ݺߣ

ݺߣShare a Scribd company logo
กฎหมายหนี้
สมาชิกกลุ่ม
1. นางสาวนางสาวอลิสา แสงสกุล 531121718
2. นางสาวรัตนา วงค์ถาติ๊บ 531121721
3. นางสาวพัชรภรณ์ วิจิขจี 531121724
4. นางสาวศิริรัตน์ พูลสวัสดิ์ 531121728
กฎหมายหนี้
หนี้ หมายถึง นิติสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างบุคคลสองฝ่ายอัน
เป็นบุคคลสิทธิอย่างหนึ่งซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ มีหน้าที่ต้องกระทา
การ งดเว้นกระทาการ หรือส่งมอบทรัพย์สินให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า
เจ้าหนี้ หากลูกหนี้ไม่ปฏิบัติการชาระหนี้ เจ้าหนี้สามารถเรียกร้องให้ลูกหนี้
ปฏิบัติการชาระหนี้แก่ตนได้
มี 5 ประการ ได้แก่
1. สัญญา หมายถึง นิติกรรมสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายที่เกิดจากการ
แสดงเจตนาเสนอและสนองต้องตรงกันของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปโดย
มุ่งจะก่อให้เกิดหนี้ขึ้นตามกฎหมาย
2. ละเมิด หมายถึง การที่บุคลใดได้กระทาโดยจงใจหรือประมาทต่อ
บุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้บุคคลนั้นได้รับความเสียหาย
3. จัดการงานนอกสั่ง หมายถึง บุคคลคนหนึ่งเข้าทาบางสิ่งบางอย่าง
แทนอีกบุคคลหนึ่งโดยที่เขามิได้มอบหมายเลยก็ดี หรือโดยที่ไม่มีสิทธิทา
เช่นนั้นเลยก็ดี เป็นเหตุให้บุคคลทั้งสองนี้เกิดสิทธิและหน้าที่ต่อกันตามที่
4. ลาภมิควรได้ หมายถึง การที่บุคลหนึ่งได้ทรัพย์สินจากการที่ผู้อื่น
ชาระหนี้หรือได้มาด้วยประการใดๆ อันปราศจากมูลจะอ้างกฎหมายได้
บุคคลที่ได้รับทรัพย์สินมาต้องคืนทรัพย์นั้นมาให้ตน
5. กฎหมาย หมายถึง หนี้ที่กฎหมายกาหนดให้บุคคลมีหน้าที่กระทา
การหรืองดเว้นกระทาการอย่างใดอย่างหนึ่ง
กฎหมายบัญญัติ แม้อันที่จริงแล้ว เขาอาจไม่ประสงค์จะผูกความสัมพันธ์
กันในทางกฎหมายเลยก็ตาม
1. หนี้ขาดอายุความ
2. หนี้ที่ขาดหลักฐานในการฟ้องร้อง
3. หนี้ตามหน้าที่ศีลธรรมหรือตามสมควรแก่อัธยาศัยในสมาคม
4. หนี้ที่ตกเป็นโมฆะ
ลูกหนี้ผิดนัดชาระหนี้ หมายถึง การที่ลูกหนี้ละเลยไม่ชาระหนี้
ภายในเวลาที่กาหนด โดยปกติเจ้าของหนี้ต้องเตือนให้ลูกหนี้ชาระหนี้
ก่อนจึงจะถือว่าลูกหนี้ผิดนัด แต่ในบางกรณีลูกหนี้อาจผิดนัดโดยที่
เจ้าหนี้ไม่ต้องตักเตือนก่อน การผิดนัดของลูกหนี้จึงอาจแบ่งเป็น 2 กรณี
ดังนี้
1. ลูกหนี้ผิดนัดเพราะเจ้าหนี้เตือนแล้ว
2. ลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ต้องเตือน
การชาระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย หมายถึง การชาระหนี้ซึ่งขณะก่อ
หนี้ลูกหนีสามารถปฏิบัติการชาระหนี้ได้แต่หลังจากหนี้ที่ได้เกิดขึ้นแล้ว
มีเหตุการณ์บางอย่างที่ทาให้ลูกหนี้ไม่สามารถชาระหนี้ได้อีกต่อไป แบ่ง
ออกเป็น 2 กรณี ได้แก่
1.การชาระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยโดยลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ
2.การชาระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยโดยลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ
1.การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้
การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้หมายถึง การที่ลูกหนี้มีสิทธิ
