ความสัมพันธ์ในระบบȨวศ
- 9. ให้นักเรียนยกตัวอย่างอุณหภูมิที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตในด้านอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้ว 1-2 ตัวอย่าง ? อิทธิพลของอุณหภูมิต่อกระบวนการสรีรวิทยาต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น ถ้าอุณหภูมิลดลง จะมีการพักตัวหรือการจำศีล เช่น กบ กระรอกึϸน หมีขั้วโลก อิทธิพลต่อโครงสร้าง ขนาด และรูปร่าง เช่น พืชเขตหนาวมีเปลือกของลำต้นหนาเพื่อให้ทนทานต่ออุณหภูมิที่หนาวเย็น หรือมีการสลัดใบทิ้งเมื่อย่างเข้าสู่ฤดูหนาว และจะผลิใบใหม่เมื่อฤดูหนาวผ่านพ้นไปแล้ว หรือสัตว์ในแถบขั้วโลกเหนือ เช่น แมวน้ำ หมีขั้วโลกจะมีขน หนัง หรือชั้นไขมันใต้ผิวหนังหนา เพื่อรักษาความอบอุ่นให้กับร่างกาย เป็นต้น
- 10. ตัวอย่าง : ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับอุณหภูมิ มีผลต่อสิ่งมีชีวิตดังนี้ - มีผลต่อการควบคุมการเจริญเติบโตการสืบพันธุ์การแพร่กระจายพันธุ์ - การปรับตัวด้านโครงสร้าง - การปรับตัวด้านพฤติกรรม
- 15. แสงมีผลต่อการแพร่กระจายของพืชทะเลอย่างไร ? พืชทะเลก็มีการสังเคราะห์ด้วยแสงเช่นเดียวกับพืชบก โดยเฉพาะสาหร่าย ซึ่งพบว่าสาหร่ายแต่ละชนิดมีความต้องการความเข้มของแสงต่างกัน เช่น สาหร่ายทะเล Navicula crytocephala และ Melosira grunulata ต้องการความเข้มของแสงมากจึงมักพบแพร่กระจายอยู่ในเขตที่มีแสงส่องถึง สาหร่ายพวก Melosira roseana และ Surirella sp. และสาหร่ายสีแดงพบแพร่กระจายอยู่ในเขตที่มีแสงน้อย เป็นต้น เมื่อพืชทะเลได้แสงสว่างก็จะมีการสังเคราะห์ด้วยแสง มีการสร้างอาหาร สร้างพลังงาน มีการเจริญเติบโตดำรงชีวิตอยู่ได้ แพร่กระจายพันธุ์ต่อไป
- 18. เพราะเหตุใดความชื้นจึงเป็นตัวกำหนดความอุดมสมบูรณ์ ลักษณะ และชนิดของระบบนิเวศ ? ความชื้นมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงบนพื้นโลก โดยทั่วไป กระแสลมจะพัดพาเอาความชุ่มชื้นจากทะเลและมหาสมุทรเข้าสู่ฝั่ง ทำให้พื้นึϸนด้านที่รับลมจะมีความชื้นสูงและฝนตกชุก ทำให้พืชเจริญงอกงามได้ดี มีสิ่งมีชีวิตมาอาศัยอยู่มาก ส่วนทางด้านที่อับลมมีความชื้นน้อย พืชไม่เจริญงอกงามอากาศแห้งแล้ง สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่น้อย
- 19. สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเลทรายมีการปรับตัว เพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำได้อย่างไร ? พืชทะเลทรายมีการปรับตัวดังนี้ มีลำต้นและใบอวบน้ำ หรือมีการลดรูปใบเป็นหนามและส่วนมากจะมีคิวทินเคลือบใบ เพื่อลดการระเหยของน้ำ เช่น ต้นกระบองเพชรสัตว์ที่อาศัยในทะเลทราย มีการปรับตัวทั้งด้านพฤติกรรม และทางด้านสรีรวิทยาเช่น ด้านพฤติกรรม จะออกหาอาหารในช่วงที่ดวงอาทิตย์ตกเกือบจะลับขอบฟ้าไปจนรุ่งเช้า ส่วนการปรับตัวทางสรีรวิทยามีหลายแบบ เช่น สามารถดึงเอาน้ำที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเมแทบอลึซึมของร่างกายมาใช้ มีการกำจัดของเสียประเภทที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบในรูปของสารประกอบที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบน้อยที่สุด เช่น เป็นสารประกอบกรดยูริก
