การวัดผลประเมิȨลการรียนรู้
- 2. ความหมายของการวัดผล การทดสอบ และการประเมินผล การวัดผลการ ( Measurement) หมายถึง กระบวนการหาปริมาณ หรือจำนวนของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง ผลจากการวัดจะออกมาเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์ เช่น นายแดงสูง 180 ซม . ( เครื่องมือ คือ ที่วัดส่วนสูง ) วัตถุชิ้นนี้หนัก 2 ก . ก ( เครื่องมือ คือ เครื่องชั่ง ) การทดสอบการศึกษา หมายถึง กระบวนการวัดผลอย่างหนึ่งที่กระทำอย่างมีระบบเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถของบุคคล โดยใช้ข้อสอบหรือคำถามไปกระตุ้นให้สมองแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา การประเมินผล ( Evaluation) หมายถึง การตัดสิน หรือวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดผลเช่น ผลจากการวัดความสูงของนายแดงได้ 180 ซม . ก็อาจประเมินว่าเป็นคนที่สูงมาก ผลจากการชั่งน้ำหนักของวัตถุชิ้นหนึ่งได้ 2 ก . ก ก็อาจจะประเมินว่าหนัก - เบา หรือ เอา - ไม่เอา
- 3. ลักษณะพฤติกรรมที่ต้องวัด บลูม ( Bloom) และคณะ ได้แบ่งพฤติกรรมที่จะวัดออกเป็น 3 ลักษณะ 1. วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับ ความรู้ ความคิด ( วัดด้านสมอง ) 2. วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ( วัดด้านจิตใจ ) 3. วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อ และประสาทสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ( วัดด้านการปฏิบัติ )
- 4. จุึϸุ่งหมายྺองการวัดผลการศึกษา 1. วัดผลเพื่อและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใดอย่างไร แล้วครูพยายามอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเจริญ งอกงามตามศักยภาพของนักเรียน 2. วัดผลเพื่อวินิจฉัย หมายถึง การวัดผลเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่า ยังไม่เกิดการเรียนรู้ตรงจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือ 3. วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง หมายถึง การวัดผลเพื่อจัดอันดับความสามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งกว่า ใครควรได้อันที่ 1 2 3
- 5. 4. วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนเอง เช่น การทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนแล้วนำผลมาเปรียบเทียบกัน 5. วัดผลเพื่อพยากรณ์ หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคต 6. วัดผลเพื่อประเมินผล หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้มาตัดสิน หรือสรุปคุณภาพของการจัดการศึกษาว่า มีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร จุึϸุ่งหมายྺองการวัดผลการศึกษา
- 6. 1. มาตรานามบัญญัติ เป็นมาตรการวัดที่ใช้กับข้อมูลเป็นเพียงการเรียกชื่อ หรือจำแนกชนิดหรือสัญลักษณ์กับสิ่งต่าง ๆ ไม่สามารถบอกปริมาณมากน้อยได้ แสดงให้เห็นเพียงความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ เช่น การจำแนกคนเป็นเพศหญิง - ชาย หมายเลขโทรศัพท์ ทะเบียนรถ 2. มาตราเรียงอันดับ สามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันได้ หรือเป็นการจัดอันดับข้อมูลได้ว่ามาก - น้อย สูง - ต่ำดี - ชั่ว 3. มาตราอันตรภาค สามารถบอกความห่างระหว่างสองตำแหน่งได้ เช่น การวัดอุณหภูมิ หรือเซลเซียส 4. มาตราสัดส่วน เป็นมาตราการวัดที่มีลักษณะสมบูรณ์ทุกอย่าง มีศูนย์แท้ ซึ่งแปลว่าไม่มีอะไร หรือเริ่มต้นจาก 0 เช่น ความสูง 0 นิ้ว ก็แปลว่าไม่มีความสูง หรือน้ำหนัก 0 กิโลกรัม ก็เท่ากับไม่มีน้ำหนัก มาตราการวัด
