ݺߣ

ݺߣShare a Scribd company logo
เรื่องสื่อและแหล่งการเรียนรู้จัดทำโดยนางสาวสุกัญญา  อาลัยรหัส521121012
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อการเรียนรู้ หมายถึง วัสดุอุปกรณ์ หรือวิธีการ ซึ่งอาจจำแนกเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบุคคล สื่อวัสดุ สื่ออุปกรณ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแหล่งการเรียนรู้หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสารสารสนเทศและประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่รู้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองสื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ สิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถมองเห็นเป็นรูปธรรมได้ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพหรือทำให้บทเรียนง่ายขึ้นและในการจัดทำสื่อขึ้นใช้ต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของสื่อที่ดี คือน่าสนใจ ประหยัดช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้รวดเร็วและถูกต้อง การเขียนสื่อและแหล่งการเรียนรู้ให้เขียนตามเรียงลำดับกิจกรรมการเรียนรู้
สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางที่และสารสนเทศไปสู่ผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นวัสดุเครื่องมือและเทคนิควิธีการที่ผู้สอนนำมาประกอบการเรียนการสอน เพื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสื่อการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเราตัวผู้เรียนที่ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สื่อการเรียนรู้ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวผู้เรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้มีความเหมือนกันคือ เป็นเครื่องมือที่ใช้ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สื่อการสอนสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้มีความแตกต่างกันคือ สื่อการสอนยังเป็นเพียงตัวกลางที่ใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้เท่านั้นและผู้สอนเป็นผู้นำมาหรือจัดเตรียมเพื่อประกอบการเรียนการสอน แต่สื่อการการเรียนเป็นเครื่องมือที่ใช้ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ เพิ่มพูนทักษะ ผู้เรียนสามารถค้นคว้าและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
๑.สื่อการสอน		นักวิชาการและนักเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้หลายท่านดังนี้   เชอรส์ (Shores.๑๙๖o:๑ ) กล่าวว่า สื่อการสอนเป็นเครื่องมือช่วยสื่อความหมายใดๆก็ตามที่จัดโดยครูและนักเรียน   ฮาส และแพคเกอร์ (Hass and PacKer.๑๙๖๔:๑๑) กล่าวว่า สื่อการสอน คือ เครื่องมือที่ช่วยในการถ่ายทอดสิ่งต่างๆที่เป็นจริงได้แก่ ทักษะ ทัศนคติ ความรู้ความเข้าใจ   ฯลฯหรือเป็นอุปกรณ์การสอนที่เราสามารถได้ยินและมองเห็นได้เท่าๆกัน	บราวน์และคนอื่นๆ (Brown and other.๑๙๖๔:๕๘๔) กล่าวว่าสื่อการสอนหมายถึง จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียน จนเกิดผลการเรียนที่ดีทั้งนี้รวมถึงกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น
๒.ประเภทของสื่อการสอน		Dele (๑๙๖๓:๑o๗-๑๒๘) ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 11ประเภท โดยยึดหลักความเป็นรูปธรรมและนามธรรม๑.ประสบการณ์โดยตรงที่มีความหมาย เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับจากความเป็นจริง๒.ประสบการณ์จำลอง เป็นการจำลองประสบการณ์จากของจริง เพราะของจริงอาจใหญ่เกินไป เช่น หุ่นจำลอง๓.ประสบการณ์นาฏการ เป็นการมีส่วนร่วมในการแสดงในการศึกษาเนื้อหาที่ต้องจะแสดง
๔.การสาธิต เป็นการให้ดูตัวอย่างประกอบการอธิบายการสาธิตที่ดีต้องมีอุปกรณ์ประกอบ เช่นการทดลองทางวิทยาศาสตร์๕.การศึกษานอกสถานที่หมายถึง การพาผู้เรียนไปศึกษานอกสถานที่เพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์และความรู้กว้างขวางขึ้น๖.นิทรรศการ หมายถึง การแสดงสิ่งของต่างๆเพื่อให้ความรู้ผู้ดู ไว้ให้ผู้ดูรับประสบการณ์จากสิ่งต่างๆเหล่านี้๗. โทรทัศน์การศึกษา รายการโทรทัศน์ที่จะทำให้ผู้เรียนได้เห็นภาพและได้ยินเสียงความเป็นไปของเหตุการณ์ต่างๆ๘.ภาพยนตร์เป็นการจำลองเหตุการณ์มาให้ผู้เรียนได้ดูได้ฟังใกล้เคียงกับความเป็นจริง
