ݺߣ

ݺߣShare a Scribd company logo
ลักษณะของสารสน๶ทศท้องถิ่น
สารสนเทศท้องถิ่นมีลักษณะที่สะท้อนความเป็นอยู่ วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ที่ได้มีการปฏิบัติ
สืบทอดต่อกันมา ดังนี้
1. สะท้อนความเป็นท้องถิ่น
ลักษณะที่สะท้อนความเป็นท้องถิ่น อาทิ ความรู้ท้องถิ่นของคนท้องถิ่น ความรู้ในเชิงนามธรรม
และรูปธรรม ความรู้ท้องถิ่นเกิดจากการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ความรู้ท้องถิ่นมีหลายกลุ่ม และเป็น
ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินชีวิต (อัจฉรา รักยุติธรรม. 2550 : 12-13)
ดังนี้
1.1 ความเข้าใจต่อความรู้ท้องถิ่นของคนท้องถิ่นนั้น อาจแตกต่างกับความรู้ท้องถิ่นตามความ
เข้าใจของคนภายนอก ตัวอย่างเช่น คนภายนอกให้ความสาคัญกับการสืบค้นความรู้ท้องถิ่นเกี่ยวกับการใช้
และการอนุรักษ์ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่า แต่คนท้องถิ่นให้ความสาคัญกับความรู้
ในการนาผลผลิตจากป่ามาใช้พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เป็นต้น
1.2 ความรู้ท้องถิ่นมีทั้งความรู้ในเชิงนามธรรมและรูปธรรม ความรู้เชิงนามธรรมใน
ลักษณะแนวความคิด ความเชื่ออันเป็นแบบแผนการดาเนินชีวิตตามจารีตประเพณีและวัฒนธรรมที่ทาให้
ชุมชนอยู่ร่วมกัน และอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเกื้อกูล และความรู้ในเชิงรูปธรรม คือ แนวทางหรือเทคนิค
วิธีในการทามาหากิน และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
1.3 ความรู้ท้องถิ่นเกิดจากการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของชาวบ้าน ซึ่งเป็นความรู้และ
ประสบการณ์ของชาวบ้านในท้องถิ่นที่ปรับตัวและดารงชีวิตในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ มีการเรียนรู้
และผสมผสานกับความรู้ใหม่ ๆ จากการแสวงหาและเรียนรู้ของชาวบ้านที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา อาจมี
ปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มชนและระหว่างกลุ่มชน (ประภากร แก้ววรรณา. 2554 : 187)
1.4 ความรู้ท้องถิ่นมีหลายกลุ่ม โดยความรู้แต่ละกลุ่มดารงอยู่และถูกใช้จากคนต่างกลุ่ม ทาให้
คนแต่ละกลุ่มมีความรู้ความเชี่ยวชาญที่ไม่เหมือนกัน เช่น พ่อแม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้าน
เศรษฐกิจ ผู้สูงอายุมีองค์ความรู้ทางด้านสุขภาวะ ซึ่งสัมพันธ์กับจริยธรรม คุณธรรม จารีตประเพณีและ
วัฒนธรรม เป็นต้น โดยเรียนรู้จากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นใหม่เป็นศักยภาพหรือความสามารถในการ
สร้างสรรค์ นามาใช้ให้เกิดประโยชน์และแก้ไขปัญหา
1.5 องค์ความรู้ท้องถิ่นเป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินชีวิต การทาให้ชุมชนสามารถรับมือ
กับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างเท่าทัน และการแสวงหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่ชุมชนเผชิญหน้าอยู่ โดย
อาศัยทุนหรือทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีทั้งหมดในชุมชน เช่น ทุนทางปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทาง
สังคม ทุนธรรมชาติ ฯลฯ (ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ. 2551 : 57)
2. สะท้อนความต้องการและวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น
ลักษณะที่สะท้อนความต้องการและวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น อาทิ ศิลปะชาวบ้านมีคุณค่าทาง
ภูมิปัญญา ที่สามารถนาวัสดุพื้นบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ศิลปะชาวบ้านมีรูปแบบ กรรมวิธีการผลิตและ
การใช้วัสดุที่แตกต่างกันไปตามถิ่นกาเนิดหรือแหล่งผลิตตามขนบประเพณี ความเชื่อ และวิถีชีวิตของกลุ่ม
ชน จึงทาให้ศิลปะชาวบ้านมีเอกลักษณ์ และลักษณะเฉพาะถิ่น (ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน และน้าทิพย์ วิภา
วิน. 2554 : 1-12-1-14) ดังนี้
2.1 ศิลปะชาวบ้านเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นจากความต้องการของชุมชนที่มีลักษณะทาง
วัฒนธรรมร่วมกัน อาจทาเพื่อประโยชน์ในชีวิตประจาวัน เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ หรือสร้างเพื่อ
สนองความเชื่อ ขนบประเพณี ได้แก่ ภาพเขียนบนผนังโบสถ์หรือสิม ตุง ธาตุ และสัตภัณฑ์ เป็นต้น
2.2 ศิลปะชาวบ้านมีความเรียบง่ายตามวิถีชีวิตของชาวบ้าน เป็นกระบวนทัศน์ของ
ชาวบ้านในท้องถิ่นที่มีต่อด้านต่าง ๆ เพราะศิลปะชาวบ้านสร้างเพื่อประโยชน์ใช้สอยหรือเพื่อความบันเทิง
ของชาวบ้าน ดังนั้น รูปแบบและเนื้อหาจึงต้องเรียบง่ายสอดคล้องกับวิถีชีวิต ขนบประเพณี และความเชื่อ
ของชาวบ้านไม่ซับซ้อนหรือเข้าใจยาก
2.3 ศิลปะชาวบ้านเป็นผลงานของช่างหรือศิลปินนิรนาม ทั้งนี้เพราะศิลปะชาวบ้านเป็นผลิตผล
ของชุมชนหรือกลุ่มชนที่มาจากขนบประเพณี ความเชื่อ และความนิยมของผู้เสพและผู้สร้าง เป็นเสมือน
สมบัติร่วมกันของชุมชนหรือกลุ่มชนไม่ใช่ผลงานของศิลปินหรือช่างโดยตรง เหมือนผลงานวิจิตรศิลป์ใน
ปัจจุบันที่สร้างขึ้นตามความต้องการและความรู้สึกนึกคิดของศิลปิน ศิลปะชาวบ้านหลายประเภทต้องใช้
ความสามารถร่วมกันของกลุ่มชนในท้องถิ่นซึ่งเปรียบเสมือนทุนทางปัญญาของชาวบ้าน
2.4 ศิลปะชาวบ้านมีลักษณะเฉพาะถิ่นที่หลากหลาย แตกต่างกันไปตามความ
นิยม ขนบประเพณี และวิถีชีวิตของแต่ละท้องถิ่น ตั้งแต่รูปแบบของอาคารบ้านเรือน เครื่องมือ
เครื่องใช้ การร้องราทาเพลง ดนตรีและการแสดง ล้วนมีลักษณะเฉพาะถิ่นที่แตกต่างกันไปทั้งสิ้น
3. มีความเชื่อมโยงที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสภาพทางภูมิศาสตร์ในแต่ละภูมิภาค
มีความสัมพันธ์กับลักษณะทางสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ทาให้เกิดการเรียนรู้เพื่อปรับตัวให้เข้า
กับสภาพทางภูมิศาสตร์ (พรสวรรค์ สุวัณณศรีย์. 2553 : 33-42) ดังนี้
3.1 ภาคเหนือ เป็นเขตภูเขา และมีป่าไม้จานวนมาก จึงเป็นแหล่งกาเนิดของน้าที่สาคัญหลาย
สาย ป่าไม้ในภาคเหนือเป็นสิ่งแวดล้อมที่สาคัญต่อชีวิตคนในภาคเหนือ พื้นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยไม้ที่มีค่า
