ถอึϸทเรียน
- 1. ถอึϸทเรียน …….<br />บ้านจ๊างนัก บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง……. <br />บ้างจ๊างนัก<br />ประวัติและผลงานของ สล่า เพชร วิริยะ<br /> <br />ศิลปินดีเด่นจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี 2543สาขาทัศนศิลป์ ด้านประติมากรรม<br />สล่า เพชร วิริยะ เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2498 สถานที่เกิด บ้านบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของ นายสิงห์ วิริยะ และ นางบัวจีน วิริยะ มีพี่น้อง 5 คน คือ<br />2447925209551. นายเพชร วิริยะ<br />2. นายสุภาพ วิริยะ<br />3. นายเสน่ห์ วิริยะ<br />4. นายพิภัคร์ วิริยะ<br />5. นางเพลินจิต วิริยะ<br />ที่อยู่ quot;
บ้านจ๊างนักquot;
<br />3905250426085บ้านเลขที่ 56/1 หมู่ที่ 2 ตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ <br />โทรศัพท์ (053) 3446891,01-4725051<br />ครอบครัว<br />3829050685800นายเพชร วิริยะ สมรสกับนางนงเยาว์ วิริยะ (นันไชยศิลป์) มีบุตรธิดาทั้งหมด 2 คน คือ<br />1. นางสาววารียา วิริยะ<br />2. นางสาวเวรุยา วิริยะ<br />การศึกษา<br />ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนผู้ใหญ่ 1 หอพระ จังหวัดเชียงใหม่ <br />การศึกษาผู้ใหญ่ ระดับ 4 (ม.ศ. 3) จากโรงเรียนผู้ใหญ่สันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่<br />3905250238125ผลงานที่ผ่านมา<br />พ.ศ. 2515-2519 เรียนแกะสลักไม้กับครูอ้าย เดชดวงตา จากนั้นได้รับจ้างแกะสลักตามร้าน<br />พ.ศ. 2526 ได้รับราชการเป็นวิทยากรฝึกอบรมอาชีพแกะสลักไม้ประจำกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรุงเทพฯ 2 ปี จึงลาออกมาทำงานที่บ้าน<br />พ.ศ. 2530 ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องช้าง สามารถถ่ายทอดเป็นผลงานแกสะลักช้างได้หลายรูปแบบ กลายเป็นช่างฝีมือและประกอบอาชีพแกะสลักไม้จนถึงปัจจุบัน และได้ฝึกสอนเยาวชนในหมู่บ้าน แนวความคิด ภาคภูมิใจอ่างยิ่งที่ได้ทำงานที่รักและชอบ ถือเป็นหน้าที่ช่วงหนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรมครูคำอ้าย เดชดวงตา แล้วพัฒนาฝีมือและรูปแบงานและได้ถ่ายทอดสั่งสอนศิลปะวิชาช่างแจนงนี้ให้อยู่ยืนยาวต่อไป และช้าง คือความยิ่งใหญ่ในตำนาน เรื่องราว รูปแบบและตัวตน<br />3629025142875การแสดงงาน ร่วมแสดงงานศิลปะกับศิลปินกลุ่มลานนามาตลอด<br />ปี 2535 นำทีมงานกลุ่มสล่าบ้านจ๊างนัก จัดนิทรรศการคาราวานช้างไม้ ๑ ที่จังหวัดภูเก็ต<br />ปี 2536 ร่วมแสดงงานมหกรรมประติมากรรม 93 ร้อยปีศาสตราจารย์ ศิลป์ <br />พีระศรี ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้าฯ กรุงเทพฯ<br />3642995435610ปี 2537 นำทีมงานกลุ่มสล่าบ้านจ๊างนัก จัดนิทรรศการคาราวานช้างไม้ ๒ <br />ณ ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลเทพธารินทร์ กรุงเทพฯ<br />ปี 2541 นำทีมงานกลุ่มสล่าบ้านจ๊างนัก