2. L a b S c h o o l P r o j e c t
69
มหัศจรรย์ป่าสาคู
69
แสดงภาพระบบนิเวศป่าสาคู หมู่ 1 ต.โคกสะบ้า อ.นาโยง จ.ตรัง
สาคู มีผู้นำ�มาปลูกเพื่อช่วยเพิ่มคุณค่าต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
โดยมีรูปแบบการปลูกดังนี้
1. ใช้สาคูปลูกเป็นไม้ให้ร่มด้วยสาคูเป็นปาล์มขนาดใหญ่สูงมีเรือนยอดที่
แผ่กว้างพอสมควร จึงเหมาะที่จะนำ�มาปลูกเป็นไม้ให้ร่ม อีกทั้งสาคูมีใบที่
ติดอยู่กับต้นมีอายุยาวนาน โดยไม่ร่วงหล่นลงมาง่ายๆ จะช่วยลดปัญหาขยะ
จากการร่วงหล่นของใบลงได้มาก อีกทั้งออกดอกติดผลเพียงครั้งเดียวในรอบ
วงชีวิตและเป็นผลที่มีขนาดเล็กไม่เป็นอันตรายต่อเจ้าของบ้านในขณะร่วง
หล่นลงมา จึงจัดเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีความเหมาะสมใช้ปลูกให้ร่มเงา
2. ใช้สาคูเป็นแนวกันลม เนื่องจากสาคูมีระบบรากที่แข็งแรง อีกทั้งชอบขึ้น
เป็นกอที่มีความสูงลดหลั่นต่างกันหลายชั้นเรือนยอด จึงมีความเหมาะสม
อย่างยิ่งที่จะนำ�มาปลูกเป็นแนวกันลมช่วยลดความแรงของลมเป็นการ
ป้องกันความเสียหายจากแรงลมให้บ้านพักอาศัยและสวนไม้ผล
4. L a b S c h o o l P r o j e c t
71
มหัศจรรย์ป่าสาคู
71
สาคู เป็นพืชหลัก ที่ขึ้นบริเวณพื้นที่ชุ่มȨำ� ห้วย หนอง คลอง บึง หรือแหล่งȨำ�
ธรรมชาติต่างๆ ในพื้นที่ ที่ต้นสาคูขึ้นหนาแน่น ก่อให้เกิดระบบนิเวศป่าสาคูที่มีความ
อุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ ได้เอื้อประโยชน์ต่อชาวบ้านที่อยู่อาศัยใกล้
ป่าสาคู และบริเวณใกล้เคียง ประโยชน์ของระบบนิเวศป่าสาคูจำ�แนกได้ ดังนี้
1.แหล่งȨำ�ป่าสาคู เป็นแหล่งกักเก็บȨำ�ตามธรรมชาติที่สำ�คัญ ระบบรากของ
สาคูช่วยซึมซับȨำ� ทำ�ให้ระดับȨำ�ใต้ดินตื้นเป็นแหล่งȨำ�ดื่ม Ȩำ�ใช้ และการทำ�การเกษตร
และป้องกันการพังทลายของดินในช่วงหน้าฝนที่Ȩำ�ไหลแรงและชาวบ้านนิยมขุดบ่อȨำ�
บริเวณใกล้ป่าสาคู เพราะในช่วงหน้าแล้ง Ȩำ�จะไม่แห้งขอด
2.แหล่งอยู่อาศัยและเพาะพันธุ์สัตว์Ȩำ� บริเวณแหล่งȨำ�ในป่าสาคูจะเป็นแหล่ง
หากิน อยู่อาศัยหลบซ่อน เป็นแหล่งขยายพันธุ์ของสัตว์Ȩำ�หน้าแล้งสัตว์Ȩำ�ได้อาศัยบริเวณ
ป่าสาคูที่มีȨำ�ขังชุ่มชื้นเพื่อรอเข้าสู่หน้าฝนอีกครั้งอาหารที่สำ�คัญของสัตว์ชนิดต่างๆได้แก่
อาหารที่ลอยมากับสายȨำ� การทับถมของซากพืชซากสัตว์ หรือแม้แต่หน่ออ่อน ของสาคู
และหอยโข่งชอบวางไข่บนทางสาคู
3.แหล่งพันธุ์พืชชนิดต่างๆ ป่าสาคูเป็นแหล่งอาหารเพื่อยังชีพ ชาวบ้านสามารถ
เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้จากป่าสาคูไม่ว่าจะเป็นไม้ใช้สอยผลไม้พื้นบ้านพืชผักพื้นบ้าน
สมุนไพร การที่ไม่ต้องซื้อหมายถึงการประหยัดรายจ่าย และอาจเหลือขายเป็นรายได้เสริม
ซึ่งเป็นฐานเศรษฐกิจพอเพียงของคนยากจน
แสดงภาพ ระบบนิเวศป่าสาคูริมคลอง
ที่มา : http://measwatch.org/writing/802