๙.ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาด แผ่นโปร่งใส สไลด์ ฯลฯ๑0.ทัศนสัญลักษณ์ ได้แก่แผนภาพ แผนภูมิ แผนสถิติ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับการถ่ายทอดความหมาย นำมาแทนความหมายที่เป็นข้อเท็จจริง๑๑.วจนสัญลักษณ์ ได้แก่คำพูด ตัวหนังสือ ตัวอักษรผู้ที่จะเข้าใจสัญลักษณ์นี้ได้ต้องอาศัย ประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐานมากพอสมควร	จากการที่นักเทคโนโลยีการศึกษาได้แบ่งประเภทของการสื่อสารการสอนไว้นั้น พอจะสรุปได้ ๓ ประเภทดังนี้๑ประเภทของวัสดุ เป็นสื่ออยู่ในรูปภาพ เสียง หรืออักษร แยกได้เป็น ๒ ชนิดคือ
		๑.๑ ชนิดที่สามารถสื่อความหมายได้ด้วยตัวของมันเอง เช่นรูปภาพ แผนภูมิ ภาพวาด หนังสือ เป็นต้น		๑.๒ ชนิดที่ต้องอาศัยเครื่องมือเสนอเรื่องราวไปสู่ผู้เรียน เช่น ภาพโปร่งแสง  สไลด์ แถบบันทึกเสียง ฟิล์มภาพยนตร์เป็นต้น๒.ประเภทเครื่องมือ หมายถึงเครื่องมือที่ใช้ส่งผ่านความรู้ไปสู่ผู้เรียน เช่นเครื่องฉายชนิดต่างๆ เครื่องเสียงชนิดต่างๆ ฯลฯ๓.ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ หมายถึง เทคนิคหรือวิธีการที่จะใช้ร่วมกับวัสดุและเครื่องมือหรือใช้เพียงลำพังในการจัดการเรียนการสอน เช่น การสาธิต การทดลอง ฯลฯ
๓.หลักการใช้สื่อการสอนแบ่งออกเป็น ๔ หลักดังนี้คือ ๑หลักการเลือก(Selection)		โนเอลและโอนาร์ด (Noel and Leonard.๑๙๖๔:๒๖-๒๘)ให้หลักการเลือกสื่อการสอน ไว้ดังนี้		๑.มีความเหมาะสมกับระดับสติปัญญาของผู้เรียน		๒.เหมาะสมกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน		๓.เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน		๔.เหมาะสมกับเรื่องที่สอน
		๕.มีลักษณะที่น่าสนใจ		๖.ตรงกับจุดประสงค์ในการเรียนการสอน		๗.ไม่เสียเวลาในการใช้มากเกินไป		๘.เป็นแบบง่ายๆและไม่ซับซ้อนจนเกินไป		๙.ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น		๑o.ช่วยให้การเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่ผู้เรียน		๑๑.ช่วยเพิ่มทักษะให้แก่ผู้เรียน		๑๒.ให้ผลดีต่อการเรียนการสอนมากที่สุด		๑๓.ราคาไม่แพงจนเกินไป
๒.หลักการเตรียม(Preparation)	อีริคสันและเคิร์ล(EricksonandCurl.๑๙๗๒:๑๖๓-๑๗o)  ได้กล่าวถึงการเรียนก่อนการใช้สื่อการสอนต้องเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนดังนี้๑.การพัฒนาสร้างความพร้อมเฉพาะอย่าง เช่น จะให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมการสอน ตอนไหน อย่างไร๒.แนะนำผู้เรียนเพื่อเป็นการเร้าให้เกิดการเรียนรู้จากสื่อที่ครูเลือกมา๓.สร้างกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสื่อการสอน๔.เลือกหาวิธีที่เหมาะสม ที่จะนำไปสู่การใช้สื่อการสอนนั้นๆ๕.ใช้แหล่งการเรียนอื่นๆเพื่อสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน๖.สามารถวางแผนกำหนดช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสม
๓.หลักการนำเสนอ(Presentation)	อีริคสันและเคิร์ล(EricksonandCurl.๑๙๗๒:๑๖๓-๑๗o)  ได้กล่าวว่าเพื่อให้การนำเสนอได้ผล ครูควรมีความรู้ความสามารถและทักษะพื้นฐานดังนี้๑.เลือกกิจกรรมการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน อยากรู้ตามจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน๒.ใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นและชี้แนะ๓.ใช้การอภิปรายเพื่อนำไปสู่เนื้อหาและการสร้างมโนมติ๔.จัดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสมและสร้างกิจกรรมท้าทายในการแก้ปัญหา๕.ใช้สื่ออย่างมีลำดับ
๖.สามารถดำเนินการจัดสภาพการณ์ต่างๆในการใช้สื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้๗.สามารถจัดกลุ่มกิจกรรมให้ผู้เรียนหาความรู้จากสื่อต่างๆได้ เช่น จัดป้ายนิเทศจัดมุมวิชาการ๔.หลักการประเมินผล (Evaluation)ไฮนิค.โมเลนดา,และรัชเซล(Heimich.Molenda and ussel.๑๙๘๕:๓๔-๓๕)กล่าวว่าการประเมินผลควรกระทำใน     ๓ ลักษณะดังต่อไปนี้๑.การประเมินผลกระบวนการสอน เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ทั้งในด้านผู้สอน สื่อการ
