คน คือ Richard G. Wilkinson and Kate
Pickett ว่าด้วยเรื่องความเหลื่อมล้ำในรายได้ของประเทศที่พัฒนาแล้ว กับปัญหาทางสังคมที่
แสดงให้เห็นสัมพันธภาพเกือบเป็นเส้นตรง
๓) The Price of Inequity โดย Joseph E. Stiglitz กล่าวถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างสุด ๆ ใน
สหรัฐอเมริกาและปัญหาที่ตามมา
๓
๔
๔) The Capital in the 21st Century โดย Thomas Piketty นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่
ทำการศึกษาโดยข้อมูลย้อนหลังไป ๓๐๐ ปี
นอกจากนี้ยังมีหนังสืออื่น ๆ อีกมากที่ว่าด้วยความเป็นไปของโลกที่ Global Leadership
Forum ควรนำมาว่ากันให้เห็นทั้งหมด
๕
๒.
Complete well-being of mankind around the world
อุดมการณ์สูงสุดขององค์กรมนุษยธรรมทั่วโลก
Complete well-being หรือชุมชนที่สมบูรณ์ ทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ
(Spiritual) ของคนทั้งหมด คือ วัตถุประสงค์ของการพัฒนา มหาวิทยาลัยพัฒนาโดยเอาเทคนิคหรือ
วิชาการเป็นตัวตั้งที่เรียกว่า Technic-driven จึงได้ผลนี้ ในที่นี้จะเอาระบบ system science เป็นตัว
ตั้ง คนทั้งหมดหมายถึงคนในจังหวัดนครนายก
๖
๓.
นครนายก
นครนายกประกอบด้วย ๔ อำเภอ คือ
• อำเภอเมืองนครนายก
• อำเภอปากพลี
• อำเภอบ้านนา
• อำเภอองค์รักษ์
จังหวัดนครนายก มี ๔๐ ตำบล ๔๐๘ หมู่บ้าน มีโรงเรียนทั้งหมด ๑๖๕ โรงเรียน วัดทั้งหมด
๑๙๖ วัด*
*
th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดนครนายก
๗
๔.
กุญแจสู่อนาคต
สังคมไม่มีตัวอย่างระบบที่ดีที่สุด แต่ธรรมชาติมี ตัวอย่างระบบที่วิจิตรที่สุดในจักรวาลที่
ธรรมชาติสร้างขึ้นมา คือ ระบบร่างกายมนุษย์ ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นล้าน ๆ เซลล์ แตกต่าง
หลากหลายสุดประมาณ ตั้งแต่เซลล์หัวแม่เท้าจนถึงเซลล์สมอง
แต่ท่ามกลางความหลากหลายและสุดประมาณเช่นนี้ ทั้งหมดบูรณาการกันอย่างสมบูรณ์เป็น
องค์รวม คือ ชีวิตมนุษย์เมื่อมีบูรณาการก็มีดุลยภาพ
ดุลยภาพ คือความสมดุล คือความสงบ ความเป็นปรกติสุขและความยั่งยืน ความเจ็บป่วยทุก
ชนิดคือการเสียสมดุล
เซลล์มะเร็งสูญเสียสำนึกแห่งองค์รวม มันทำตัวแยกส่วนเป็นเอกเทศไม่คำนึงถึงระบบร่างกาย
จึงทำให้เสียสมดุลป่วยและชีวิตไม่ยั่งยืน
การคิดแบบแยกส่วนทำแบบแยกส่วน ทำให้ประเทศไทยและโลกเสียสมดุล ป่วยคล้ายเป็น
โรคมะเร็งและไม่ยั่งยืน เพราะฉะนั้น กุญแจสู่อนาคต คือ การคิดและทำอย่างบูรณาการ
๘
๕.
การพัฒนาอย่างบูรณาการต้องเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง
เอาบุคคลหรือวิชาชีพหรือหน่วยงานเป็นตัวตั้งไม่ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้แยกส่วนเป็นเรื่อง ๆ
ประเทศไทยพัฒนาโดยเอากรมเป็นตัวตั้ง เช่น กรมข้าว กรมน้ำ กรมดิน ฯลฯ ประเทศจึงเสียสมดุลและ
ป่วยประดุจเป็นมะเร็ง ดังกล่าวแล้ว
พื้นที่ หมายถึง หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด
๙
๖.