- 7. 1. ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน คือ การวัดผลจะเป็นสิ่งตรวจสอบผลจากการสอนของครูว่า นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการสอนมากน้อยเพียงใด 2. เลือกใช้เครื่องมือวัดที่ดีและเหมาะสม การวัดผลครูต้องพยายามเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ ใช้เครื่องมือวัดหลาย ๆ อย่าง เพื่อช่วยให้การวัดถูกต้องสมบูรณ์ 3. ระวังความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของการวัด เมื่อจะใช้เครื่องมือชนิดใด ต้องระวังความบกพร่องของเครื่องมือหรือวิธีการวัดของครู หลักการวัดผลการศึกษา
- 8. 4. ประเมินผลการวัดให้ถูกต้อง เช่น คะแนนที่เกิดจาการสอนครูต้องแปลผลให้ถูกต้องสมเหตุสมผลและมีความยุติธรรม 5. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า จุดประสงค์สำคัญของการวัดก็คือ เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน ต้องพยายามค้นหาผู้เรียนแต่ละคนว่า เด่น - ด้อยในเรื่องใด และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขแต่ละคนให้ดีขึ้น หลักการวัดผลการศึกษา
- 9. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล 1. การสังเกต ( Observation) คือ การพิจารณาปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อค้นหาความจริงบางประการ โดยอาศัยประสาท สัมผัสของผู้สังเกตโดยตรง รูปแบบของการสังเกต 1. การสังเกตโดยผู้สังเกตเข้าไปร่วมในเหตุการณ์หรือกิจกรรม หมายถึง การสังเกตที่ผู้สังเกตเข้าไปมีส่วนร่วม หรือคลุกคลีในหมู่ผู้ถูกสังเกต และอาจร่มทำกิจกรรมด้วยกัน 2. การสังเกตโดยผู้สังเกตไม่ได้เข้าไปร่วมในเหตุการณ์ หมายถึง การสังเกตที่ผู้ถูกสังเกตอยู่ภายนอกวงของผู้ถูกสังเกต คือสังเกตในฐานะเป็นบุคคลภายนอก การสังเกตแบบ นี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด 2.1 การสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง หมายถึง การสังเกตที่ผู้สังเกตไม่ได้กำหนดหัวเรื่องเฉพาะเอาไว้ 2.2 การสังเกตแบบมีโครงสร้าง หมายถึง การสังเกตที่ผู้สังเกตกำหนดเรื่องที่จะสังเกตเฉพาะเอาไว้
- 10. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล 2. การสัมภาษณ์ ( Interview) คือ การสนทนาหรือการพูดโต้ตอบกันอย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อค้นหาความรู้ ความจริง ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า รูปแบบของการสัมภาษณ์ 1. การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง หมายถึง การสัมภาษณ์ที่ไม่ใช่แบบสัมภาษณ์ คือ ไม่จำเป็นต้องใช้ คำถามที่เหมือนกันหมดกับผู้ถูกสัมภาษณ์ทุกคน 2. การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง หมายถึง การสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์จะใช้แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นไว้แล้ว
- 11. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล 3. แบบสอบถาม ( Questionnaire) แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลทางสังคมศาสตร์ ทั้งนี้เพราะเป็นวิธีการที่สะดวก และสามารถใช้วัดได้อย่างกว้างขวาง รูปแบบของแบบสอบถาม 1. แบบสอบถามชนิดปลายเปิด ( Open-ended Form) แบบสอบถามชนิดนี้ไม่ได้กำหนดคำตอบไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ตอบเขียนตอบอย่างอิสระด้วยความคิดของตนเอง แบบสอบถามชนิดนี้ตอบยากและเสียเวลาในการตอบมาก เพราะผู้ตอบจะต้องคิดวิเคราะห์อย่างกว้างขวาง
- 12. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล 2. แบบสอบถามปลายปิด ( Closed - ended Form) แบบสอบถามชนิดนี้ประกอบ ด้วย ข้อคำถามและตัวเลือก ( คำตอบ ) ซึ่งตัวเลือกนี้สร้างขึ้นโดยคาดว่าผู้ตอบ สามารถเลือกตอบ ได้ตามความต้องการ แบบสอบถามชนิดปลายปิด แบ่งเป็น 4 แบบ 2.1 แบบตรวจสอบรายการ ( Checklist) เป็นการสร้างรายการของข้อคำถามที่เกี่ยวหรือสัมพันธ์กับคุณลักษณะของพฤติกรรม แต่ละรายการจะถูกประเมิน หรือชี้ให้ตอบในแง่ใดแง่หนึ่ง เช่น มี - ไม่มี จริง - ไม่จริง
