ݺߣ

ݺߣShare a Scribd company logo
สมบัติของคลื่น

สมบัติของคลื่น
สมบัติของคลื่นมี 4 ประการ
1. สมบัติการสะท้อน
2. สมบัติการหักเห
3. สมบัติการแทรกสอด
4. สมบัติการเลี้ยวเบน

สมบัติการสะท้อนของคลื่น
การสะท้อนของคลื่นเกิดขึ้นเมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปชนกับสิ่งกีด
ขวาง หรือกระทบรอยต่อระหว่างตัวกลาง ทาให้คลื่นส่วนหนึ่ง
เคลื่อนที่กลับมายังตัวกลางเดิม โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้

กฎการสะท้อน
1. เป็นไปตามกฎการสะท้อนที่ว่า
1.) มุมตกกระทบ = มุมสะท้อน
2.) ทิศทางการของคลื่นตกกระทบ คลื่นสะท้อน และเส้นปกติ อยู่ใน
ระนาบเดียวกัน
2. ความถี่ ความยาวคลื่น อัตราเร็ว จะคงเดิมเสมอ
3. ถ้าไม่มีการสูญเสียพลังงาน แอมพลิจูดของคลื่นจะคงเดิม
แต่ถ้ามีการสูญเสียพลังงานแอมพลิจูดของคลื่นสะท้อนจะลดลง

สมบัติการหักเหของคลื่น
การหักเหของคลื่นเกิดขึ้นเมื่อคลื่นเคลื่อนที่จากตัวกลาง
หนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง ทาให้ความเร็วคลื่นและความยาวคลื่น
เปลี่ยนไป แต่ความถี่คงเดิม
การหักเหของคลื่นมีผลทาให้อัตราเร็วคลื่นและความยาว
คลื่นเปลี่ยน แต่ทิศการเคลื่อนที่จะเปลี่ยนหรือคงเดิมก็ได้ ขึ้นอยู่
กับ

3. ถ้าทิศของคลื่นตกกระทบตั้งฉากกับรอยต่อ หรือหน้า
คลื่นตกกระทบขนานกับรอยต่อระหว่างตัวกลางทิศของคลื่น
ที่หักเหที่ผ่านไปอีกตัวกลางหนึ่งจะไม่เปลี่ยนแปลง
2. ถ้าทิศของคลื่นตกกระทบทามุมกับรอยต่อ หรือหน้า
คลื่นตกกระทบทามุมกับรอยต่อระหว่างตัวกลางทิศของคลื่น
ที่หักเหที่ผ่านไปอีกตัวกลางหนึ่งจะเปลี่ยนแปลงดังรูป


การหักเหกรณีน้าลึกและน้าตื้น
กรณีน้าลึก คลื่นจะมีอัตราเร็วมาก ความยาวคลื่นมาก
มุมตกกระทบและมุมหักเหจะใหญ่
กรณีน้าตื้น คลื่นจะมีอัตราเร็วน้อย ความยาวคลื่น
น้อย มุมตกกระทบหรือมุมหักเหจะเล็ก

มุมวิกฤต คือ มุมตกกระทบใดๆ ที่ทาให้แนวการหัก
เหทามุม 90 องศากับเส้นปกติ
การสะท้อนกลับหมด เกิดขึ้นเมื่อทิศของคลื่นตก
กระทบโตกว่ามุมวิกฤต ทาให้เกิดคลื่นสะท้อนกลับใน
ตัวกลางเดิม
กรณีการหักเหของคลื่นน้า จะเกิดมุมวิกฤตได้เมื่อคลื่น
เคลื่อนที่จากบริเวณน้าตื้นเข้าสู่บริเวณน้าลึก


สมบัติการแทรกสอดของคลื่น
การแทรกสอดของคลื่นเกิดขึ้นจากคลื่นตั้งแต่สอง
ขบวนขึ้นไปเคลื่อนที่มาพบกัน ทาให้เกิดการรวมกัน
ของคลื่นได้ 2 แบบ คือ 1. แบบหักล้างกัน
2. แบบเสริมกัน