เซลล์ทางสังคมคือชุมชน
ร่างกายของเราทุกคนมาจากเซลล์เซลล์เดียว คือไข่ของแม่ที่ผสมกับสเปิร์มของพ่อ เซลล์เซลล์
เดียวต้องถูกต้องทุกประการ จึงจะแบ่งตัวและวิวัฒนาการต่อไปเป็นระบบที่ซับซ้อนและวิจิตรได้ ไม่มี
ใครสามารถเสกมนุษย์ขึ้นมาเป็นระบบที่วิจิตรอย่างทันทีทันใดได้ แต่ต้องผ่านหน่วยย่อยพื้นฐานคือเซลล์
หน่วยย่อยพื้นฐานของสังคม คือ ชุมชนขนาดเล็กมีประชากรประมาณ ๕๐๐ - ๑,๐๐๐ คน = ๑
หมู่บ้าน ชุมชนขนาดเล็กที่มีความถูกต้องทุกประการสามารถทำให้เป็นจริงได้ คือที่เรียกว่าชุมชน
เข้มแข็ง ที่ทุกคนมีส่วนร่วมโดยตรงเป็นประชาธิปไตยทางตรงไม่ผ่านการซื้อเสียงขายเสียง
ประชาธิปไตยชุมชนจึงมีคุณภาพสูงกว่าประชาธิปไตยระดับอื่น
สภาผู้นำชุมชน เป็นองค์กรจัดการซึ่งประกอบด้วยผู้นำตามธรรมชาติ ในชุมชนหนึ่งซึ่งมีอยู่
ประมาณ ๔๐ - ๕๐คน
สภาผู้นำชุมชน จัดการกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง ๗ ขั้นตอน†
ทำให้ชุมชนมีการพัฒนาอย่างบูรณาการ ๘ มิติ คือ
เศรษฐกิจ – จิตใจ – สังคม – สิ่งแวดล้อม –
วัฒนธรรม – สุขภาพ – การศึกษา -ประชาธิปไตย
ทั้ง ๘ บูรณาการอยู่ในกันและกัน โดยมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่เป็นจุดคานงัด ชุมชนเข้มแข็งเป็น
ระบบการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล มีความสงบสุขหรือสุขภาวะมีภูมิคุ้มกัน
†
การทำงานพัฒนาแบบบูรณาการ ๘ มิติ เพื่อส่งเสริมชุมชนเข้มแข็งร่วมสร้างประเทศไทยเข้มแข็ง โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
๑๐
สังคมไม่ควรเป็นแบบตัวใครตัวมันเช่นทุกวันนี้ ปัจเจกบุคคลไม่มีพลังที่จะเอาชนะภยันตราย
ต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบได้
กระบวนการชุมชนเข้มแข็งเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศ ชุมชนเป็นฐานของประเทศที่จะ
รองรับสังคมทั้งหมดให้มั่นคง
๑๑
๗.
โครงสร้างการทำงานในพื้นที่
รูปที่ ๑ สรุปโครงสร้างในพื้นที่
ศูนย์วิจัยและพัฒนาพื้นที่ของมศว.
มหาวิทยาลัยควรมีศูนย์วิจัยและพัฒนาพื้นที่ (ศวพ.) อำเภอละ ๑ แห่ง อาจตั้งอยู่กับ
โรงพยาบาลชุมชนก็ได้ โรงพยาบาลชุมชนมีอยู่ในทุกอำเภอเป็นสถาบันฐานแผ่นดินไทย ถ้าร่วมมือกัน
จะเป็นสถาบันฐานแผ่นดินไทยที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น
ในจังหวัดนครนายกมีเพียง ๔ อำเภอ เท่านั้น มศว.จัดให้มีศูนย์วิจัยและพัฒนาพื้นที่อำเภอ
(ศวพพ.) อำเภอละ ๑ แห่ง แต่ละแห่งประกอบด้วย อาจารย์และนักวิชาการ ๑๐ - ๒๐ คน กับ
นักศึกษาอีกประมาณ ๕๐ คน
อาจารย์และนักศึกษา
๑. ร่วมเรียนรู้และพัฒนาชุมชนเข้มแข็งในทุกชุมชน
๑ ตาบล
๑, ชุมชน
๑ อาเภอ อ
ต
ช ช ช ช ช ช ช ช ช
ต ต ต ต
องค์กรอาเภอ
อบต./เทศบาลตาบล
สภาผู้นาชุมชน
องค์กรชุมชน
๑๒
๒. ร่วมมือกับอบต./เทศบาลตำบลในระดับตำบล เพื่อส่งเสริมชุมชนเข้มแข็ง
๓. ร่วมกับองค์กรอำเภอส่งเสริมตำบลเข้มแข็ง
มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ (พชอ.) พชอ. คือ
เครือข่ายการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ประกอบด้วยผู้ร่วมพัฒนาจากทุกฝ่ายโดยมีนายอำเภอ
เป็นประธาน
มศว.ควรสนับสนุนนายอำเภอในการสร้างเครือข่ายการพัฒนาอย่างบูรณาการเต็มพื้นที่อำเภอ
เช่น ส่งเสริม เครือข่ายครูเพื่อการพัฒนาอำเภอ...
เครือข่ายพระสงฆ์เพื่อการพัฒนาอำเภอ...
เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อการพัฒนาอำเภอ...
อาจรวมตัวกันจัดตั้งมูลนิธิเพื่อการพัฒนาอำเภอ...
องค์กรนักธุรกิจในอำเภอจะมีพลังมาก ถ้านำมาร่วมกันพัฒนาพื้นที่อย่างบูรณาการ ประเทศ
ไทยมีประมาณ ๘๐๐ อำเภอ เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อพัฒนาอำเภอที่จะเกิดขึ้น ๘๐๐ แห่งทั่วประเทศ จะ
เป็นพลังในการพัฒนาประเทศอย่างมหาศาล
มหาวิทยาลัยมีความรู้สาขาต่าง ๆ มาก เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่ ขณะเดียวกันอาจารย์
และนักศึกษาที่ลงไปทำงานในพื้นที่จะรู้ความจริงของแผ่นดินไทย ทำให้สามารถสร้างความรู้ที่ตรงต่อ
ความต้องการของพื้นที่ได้
๑๓
๘.
สถาบันการเงินของชุมชนระดับตำบล
ระบบการเงินสากลไม่เป็นเครื่องมือของคน แต่เป็นปัจจัยแห่งความเหลื่อมล้ำ ชุมชนควรมี
ระบบการเงินของชุมชนที่ชาวบ้านจัดการ การออม การกู้ยืม และการทำประโยชน์ ที่ผ่านมาสถาบัน
การเงินของชุมชนระดับตำบลที่ประสบความสำเร็จมีเงินหมุนเวียนหลายร้อยล้านบาท ก็มีสถาบัน
การเงินของชุมชนเป็นเครื่องมือเชิงสถาบันที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้นมาก มหาวิทยาลัยควรช่วยให้ชุมชน
มีเครื่องมือเชิงสถาบันอื่น ๆ
๑๔
๙.