ทางเศรษฐกิจ เช่น ไม้สัก สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับไม้ มีคุณค่าเป็นทั้งอาหาร ยารักษาโรค อาคาร
บ้านเรือน และสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจาวัน รวมถึงศิลปวัฒนธรรมล้านนา เป็นต้น
3.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ราบสูง มีทิวเขาเป็นขอบกั้นอาณาเขต มีบริเวณที่ราบลุ่ม
แม่น้า จึงทาให้มีพื้นที่เกษตรกรรมเป็นบริเวณกว้าง ที่ราบสูงที่กว้างขวางของภาคนี้คือ ที่ราบสูง
โคราช การดารงชีพของคนอีสานอาศัยการต่อสู้และปรับตัวให้อยู่ได้กับสภาพความชุ่มชื้นและแห้งแล้ง คน
อีสานมีภูมิปัญญาและมีความสามารถในการเลือกทาเลที่เหมาะแก่ดินฟ้าอากาศ ทั้งการทาไร่ทานา อาหาร
การกิน มีความรู้เรื่องพืชพรรณ ระบบความเชื่อ พิธีกรรม ประเพณี และศิลปกรรม
3.3 ภาคใต้ มีลักษณะเป็นชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย และชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน และมีทิวเขา
กั้นพรมแดน ภาคใต้เป็นภาคที่มีชายฝั่งทะเลยาวที่สุดในประเทศไทย ลักษณะพิเศษที่โดดเด่นมีสันทรายซึ่ง
เป็นผลของการที่มีทรายทับถมกันเป็นที่ดอนเป็นแนวยาว น้าไม่ท่วม แต่มีน้าใต้ดินที่สามารถขุดเป็นบ่อ
เจาะน้าจืดมาใช้ได้ ทรัพยากรของภาคใต้ เช่น ข้าว สินแร่ ดีบุก ยางพารา ผลไม้ ป่าไม้ สมุนไพร และ
ประมงทะเล เป็นต้น
3.4 ภาคกลาง มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มน้าอันกว้างใหญ่ เป็นพื้นที่ที่มีแม่น้า 4
สาย คือ ปิง วัง ยม น่าน ไหลมารวมตัวกันเป็นแม่น้าเจ้าพระยา ทาให้พื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทา
เกษตรกรรมขนาดใหญ่ รวมทั้งเหมาะแก่การตั้งหลักแหล่งบ้านเรือนที่มีประชากรอาศัยอยู่มาก มีคนหลาย
ชาติพันธุ์มาตั้งหลักแหล่งทามาหากินและแลกเปลี่ยนถ่ายเทวัฒนธรรม โดยอาศัยน้าเป็นปัจจัยหลักใน
ธรรมชาติเพื่อการพัฒนาและสร้างสรรค์ความเจริญ ลักษณะเด่นของการตั้งถิ่นฐานของคนในภาค
กลาง ได้แก่ การยึดเอาชัยภูมิใกล้น้าเป็นหลักในการตั้งบ้านเรือน จัดระบบเรือกสวน ไร่นา สร้างวัดวา
อาราม สร้างเมืองและวังเวียง การไปมาหาสู่สะดวก บ้านเรือนจะปลูกอยู่ริมฝั่งแม่น้าลาคลอง ภาคกลางจึง
เป็นศูนย์กลางของราชธานีมาโดยตลอด จากคนหลาย ๆ ชาติพันธุ์ทั้งที่มีอยู่เดิมและคนกลุ่มใหม่ที่อพยพมา
ทามาหากิน เป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
จากลักษณะสาคัญของสารสนเทศท้องถิ่นที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า เป็นองค์ความรู้ที่เกิดจาก
การสะสมประสบการณ์และการเรียนรู้ที่ยาวนานจากรุ่นสู่อีกรุ่น มีลักษณะประสมประสานเชื่อมโยงเข้า
ด้วยกันระหว่างความเป็นท้องถิ่น ความต้องการและวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่าง
ชาวบ้านกับชาวบ้าน ชาวบ้านกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสภาพทางภูมิศาสตร์ในแต่ละภูมิภาคแต่
ละท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ในการแก้ปัญหา การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของบุคคลในท้องถิ่นให้ทันกับ
สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

More Related Content

ลักษณะของสารสน๶ทศท้องถิ่น

  • 1. ลักษณะของสารสน๶ทศท้องถิ่น สารสนเทศท้องถิ่นมีลักษณะที่สะท้อนความเป็นอยู่ วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ที่ได้มีการปฏิบัติ สืบทอดต่อกันมา ดังนี้ 1. สะท้อนความเป็นท้องถิ่น ลักษณะที่สะท้อนความเป็นท้องถิ่น อาทิ ความรู้ท้องถิ่นของคนท้องถิ่น ความรู้ในเชิงนามธรรม และรูปธรรม ความรู้ท้องถิ่นเกิดจากการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ความรู้ท้องถิ่นมีหลายกลุ่ม และเป็น ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินชีวิต (อัจฉรา รักยุติธรรม. 2550 : 12-13) ดังนี้ 1.1 ความเข้าใจต่อความรู้ท้องถิ่นของคนท้องถิ่นนั้น อาจแตกต่างกับความรู้ท้องถิ่นตามความ เข้าใจของคนภายนอก ตัวอย่างเช่น คนภายนอกให้ความสาคัญกับการสืบค้นความรู้ท้องถิ่นเกี่ยวกับการใช้ และการอนุรักษ์ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่า แต่คนท้องถิ่นให้ความสาคัญกับความรู้ ในการนาผลผลิตจากป่ามาใช้พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เป็นต้น 1.2 ความรู้ท้องถิ่นมีทั้งความรู้ในเชิงนามธรรมและรูปธรรม ความรู้เชิงนามธรรมใน ลักษณะแนวความคิด ความเชื่ออันเป็นแบบแผนการดาเนินชีวิตตามจารีตประเพณีและวัฒนธรรมที่ทาให้ ชุมชนอยู่ร่วมกัน และอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเกื้อกูล และความรู้ในเชิงรูปธรรม คือ แนวทางหรือเทคนิค วิธีในการทามาหากิน และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ 1.3 ความรู้ท้องถิ่นเกิดจากการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของชาวบ้าน ซึ่งเป็นความรู้และ ประสบการณ์ของชาวบ้านในท้องถิ่นที่ปรับตัวและดารงชีวิตในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ มีการเรียนรู้ และผสมผสานกับความรู้ใหม่ ๆ จากการแสวงหาและเรียนรู้ของชาวบ้านที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา อาจมี ปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มชนและระหว่างกลุ่มชน (ประภากร แก้ววรรณา. 2554 : 187) 1.4 ความรู้ท้องถิ่นมีหลายกลุ่ม โดยความรู้แต่ละกลุ่มดารงอยู่และถูกใช้จากคนต่างกลุ่ม ทาให้ คนแต่ละกลุ่มมีความรู้ความเชี่ยวชาญที่ไม่เหมือนกัน เช่น พ่อแม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้าน เศรษฐกิจ ผู้สูงอายุมีองค์ความรู้ทางด้านสุขภาวะ ซึ่งสัมพันธ์กับจริยธรรม คุณธรรม จารีตประเพณีและ วัฒนธรรม เป็นต้น โดยเรียนรู้จากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นใหม่เป็นศักยภาพหรือความสามารถในการ สร้างสรรค์ นามาใช้ให้เกิดประโยชน์และแก้ไขปัญหา 1.5 องค์ความรู้ท้องถิ่นเป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินชีวิต การทาให้ชุมชนสามารถรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างเท่าทัน และการแสวงหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่ชุมชนเผชิญหน้าอยู่ โดย อาศัยทุนหรือทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีทั้งหมดในชุมชน เช่น ทุนทางปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทาง สังคม ทุนธรรมชาติ ฯลฯ (ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ. 2551 : 57)