จัดนิทรรศการคาราวานช้างไม้ ๓<br />ณ ศูนย์การค้าโอเรียนเตลเพลส กรุงเทพฯ<br />ปี 2542 นำทีมงานกลุ่มสล่าบ้านจ๊างนัก จัดนิทรรศการคาราวานช้างไม้ ๔ <br />ณ โรงแรมรอยัลการ์เด้นรีสอร์ทพัทยา จังหวัดชลบุรี<br />ปี 2542 ร่วมนิทรรศการศิลปกรรมศิลปินภาคเหนือ เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ณ หอนิทรรศการศิลปะวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />ปี 2543 ร่วมแสดงนิทรรศการ ศิลปกรรมของศิลปินล้านนา “จิตวิญญาณล้านนา ๗ คนเมือง”<br />ปี 2543 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ โดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ มองโล่เชิดชูเกียรติ เป็นศิลปินดีเด่น จังหวัดเชียงใหม่ สาขาทัศนศิลป์ ประจำปี 2543<br />ปี 2545 ร่วมแสดงนิทรรศการ “ต๋ามฮีตโตยฮอยสล่าเมือง ๑” ณ หอนิทรรศการศิลปะวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />ปี 2545 นำทีมงานสล่า “บ้านจ๊างนัก” จัดนิทรรศการงานแกะสลักไม้ชุดคชธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ณ Motion Hall ชั้น G ดิเอ็มโพเรียม ช็อปปิ้ง คอมเพล็กซ์ กรุงเทพฯ<br />ปี 2546 ร่วมแสดงงานนิทรรศการ “ต๊ามฮีตโตยฮอยสล่าเมือง ๒” ณ หอนิรรศการศิลปะวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />4171950122555quot;
ช้างไม้แกะสลักใหญ่ที่สุดquot;
ผลงานสล่า เพชร วิริยะ<br />สล่า เพชร วิริยะ มีโอกาสในการสร้างช้างไม้แกะสลักเท่าขนาดจริง จำนวน 4 เชือกเป็นช้างที่มีขนาดความสูง 2.00เมตร 2เชือก ช้างพลาย ขนาด 2.30 และ2.60 2เชือกและช้างไม้แกะสลักเป็นช้างเอราวัณ 3 เศียร ขนาด สูง 5.00 เมตร เชือกนี้<br />676275155575<br /> <br />4171950-485775ช้างไม้แกะสลักเชือกถูกสร้างขึ้นโดยใช้เวลาประมาณ 1ปีเศษแล้ว และคาดว่าจะใช้เวลาอักประมาณ 1 ปีจึงแล้วเสร็จ สล่าเพชร บอกเล่าถึงวิถีการทำงานอย่างคร่าวๆว่า ในขั้นแรกสล่า เพชร จะทำงานออกแบบช้างเอราวัณ ลงบนกระดาษเป็นงานในรูปแบบ งานร่างลายเส้นและทำการเขียนรูปด้านทั้งหมดก่อน (สังเกตุจากภาพวาดที่แขวนอยู่ข้างบนตัวช้างภาพขวาสุด)และจากขนาดที่สูงถึง 5เมตร จึงต้องทำโครงหลังคาเพื่อบังแดดฝนสำหรับช้างและสล่าโดยเฉพาะภายในของตัวช้างจะเป็นโครงสร้งไม้เนื้อแข็ง ตีโครงขึ้นมาตามรูปร่างของช้างปกคลุมด้านนอกทั้งหมดด้วยไม้ขี้เหล็ก ซึ่งเป็นไม้ที่สล่า เพชรชื่นชอบเพราะเป็นไม้ที่หาได้ตามท้องถิ่น มีเนื้อไม้ที่นำมาแกะสลักช้างได้ดีและมีสีดำน้ำตาลสวยงามทั้งยังนำไปย้อมสีมะเกลือได้ดีในขั้นตอนการเพาะไม้ภายนอกนั้นต้องใช้ความสามารถสูงพอควรเพราะไม้แต่ละชิ้นมีอายุและสภาพการยืดหดตัว แตกตัวต่างกัน จึงต้องใช้ความละเอียดเพื่อให้ได้ผิวที่กลมกลืนเป็นไม้ชิ้นเดียวกันและความพิเศษอีกหนึ่งอย่างคือช้างตัวนี้สามารถถอดประกอบได้ เพื่อนำไปติดตั้งยังที่หมายก่อนการเก็บงานในขั้นตอนการแกะสลักผิวหนังช้างนั้นไม่เป็นเรื่องยากมากสำหรับสล่าเพชร เพราะสล่าเพชรและกลุ่มสล่าบ้านจ๊างนัก มีความชำนาญและลึกซึ้งในพื้นผิว รายละเอียดของหนังช้างเป็นอย่างดี จากประสบการณ์การแกะสลักช้างนับ30ปี อีกขั้นตอนหนึ่งที่ต้องอาศัยความสามารถและพิถีพิถันคือ การทำสีตัวช้างเพื่อให้ได้มาซึ่งสีที่เหมือนจริงและสวยงาม ทั้งยังต้องเป็นด่านสุดท้ายในการปกปิดความแตกต่างของคุณลักษณะเนื้อสี ของไม้แต่ละชิ้นด้วย <br />………………………………………………………………………………………………………………..