Gass คอม
- 2. 1. นายจักรพันธ์ อันภักดี เลขที่ 3 2. นายยุทธภูมิ โสเส เลขที่ 10 3. นายอรรถกฤษ สุราวรรณ์ เลขที่ 13 1 หน้าถัดไป ครูชมัยพร โคตรโยธา
- 3. คำนำ งานนำเสนอวิชา เคมี เรื่องสมบัติของแก๊ส กลุ่มของข้าพเจ้าได้ตั้งใจทำเพื่อให้อาจารย์นำไปสอนน้องๆ รุ่นหลังเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น หรืออาจนำไปเป็นตัวอย่างให้น้องๆ รุ่นหลังได้นำไปทำเป็นแบบอย่าง ถ้าหากผิดพลาดประการใดกลุ่มของข้าพเจ้าก็ต้องของอภัยไว้ ณ ที่นี่ด้วย คณะผู้จัดทำ 1 หน้าถัดไป
- 4. สารบัญ เรื่อง หน้า สมบัติของแก๊ส 1 ความสัมพันธ์ของปริมาตร 5 กฎของ บอยล์ 8 กฎอง ชาร์ล 11 กฎรวมแก๊ส 13 กฎแก๊สสมบูรณ์ 14 1
- 8. 4. โมเลกุลของแก๊สที่ชนกันเองหรือชนกับผนังภาชนะ จะเกิดการถ่ายโอนพลังงานให้แก่กันได้พลังงานรวมของระบบมีค่าคงที่ 5. ณ อุณหภูมิเดียวกัน โมเลกุลของแก๊สแต่ละโมเลกุลเคลื่อนที่ด้วยความเร็วไม่เท่ากัน แต่จะมีพลังงานจลน์เฉลี่ยเท่ากัน โดยพลังงานจลน์เฉลี่ยของแก๊สจะแปรผันตรงกันอุณหภูมิเคลวิน 1 4 สารบัญ
- 10. การทดลอง ผลของความดันหรืออุณหภูมิต่อปริมาตรของแก๊ส ตอนที่ 1 ผลของความดันต่อปริมาตรของแก๊ส 1. ดึงก้านหลอดฉีดยาขึ้นมาอยู่ประมาณกึ่งกลางของกระบอกฉีดยา ใช้ปลายนิ้วอุดปลายกระบอกฉีดยาไว้ กดก้านหลอดฉีดยาช้าๆ จนกระทั่งกดไม่ลง ปล่อยมือที่กดและสังเกตการเปลี่ยนแปลง 2. ดึงก้านหลอดฉีดยาขึ้นมาอยู่ประมาณกึ่งกลางของกระบอกฉีกยา ใช้ปลายนิ้วอุดปลายกระบอกฉีดยา แล้วดึงก้านหลอดฉีกยาช้าๆ จนเกือบสุด ปล่อยมือและสังเกตการเปลี่ยนแปลง 1 6 หน้าถัดไป
- 11. ตอนที่ 2 ผลของอุณหภูมิต่อปริมาตรของแก๊ส 1. ดึงก้านหลอกฉีดยาให้มีอากาศอยู่ภายในประมาณครึ่งกระบอกฉีดยา แล้วนำไปดูดน้ำให้มีปริมาตร 2 cm 3 2. จุ่มกระบอกฉีดยาจากข้อ 1 ลงในน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิประมาณ 60 - 70 ๐ c สังเกตการเปลี่ยนแปลง เมื่อการปลี่ยนแปลง สิ้นสุดแล้ว ตั้งกระบอกฉีดยาให้ตรงและเลื่อนกระบอกฉีดยาขึ้น หรือลงจนกระทั่งน้ำภายในกระบอกฉีดยาเท่ากับระดับน้ำภายนอกอ่านปริมาตรอากาศในกระบอกฉีดยาทันที 3. ทำการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 2 แต่เปลี่ยนเป็นจุ่มระบอกฉีดยาทันที 1 7 หน้าถัดไป
- 12. ในการทดลองตอนที่ 1 เมื่อกดก้านหลอดฉีดยาลดลง และเมื่อปล่อยมือก้านหลอดฉีดยาจะเลื่อนกลับสู่ตำแหน่งเดิม ในทำนองเดียวกันเมื่อดึงก้านหลอกฉีดยาขึ้น ทำให้ปริมาตรแก๊สภายในกระบอกฉีดยาเพิ่มขึ้น และเมื่อปล่อยมือจะทำให้ก้านหลอดฉีดกลับสู่ตำแหน่งเดิม ผลการทดลองดังกล่าวนี้ใช้ทฤษฎีจลน์ของแก๊สอธิบายได้ว่า เมื่อปริมาตรของแก๊สในกระบอกฉีดยาลดลง