พลังงานชุมชน
รศ.ดร.บุญยัง ปลั่งกลาง แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรีทำปริญญา
เอกเรื่องพลังงานจากมหาวิทยาลัยในเยอรมนีเล่าให้ฟังว่า ที่เยอรมนีชุมชนสามารถผลิตพลังงานขึ้นใช้
เองเหลือขายให้ส่วนกลางก็ได้
ที่มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี ผมเคยพบเครือข่ายวิศวกรพลังงานชุมชน เขาว่าพวกเขามี
ประมาณ ๒๐๐ คน สามารถตะลุยช่วยชุมชนสร้างพลังงาน โดยทำให้สิ่งแวดล้อมสะอาดขึ้นด้วยและ
เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วย มศว.ควรติดต่อให้มาทำงานสร้างพลังงานชุมชนที่นครนายก อนึ่งมีผู้
บอกว่าระบบการเงินชุมชนของเขาเข้มแข็งมาก
มหาวิทยาลัยจึงควรศึกษาวิจัยทั่วโลก ว่ามีอะไรดี ๆ ที่มหาวิทยาลัยจะส่งเสริมให้ชุมชน
เข้มแข็งขึ้น
เพราะฉะนั้น มศว.-นครนายก ซึ่งมิใช่ภาพนิ่งจะดีขึ้นเรื่อย ๆ ถ้ามศว.เรียนรู้ของใหม่และ
ส่งเสริมนครนายกได้มากขึ้น ๆ สมเป็นโมเดล หรือนครหลวงแห่งคนทำงานรวมกัน ๑ มหาวิทยาลัย /
๑ จังหวัด
๑๕
๑ .
การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ
กับการเกิดขึ้นของมหาวิชชาลัยอำเภอ
ควรสังเกตกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง ๗ ขั้นตอนให้ดี ๆ นี่คือกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการ
ปฏิบัติในสถานการณ์จริง หรือ PILA (Participatory Interactive Learning to Action) ซึ่งเป็น
กระบวนการเรียนรู้ที่ดีที่สุดที่ยิ่งทำ
• ยิ่งรักกันมากขึ้นเพราะมีความเสมอภาค ภราดรภาพ และสามัคคีธรรม
• ยิ่งเชื่อถือไว้วางใจกันมากขึ้น
• ยิ่งฉลาด และฉลาดร่วมกัน การเรียนรู้เรื่องที่ซับซ้อนถ้าเรียนคนเดียวจะยาก ดูเหมือนเป็น
คนโง่ แต่ถ้าเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติจะง่ายและสนุก
• เกิดปัญญาร่วม (Collective wisdom) นวัตกรรมและอัจฉริยภาพกลุ่ม (Group genius)
• ทั้งหมดทำให้เกิดพลังมหาศาล ฟันฝ่าอุปสรรคทุกชนิดไปสู่ความสุข
• มีผลให้เกิดความสุขร่วมกันประดุจบรรลุนิพพาน
การพ้นทุกข์ร่วมกันเป็นไปได้
การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติเป็น Transformation Learning ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ในโลกทัศน์วิธีคิดและจิตสำนึก
เมื่อมีการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติของคนทั้งอำเภอ พื้นที่อำเภอก็กลายเป็นมหาวิทยาลัยใน
รูปใหม่ ต่างจากมหาวิทยาลัยในรูปเก่าที่สร้างความรู้ (วิทยา) แต่มหาวิทยาลัยในรูปใหม่แห่งการเรียนรู้
ร่วมกันในการปฏิบัติทำให้เกิดปัญญา ปัญญาใหญ่กว่าความรู้ทางพระเรียกว่า “วิชชา” (ช.ช้าง ๒ ตัว)
๑๖
พระเจ้าอยู่หัว ร.๙ ทรงเป็นบุคคลแรกที่ใช้คำว่า “มหาวิชชาลัย” ในพระราชนิพนธ์เรื่องพระ
มหาชนก อาจทรงคิดว่ามีมหาวิทยาลัยอย่างเดียวไม่พอต้องการมหาวิชชาลัย
๑๗
เนื่องจากการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติของคนทั้งอำเภอหรือสุขภาวะที่สมบูรณ์ เป็น
กระบวนการทางปัญญาอย่างหนึ่ง จึงควรเรียกพื้นที่อำเภอว่ามหาวิชชาลัยอำเภอ ถ้าทำอย่างเดียวกัน
ในทุกจังหวัดทุกอำเภอจะเกิดมหาวิชชาลัยอำเภอขึ้น ๘๐๐ แห่ง ทำให้ประเทศทั้งประเทศกลายเป็น
สังคมอุดมปัญญาและสังคมอุดมสุข
หน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม คือ สร้างสังคมอุดม
ปัญญา สามารถทำได้โดยนโยบาย ๑ มหาวิทยาลัย / ๑ จังหวัด
๑๘
๑๑.
กลไกการทำงานของมหาวิทยาลัย
ตั้งฝ่ายวิจัยและพัฒนาพื้นที่
เป็นฝ่ายตั้งขึ้นใหม่มีรองอธิการบดีคนหนึ่งเป็นผู้นำและผู้ช่วยอธิการบดีจำนวนหนึ่ง ซึ่งคล่องใน
การจัดการเชิงยุทธศาสตร์
สร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาพื้นที่อำเภอละ ๑ แห่ง โดยอาจอยู่ที่โรงพยาบาลอำเภอ โรงพยาบาล
อำเภอหรือโรงพยาบาลชุมชนเป็นสถาบันฐานแผ่นดินไทยอยู่แล้ว ถ้าร่วมกันกับศูนย์วิจัยและพัฒนา
พื้นที่ของมหาวิทยาลัยด้วยจะทำให้มีกำลังยิ่งขึ้น การพัฒนาพื้นที่อย่างบูรณาการทั่วทุกอำเภอ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ควรตั้งกองทุนหรืองบประมาณ
สนับสนุนมหาวิทยาลัยในนโยบาย ๑ มหาวิทยาลัย /๑ จังหวัด
๑๙
๑๒.