- 21. แก๊สออกซิเจนเป็นปัจจัยจำกัดต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำอย่างไร ? โดยปกติในอากาศปริมาตร 1 ลิตร มีแก๊สออกซิเจนอยู่ 210 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่ในน้ำ 1 ลิตรมีแก๊สออกซิเจนละลายอยู่เพียง 0.5 ลูกบาศก์เซนติเมตรเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากอุณหภูมิ และธาตุอาหารต่าง ๆ ในน้ำ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ออกซิเจนละลายได้น้อย นอกจากนี้ ออกซิเจนยังแพร่ได้ช้า ดังนั้นสิ่งมีชีวิตในน้ำจึงได้รับปริมาณแก๊สออกซิเจนค่อนข้างจำกัดแก๊สออกซิเจนเป็นปัจจัยจำกัดที่สำคัญยิ่งในแหล่งน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งน้ำที่มีอินทรียสารมาก เนื่องจากจุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายอินทรียสารนั้นจึงทำให้เกิดการขาดแคลนออกซิเจนได้
- 27. พืชได้รับธาตุอาหารทางใดบ้าง ? ทางรากและทางปากใบ ทางราก โดยการดูดธาตุอาหารที่มีอยู่ในึϸน เข้าสู่รากผ่านระบบท่อลำเลียงไปตามส่วนต่าง ๆ ของลำต้น ทางปากใบโดยการผสมปุ๋ยกับน้ำแล้วฉีดพ่นไปที่ใบพืช ธาตุอาหารจะเข้าสู่ใบพืชและเข้าสู่ระบบลำเลียงในพืชต่อไป
- 32. ภาวะพึ่งพาอาศัย ( Mutualism) เป็นภาวะที่ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ โดยสองฝ่ายต้องอยู่ร่วมกันชั่วคราวหรือต้องอยู่ร่วมกันตลอดไป โดยไม่สามารถแยกจากกันได้ ถ้าแยกจากกันฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายจะตาย เช่น
- 36. ดอกไม้ กับ แมลง โดยแมลงกินน้ำหวานจากดอกไม้ และแมลงช่วยผสมเกสรให้กับดอกไม้
- 39. นกเอี้ยงเลี้ยงควายเฒ่า นกเอี้ยง กิน เซลล์ที่ตายแล้วตามผิวหนังของควาย และกินเหา เห็บ หมัด ที่เกาะตามผิวหนัง ส่วนควายก็ได้ทำความสะอาดผิวหนัง และได้กำจัดเหา เห็บ และ หมัดออกจากตัว ด้วย.....ถือเป็นการได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย
- 40. ภาวะอิงอาศัย ( Commensalism) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ส่วน อีกฝ่ายไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ เช่น
- 44. ภาวะการล่าเหยื่อ ( Predation) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยฝ่ายได้ประโยชน์เรียกว่า ผู้ล่า ( Predator ) ฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ ว่า เหยื่อ ( Prey ) เช่นการล่าเหยื่อ ของสุนัขจิ้งจอก , การล่าเหยื่อของกิ้งก่า , กาบหอยแครงดักจับแมลง , เสือล่ากวาง
- 45. ภาวะปรสิต ( Parasitism) เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปอาศัยสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ฝ่ายที่ได้ประโยชน ์เรียกว่า ปรสิต ( Parasite ) ส่วนสิ่งมีชีวิตที่ถูกอาศัยเรียกว่าผู้ถูกอาศัย ( Host ) เช่น กาฝากกับต้นมะม่วง ต้นฝอยทองกับต้นไม้อื่น , ยุงดูดเลือดจากสิ่งมีชีวิต ., พยาธิต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่กับร่างกายคนและสัตว์ , หนอนกัดกินใบไม้