<br />บ้านถวาย<br />ที่ตั้งบ้านถวาย ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของตำบลขุนคง ระยะห่างจากที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลขุนคง ประมาณ 1 กิโลเมตร และห่างจากที่ว่าการอำเภอหางดง ประมาณ กิโลเมตร หมู่ที่ 2 บ้านถวายตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มีเขตติดต่อโดยรอบ ดังนี้ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านป่าหมาก หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านต้นแก้ว หมู่ที่ 1 ตำบลขุนคง อำเภอหางดง ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านกลาง หมู่ที 9 ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านหนองโขง หมู่ที่ 3 ตำบลขุนคง อำเภอหางดง<br />บ้านถวาย เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ ตั้งมาประมาณ 100 กว่าปี สาเหตุที่ชื่อบ้านถวาย ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ เล่าว่าบ้านถวาย ดั้งเดิมเป็นจุดถวายของให้พระนางเจ้าจามเทวีที่เสด็จผ่าน จากนครลำพูน ซึ่งเดินทางโดยทางเกวียนผ่านมาทางบ้านถวาย ชาวบ้านเมื่อทราบข่าวการจะเสด็จผ่านของพระนางฯ จึงพากันเตรียมข้าวของ หรือบางครอบครัวก็จะช่วยกันรีบตีเครื่องเงินเตรียมไว้ถวาย<br />บ้านถวายเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ในตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทางห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 18 กิโลเมตร แต่เดิมชาวบ้านประกอบอาชีพหลักทางด้านการเกษตร แต่เมื่อประสบกับภาวะขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งทำให้ผลผลิตตกต่ำ ส่งผลให้ชาวบ้านมีรายได้น้อย ดังนั้นหลังฤดูเก็บเกี่ยวชาวบ้านส่วนใหญ่จะเดินทางไปรับจ้างทำงานในตัวเมืองเชียงใหม่ เช่น รับจ้าง ก่อสร้าง และอื่น ๆ แต่มีบางส่วนออกไปค้าขายไม่ได้ประกอบอาชีพอยู่ในท้องถิ่นของตัวเองจนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2500- 2505 พ่อใจ๋มา อิ่นแก้ว พ่อหนานแดง พันธุสา และพ่อเฮือน พันธุศาสตร์ ทั้งสามท่านได้ไปรับจ้างอยู่ในตัวเมืองเชียงใหม่ เช่นเดียวกับชาวบ้านทั่วไป จนท่านได้ไปที่ร้านน้อมศิลป์ บ้านวัวลายซึ่งเป็นร้านจำหน่ายไม้แกะสลักที่โด่งดังในช่วงนั้น ทั้งสามท่านเกิดความสนใจในการรับจ้างแกะสลักไม้ จึงได้ขอทางร้านทดลองแกะดู ปรากฏว่าฝีมือพอทำได้ ทางร้านจึงให้เริ่มทำงานรับจ้างที่ร้านน้อมศิลป์ตั้งแต่นั้นมา การทำงานแกะสลักไม้ของทั้งสามท่านปรากฏว่ามีรายได้ดีกว่าการรับจ้างก่อสร้าง