แหล่งกาเนิดอาพันธ์ คือ แหล่งกาเนิด 2 แหล่งที่ปล่อย
คลื่นออกมามีความถี่ ความยาวคลื่น อัตราเร็ว และ
แอมพลิจูดเท่ากัน และมีเฟสตรงกันและต่างกันคงที่

ถ้าแหล่งกาเนิด S1 และ S2 เป็นแหล่งกาเนิดคลื่น
อาพันธ์มีเฟสตรงกัน แนวตรงกลางจะเป็นคลื่นรวมแบบ
เสริมกัน เรียกว่า แนวปฏิบัพกลาง (A0)
ถ้าแหล่งกาเนิด S1 และ S2 เป็นแหล่งกาเนิด
คลื่นอาพันธ์มีเฟสตรงกันข้าม แนวตรงกลางจะเป็นแนว
คลื่นรวมแบบหักล้างกัน เรียกว่า แนวบัพกลาง (N0)

การแทรกสอดแบบเสริมกัน
เป็นการแทรกสอดซึ่งสันคลื่นทั้งสองมารวมกันหรือท้อง
คลื่นมารวมกัน (เฟสตรงกันมาพบกัน) คลื่นลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะมี
สันสูงกว่าเดิม หรือท้องคลื่นลึกกว่าเดิม เรียกตาแหน่งนั้นว่า
ปฏิบัพ (Antinode , A)

การแทรกสอดแบบหักล้างกัน
เป็นการแทรกสอดซึ่งสันคลื่นกับท้องคลื่นมา
รวมกัน (เฟสตรงกันข้ามมาพบกัน) คลื่นลัพธ์จะมีสัน
คลื่นต่ากว่าเดิม หรือท้องคลื่นตื้นกว่าเดิม เรียกตาแหน่ง
นั้นว่า บัพ (Node , N)

เมื่อแหล่งกาเนิดมีเฟสตรงกัน
แนวเสริมกัน (Antinode)
l S1P - S2P l = (n -
𝟏
𝟐
)
d 𝐬𝐢𝐧 𝜽 = n
𝒅𝒙
𝑫
= n เมื่อ n = 0,1,2,…

แนวหักล้างกัน (Node)
l S1P - S2P l = (n -
𝟏
𝟐
)
d 𝒔𝒊𝒏 𝜽 = (n -
𝟏
𝟐
)
𝒅𝒙
𝑫
= (n -
𝟏
𝟐
) เมื่อ n = 1,2,3,…


สมบัติการเลี้ยวเบน
การเลี้ยวเบนเกิดขึ้นเมื่อคลื่นเคลื่อนที่ผ่านสิ่งกีดขวาง
คลื่นบางส่วนจะสะท้อนกลับ อีกบางส่วนที่สามารถผ่าน
ไปได้จะสามารถแผ่จากขอบสิ่งกีดขวางเข้าไปที่ด้านหลังของ
สิ่งกีดขวาง คล้ายกับคลื่นเคลื่อนที่อ้อมผ่านสิ่งกีดขวางนั้น
ได้ เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การเลี้ยวเบน (คลื่นยังคง
มีความยาวคลื่น ความถี่ และอัตราเร็วของคลื่นเท่าเดิม)


หลักการเลี้ยวเบน
1. ในการเลี้ยวเบนของคลื่น ความยาวคลื่น ความถี่ และ
อัตราเร็วยังคงเท่าเดิม
2. ถ้าเพิ่มความยาวคลื่นของคลื่นตกกระทบ จะเกิดการ
เลี้ยวเบนมากขึ้น
3. การเคลื่อนที่ของคลื่นผ่านช่องเปิด จะเกิดการเลี้ยวเบน
มากยิ่งขึ้นถ้าขนาดช่องเปิด (d) น้อยกว่าความยาวคลื่น ()

การอธิบายการเลี้ยวเบนโดยใช้ หลักการของฮอยเกนส์
ซึ่งกล่าวว่าแต่ละจุดบนหน้าคลื่นถือว่าเป็นแหล่งกาเนิดของ
คลื่นใหม่ซึ่งทาให้เกิดคลื่น ซึ่งเคลื่อนที่ไปในทุกทิศทุก
ทางด้วยอัตราเร็วเท่ากับอัตราเร็วคลื่นเดิม

More Related Content

สมบัติของคลื่น