ทำให้โมเลกุลของแก๊สอยู่ใกล้กันมากขึ้น จึงเกิดการชนกันเองและชนกับผนังภาชนะมากขึ้น เป็นผลให้ความดันของแก๊สในกระบอกฉีดยาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับตอนเริ่มต้น ในทางตรงกันข้ามการเพิ่มปริมาตรของแก๊สในกระบอกฉีดยา ทำให้โมเลกุลของแก๊สอยู่ห่างกัน การชนกันเองของโมเลกุลของแก๊สและชนกับผนังภาชนะมีความถี่ลดลง ความดันของแก๊สในกระบอกฉีดยาจึงลดลง 1 8 สารบัญ
- 17. จากผลการทดลองในตอนที่ 2 อธิบายได้ว่าการเพิ่มอุณหภูมิมีผลให้ปริมาตรของแก๊สเพิ่มขึ้นและการลดอุณหภูมิมีผลให้ปริมาตรของแก๊สลดลงด้วย แสดงว่าอุณหภูมิมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของแก๊ส ซึ่งใช้ทฤษฎีจลน์ของแก๊สอธิบายได้ว่า การเพิ่มอุณหภูมิจะทำให้โมเลกุลของแก๊สมีพลังงานจลน์เฉลี่ยเพิ่มขึ้น โมเลกุลของแก๊สจึงเคลื่อนที่เร็วขึ้น ทำให้โมเลกุลชนกันเองและชนกับผนังของภาชนะมากขึ้น รวมทั้งพลังงานในการชนกันสูงขึ้นด้วย เป็นผลให้แก๊สในกระบอกฉีดยามีความดันเพิ่มขึ้น จึงดันน้ำออกจากกระบอกฉีดยาจนความดันของแก๊สภายในเท่ากับความดันภายนอก จึงสังเกตเห็นว่าแก๊สในกระบอกฉีดยามรปริมาตรเพิ่มขึ้น ในทางกับกันเมื่ออุณหภูมิลดลง พลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลของแก๊สจะลดลง ทำให้โมเลกุลชนกันเองระหว่างโมเลกุลและชนกับผนังของภาชนะน้อยลง รวมทั้งพลังงานในการชนลดลงด้วย ความดันของแก๊สภายในกระบอกฉีดยาจึงต่ำ อากาศภายนอกซึ่งมีความดันสูงกว่าจึงดันน้ำให้เข้าไปในกระบอกฉีดยา ความดันภายในจึงเพิ่มขึ้นจนเท่ากับความดันภายนอก จึงสังเกตเห็นว่าปริมาตรของแก๊สในกระบอกฉีดยาลดลงจนกระทั่งคงที่ จากผลการทดลองและคำอธิบายดังกล่าวจึงสรุปได้ว่าอุณหภูมิเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของแก๊ส 1 12 สารบัญ
- 19. กฎแก๊สสมบูรณ์ ในกฎแก๊สรวมเป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติของแก๊สเกี่ยวกับความดัน ปริมาตร และอุณหภูมิ แต่ยังมีสมบัติที่ควรคำนึงถึงอีกอย่างหนึ่งคือ ปริมาตรหรือจำนวนโมล ( n ) ของแก๊สในระบบ จากกฎของอาโวกาโดรซึ่งกล่าวไว้ว่า “ ที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน แก๊สที่มีปริมาตรเท่ากันจะมีจำนวนอนุภาคเท่ากัน ” นอกจากนี้จำนวนโมลของแก๊สยังมีความสัมพันธ์โดนตรงกับจำนวนอนุภาคและปริมาตรของแก๊สอีกด้วย กล่าวคือแก๊ส 1 โมลจะมีจำนวน 6.02 x 10 23 อนุภาคและปริมาตร 22.4 ลิตรหรือลูกบาศก์เดซิเมตรที่ STP จึงสามารถเขียนนิยามของกฎอาโวกาโดรได้ว่า ที่อุณหภูมิและความดันคงที่ ปริมาตรของแก๊สใด ๆ จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับจำนวนโมลของแก๊สนั้น ๆ 1 14 สารบัญ