- 13. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล 2.2 มาตราส่วนประมาณค่า ( Rating Scale) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในประเมินการปฏิบัติ กิจกรรม ทักษะต่าง ๆ มีระดับความเข้มให้พิจารณาตั้งแต่ 3 ระดับขึ้นไป เช่น เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ตัวอย่าง - ท่านเลือกเรียนครูเพราะเหตุใด โปรดเรียงอันดับตามความสำคัญของเหตุผล จากมากไปหาน้อย เหตุผล อันดับความสำคัญเรียงจากมากที่สุด 1. มีใจรัก …………………… .. 2. หางานง่าย …………………… .. 3. ค่าใช้จ่ายถูก …………………… .. 4. ได้รับทุนอุดหนุน …………………… .. 2.4 แบบเติมคำสั้น ๆ ในช่องว่าง แบบสอบถามลักษณะนี้จะต้องกำหนดขอบเขตจำเพาะเจาะจงลงไป เช่น ปัจจุบันท่านอายุ ……………… ปี ………… . เดือน
- 14. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล 4. การจัดอันดับ ( Rank Order) เป็นเครื่องมือมือวัดผลให้นักเรียน หรือผู้ได้รับแบบสอบถามเป็นผู้ตอบ โดยการจัดอันดับความสำคัญ หรือจัดอันดับคุณภาพ และใช้จัดอันดับของข้อมูลหรือผลงานต่าง ๆ ของนักเรียนแล้วจึงให้คะแนน ภายหลังเพื่อการประเมิน 5. การประเมินผลจากสภาพจริง ( Authentic Assessment) หมายถึง กระบวนการสังเกต การบันทึก และรวบรวมข้อมูลจากงานและวิธีการที่นักเรียนทำ การประเมินผลจากสภาพจริงจะเน้นให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหา เป็นผู้ค้นพบและผู้ผลิตความรู้ นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง รวมทั้งเน้นพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน
- 15. ความสำคัญྺองการประมิȨลจากสภาพจริง 1. การเรียนการสอนและการวัดประเมินผลจากสภาพจริง จะเอื้อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล 2. เป็นการเอื้อต่อการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง 3. เป็นการเน้นให้นักเรียนได้สร้างงาน 4. เป็นการผสมผสานให้กิจกรรมการเรียนรู้และการประเมินผล 5. เป็นการลดภาระงานซ่อมเสริมของครู
- 16. ความสำคัญྺองการประมิȨลจากสภาพจริง 6. การวัดผลภาคปฏิบัติ เป็นการวัดผลงานที่ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ ซึ่งสามารถวัดได้ทั้งกระบวนการและผลงาน ในสถานการณ์จริง หรือในสถานการณ์จำลอง สิ่งที่ควรคำนึงในการสอบวัดภาคปฏิบัติคือ 1. ขั้นเตรียมงาน 2. ขั้นปฏิบัติงาน 3. เวลาที่ใช้ในการทำงาน 4. ผลงาน 7. การประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงาน ( Portfolios) เป็นแนวทางการประเมินผลโดยการรวมข้อมูลที่ครูและผู้เรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน โดยกระทำอย่างต่อเนื่องตลอดภาคเรียน ดังนั้นการวัดผลและประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงานส่วนหนึ่ง จะเป็นกิจกรรมที่สอดแทรกอยู่ในสภาพการเรียนประจำวัน โดยกิจกรรมที่สอดแทรกเหล่านี้จะวัด เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพชีวิตประจำวัน
- 17. ความสำคัญྺองการประมิȨลจากสภาพจริง 8. แบบทดสอบ ( Test) ประเภทของแบบทดสอบ สามารถแบ่งประเภทออกได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่จะใช้ 1. แบ่งตามสมรรถภาพที่จะวัด แบ่งเป็น 3 ประเภท 1.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ( Achievement Test) หมายถึง แบบทดสอบที่วัดสมรรถภาพสมองด้านต่าง ๆ ที่นักเรียนได้รับการเรียนรู้ผ่านมาแล้วว่ามีอยู่เท่าใด แบบทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ชนิด 1) แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเฉพาะกลุ่มที่ครูสอน 2) แบบทดสอบมาตรฐาน หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดผลสัมฤทธิ์มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพต่าง ๆ ของนักเรียนที่ต่างกลุ่มกัน เช่น แบบทดสอบมาตรฐานระดับชาติ