เรียกร้องต่อบุคคลภายนอกอยู่แต่ไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าว เจ้าหนี้
จึงใช้สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้ในการเรียกร้องให้บุคคลภายนอกชาระ
หนี้แก่ลูกหนี้
ตัวอย่าง แดงเป็นลูกหนี้เงินกู้ดาจานวน 500,000 บาท และแดงเป็น
เจ้าหนี้เงินกู้เขียวจานวน300,000 บาท หนี้สองรายถึงกาหนดชาระแล้ว
ปรากฏว่าแดงไม่ยอมชาระหนี้เงินกู้จานวน500,000 บาทแก่ดา และแดงก็
ไม่ยอมเรียกให้เขียวชาระหนี้เงินกู้จานวน300,000 บาทแก่ตนขณะนั้น
แดงมีทรัพย์สินอยู่เพียง 200,000 บาท ทาให้ดาไม่อาจได้รับชาระหนี้เต็ม
จานวน ดังนี้ ดาจึงสามารถฟ้องศาลบังคับให้เขียวชาระหนี้เงินกู้แก่แดง
ได้ทาให้แดงซึ่งเป็นลูกหนี้ของดามีทรัพย์สินเป็นจานวน500,000 บาท
เพียงพอที่ดาจะได้รับชาระหนี้ครบถ้วน
2.การเพิกถอนการฉ้อฉล
การเพิกถอนการฉ้อฉล หมายถึง การที่เจ้าหนี้ร้องขอต่อศาลให้เพิก
ถอนนิติกรรมซึ่งลูกหนี้ได้ทาขึ้นโดยรู้อยู่ว่านิติกรรมที่ตนทานั้นทาให้
เจ้าหนี้เสียเปรียบ เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเพิกถอนได้ก็ต่อเมื่อเข้าหลักเกณฑ์
ครบ 4 ประการดังต่อไปนี้
2.1.ลูกหนี้ได้ทานิติกรรมอันมีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน นิติกรรมที่
เจ้าหนี้สามารถเพิกถอนได้ต้องเป็นนิติกรรมที่เกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน
2.2 นิติกรรมที่ลูกหนี้ทาเป็นเหตุให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ นิติกรรมที่
ลูกหนี้กระทานั้นต้องทาให้ลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่พอชาระหนี้แก่เจ้าหนี้
2.3 ลูกหนี้ทานิติกรรมโดยรู้ว่าทาให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ขณะทานิติ
กรรมลูกหนี้ต้องรู้ว่าการทานิติกรรมนั้นจะทาให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
2.4 หากนิติกรรมที่ลูกหนี้ทาไม่ใช่การให้โดยเสน่หา บุคคลภายนอก
ซึ่งทานิติกรรมกับลูกหนี้ต้องรู้ถึงการฉ้อฉลนั้นด้วย
ตัวอย่าง ดาเป็นหนี้เงินกู้แดงจานวน 60,000 บาท โดยดามีทรัพย์สิน
ทั้งหมดคิดเป็นเงิน 80,000 บาท ต่อมาดาได้ยกรถจักรยานยนต์ราคา
40,000 บาท ให้แก่เขียวหวานของตนโดยรู้อยู่ว่าจะทาให้ตนมีทรัพย์สิน
ไม่พอที่จะชาระหนี้แดง กล่าวคือ รู้อยู่ว่าตนจะมีทรัพย์สินเหลือเพียง
40,000 บาท ดังนี้ แดงสามารถฟ้องศาลขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้
อันเป็นการฉ้อฉลได้ไม่ว่าเขียวจะรู้ว่านิติกรรมดังกล่าวทาให้แดง
เสียเปรียบหรือไม่ก็ตาม
3.สิทธิยึดหน่วง
สิทธิยึดหน่วง หมายถึง สิทธิชองเจ้าหนี้ผู้ซึ่งครอบครองทรัพย์สิน
ของผู้อื่นและมีหนี้อันเป็นประโยชน์แก่ตนเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวใน
การที่จะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะได้ชาระหนี้ทั้งหมด เจ้าหนี้
จะใช้สิทธิยึดหน่วงได้ก็ต่อเมื่อเข้าหลักเกณฑ์ครบ4 ประการดังต่อไปนี้
3.1 ต้องมีหนี้เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ยึดหน่วงอันเป็นประโยชน์แก่
เจ้าหนี้
3.2 ทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ยึดหน่วงไว้ต้องเป็นทรัพย์สินของผู้อื่น
3.3 เจ้าหนี้ต้องเข้าครอบครองทรัพย์สินโดยชอบด้วยกฎหมาย
4.4 หนี้เกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะยึดหน่วงต้องถึงกาหนดชาระแล้ว
ความระงับแห่งหนี้หมายถึง เหตุที่ทาให้หนี้ระหว่างลูกหนี้กับ
เจ้าหนี้ไม่มีอีกต่อไป อันเป็นผลให้เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องใดๆ จาก
ลูกหนี้อีก ซึ่งเหตุที่ทาให้หนี้ระงับ 5 ประการ ได้แก่
1.การชาระหนี้ หมายถึง การที่ลูกหนี้ได้ปฏิบัติการชาระหนี้ให้แก่
เจ้าหนี้ และเจ้าหนี้ได้รับชาระหนี้ไว้โดยถูกต้อง หากลูกหนี้ได้ชาระหนี้
เพียงบางส่วน หนี้ก็ระงับหนี้ลงเฉพาะส่วนที่ลูกหนี้ได้ชาระแล้ว
2.การปลดหนี้ หมายถึง การที่เจ้าหนี้แสดงเจตนาสละสิทธิเรียกร้อง
โดยยกหนี้ให้แก่ลูกหนี้ โดยไม่ติดใจเรียกร้องค่าตอบแทนใดๆ การปลด
หนี้นั้นเจ้าหนี้จะปลดหนี้ให้ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
3.การหักกลบลบหนี้ หมายถึง การที่บุคคลสองคนต่างมีฐานะเป็น
เจ้าหนี้ลูกหนี้ซึ่งกันและกัน โดยมีฐานะสลับกันในหนี้สองราย ซึ่งหนี้ทั้ง
สองรายต้องมีวัตถุแห่งหนี้เหมือนกันและถึงกาหนดชาระแล้ว บุคคลทั้ง
สองจึงสามารถนาหนี้ที่ตนมีสิทธิเรียกร้องมาหักกันลบกันได้หนี้ที่ถูก
หักไปย่อมระงับลง
4.การแปลงหนี้ใหม่ หมายถึง การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงกัน
เปลี่ยนแปลงสาระสาคัญแห่งหนี้
5.หนี้เกลื่อนกลืนกัน หมายถึง การที่สิทธิและหน้าที่ของหนี้ราย
หนึ่งตกแก่บุคคลคนเดียว กล่าวคือบุคคลนั้นมีฐานะเป็นทั้งเจ้าหนี้และ
ลูกหนี้ในหนี้รายเดียวกัน
ความหมายของสัญญา
สัญญา หมายถึง นิติกรรมสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายที่เกิดจากการ
แสดงเจตนาเสนอและสนองต้องตรงกันของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป
ที่มุ่งจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับนิติสัมพันธ์
ละเมิดเป็นนิติเหตุอย่างหนึ่งที่เกิดจาการกระทาของบุคคลที่ไมได้
ประสงค์จะก่อให้เกิดผลทางกฎหมาย แต่การกระทานั้นมีผลก่อให้เกิด
หนี้โดยผลของกฎหมาย ดังนั้น ละ๶มิึϸึง๶ป็Ȩ่อ๶กิึϹห่งนี้
แบบทึϸอบ
ข้อที่ 1 บ่อเกิดแห่งนี้มีกี่ประการ
ก. 2 ประการ ข. 3ประการ
ค. 4 ประการ ง. 5 ประการ
ข้อที่ 2 การผิดนัดของลูกหนี้แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ
ก. ลูกหนี้ผิดนัดเพราะเจ้าหนี้เตือนแล้ว , ลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ต้อง
เตือน
ข. ลูกหนี้ผิดนัดเพราะไม่มีในสัญญา , ลูกหนี้ผิดนัดเพราะ
ค. ลูกหนี้ผิดนัดเพราะอุบัติเหตุ , ลุกหนี้ผิดนัดเพราะเจ้าหนี้เตือนแล้ว
ง. ไม่มีข้อถูก
ข้อที่ 3 การชาระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยมีกี่กรณี
ก. 2 กรณี ข. 3 กรณี
ค. 4 กรณี ง. 5 กรณี
ข้อที่ 4 ความระงับแห่งหนี้ หมายถึง
ก. สัญญาที่ทาระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ในการโอนทรัพย์สิน
ข. การพักนี้ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้
ค.เหตุที่ทาให้หนี้ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ไม่มีอีกต่อไป
ง. ถูกทั้ง ก และ ข
ข้อที่ 5 ข้อใดเป็นสาเหตุที่ทาให้หนี้ระงับ
ก. การชาระนี้ ข. การปลดหนี้
ค. การหักลบกลบหนี้ ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย
1. ง
2. ก
3. ก
4. ค
5. ง
กฎหมายหนี้

More Related Content

กฎหมายหนี้