และทุกวันฝีมือการแกะสลักก็พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ท่านจึงเปลี่ยนอาชีพจากการับจ้างทั่วไปมาเป็นการรับจ้างแกะสลักไม้ที่ร้านดังกล่าว จนเมื่อเกิดความชำนาญ และเมื่อมีงานมากขึ้นทั้งสามท่านจึงได้ขอนำมาทำที่บ้าน และถือเป็นจุดเริ่มต้นของการถ่ายทอดงานแกะสลักไม้ให้แก่ลูกหลาน ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านโดยไม่รู้ตัวและไม่หวงความรู้แม้แต่น้อย งานที่นำมาถ่ายทอดครั้งแรก เป็นการแกะสลักไม้แผ่นลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายรามเกียรติ์ ลายครุฑ ตุ๊กตาดนตรี ต่อมาเริ่มทำเป็น ตัวพระ และรับซ่อมตกแต่งของเก่าประเภทงานไม้ และเริ่มเลียนแบบของเก่าที่มีผู้นำมาซ่อม พร้อมทั้งออกแบบงานที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านถวายเอง จากนั้นได้มีกลุ่มสตรีแม่บ้านของบ้านถวายเองซึ่งออกไปรับจ้างทำงานสี งานแอนติค และตกแต่งลวดลายเส้นที่ร้านในเมืองเชียงใหม่ ย่านวัวลาย และได้พัฒนาฝีมือ ทำลวดลาย ปิดทอง จนเกิดความชำนาญเช่นเดียวกัน เมื่อมีงานเพิ่มขึ้นทางร้านให้นำมาทำที่บ้านโดยคิดค่าจ้างทำเป็นชิ้น เมื่องานเสร็จก็นำไปส่งที่ร้าน ก็นับว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้นำมาถ่ายทอดในหมู่บ้าน และโอกาสในการพบปะกับลูกค้าของทางร้าน ซึ่งลูกค้าก็ได้ติดต่อโดยตรงและเข้ามาซื้อสินค้าถึงในหมู่บ้านจึงทำให้บ้านถวายเริ่มกลายเป็นแหล่งซื้อหาไม้แกะสลักและเกิดธุรกิจขึ้นในหมู่บ้าน ตั้งแต่นั้นมาแต่ละบ้านเริ่มจะปรับบริเวณบ้านของตนเอง โดยใช้บริเวณหน้าบ้านเป็นร้านค้า ส่วนหลังบ้านก็ทำงานหัตถกรรมแกะสลักไม้ ตกแต่งผลิตภัณฑ์ ในครอบครัวตั้งแต่นั้นมา<br />3752850114300หัตถศิลป์ที่ขึ้นชื่อของบ้านถวาย <br />1.งานแกะสลักไม้<br /> เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลัก<br />1. สิ่ว เป็นเหล็กยาวทำจากเหล็กกล้า มีด้ามถือทำด้วยไม้ ส่วนมากทำจากไม้ตะโก ปลายมีดคม ซึ่งจะมีลักษณะรูปร่าง ขนาดที่แตกต่างกันไป เช่น สิ่วโค้ง สิ่วแบน สิ่วฮาย สิ่วเล็บมือ สิ่วขุด สิ่วฉาก และสิ่วขมวด<br />2. มีด เป็นอุปกรณ์ชิ้นแรกที่จะต้องใช้กับงานแกะสลักไม้ เช่น ใช้ถาก ใช้เหลา<br />3. หินลับ เป็นเครื่องมือแกะสลักที่ใช้ลับคมห้วยหินที่มีผิดขรุขระเพื่อให้เกิดความคม<br />4. ค้อน หรือ ตะลุมพลุก ทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง ไม้ชิงชัน ค้อนไม้ที่ใช้จะมีน้ำหนักเบา ไม่กินแรงเวลาทุบ ควบคุมน้ำหนักของการทุบได้ และรักษาสภาพของสิ่งให้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น<br />35909255403855. เหล็กตอกลาย ใช้สำหรับตอกลายผิวไม้ให้เป็นลวดลายตามต้องการ ในการสร้างงานให้สวยงามหรือใช้ตอกส่วนที่เป็นพื้นภาพ<br />2.งานเทคนิคสีและเนื้อไม้ เป็นงานที่โชว์ให้เห็นถึงความสวยงามของเนื้อไม้ตามธรรมชาติ<br />3590925275590<br />3.