- 18. ความสำคัญྺองการประมิȨลจากสภาพจริง 1.2 แบบทดสอบวัดความถนัด ( Aptitude Test) หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดสมรรถภาพสมองของ ผู้เรียน 1) แบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดความถนัดทางด้านวิชาการต่าง ๆ เช่น ด้านภาษา 2) แบบทดสอบวัดความถนัดเฉพาะ หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดความถนัดเฉพาะที่เกี่ยวกับงานอาชีพต่าง ๆ หรือความสามารถพิเศษ เช่น ความสามารถทางดนตรี
- 19. ความสำคัญྺองการประมิȨลจากสภาพจริง 1.3 แบบทดสอบวัดบุคลิกภาพทางสังคม หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้วัดบุคลิกภาพและการปรับตัวให้เข้ากับ สังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่วัด ได้ยาก ผลที่ได้ไม่คงที่แน่นอน 1) แบบทดสอบวัดเจตคติที่มีต่อบุคคล สิ่งของ เรื่องราว 2) แบบทดสอบวัดความสนใจที่มีต่ออาชีพ การศึกษา 3) แบบทดสอบวัดการปรับตัว เช่น การปรับตัวเข้ากับเพื่อน ๆ
- 20. ความสำคัญྺองการประมิȨลจากสภาพจริง 2. แบ่งตามลักษณะการตอบ 2.1 แบบทดสอบภาคปฏิบัติ หมายถึง แบบทดสอบที่ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง เช่น การปรุงอาหาร 2.2 แบบทดสอบข้อเขียน หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้การเขียนตอบ 2.3 แบบทดสอบปากเปล่า หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้การพูดโต้ตอบแทนการเขียน 3. แบ่งตามเวลาที่กำหนดให้ตอบ 3.1 แบบทดสอบที่จำกัดเวลาในการตอบ หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้เวลาน้อย 3.2 แบบทดสอบที่ไม่จำกัดเวลาในการตอบ หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้เวลาตอบมาก
- 21. ความสำคัญྺองการประมิȨลจากสภาพจริง 4. แบ่งตามจำนวนผู้เข้าสอบ 4.1 แบบทดสอบเป็นรายบุคคล หมายถึง การสอบทีละคนมักเป็นการสอบภาคปฏิบัติ 4.2 แบบทดสอบเป็นชั้นหรือเป็นหมู่ หมายถึง การสอบทีละ หลาย ๆ คน 5. แบ่งตามสิ่งเร้าของการถาม 5.1 แบบทดสอบทางภาษา หมายถึง แบบทดสอบที่ต้องอาศัยภาษาของสังคมนั้น ๆ เป็นหลัก ใช้กับผู้ที่อ่านออกเขียนได้ 5.2 แบบทดสอบที่ไม่ใช้ภาษา หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้รูปภาพ สัญลักษณ์หรือตัวเลข
- 22. ความสำคัญྺองการประมิȨลจากสภาพจริง 6. แบ่งตามลักษณะของการใช้ประโยชน์ 6.1 แบบทดสอบย่อย หมายถึง แบบทดสอบประจำบท หรือหน่วยการเรียน 6.2 แบบทดสอบรวม หมายถึง แบบทดสอบสรุปรวมเนื้อหาที่เรียนผ่านมาตลอดภาคเรียน 7. แบ่งตามเนื้อหาของข้อสอบในฉบับ 7.1 แบบทดสอบอัตนัย หมายถึง แบบทดสอบที่มีเฉพาะคำถามนักเรียนต้องคิดหาคำตอบเอง 7.2 แบบทดสอบปรนัย หมายถึง แบบทดสอบที่มีทั้งคำถามและคำตอบเฉพาะคงที่แน่นอน การวัดผลและการประเมินผลทางการศึกษา
- 24. เป็นการนำคะแนนที่ได้จากผล การสอบของผู้เรียนไปเทียบกับคนอื่นๆภายในกลุ่ม เพื่อพิจารณาดูว่าผู้เรียนคนนั้นมี ความสามารถอยู่ระดับใดของกลุ่ม โดยจะต้องนำคะแนนดิบไปแปลงเป็นคะแนนรูป อื่นๆมีอยู่ 2 วิธีคือ 1. แปลงเป็นคะแนนบอกตำแหน่ง เช่น อันดับที่ (Rank) ตำแหน่งเปอร์ เซนต์ไทล์ (Percentile rank) ฯลฯ 2. แปลงเป็นคะแนนมาตรฐาน (Standard scores) เช่น คะแนนซี (Z-score) คะแนนที (T-score) คะแนนทีปกติ (Normalized T-score) คะแนนสเตไนน์ (Stanine) ฯลฯ การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม