ݺߣ

ݺߣShare a Scribd company logo
กฏหมายทางเทคโนโลยีสารสȨทศ
กฏหมายทางเทคโนโลยีสารสȨทศ
มักเรียกกันว่า "กฎหมายไอที (IT Law) ในเบื้องต้น ที่จาเป็นต้องมีการตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับ เมื่อวันที่
15 ธันวาคม พ.ศ.2541 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบต่อการจัดทาโครงการพัฒนา กฎหมายเทคโนโลยี
สารสนเทศที่เสนอโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ สิ่งแวดล้อม และเห็นชอบให้
คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (National Information TechnologyCommittee) หรือที่
เรียกโดยย่อว่า "คณะกรรมการไอทีแห่งชาติ หรือ กทสช. (NITC)" ทาหน้าที่เป็นศูนย์กลางและ
ประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่กาลังดาเนินการจัดทากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและ
กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัติจะแบ่งออกเป็น2 ส่วน คือ หมวดความผิดเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์ และหมวด อานาจของเจ้าหน้าที่ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค. นี้เป็นต้นไป
กฏหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ
1) กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ElectronicTransactionsLaw)
2) กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ElectronicSignatures Law)
3) กฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
4) กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)
5) กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (ElectronicFund Transfer Law)
6) ฎหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ (NationalInformation Infrastructure)
1.กฏหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อัน
เป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทาขึ้นในรูปแบบของหนังสือ
ให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์ รูปแบบใหม่ที่จัดทาขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรับ
ฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
2.กฏหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใดๆ ทางเทคโนโลยีให้
เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทา
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกาหนดให้มีการกากับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับ
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้บริการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่อ
อิเล็กทรอนิกส์
3.กฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือ
เผยแพร่ถึงบุคคลจานวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจ
ก่อให้เกิดการนาข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้โดยคานึงถึงการ
รักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความ
มั่นคงของรัฐ
4.กฏหมายเกี่ยวกับการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
เพื่อกาหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทาผิดต่อระบบการทางานของ
คอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิ
เสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม
5.กฏหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อกาหนดกลไกสาคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทาง
อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชาระเงิน
รูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทา
ธุรกรรมทางการเงิน และการทาธุรกรรมทางอิ๶ล็กทรอȨกส์มากยิ่งขึ้น
6.กฏหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน
เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสาคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน
สาคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สาคัญประการหนึ่งของแนวนโยบาย
พื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสาคัญ
ในการช่วยลดความเหลื่อมล้าของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเอง
พัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนาไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้
ตัวอย่างการทาผิดที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน
1. การส่งเมล์ก่อกวนหรือโฆษณาขายสินค้าหรือขายบริการ ประเภทป๊อปอัพ หรือพวกส่งอีเมล์ขยะ
ที่เขาไม่ต้องการมีโทษปรับอย่างเดียวไม่เกิน 100,000 บาท โทษฐานก่อความราคาญ
2. การส่งเมล์ใส่ร้ายป้ายสีคนอื่น ข่าวลือที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย การส่งภาพลามกอนาจาร
ทั้งหลาย รวมถึงการได้รับแล้วส่งต่อด้วย มีโทษเสมอกันคือ จ าคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
ดังนั้นจึงไม่ควรส่งต่อเมล์ที่ไม่เหมาะสม

More Related Content

กฏหมายทางเทคโนโลยีสารสȨทศ