  • 2. 2. สะท้อนความต้องการและวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ลักษณะที่สะท้อนความต้องการและวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น อาทิ ศิลปะชาวบ้านมีคุณค่าทาง ภูมิปัญญา ที่สามารถนาวัสดุพื้นบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ศิลปะชาวบ้านมีรูปแบบ กรรมวิธีการผลิตและ การใช้วัสดุที่แตกต่างกันไปตามถิ่นกาเนิดหรือแหล่งผลิตตามขนบประเพณี ความเชื่อ และวิถีชีวิตของกลุ่ม ชน จึงทาให้ศิลปะชาวบ้านมีเอกลักษณ์ และลักษณะเฉพาะถิ่น (ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน และน้าทิพย์ วิภา วิน. 2554 : 1-12-1-14) ดังนี้ 2.1 ศิลปะชาวบ้านเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นจากความต้องการของชุมชนที่มีลักษณะทาง วัฒนธรรมร่วมกัน อาจทาเพื่อประโยชน์ในชีวิตประจาวัน เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ หรือสร้างเพื่อ สนองความเชื่อ ขนบประเพณี ได้แก่ ภาพเขียนบนผนังโบสถ์หรือสิม ตุง ธาตุ และสัตภัณฑ์ เป็นต้น 2.2 ศิลปะชาวบ้านมีความเรียบง่ายตามวิถีชีวิตของชาวบ้าน เป็นกระบวนทัศน์ของ ชาวบ้านในท้องถิ่นที่มีต่อด้านต่าง ๆ เพราะศิลปะชาวบ้านสร้างเพื่อประโยชน์ใช้สอยหรือเพื่อความบันเทิง ของชาวบ้าน ดังนั้น รูปแบบและเนื้อหาจึงต้องเรียบง่ายสอดคล้องกับวิถีชีวิต ขนบประเพณี และความเชื่อ ของชาวบ้านไม่ซับซ้อนหรือเข้าใจยาก 2.3 ศิลปะชาวบ้านเป็นผลงานของช่างหรือศิลปินนิรนาม ทั้งนี้เพราะศิลปะชาวบ้านเป็นผลิตผล ของชุมชนหรือกลุ่มชนที่มาจากขนบประเพณี ความเชื่อ และความนิยมของผู้เสพและผู้สร้าง เป็นเสมือน สมบัติร่วมกันของชุมชนหรือกลุ่มชนไม่ใช่ผลงานของศิลปินหรือช่างโดยตรง เหมือนผลงานวิจิตรศิลป์ใน ปัจจุบันที่สร้างขึ้นตามความต้องการและความรู้สึกนึกคิดของศิลปิน ศิลปะชาวบ้านหลายประเภทต้องใช้ ความสามารถร่วมกันของกลุ่มชนในท้องถิ่นซึ่งเปรียบเสมือนทุนทางปัญญาของชาวบ้าน 2.4 ศิลปะชาวบ้านมีลักษณะเฉพาะถิ่นที่หลากหลาย แตกต่างกันไปตามความ นิยม ขนบประเพณี และวิถีชีวิตของแต่ละท้องถิ่น ตั้งแต่รูปแบบของอาคารบ้านเรือน เครื่องมือ เครื่องใช้ การร้องราทาเพลง ดนตรีและการแสดง ล้วนมีลักษณะเฉพาะถิ่นที่แตกต่างกันไปทั้งสิ้น
  • 3. 3. มีความเชื่อมโยงที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสภาพทางภูมิศาสตร์ในแต่ละภูมิภาค มีความสัมพันธ์กับลักษณะทางสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ทาให้เกิดการเรียนรู้เพื่อปรับตัวให้เข้า กับสภาพทางภูมิศาสตร์ (พรสวรรค์ สุวัณณศรีย์. 