ชุมชนเมือง
สถานการณ์ของคนจนเมืองเลวร้ายกว่าคนจนในชนบท ชุมชนเมืองก็สร้างยากกว่าชุมชนชนบท
เพราะผู้คนมีที่มาแตกต่างกันพอพ้นประตูบ้านก็ไม่รู้จักกันแล้ว เขาไม่มีเวลามาจัดระบบการอยู่ร่วมกัน
แต่คณาจารย์และนักศึกษามีเวลามากกว่า ต้องลงไปช่วยเหลือหาวิธีสร้างชุมชนเข้มแข็งในเขตเมือง ถือ
เป็นการวิจัยที่สำคัญ
ปัญหาของผู้ใช้แรงงาน ผู้ใช้แรงงานที่ยากจนมีจำนวนมากแต่ขาดการจัดการ ที่พระประแดงมี
ผู้ใช้แรงงานกลุ่มหนึ่งจัดตั้งกองทุนออมเงินได้หลายสิบล้านบาท ผู้จัดการกองทุนผู้ใช้แรงงานที่มาร่วม
ประชุมกันเขาใช้คำว่า “มันเป็นโอกาสของคนจน”
มหาวิทยาลัยเป็นโอกาสของคนจน เรียนรู้และลงมือทำงานข้างคนจน และจัดตั้งองค์กรสร้าง
เครื่องมือเชิงสถาบันให้ได้
๒๐
๑๓.
สถาบันฐานแผ่นดินไทย
ความแข็งแรงทางวิชาการ
ปี ๒๕๖๗ กระบวนการแพทย์ชนบทได้รับรางวัลแมกไซไซ เป็นผลงานสะสมยาวนานประมาณ
๕๐ ปี เราเรียกว่าเป็น Long March for the Poor และเป็นการทำงานจากชุมชนสู่นโยบาย From
community to policy
โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) หรือโรงพยาบาลอำเภอ ซึ่งมีครบทั้ง ๘๐๐ อำเภอ เป็นฐานของ
แพทย์ชนบทที่เรียนรู้ให้รู้ความจริงของแผ่นดินไทย เมื่อรู้ความจริงของแผ่นดินก็เคลื่อนไปทำนโยบาย
ดี ๆ ได้ เช่น การเกิดขึ้นของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงาน
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
มหาวิทยาลัยมีทั้งหมดประมาณ ๑๔๐ แห่ง มีบทบาทด้านนโยบายน้อยมาก เพราะลอยตัวอยู่
ข้างบนไม่รู้ความจริงของแผ่นดิน
ฉะนั้น แนวทาง ๑ มหาวิทยาลัย / ๑ จังหวัด จะทำให้มหาวิทยาลัยไปสัมผัสกับแผ่นดินไทย
เกิดความแข็งแกร่งทางวิชาการและนโยบาย การเคลื่อนทางวิชาการจะเปลี่ยนจากการลอยตัวอยู่ใน
นภาอากาศมาเป็นจากดินสู่ฟ้าจากฟ้าสู่ดิน
๒๑
ก วิชาการเคลื่อนไหวอยู่ในนภากาศ ข จากดินคือความจริงของแผ่นดินสู่ า
หมายถึงการสังเคราะห์ให้เกิดปัญญา
แล้วเอาไปปฏิบัติให้ดีขึ้น เรียกว่า
จาก าสู่ดิน
๒๒
เพราะฉะนั้นถ้ามหาวิทยาลัยมีศูนย์วิจัยและพัฒนาพื้นที่ระดับอำเภอ และไปทำงานร่วมกัน
เรื่องโรงพยาบาลชุมชนซึ่งเป็นสถาบันฐานแผ่นดินไทยอยู่แล้ว จะรวมกำลังกันเป็นสถาบันทางวิชาการ
ที่แข็งแกร่งที่รู้ความจริงของแผ่นดินไทย จะทำให้ทำอะไรที่ดี ๆ ต่อไปอย่างใดก็ได้ทั้งสิ้น อาจเรียกว่า
เป็น “หัวกะทิทางปัญญา พาชาติออกจากวิกฤต”
การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติเต็มพื้นที่ อันเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและปัญญาที่
เกิดจากการเรียนรู้ร่วมกัน จะเปลี่ยนสังคมนิยมอำนาจเป็นสังคมอุดมปัญญาอันไม่มีใครสามารถทำลาย
ได้อีกต่อไป
671221, university engagement, มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่, ประเวศ วะสี, มศว., นครนายก

More Related Content

มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ โดย ศ. นพ. ประเวศ วะสี

  • 1. ๑ มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ โดย ศ. นพ. ประเวศ วะสี มศว.- นครนายกโมเดล ตามแนวทาง ๑ มหาวิทยาลัย / ๑ จังหวัด (๗ ธันวาคม ๒๕๖๗) ประเวศ วะสี ผู้ยกร่าง
  • 2. ๒ ๑. Think Globally, Act Locally สังคมสมัยใหม่เป็นสังคมที่เชื่อมโยงกันหมดทั้งโลก เป็นระบบซับซ้อน (Complexity system) มีผลถึงกันหมด ฉะนั้น แม้เราจะทำการพัฒนาที่ประเทศไทยควรต้องรู้เห็นโลกตามความเป็นจริงแบบที่ เรียกกันว่า “Think globally, Act locally” หรือ “ตาดูดาว เท้าติดดิน” ฉะนั้น มศว. ควรมี Global Leadership Forum โดยจัดประชุมเรื่องนี้เป็นประจำโดยนายก สภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีเข้าร่วมด้วยทุกครั้ง นายกสภามหาวิทยาลัย (ดร.ชุมพล พรประภา) ได้ กล่าวว่าจะบริจาคเงินเพื่อการนี้ ๒ ล้านบาท ควรเริ่มต้นโดยอ่านหนังสือ ๔ เล่ม คือ ๑) The Consciousness Revolution ว่าด้วยวิกฤตอารยธรรมตะวันตก โดย Ervin Laszlo ๒) The Spirit Level โดยนักระบาดวิทยาชาวอังกฤษ ๒ คน คือ Richard G. Wilkinson and Kate Pickett ว่าด้วยเรื่องความเหลื่อมล้ำในรายได้ของประเทศที่พัฒนาแล้ว กับปัญหาทางสังคมที่ แสดงให้เห็นสัมพันธภาพเกือบเป็นเส้นตรง ๓) The Price of Inequity โดย Joseph E. Stiglitz กล่าวถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างสุด ๆ ใน สหรัฐอเมริกาและปัญหาที่ตามมา
  • 3.