- 49. การแย่งธาตุอาหารและแสงสว่างของพืช เช่น ผักตบชวาในบึง บัวในสระ การแย่งเป็นจ่าฝูงในสัตว์บางชนิด เช่น สิงโต เสือ ปลาในบ่อเลี้ยงที่แย่งอาหารกัน เช่น ปลาสวาย ปลาดุก การแย่งกันครอบครองอาณาเขต เช่น ฝูงลิง เสือ สิงโต ฯลฯ -,- 6. ภาวะแก่งแย่งแข่งขัน (competition) กาฝากบนต้นไม้ พยาธิใบไม้ในตับสัตว์ เหาบนศีรษะคน เห็บหรือหมัดบนผิวลำตัวสุนัข พยาธิตัวตืดในกล้ามเนื้อหมู +,- 5. ภาวะเป็นปรสิต (parasitism) เฟินบนต้นไม้ใหญ่ เหาฉลามกับปลาฉลาม นกทำรังบนต้นไม้ เพรียงหินบนกระดองเต่า +,0 3. ภาวะเกื้อกูล (commensalism) ดอกไม้กับแมลง นกเอี้ยงกับควาย มดดำกับเพลี้ย ซีแอนีโมนีกับปูเสฉวน ฯลฯ +,+ 2. การได้ประโยชน์ร่วมกัน (protocooperation ต้นไทรกับต่อไทร โพรโทซัวในลำไส้ปลวกกับปลวก ไลเคน ไรโซเบียมในปมรากถั่ว ราไมคอร์ไรซาในรากสนหรือรากปรง ฯลฯ +,+ 1. ภาวะพึ่งพาอาศัย (mutualism) ผลการสำรวจ สัญลักษณ์ รูปแบบความสัมพันธ์
- 50. รูปแบบของความสัมพันธ์แบบภาวะพึ่งพาอาศัย กับการได้รับประโยชน์ร่วมกันต่างกันอย่างไร ? ความสัมพันธ์แบบภาวะพึ่งพาอาศัย คือสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ขาดชนิดหนึ่งชนิดใดไม่ได้ และต่างได้รับผลประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย เช่น โพรโทซัวในลำไส้ปลวกถ้าปลวกตายโพรโทซัวก็จะอยู่ไม่ได้และตายไปด้วย ความสัมพันธ์แบบได้รับประโยชน์ร่วมกัน เป็นความสัมพันธ์ที่ทั้งสองฝ่ายได้รับผลประโยชน์แต่สิ่งมีชีวิต 2 ชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ร่วมกันเสมอไป เช่น ดอกไม้กับแมลงเมื่อแมลงนำน้ำหวานจากดอกไม้แล้วก็อาจบินไปที่อื่น และอาจกลับมาใหม่เมื่อต้องการน้ำหวานอีก
- 51. รูปแบบของความสัมพันธ์แบบการล่าเหยื่อกับภาวะปรสิตต่างกันอย่างไร ? การล่าเหยื่อ ความสัมพันธ์แบบนี้จะมีฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ เรียกว่า ผู้ล่า (predator) ซึ่งมักจะมีขนาดใหญ่และแข็งแรงกว่าอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์และต้องตายเพราะถูกกินเป็นอาหารเรียกว่า เหยื่อ (prey) ซึ่งจะอ่อนแอกว่า ภาวะเป็นปรสิต เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ฝ่ายหนึ่งจะได้รับประโยชน์อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ ฝ่ายที่ได้รับประโยชน์อาจจะอาศัยอยู่ภายในหรือภายนอกร่างกายของผู้เสียประโยชน์ เรียกสิ่งมีชีวิตที่ได้รับประโยชน์ว่า ปรสิต (parasite) และเรียกผู้เสียประโยชน์ว่า ผู้ถูกอาศัย (host) โดยปรสิตจะแย่งอาหารหรือกินบางส่วนของร่างกายผู้ถูกอาศัย แต่ไม่ถึงกับทำให้ผู้ถูกอาศัยตายเพียงแต่เกิดความรำคาญ หรืออาจก่อให้เกิดโรคได้ เป็นต้น
- 52. จากภาพที่ 21-34 นักเรียนจะอธิบายความสัมพันธ์ของพารามีเซียมทั้งสองชนิดนี้ได้ว่าอย่างไร ? จากภาพเป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการ ซึ่งพารามีเซียมทั้ง 2 ชนิด เป็นโพรโทซัว ที่กินแบคทีเรียเป็นอาหารจากภาพ P . aurelia และ P . caudatum สามารถเจริญได้ดี ในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดเดียวกัน เมื่อเพาะเลี้ยงเดี่ยว ๆ กราฟการเจริญเติบโตเป็นดังภาพ ก . และ ข . คือพารามีเซียมทั้ง 2 ชนิด เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในระยะแรก หลังจากนั้น อัตราการเพิ่มจะคงที่ตราบใดที่ยังมีอาหารอยู่ แต่เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงด้วยกันจะได้กราฟ ดังภาพ ค . คือ P . aurelia จะเพิ่มจำนวนได้มากกว่า P . caudatum ซึ่งแสดงว่าพารามีเซียมทั้งสองชนิดมีการแก่งแย่งอาหารกัน