งานเทคนิคสีแตกลายงา เป็นงานที่ตั้งใจให้สีเกิดการแตกแยกตัว เพื่อให้ดูคล้ายของเก่า โบราณ<br />บ้านเหมืองกุง<br />4286250128270ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของหมู่บ้าน<br />42862503025140428625054254405057775423481549307751844040 เป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่จากรุ่นสู่รุ่นเล่าว่า บรรพบุรุษของตนเองที่มาตั้งรกรากปักฐานอยู่ ณ หมู่บ้านเหมืองกุงแห่งนี้เป็นคนเผ่าไท ซึ่งถูกกวาดต้อนมาจากเมืองปุ เมืองสาด ซึ่งหนีจากการถูกพวกพม่ารุกรานได้ไปอาศัยอยู่ที่แห่งนี้ ปัจจุบันอยู่ในเขตรัฐฉานของประเทศพม่า โดยอพยพมาเพียง 6 ครัวเรือน ( ปัจจุบันที่เมืองปุ เมืองสาดยังคงมีชาวบ้านที่มีวิถีชีวิตแบบชาวบ้านเหมืองกุงยังคงมีอยู่ ) จากคำบอกเล่าดังกล่าวได้สอดคล้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรต่าง ๆ เช่นตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ พงศาวดารโยนกและข้อมูลจากป๊บกระดาษสาต่างๆ กล่าวถึงการเกณฑ์กำลังคนจากพม่าและสิบสองปันนามาสู่อาณาจักรล้านช้างหลายครั้ง ถึงยุคฟื้นฟูเชียงใหม่หลังจากที่ตกอยู่ในอำนาจพม่า<br />เป็นเวลานานกว่า 2 ศตวรรษ ในปีระหว่าง พ.ศ. 2325 – 2356 สมัยพระเจ้ากาวิละแห่งต้นตระกูลเจ้าเจ็ดตนขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ ยุคนั้นเรียกว่ายุค ” เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ” บรรพบุรุษของบ้านเหมืองกุงได้ถูกกวาดต้อนมาให้ตั้งรกราก ณ ที่ปัจจุบันแห่งนี่ร่วม 200 กว่าปี โดยให้ทำนาเพื่อนำผลผลิตคือ ข้าวเปลือกส่งให้แก่เจ้ากาวิโรรสสุริยวงค์ ( เจ้าชีวิตอ้าว )ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้ากาวิละบริเวณที่นาของเจ้าเมืองจะอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านเหมืองกุงพอถึงฤดูเก็บเกี่ยว ชาวบ้านก็จะนำข้าวเปลือกบรรทุกล้อวัวเทียมเกวียนไปส่งที่คู้มเจ้าเมืองในตัวเมืองเชียงใหม่ หมดจากฤดูทำนาจากอาชีพที่ติดตัวมาคือ ช่างปั้น เช่น น้ำต้น ( คนโฑ ) หม้อน้ำ สำหรับไว้ใส่น้ำดื่มน้ำใช้หรือขายเป็นรายได้จุนเจือครอบครัวและใช้ในพุทธศาสนะพิธีเป็นสังฆทานถวายวัด เป็นวิถีชีวิตที่สืบต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน ( ข้อมูลจากการทำวิจัยของคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2527 – 2528 ) ปัจจุบันบ้านเหมืองกุงได้รับการจัดตั้งให้เป็นหมู่บ้านหัตถกรรม OTOP เพื่อการท่องเที่ยว เมื่อปี พ.ศ. 2538<br />4095750-504825 แจกันดินเผาเขียนลวดลาย ขนาด ( 50*50*60)ซ.ม. <br />ราคาขายปลีก 985 บาท<br />การใช้ในงานด้านภูมิทัศน์<br />ใช้ในการจัดสวน ว่างตามมุมต่าง ๆ ของสวนหรือบริเวณบ้าน เมื่อวางไว้ในบริเวณสวน ที่มีความชุ่มชื้น ก็จะเกิดมอญขึ้น ตามบริเวณรอบๆแจกัน ก็จะทำให้เกิดความสวยงามตามธรรมชาติอีกแบบหนึ่ง มีสีเขียวของมอญที่สวยงาม หรือจะจัดวางแจกัน ทำเป็นสวนแบบญี่ปุ่น สวนสไตด์โมเดิร์น เพราะแจกันมีรูปทรง ลวดลายที่สวยงาม<br />จัดทำโดย… นางสาวศิรินทิพย์ ฟูใจ 5419101007 สาขาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ ( 2 ปี)<br />