  • 4. ๔ ๔) The Capital in the 21st Century โดย Thomas Piketty นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่ ทำการศึกษาโดยข้อมูลย้อนหลังไป ๓๐๐ ปี นอกจากนี้ยังมีหนังสืออื่น ๆ อีกมากที่ว่าด้วยความเป็นไปของโลกที่ Global Leadership Forum ควรนำมาว่ากันให้เห็นทั้งหมด
  • 5. ๕ ๒. Complete well-being of mankind around the world อุดมการณ์สูงสุดขององค์กรมนุษยธรรมทั่วโลก Complete well-being หรือชุมชนที่สมบูรณ์ ทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ (Spiritual) ของคนทั้งหมด คือ วัตถุประสงค์ของการพัฒนา มหาวิทยาลัยพัฒนาโดยเอาเทคนิคหรือ วิชาการเป็นตัวตั้งที่เรียกว่า Technic-driven จึงได้ผลนี้ ในที่นี้จะเอาระบบ system science เป็นตัว ตั้ง คนทั้งหมดหมายถึงคนในจังหวัดนครนายก
  • 6. ๖ ๓. นครนายก นครนายกประกอบด้วย ๔ อำเภอ คือ • อำเภอเมืองนครนายก • อำเภอปากพลี • อำเภอบ้านนา • อำเภอองค์รักษ์ จังหวัดนครนายก มี ๔๐ ตำบล ๔๐๘ หมู่บ้าน มีโรงเรียนทั้งหมด ๑๖๕ โรงเรียน วัดทั้งหมด ๑๙๖ วัด* * th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดนครนายก
  • 7. ๗ ๔. กุญแจสู่อนาคต สังคมไม่มีตัวอย่างระบบที่ดีที่สุด แต่ธรรมชาติมี ตัวอย่างระบบที่วิจิตรที่สุดในจักรวาลที่ ธรรมชาติสร้างขึ้นมา คือ ระบบร่างกายมนุษย์ ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นล้าน ๆ เซลล์ แตกต่าง หลากหลายสุดประมาณ ตั้งแต่เซลล์หัวแม่เท้าจนถึงเซลล์สมอง แต่ท่ามกลางความหลากหลายและสุดประมาณเช่นนี้ ทั้งหมดบูรณาการกันอย่างสมบูรณ์เป็น องค์รวม คือ ชีวิตมนุษย์เมื่อมีบูรณาการก็มีดุลยภาพ ดุลยภาพ คือความสมดุล คือความสงบ ความเป็นปรกติสุขและความยั่งยืน ความเจ็บป่วยทุก ชนิดคือการเสียสมดุล เซลล์มะเร็งสูญเสียสำนึกแห่งองค์รวม มันทำตัวแยกส่วนเป็นเอกเทศไม่คำนึงถึงระบบร่างกาย จึงทำให้เสียสมดุลป่วยและชีวิตไม่ยั่งยืน การคิดแบบแยกส่วนทำแบบแยกส่วน ทำให้ประเทศไทยและโลกเสียสมดุล ป่วยคล้ายเป็น โรคมะเร็งและไม่ยั่งยืน เพราะฉะนั้น กุญแจสู่อนาคต คือ การคิดและทำอย่างบูรณาการ
  • 8. ๘ ๕. การพัฒนาอย่างบูรณาการต้องเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง เอาบุคคลหรือวิชาชีพหรือหน่วยงานเป็นตัวตั้งไม่ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้แยกส่วนเป็นเรื่อง ๆ ประเทศไทยพัฒนาโดยเอากรมเป็นตัวตั้ง เช่น กรมข้าว กรมน้ำ กรมดิน ฯลฯ ประเทศจึงเสียสมดุลและ ป่วยประดุจเป็นมะเร็ง ดังกล่าวแล้ว พื้นที่ หมายถึง หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด
  • 9. ๙ ๖. เซลล์ทางสังคมคือชุมชน ร่างกายของเราทุกคนมาจากเซลล์เซลล์เดียว คือไข่ของแม่ที่ผสมกับสเปิร์มของพ่อ เซลล์เซลล์ เดียวต้องถูกต้องทุกประการ จึงจะแบ่งตัวและวิวัฒนาการต่อไปเป็นระบบที่ซับซ้อนและวิจิตรได้ ไม่มี ใครสามารถเสกมนุษย์ขึ้นมาเป็นระบบที่วิจิตรอย่างทันทีทันใดได้ แต่ต้องผ่านหน่วยย่อยพื้นฐานคือเซลล์ หน่วยย่อยพื้นฐานของสังคม คือ ชุมชนขนาดเล็กมีประชากรประมาณ ๕๐๐ - ๑,๐๐๐ คน = ๑ หมู่บ้าน ชุมชนขนาดเล็กที่มีความถูกต้องทุกประการสามารถทำให้เป็นจริงได้ คือที่เรียกว่าชุมชน เข้มแข็ง ที่ทุกคนมีส่วนร่วมโดยตรงเป็นประชาธิปไตยทางตรงไม่ผ่านการซื้อเสียงขายเสียง ประชาธิปไตยชุมชนจึงมีคุณภาพสูงกว่าประชาธิปไตยระดับอื่น สภาผู้นำชุมชน เป็นองค์กรจัดการซึ่งประกอบด้วยผู้นำตามธรรมชาติ ในชุมชนหนึ่งซึ่งมีอยู่ ประมาณ ๔๐ - ๕๐คน สภาผู้นำชุมชน จัดการกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง ๗ ขั้นตอน† ทำให้ชุมชนมีการพัฒนาอย่างบูรณาการ ๘ มิติ คือ เศรษฐกิจ – จิตใจ – สังคม – สิ่งแวดล้อม – วัฒนธรรม – สุขภาพ – การศึกษา -ประชาธิปไตย ทั้ง ๘ บูรณาการอยู่ในกันและกัน โดยมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่เป็นจุดคานงัด ชุมชนเข้มแข็งเป็น ระบบการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล มีความสงบสุขหรือสุขภาวะมีภูมิคุ้มกัน † การทำงานพัฒนาแบบบูรณาการ ๘ มิติ เพื่อส่งเสริมชุมชนเข้มแข็งร่วมสร้างประเทศไทยเข้มแข็ง โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
  • 10. ๑๐ สังคมไม่ควรเป็นแบบตัวใครตัวมันเช่นทุกวันนี้ ปัจเจกบุคคลไม่มีพลังที่จะเอาชนะภยันตราย ต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบได้ กระบวนการชุมชนเข้มแข็งเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศ ชุมชนเป็นฐานของประเทศที่จะ รองรับสังคมทั้งหมดให้มั่นคง
  • 11. ๑๑ ๗. โครงสร้างการทำงานในพื้นที่ รูปที่ ๑ สรุปโครงสร้างในพื้นที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพื้นที่ของมศว. มหาวิทยาลัยควรมีศูนย์วิจัยและพัฒนาพื้นที่ (ศวพ.) อำเภอละ ๑ แห่ง อาจตั้งอยู่กับ โรงพยาบาลชุมชนก็ได้ โรงพยาบาลชุมชนมีอยู่ในทุกอำเภอเป็นสถาบันฐานแผ่นดินไทย ถ้าร่วมมือกัน จะเป็นสถาบันฐานแผ่นดินไทยที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น ในจังหวัดนครนายกมีเพียง ๔ อำเภอ เท่านั้น มศว.จัดให้มีศูนย์วิจัยและพัฒนาพื้นที่อำเภอ (ศวพพ.) อำเภอละ ๑ แห่ง แต่ละแห่งประกอบด้วย อาจารย์และนักวิชาการ ๑๐ - ๒๐ คน กับ นักศึกษาอีกประมาณ ๕๐ คน อาจารย์และนักศึกษา ๑. ร่วมเรียนรู้และพัฒนาชุมชนเข้มแข็งในทุกชุมชน ๑ ตาบล ๑, ชุมชน ๑ อาเภอ อ ต ช ช ช ช ช ช ช ช ช ต ต ต ต องค์กรอาเภอ อบต./เทศบาลตาบล สภาผู้นาชุมชน องค์กรชุมชน
  • 12. ๑๒ ๒. ร่วมมือกับอบต./เทศบาลตำบลในระดับตำบล เพื่อส่งเสริมชุมชนเข้มแข็ง ๓. ร่วมกับองค์กรอำเภอส่งเสริมตำบลเข้มแข็ง มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ (พชอ.) พชอ. คือ เครือข่ายการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ประกอบด้วยผู้ร่วมพัฒนาจากทุกฝ่ายโดยมีนายอำเภอ เป็นประธาน มศว.ควรสนับสนุนนายอำเภอในการสร้างเครือข่ายการพัฒนาอย่างบูรณาการเต็มพื้นที่อำเภอ เช่น ส่งเสริม เครือข่ายครูเพื่อการพัฒนาอำเภอ... เครือข่ายพระสงฆ์เพื่อการพัฒนาอำเภอ... เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อการพัฒนาอำเภอ... อาจรวมตัวกันจัดตั้งมูลนิธิเพื่อการพัฒนาอำเภอ... องค์กรนักธุรกิจในอำเภอจะมีพลังมาก ถ้านำมาร่วมกันพัฒนาพื้นที่อย่างบูรณาการ ประเทศ ไทยมีประมาณ ๘๐๐ อำเภอ เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อพัฒนาอำเภอที่จะเกิดขึ้น ๘๐๐ แห่งทั่วประเทศ จะ เป็นพลังในการพัฒนาประเทศอย่างมหาศาล มหาวิทยาลัยมีความรู้สาขาต่าง ๆ มาก เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่ ขณะเดียวกันอาจารย์ และนักศึกษาที่ลงไปทำงานในพื้นที่จะรู้ความจริงของแผ่นดินไทย ทำให้สามารถสร้างความรู้ที่ตรงต่อ ความต้องการของพื้นที่ได้
  • 13. ๑๓ ๘. สถาบันการเงินของชุมชนระดับตำบล ระบบการเงินสากลไม่เป็นเครื่องมือของคน แต่เป็นปัจจัยแห่งความเหลื่อมล้ำ ชุมชนควรมี ระบบการเงินของชุมชนที่ชาวบ้านจัดการ การออม การกู้ยืม และการทำประโยชน์ ที่ผ่านมาสถาบัน การเงินของชุมชนระดับตำบลที่ประสบความสำเร็จมีเงินหมุนเวียนหลายร้อยล้านบาท ก็มีสถาบัน การเงินของชุมชนเป็นเครื่องมือเชิงสถาบันที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้นมาก มหาวิทยาลัยควรช่วยให้ชุมชน มีเครื่องมือเชิงสถาบันอื่น ๆ