2553 : 33-42) ดังนี้ 3.1 ภาคเหนือ เป็นเขตภูเขา และมีป่าไม้จานวนมาก จึงเป็นแหล่งกาเนิดของน้าที่สาคัญหลาย สาย ป่าไม้ในภาคเหนือเป็นสิ่งแวดล้อมที่สาคัญต่อชีวิตคนในภาคเหนือ พื้นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยไม้ที่มีค่า ทางเศรษฐกิจ เช่น ไม้สัก สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับไม้ มีคุณค่าเป็นทั้งอาหาร ยารักษาโรค อาคาร บ้านเรือน และสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจาวัน รวมถึงศิลปวัฒนธรรมล้านนา เป็นต้น 3.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ราบสูง มีทิวเขาเป็นขอบกั้นอาณาเขต มีบริเวณที่ราบลุ่ม แม่น้า จึงทาให้มีพื้นที่เกษตรกรรมเป็นบริเวณกว้าง ที่ราบสูงที่กว้างขวางของภาคนี้คือ ที่ราบสูง โคราช การดารงชีพของคนอีสานอาศัยการต่อสู้และปรับตัวให้อยู่ได้กับสภาพความชุ่มชื้นและแห้งแล้ง คน อีสานมีภูมิปัญญาและมีความสามารถในการเลือกทาเลที่เหมาะแก่ดินฟ้าอากาศ ทั้งการทาไร่ทานา อาหาร การกิน มีความรู้เรื่องพืชพรรณ ระบบความเชื่อ พิธีกรรม ประเพณี และศิลปกรรม 3.3 ภาคใต้ มีลักษณะเป็นชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย และชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน และมีทิวเขา กั้นพรมแดน ภาคใต้เป็นภาคที่มีชายฝั่งทะเลยาวที่สุดในประเทศไทย ลักษณะพิเศษที่โดดเด่นมีสันทรายซึ่ง เป็นผลของการที่มีทรายทับถมกันเป็นที่ดอนเป็นแนวยาว น้าไม่ท่วม แต่มีน้าใต้ดินที่สามารถขุดเป็นบ่อ เจาะน้าจืดมาใช้ได้ ทรัพยากรของภาคใต้ เช่น ข้าว สินแร่ ดีบุก ยางพารา ผลไม้ ป่าไม้ สมุนไพร และ ประมงทะเล เป็นต้น 3.4 ภาคกลาง มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มน้าอันกว้างใหญ่ เป็นพื้นที่ที่มีแม่น้า 4 สาย คือ ปิง วัง ยม น่าน ไหลมารวมตัวกันเป็นแม่น้าเจ้าพระยา ทาให้พื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทา เกษตรกรรมขนาดใหญ่ รวมทั้งเหมาะแก่การตั้งหลักแหล่งบ้านเรือนที่มีประชากรอาศัยอยู่มาก มีคนหลาย ชาติพันธุ์มาตั้งหลักแหล่งทามาหากินและแลกเปลี่ยนถ่ายเทวัฒนธรรม โดยอาศัยน้าเป็นปัจจัยหลักใน ธรรมชาติเพื่อการพัฒนาและสร้างสรรค์ความเจริญ ลักษณะเด่นของการตั้งถิ่นฐานของคนในภาค กลาง ได้แก่ การยึดเอาชัยภูมิใกล้น้าเป็นหลักในการตั้งบ้านเรือน จัดระบบเรือกสวน ไร่นา สร้างวัดวา อาราม สร้างเมืองและวังเวียง การไปมาหาสู่สะดวก บ้านเรือนจะปลูกอยู่ริมฝั่งแม่น้าลาคลอง ภาคกลางจึง เป็นศูนย์กลางของราชธานีมาโดยตลอด จากคนหลาย ๆ ชาติพันธุ์ทั้งที่มีอยู่เดิมและคนกลุ่มใหม่ที่อพยพมา ทามาหากิน เป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม จากลักษณะสาคัญของสารสนเทศท้องถิ่นที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า เป็นองค์ความรู้ที่เกิดจาก การสะสมประสบการณ์และการเรียนรู้ที่ยาวนานจากรุ่นสู่อีกรุ่น มีลักษณะประสมประสานเชื่อมโยงเข้า ด้วยกันระหว่างความเป็นท้องถิ่น ความต้องการและวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่าง ชาวบ้านกับชาวบ้าน ชาวบ้านกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสภาพทางภูมิศาสตร์ในแต่ละภูมิภาคแต่