	สอน และวิธีสอน โดยการประเมินผลสามารถทำได้ทั้งก่อนและหลังการสอน๒.ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ว่ามีกฎเกณฑ์เท่าใด การประเมินผลทำได้ เช่น วัตถุประสงค์ที่เป็นเชิงทักษะพิสัยอาจเป็นการวัดกระบวนการของพฤติกรรม การตอบคำถามแบบปรนัย๓.การประเมินผลสื่อและวิธีการใช้สื่อและวิธีการสอน เป็นการประเมินผลเพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มประโยชน์ของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปรับปรุงระยะสื่อ ระยะเวลาในการนำเสนอ การประเมินผลต่างๆเหล่านี้เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
การออกแบบสื่อองค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสื่อการการสอนสื่อการสอนแต่ละชนิดมีดังนี้๑.ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่๒.ความเข้าใจ สื่อที่ใช้จะช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่๓.ความเข้าใจ สื่อที่ใช้จะช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักเรียน๔.ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
๕.เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้นๆเหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจและความพ้อมของนักเรียนหรือไม่๖.เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่๗.ใช้การได้ดี  สื่อจะนำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี๘.คุ้มค่ากับราคา ผลที่จะได้คุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่๙.ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่มกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่๑o.สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
ประโยชน์ของสื่อ๑.เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากวัตถุที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้างแนวความคิดด้วยตนเอง๒.กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียนมากขึ้น๓.ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและสามารถจดจำได้นาน๔.ให้ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง๕.นำประสบการณ์นอกห้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษาในห้องเรียนได้
การออกแบบสื่อการสอน		การออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดีโดยอาศัยหลักการทางศิลปะองค์ประกอบของการออกแบบ   ๑.จุด(Dots)         		      ๒. เส้น (Line)         ๓.รูปร่าง-รูปทรง(Shape-From)  ๔.ปริมาตร (Volume)         ๕.ลักษณะพื้นผิว(Texture)        ๖.บริเวณที่ว่าง(Space)              ๗.สี(color)     ๘.น้ำหนักสื่อ(Value)
การเลือกสื่อ การดัดแปลงและการออกแบบสื่อ (Select,Modify or Design Materials)การเลือกสื่อที่เหมาะสมนั้นต้องพิจารณาตามหลัก ๓ ประการ ดังนี้๑.การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษามักจะมีทรัพยากรที่สามารถใช้เป็นสื่อได้อยู่แล้ว๒.การดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้วให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้นทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อด้วย๓.การออกแบบสื่อและผลิตภัณฑ์ใหม่ ถ้าสื่อนั้นมีอยู่แล้วและตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน เราก็สามารถนำมาใช้ได้เลย
การออกแบบสื่อและผลิตภัณฑ์ใหม่๑.จุดมุ่งหมาย ต้องพิจารณาว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนอะไร๒.ผู้เรียนควรได้พิจารณาผู้เรียนทั้งโดยรวมว่าเป็นใคร มีความรู้พื้นฐานและทักษะอะไรมาก่อน๓.ค่าใช้จ่าย มีงบประมาณเพียงพอหรือไม่๔.ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค ถ้าตนเองไม่มีทักษะจะหาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาจากแหล่งใด๕.เครื่องมือและอุปกรณ์ มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นพอเพียงต่อการผลิตหรือไม่๖.เวลามีพอสำหรับการออกแบบหรือไม่ 
จบการนำเสนอแล้วคร้า

More Related Content

สื่อและแหล่งการเรียนรู้