  • 14. ๑๔ ๙. พลังงานชุมชน รศ.ดร.บุญยัง ปลั่งกลาง แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรีทำปริญญา เอกเรื่องพลังงานจากมหาวิทยาลัยในเยอรมนีเล่าให้ฟังว่า ที่เยอรมนีชุมชนสามารถผลิตพลังงานขึ้นใช้ เองเหลือขายให้ส่วนกลางก็ได้ ที่มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี ผมเคยพบเครือข่ายวิศวกรพลังงานชุมชน เขาว่าพวกเขามี ประมาณ ๒๐๐ คน สามารถตะลุยช่วยชุมชนสร้างพลังงาน โดยทำให้สิ่งแวดล้อมสะอาดขึ้นด้วยและ เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วย มศว.ควรติดต่อให้มาทำงานสร้างพลังงานชุมชนที่นครนายก อนึ่งมีผู้ บอกว่าระบบการเงินชุมชนของเขาเข้มแข็งมาก มหาวิทยาลัยจึงควรศึกษาวิจัยทั่วโลก ว่ามีอะไรดี ๆ ที่มหาวิทยาลัยจะส่งเสริมให้ชุมชน เข้มแข็งขึ้น เพราะฉะนั้น มศว.-นครนายก ซึ่งมิใช่ภาพนิ่งจะดีขึ้นเรื่อย ๆ ถ้ามศว.เรียนรู้ของใหม่และ ส่งเสริมนครนายกได้มากขึ้น ๆ สมเป็นโมเดล หรือนครหลวงแห่งคนทำงานรวมกัน ๑ มหาวิทยาลัย / ๑ จังหวัด
  • 15. ๑๕ ๑ . การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ กับการเกิดขึ้นของมหาวิชชาลัยอำเภอ ควรสังเกตกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง ๗ ขั้นตอนให้ดี ๆ นี่คือกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการ ปฏิบัติในสถานการณ์จริง หรือ PILA (Participatory Interactive Learning to Action) ซึ่งเป็น กระบวนการเรียนรู้ที่ดีที่สุดที่ยิ่งทำ • ยิ่งรักกันมากขึ้นเพราะมีความเสมอภาค ภราดรภาพ และสามัคคีธรรม • ยิ่งเชื่อถือไว้วางใจกันมากขึ้น • ยิ่งฉลาด และฉลาดร่วมกัน การเรียนรู้เรื่องที่ซับซ้อนถ้าเรียนคนเดียวจะยาก ดูเหมือนเป็น คนโง่ แต่ถ้าเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติจะง่ายและสนุก • เกิดปัญญาร่วม (Collective wisdom) นวัตกรรมและอัจฉริยภาพกลุ่ม (Group genius) • ทั้งหมดทำให้เกิดพลังมหาศาล ฟันฝ่าอุปสรรคทุกชนิดไปสู่ความสุข • มีผลให้เกิดความสุขร่วมกันประดุจบรรลุนิพพาน การพ้นทุกข์ร่วมกันเป็นไปได้ การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติเป็น Transformation Learning ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในโลกทัศน์วิธีคิดและจิตสำนึก เมื่อมีการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติของคนทั้งอำเภอ พื้นที่อำเภอก็กลายเป็นมหาวิทยาลัยใน รูปใหม่ ต่างจากมหาวิทยาลัยในรูปเก่าที่สร้างความรู้ (วิทยา) แต่มหาวิทยาลัยในรูปใหม่แห่งการเรียนรู้ ร่วมกันในการปฏิบัติทำให้เกิดปัญญา ปัญญาใหญ่กว่าความรู้ทางพระเรียกว่า “วิชชา” (ช.ช้าง ๒ ตัว)
  • 16. ๑๖ พระเจ้าอยู่หัว ร.๙ ทรงเป็นบุคคลแรกที่ใช้คำว่า “มหาวิชชาลัย” ในพระราชนิพนธ์เรื่องพระ มหาชนก อาจทรงคิดว่ามีมหาวิทยาลัยอย่างเดียวไม่พอต้องการมหาวิชชาลัย
  • 17. ๑๗ เนื่องจากการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติของคนทั้งอำเภอหรือสุขภาวะที่สมบูรณ์ เป็น กระบวนการทางปัญญาอย่างหนึ่ง จึงควรเรียกพื้นที่อำเภอว่ามหาวิชชาลัยอำเภอ ถ้าทำอย่างเดียวกัน ในทุกจังหวัดทุกอำเภอจะเกิดมหาวิชชาลัยอำเภอขึ้น ๘๐๐ แห่ง ทำให้ประเทศทั้งประเทศกลายเป็น สังคมอุดมปัญญาและสังคมอุดมสุข หน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม คือ สร้างสังคมอุดม ปัญญา สามารถทำได้โดยนโยบาย ๑ มหาวิทยาลัย / ๑ จังหวัด
