ݺߣ

ݺߣShare a Scribd company logo
โครงงานคอมพิวเตอร์
ประเภทโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
โครงงาน ตะลุยสุ่มไก่ใกล้ตัว
อาจารย์ที่ปรึกษา
คุณครูอนพัทย์ หรีรักษ์
ชื่อผู้จัดทา
1. นางสาวธัญญาลักษณ์ เพชรวิสัย เลขที่ 28
2. นางสาวเพ็ญนภา โชฎก เลขที่ 29
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1
โรงเรียนประจันตราษฎร์บารุง
แนวคิด ที่มา และความสาคัญ
วัตถุประสงค์
การสานสุ่มไก่
ความเป็นมาของการสานสุ่มไก่
วัสดุ/อุปกรณ์
ขั้นตอนวิธีการทาสุ่มไก่
วิดีโอการทาสุ่มไก่
แหล่งอ้างอิงข้อมูล
แบบทึϸอบ
แนวคิด ที่มา และความสาคัญ
เนื่องจากอาเภอประจันตคามเป็นอาเภอที่มีชื่อเสียงที่สุดของจังหวัดปราจีนบุรีใน
เรื่องหัตถกรรมงานฝีมือ โดยเฉพาะผลงานในด้านการจักสาน สิ่งประดิษฐ์ เครื่องมือ
เครื่องใช้ต่างๆที่ทามาจากไม้ไผ่ ซึ่งที่มาของการจัดทาโครงงานเรื่องนี้ขึ้นนั้น เพราะว่า
ครอบครัวของคณะผู้จัดทา ได้ประกอบอาชีพหัตถกรรมงานฝีมือจักรสานสุ่มไก่ขายอยู่
แล้ว ทาให้เกิดความคิดที่ว่า อยากจะทาโครงงานการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทาสุ่มไก่อย่าง
ละเอียด ว่ากว่าที่จะมาเป็นสุ่มไก่นั้น ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนอะไรมาบ้าง จากนั้นก็
จะได้นาความรู้ดั่งกล่าวมาเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ศึกษา คณะผู้จัดทาจึงได้ตัดสินใจที่จะทา
โครงงานเรื่องนี้ ถือเป็นการศึกษา เผยแพร่ อนุรักษ์ภูมิปัญญาหัตถกรรมงานฝีมือใน
ท้องถิ่น และส่งเสริมให้เยาวชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงความสาคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ได้เกิดความรู้ แนวคิดใหม่ เพื่อนาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวัน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาวิธีการทาสุ่มไก่อย่างละเอียดจากชาวบ้านผู้เชี่ยวชาญ
2. เพื่อเป็นการสืบสาน อนุรักษ์ ผลงงานหัตถกรรมในท้องถิ่น
3.เพื่อนาข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รับความรู้และเกิด
ประโยชน์
4.เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการทางานและนาเสนอโครงงานเพิ่ม
มากขึ้น
การสานสุ่มไก่
การจักรสานวิถีไทย มนุษย์ได้รู้จักวิธีการนาวัตถุดิบที่อยู่ใกล้ตัว มาดัดแปลง
เป็นสิ่งของเครื่องใช้ จากขั้นตอนที่ง่ายจนวิวัฒนาการสู่ความละเอียดอ่อน ประณีตงดงาม
และประโยชน์ใช้สอย จนสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี และสืบทอดมาจนปัจจุบัน
ช่วยให้มนุษย์ได้ผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ไว้เป็นจานวนมาก เราเรียกสิ่งประดิษฐ์นั้นว่า
“หัตถกรรม” อันหมายถึง การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ด้วยมือ เครื่องมือ ภูมิปัญญา เพื่อให้
ได้มาซึ่งประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจาวัน และถ้าสิ่งประดิษฐ์นั้นมีค่ามากกว่าการใช้