  • 18. ๑๘ ๑๑. กลไกการทำงานของมหาวิทยาลัย ตั้งฝ่ายวิจัยและพัฒนาพื้นที่ เป็นฝ่ายตั้งขึ้นใหม่มีรองอธิการบดีคนหนึ่งเป็นผู้นำและผู้ช่วยอธิการบดีจำนวนหนึ่ง ซึ่งคล่องใน การจัดการเชิงยุทธศาสตร์ สร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาพื้นที่อำเภอละ ๑ แห่ง โดยอาจอยู่ที่โรงพยาบาลอำเภอ โรงพยาบาล อำเภอหรือโรงพยาบาลชุมชนเป็นสถาบันฐานแผ่นดินไทยอยู่แล้ว ถ้าร่วมกันกับศูนย์วิจัยและพัฒนา พื้นที่ของมหาวิทยาลัยด้วยจะทำให้มีกำลังยิ่งขึ้น การพัฒนาพื้นที่อย่างบูรณาการทั่วทุกอำเภอ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ควรตั้งกองทุนหรืองบประมาณ สนับสนุนมหาวิทยาลัยในนโยบาย ๑ มหาวิทยาลัย /๑ จังหวัด
  • 19. ๑๙ ๑๒. ชุมชนเมือง สถานการณ์ของคนจนเมืองเลวร้ายกว่าคนจนในชนบท ชุมชนเมืองก็สร้างยากกว่าชุมชนชนบท เพราะผู้คนมีที่มาแตกต่างกันพอพ้นประตูบ้านก็ไม่รู้จักกันแล้ว เขาไม่มีเวลามาจัดระบบการอยู่ร่วมกัน แต่คณาจารย์และนักศึกษามีเวลามากกว่า ต้องลงไปช่วยเหลือหาวิธีสร้างชุมชนเข้มแข็งในเขตเมือง ถือ เป็นการวิจัยที่สำคัญ ปัญหาของผู้ใช้แรงงาน ผู้ใช้แรงงานที่ยากจนมีจำนวนมากแต่ขาดการจัดการ ที่พระประแดงมี ผู้ใช้แรงงานกลุ่มหนึ่งจัดตั้งกองทุนออมเงินได้หลายสิบล้านบาท ผู้จัดการกองทุนผู้ใช้แรงงานที่มาร่วม ประชุมกันเขาใช้คำว่า “มันเป็นโอกาสของคนจน” มหาวิทยาลัยเป็นโอกาสของคนจน เรียนรู้และลงมือทำงานข้างคนจน และจัดตั้งองค์กรสร้าง เครื่องมือเชิงสถาบันให้ได้
  • 20. ๒๐ ๑๓. สถาบันฐานแผ่นดินไทย ความแข็งแรงทางวิชาการ ปี ๒๕๖๗ กระบวนการแพทย์ชนบทได้รับรางวัลแมกไซไซ เป็นผลงานสะสมยาวนานประมาณ ๕๐ ปี เราเรียกว่าเป็น Long March for the Poor และเป็นการทำงานจากชุมชนสู่นโยบาย From community to policy โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) หรือโรงพยาบาลอำเภอ ซึ่งมีครบทั้ง ๘๐๐ อำเภอ เป็นฐานของ แพทย์ชนบทที่เรียนรู้ให้รู้ความจริงของแผ่นดินไทย เมื่อรู้ความจริงของแผ่นดินก็เคลื่อนไปทำนโยบาย ดี ๆ ได้ เช่น การเกิดขึ้นของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มหาวิทยาลัยมีทั้งหมดประมาณ ๑๔๐ แห่ง มีบทบาทด้านนโยบายน้อยมาก เพราะลอยตัวอยู่ ข้างบนไม่รู้ความจริงของแผ่นดิน ฉะนั้น แนวทาง ๑ มหาวิทยาลัย / ๑ จังหวัด จะทำให้มหาวิทยาลัยไปสัมผัสกับแผ่นดินไทย เกิดความแข็งแกร่งทางวิชาการและนโยบาย การเคลื่อนทางวิชาการจะเปลี่ยนจากการลอยตัวอยู่ใน นภาอากาศมาเป็นจากดินสู่ฟ้าจากฟ้าสู่ดิน
  • 21. ๒๑ ก วิชาการเคลื่อนไหวอยู่ในนภากาศ ข จากดินคือความจริงของแผ่นดินสู่ า หมายถึงการสังเคราะห์ให้เกิดปัญญา แล้วเอาไปปฏิบัติให้ดีขึ้น เรียกว่า จาก าสู่ดิน
  • 22. ๒๒ เพราะฉะนั้นถ้ามหาวิทยาลัยมีศูนย์วิจัยและพัฒนาพื้นที่ระดับอำเภอ และไปทำงานร่วมกัน เรื่องโรงพยาบาลชุมชนซึ่งเป็นสถาบันฐานแผ่นดินไทยอยู่แล้ว จะรวมกำลังกันเป็นสถาบันทางวิชาการ ที่แข็งแกร่งที่รู้ความจริงของแผ่นดินไทย จะทำให้ทำอะไรที่ดี ๆ ต่อไปอย่างใดก็ได้ทั้งสิ้น อาจเรียกว่า เป็น “หัวกะทิทางปัญญา พาชาติออกจากวิกฤต” การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติเต็มพื้นที่ อันเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและปัญญาที่ เกิดจากการเรียนรู้ร่วมกัน จะเปลี่ยนสังคมนิยมอำนาจเป็นสังคมอุดมปัญญาอันไม่มีใครสามารถทำลาย ได้อีกต่อไป 671221, university engagement, มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่, ประเวศ วะสี, มศว., นครนายก