สอย โดยรวมความงาม เน้นให้เห็นถึงการสร้างสรรค์ เรามักเรียกสิ่งประดิษฐ์นั้นว่า
“ หัตถกรรมศิลป์ ” เครื่องจักสาน คือ เครื่องใช้ที่ทาด้วยไม้ไผ่หรือหวาย จากฝีมือความคิด
ภูมิปัญญาของชาวบ้านมีลักษณะรูปทรงแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ภูมิประเทศ วัสดุอุปกรณ์ คตินิยม และอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆ
ความเป็นมาของการสานสุ่มไก่
ความเป็นมาของการทาสุ่มในหมู่บ้านมีชาวบ้านจานวนมากที่ชื่นชอบและ
นิยมกีฬาชนไก่ จึงมีการเลี้ยงไก่ชนเป็นจานวนมาก และอุปกรณ์ที่จาเป็นในการเลี้ยงดู
ไก่ชนอย่างใกล้ชิดคือสุ่มไก่ ซึ่งสุ่มไก่นี้สานได้ง่าย มีราคาถูกและใช้ประโยชน์ได้ดี
การสานสุ่มไก่นี้ได้สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านานมากสืบทอดมาทั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ
จึงได้มีการสานสุ่มสืบต่อกันมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันก็ได้สานสุ่มเป็นอาชีพ เพราะด้วย
วัยที่มากขึ้นทุกวัน ไม่สามารถออกไปทางานได้ จึงยึดอาชีพสานสุ่มไก่ขายเป็นหลัก
วัสดุ/อุปกรณ์
• ไม้ไผ่ (ไม้ไผ่รวก)
• เลื้อยคันธนู
• กรรไกรตัดกิ่งไม้หรือเลื้อยตัดเหล็ก
• มีด
• เครื่องจักรตอก
• วงกลมหัวสุ่มที่ทาจากลวดหรือไม้ไผ่
ไม้ไผ่
เครื่องจักรตอกวงกลมหัวสุ่ม
เลื้อยคันธนู
มีด กรรไกรตัดกิ่งไม้
ขั้นตอนวิธีการทาสุ่มไก่
ขั้นตอนที่ 1 การเลือกไม้ไผ่
ขั้นตอนที่ 2 การทาตอกสั้น
ขั้นตอนที่ 3 การทาตอกยาว
ขั้นตอนที่ 4 การจักรตอก
ขั้นตอนที่ 5 การทาตอกวนหัวสุ่ม
ขั้นตอนที่ 6 การเหลาตอก
ขั้นตอนที่ 7 การสานหัวสุ่ม
ขั้นตอนที่ 8 การสานสุ่มไก่
ขั้นตอนที่ 9 ตัดตีสุ่ม
ขั้นตอนที่ 10 การล่นสุ่ม
ขั้นตอนที่ 11 การจัดจาหน่าย
ขั้นตอนที่ 1 การเลือกไม้ไผ่
เลือกไม้ไผ่ที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป ไม้ไผ่ที่สามารถนามาใช้ได้
ได้แก่ ไม้ไผ่รวก ไม้ไผ่ตง ไม้ไผ่สีสุก เป็นต้น
ขั้นตอนวิธีการทา
ขั้นตอนที่ 2 การทาตอกสั้น
ผ่าไม้ไผ่ โดยใช้เลื้อยตัดบริเวณโคนไม้ไผ่ที่หนาๆออก ประมาณ 10-30
เซนติเมตร ตัดไม้ไผ่ยาว 220 เซนติเมตร (ขนาดสุ่มเล็ก 160 เซนติเมตร , ขนาด
สุ่มกลาง 200 เซนติเมตร, ขนาดสุ่มใหญ่ 240 เซนติเมตร) ผ่าให้ได้ 8-12 เส้น
ตามความเหมาะสม โดยความกว้าง 1.2-1.4 เซนติเมตร
ขั้นตอนวิธีการทา
ขั้นตอนที่ 3 การทาตอกยาว
ผ่าไม้ไผ่ โดยใช้เลื้อยตัดบริเวณโคนไม้ไผ่ที่หนาๆออก ประมาณ 10-30
เซนติเมตร ไม้ไผ่ 1 ลา ผ่าให้ได้ 8-12 เส้น ตามความเหมาะสม โดยความ
กว้าง 1.2-1.4 เซนติเมตร ความยาว เทียบเท่ากับไม้ไผ่ 1 ลา
ขั้นตอนวิธีการทา
ขั้นตอนที่ 4 การจักรตอก
มี 2วิธี ได้แก่ การจักรตอกด้วยมือและการจักรตอกด้วยเครื่องจักร
ตอกที่ต้องจักรได้แก่ ตอกสั้นและตอกยาว
การจักรตอกด้วยมือไม้ไผ่ห้ามตีตากลับ
ขั้นตอนวิธีการทา
ขั้นตอนที่ 5 การทาตอกวนหัวสุ่ม
ผ่าไม้ไผ่ 1 ลา ให้ได้ 16-20 เส้น เหลาให้มีลักษณะกลมๆ ความกว้าง
เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 เซนติเมตร ความยาว เทียบเท่ากับไม้ไผ่ 1 ลา
ขั้นตอนที่ 6 การเหลาตอก
เหลาตอกหลังจากที่จักรตอกเสร็จ เพื่อให้ตอกมีคมน้อมที่สุด ป้องกัน
การบาดมือขณะที่สานและให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ขั้นตอนวิธีการทา
ขั้นตอนที่ 7 การสานหัวสุ่ม
นาวงกลมที่ทาจากไม้ไผ่หรือลวด แล้วสอดตอกให้เป็นวงกลม
สานโดยนาตอกมาขัดกันให้แน่น
ขั้นตอนวิธีการทา
ขั้นตอนที่ 8 การสานสุ่มไก่
นาหัวสุ่มที่สานมาทาบกับหุ่นสุ่ม นาไม้มายึดหัวสุ่มกับหุ่นสุ่มให้ตรงกัน
นาตอกวนหัวสุ่มมาวนวงเล็ก 2-3 รอบจากนั้นนาตอกขัดกัน นาตอกวนหัวสุ่มมาวน
วงใหญ่ 2-3 รอบนาตอกเส้นแรกที่ไม่มีตาไม้มาเริ่มสานโดยเว้นระยะห่างให้
เหมาะสม สานแบบขัด สานจนถึงตีสุ่ม โดยตีสุ่มสานแบบไม่ต้องเว้นระยะห่าง 4-5
รอบ แล้วเก็บตอกให้แน่น
ขั้นตอนวิธีการทา
ขั้นตอนที่ 9ตัดตีสุ่ม
โดยใช้เลื้อยตัดเหล็กหรือกรรไกรตัดกิ่งไม้ ให้ห่างจากตอกเส้นสุดท้าย
ประมาณ 3 เซนติเมตร
ขั้นตอนวิธีการทา
ขั้นตอนที่ 10 การล่นสุ่ม
ใช้ขี้ตอกที่ไม่ได้ใช้แล้ว มาจุดใช้ไฟ และเอาสุ่มไก่ไปล่นให้สุ่มไก่
เงางาม และลดคมของตอก
ขั้นตอนวิธีการทา
ขั้นตอนที่ 11 การจัดจาหน่าย
ขายปลีก-ขายส่ง เถาละ 5 ใบ ราคาขึ้นอยู่กับฤดูกาล ช่วงฤดูหนาวมี
ราคาสูง ช่วงฤดูฝนมีราคาต่า โดยมีรถมารับถึงบ้าน
ราคาสุ่มไก่ขนาดเล็ก ประมาณ 300-350 บาท
ราคาสุ่มไก่ขนาดกลาง ประมาณ 400-550 บาท
ราคาสุ่มไก่ขนาดใหญ่ ประมาณ 500-700 บาท
ขั้นตอนวิธีการทา
วิดีโอการทาสุ่มไก่
ขั้นตอนวิธีการทา
แบบทึϸอบ
Question1
ไม้ไผ่ชนิดใดไม่นิยมนามาสานสุ่มไก่ ??
ไม้ไผ่รวก
ไม้ไผ่ตง
ไม้ไผ่สีสุก
ไม้ไผ่เลี้ยง
Question2
ช่วงไหนที่สุ่มไก่ราคาสูง??
ฤดูฝน
ฤดูหนาว
ฤดูร้อน
ช่วงเดือน พ.ค.- ก.ย.
Question3
ข้อใดคือปัจจัยหลักในการทาสุ่มไก่??
เครื่องจักรตอก
ไม้ไผ่
มีด
วงกลมหัวสุ่ม
Question4
หัตถกรรมหมายถึงอะไร??
การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านสิ่งของเครื่องใช้
การประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้อย่างประณีตงดงาม
การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ด้วยมือ ตามภูมิปัญญา เพื่อใช้
ประโยชน์ในชีวิตประจาวัน
การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยนา
ของที่มีอยู่แล้วมาต่อยอดเป็นสิ่งใหม่ๆ
Question5
อุปกรณ์อะไรที่สามารถใช้แทนกรรไกรตัดกิ่งไม้
ได้??
เลื้อยตัดเหล็ก
มีด
เลื้อยคันธนู
คีมตัดลวด
Congratulations
you made the test
แหล่งอ้างอิงข้อมูล
http://1chicken-coop.blogspot.com/2012/10/blog-
post_1419.html
http://www.lukhamhan.ac.th/course/blog/5596
https://sites.google.com/site/kansansumkaibanja
n/prayochn-khxng-sum
https://www.youtube.com/watch?v=MhCpxfsoPp
A

More Related Content

โครงงานคอมพิวเตอร์ ประเภทสื่อเพื่อการศึกษา เรื่องตะลุยสุ่มไก่ใกล้ตัว